Google

ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ

 
สิงหาคม 2553
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
1 สิงหาคม 2553
 

วิถีสู่สันติภาพ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)


๒ วิถีสู่สันติภาพ
ขออนุโมทนา ในการที่สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ในนามของมหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมเป็น
โครงการขึ้นครั้งนี้ ซึ่งเป็นการแสดงน้ำใจที่มีความรักความปรารถนาดี
ต่อองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
การเฉลิมฉลองที่สมควร และมีคุณค่า
การมีน้ำใจรักและปรารถนาดีที่แสดงออก อันเรียกว่า เมตตา
ธรรม นี่แหละเป็นการฉลองในตัวอยู่แล้ว จากเมตตาที่มีอยู่ในใจ
เรียกว่า เมตตามโนกรรม ก็แสดงออกมาทางวาจา เป็นการพูด
เรียกว่า เมตตาวจีกรรม แล้วก็แสดงออกในการกระทำกิจกรรมทั่วไป
ทางกาย เรียกว่า เมตตากายกรรม พอครบทั้ง ๓ นี้ก็บริบูรณ์
การที่ทางมหาวิทยาลัยจัดโครงการนี้ขึ้น ก็คิดว่าได้เจริญเมตตา
คือไมตรีธรรมพร้อมทั้ง ๓ ประการ
ยิ่งกว่านั้น ในฐานะที่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรม
ราชกุมารี เรียกได้ว่าทรงเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ทรงมีความสนิทสนมกับมหาวิทยาลัยมาก ได้ทราบว่าได้เสด็จมาที่
มหาวิทยาลัยอยู่เสมอ เรียกว่ามีความผูกพันกับทางมหาวิทยาลัย การ
ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมครั้งนี้ ที่เป็นการฉลองพระชนมายุนั้น
จึงเป็นเรื่องของความเหมาะสม หรือเป็นความสมควรอยู่ในตัว
ประการหนึ่ง
ยิ่งเมื่อมองกว้างออกไปทั้งสังคมไทย ในฐานะที่พระองค์ท่าน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓
ทรงเป็นที่รักและได้ทรงทำประโยชน์ไว้แก่ประเทศชาติตลอดมา ถ้าใช้
ภาษาพระก็เรียกว่า ทรงเป็นที่เลื่อมใสของประชานิกร ทางมหาวิทยาลัย
ก็ควรจะแสดงมุทิตาธรรมแด่พระองค์ ถวายให้เป็นการเฉลิมฉลอง
เมื่อมองในแง่นี้ก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา คือการฉลองครั้งนี้เป็นการ
ถวายมุทิตาธรรม โดยสมควรแก่พระคุณความดีของพระองค์ ดังที่ได้
ทราบกันอยู่เป็นอย่างดีแล้ว จึงขออนุโมทนา
โดยเฉพาะเรื่องที่โครงการจัดทำขึ้นครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็น
กิจกรรมทางธรรมทางปัญญา ที่จะส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ความคิด
ความเข้าใจแก่สังคม นับว่าเป็นกุศลอย่างสูง ถ้าใช้ภาษาพระก็เรียกว่า
ได้ทั้ง ปุญญัง และ ปัญญา
ปุญญัง ก็คือ บุญ และ ปัญญา ก็คือปัญญา แม้ว่าปัญญาจะ
เป็นบุญอย่างหนึ่งอยู่ใน ปุญญัง หรือ บุญ นั่นแหละ แต่ระบุแยก
ออกมา เพราะเป็นบุญอย่างพิเศษ ที่มานำทางและพัฒนาบุญอื่นๆ
รวมความว่า เรามาจัดกิจกรรมนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ จะได้
เป็นการฉลองที่มีคุณค่าแท้จริง
อย่าได้แค่วิจารณ์เขาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
แต่ต้องคิดให้ดีด้วยว่าเราจะทำอย่างไร
วันนี้ ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นิมนต์อาตมภาพ
บรรยายโดยตั้งชื่อเรื่องว่า “ศาสนากับวิถีสู่สันติภาพ” เมื่อได้รับ
นิมนต์และเห็นชื่อเรื่องก็เกิดความสงสัยว่า นิมนต์และจัดกิจกรรม
๔ วิถีสู่สันติภาพ
ในช่วงที่มีสงครามอิรัก ท่านที่ตั้งชื่อเรื่องนี้คิดถึงหรือปรารภสงคราม
อิรักหรือเปล่า ก็เลยได้ขอโอกาสถามท่านอาจารย์ที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้น
คือที่นิมนต์บรรยาย ท่านก็ยอมรับว่ามีส่วนหนึ่งด้วย
แต่จะปรารภหรือไม่ปรารภก็ตาม ในเมื่อช่วงระยะเวลานี้คน
กำลังสนใจเรื่องสงคราม และสงครามนี้ก็ดำเนินมากระทั่งจบฉาก
สำคัญไปฉากหนึ่งแล้ว จะมีฉากต่อไปอย่างไรหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่เรา
ยังไม่อาจจะคาดคิดได้ชัดเจน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดเรื่องนี้ พอคนได้
ยินคำว่า “สันติภาพ” ก็ย่อมนึกถึง คำว่า “สงคราม” และนึกถึง
สงครามอิรักอยู่ดี เราก็เลยมาเริ่มต้นกันที่นี่นิดหน่อย ซึ่งก็ไม่ถือเป็น
เรื่องสำคัญอะไร คือไม่สำคัญสำหรับปาฐกถาหรือการบรรยายนี้ แต่
สำคัญสำหรับโลก ก็เอามาเป็นข้อปรารภนิดหน่อย
สงครามอิรักที่เกิดขึ้นมาจนถึงขณะนี้ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์
กันมาก ดังจะเห็นได้ทางสื่อต่างๆ เช่น ทางหนังสือพิมพ์ คำวิจารณ์นั้น
มีต่างๆ แต่รวมแล้วเมื่อจะพูดสั้นๆ ก็ขอยืมคำของนายแม็กกัฟเวิร์น
(George S. McGovern) มาใช้
นายแม็กกัฟเวิร์นนี้เป็นคู่แข่งฝ่ายเดโมแครต (Democrat)
ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของอเมริกา สู้กับ
ประธานาธิบดีนิกสัน (Richard M. Nixon) เมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว
นายแม็กกัฟเวิร์นเรียกสงครามเวียดนาม ซึ่งกำลังรบอยู่ในตอนนั้น
โดยอเมริกาเป็นเจ้าของเรื่อง ว่าเป็น “อักลี่วอร์” (ugly war)
ความคิดเห็นที่วิจารณ์เรื่องสงครามอิรักเวลานี้ ถ้าพูดสั้นๆ ก็
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๕
เท่ากับกำลังวิจารณ์กันว่า “สงครามอิรักนี้ เป็นสงครามที่อักลี่ หรือไม่”
หรือถ้าพูดเป็นภาษาฝรั่งก็คือ Iraq war นี้เป็น ugly war หรือเปล่า
เป็นการสรุปสั้นๆ เขาก็เถียงกันไป หรือวิจารณ์กันไป
อีกอย่างหนึ่ง เขาวิจารณ์กันในแง่ที่ว่า อเมริกาทำสงครามนี้เป็น
“วอร์ ทู ลิเบอเรต” (war to liberate) ในขณะที่อีกฝ่ายก็เถียงว่า
น่าจะไม่ใช่ เมื่อไม่ใช่จะเป็นสงครามอะไร ก็จะเป็น “วอร์ ทู ซับจูเกต”
(war to subjugate) ถ้าพูดเป็นภาษาไทยง่ายๆ ก็เถียงกันว่าเป็น
“สงครามเพื่อปลดแอก หรือเป็นสงครามเพื่อใส่แอก” หรือพูดให้ถูก
หลักภาษาว่าเพื่อเทียมแอก
จะเป็นอย่างไรก็ตาม ก็ขอให้เป็นเรื่องของท่านทั้งหลาย หรือว่า
ประชาชนและสื่อมวลชนจะวิจารณ์กันไป ในที่นี้จะไม่ขอวิจารณ์ด้วย
แต่อยากจะพูดอย่างหนึ่งว่า น่าจะไม่พอนะที่เราไปมัวเถียงกันอยู่แค่นั้น
คือจะไปมองดูเขาแล้วก็ไปวิจารณ์ว่าเขาทำอย่างนั้นๆ เป็นอย่างไรน่ะ
คงจะไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญที่เราควรจะก้าวไปถึงก็คือ ต้องมองดูตัว
เราว่า เมื่อเขาเป็นอย่างนี้แล้ว เราจะทำอย่างไร เราคิดกันเพียงพอ
หรือเปล่าว่าเราจะทำอะไรและอย่างไร
ที่ว่านี้หมายความว่า สงครามเขารบกันมา เราก็ได้เห็นแล้วว่า
มันเป็นอย่างนี้ๆ ในแง่หนึ่งก็เหมือนเป็นเครื่องย้ำ ให้เห็นว่า เออ…โลก
นี้มันก็เป็นอย่างนี้แหละ
อย่างในประเทศอเมริกา ผู้นำของเขาก็พูดกำชับอยู่เรื่อย ย้ำ
แล้วย้ำอีก อย่างตอนที่ตั้ง NAFTA คือเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ทาง
แคนาดา อเมริกา และเม็กซิโก โน่น ผู้นำตอนนั้นคือประธานาธิบดี
๖ วิถีสู่สันติภาพ
คลินตัน (Bill Clinton) ก็พูดย้ำว่า ที่ทำนี้วัตถุประสงค์สำคัญก็เพื่อ
national interests คือเขตการค้าเสรีต่างๆ เขตไหนก็ตาม ตัวผู้ต้น
คิดต้นเรื่องมีจุดหมายสำคัญคือ เพื่อผลประโยชน์ของชาติของเขา ซึ่ง
เขาก็ย้ำอยู่เสมอ เราก็ต้องรู้ตามเป็นจริง
เมื่อเรารู้เท่าทันดังนี้แล้ว เราก็ต้องมาคิดว่า ในเมื่อโลกเขาเป็น
กันอย่างนี้ เราจะอยู่อย่างไร จึงจะมีทางรอด หรือว่าสังคมของเราจึงจะ
อยู่ได้ด้วยดี อันนี้คือเรื่องที่เราต้องคิด ขั้นที่ ๑
ขั้นที่ ๒ นอกจากคิดว่าเราจะอยู่อย่างไรให้ดีในสภาพของโลก
อย่างนี้ ก็ต้องคิดต่อไปว่า ถ้าเรามีความสามารถยิ่งกว่านั้น ก็ต้องก้าว
ไปช่วยโลกในการแก้ปัญหา และแก้ปัญหาระยะยาวอย่างที่ตั้งเป็น
หัวข้อบรรยายครั้งนี้ว่า ก้าวไปสู่วิถีแห่งสันติภาพ หรือที่จะทำให้โลกมี
สันติภาพ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ทั้ง ๒ ขั้น
ถ้าขั้นที่ ๑ เรายังไม่คิดแล้ว ขั้นที่ ๒ ก็เห็นจะยาก คนไทย
มองดูสงครามนี้ ถ้าเราได้แค่วิจารณ์ว่าเขาเป็นอย่างไรๆ โดยไม่คิดว่า
แล้วเราจะทำอย่างไร เราจะต้องทำอะไร อย่างน้อยก็เพื่อให้
ประเทศชาติสังคมของเราดำรงอยู่ได้ด้วยดี ในโลกที่มีสภาพเดือดร้อน
ไม่มีสันติภาพหรือสงครามกันอยู่อย่างนี้ ความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์
ของเราก็แทบจะไร้ประโยชน์ นี่เป็นปัญหาที่เราต้องคิด
ถ้าเรามีความมั่นใจว่าเราเข้มแข็งพอที่จะอยู่รอดได้ เราก็ต้อง
ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง หรือจะทำไปพร้อมกันก็ได้ คือเพียรพยายามที่จะ
แก้ปัญหาของโลก ทำให้โลกนี้ดำเนินไปสู่วิถีแห่งสันติภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๗
สันติภาพไม่ใช่แค่ท่องว่า เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร
แต่ต้องไปให้ถึงขั้นว่า ทำอย่างไรจะไม่ต้องจองเวร
ไม่เพียงแต่เรื่องการวิจารณ์คนอื่นและเหตุการณ์ทั้งหลาย
เท่านั้น แม้แต่ในเรื่องหลักการต่างๆ ก็เหมือนกัน คนไทยเราอาจจะ
ต้องมาตรวจสอบตัวเอง บางทีอาจจะต้องติเตียนกันบ้าง ตำหนิกันบ้าง
เพราะว่าทั้งที่เป็นพุทธศาสนิกชน บางทีเราก็ไม่ได้คิดกันจริงจังว่า
จะต้องทำอะไร เราแค่ฟังและบางทีก็ยอมรับกันแค่ว่าหลักการมันเป็น
อย่างนั้น แต่เมื่อต้องต่อด้วยคำว่า “แล้วเราจะต้องทำอย่างไร” ถึงตรง
นี้เรากลับแทบไม่ขวนขวาย
ยกตัวอย่างง่ายๆ หลักธรรมหลายอย่างที่เราได้ยินและสอนกัน
อยู่เรื่อยๆ และเราก็เอามาพูดกันจนติดปาก เช่นที่ท่านว่า อตฺตา หิ
อตฺตโน นาโถ แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน ซึ่งเราก็ยอมรับว่าเป็น
ความจริง และสอนกันอยู่เรื่อยว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน แต่ตอนที่
จะต้องทำ คือตอนที่พระท่านสอนว่า แล้วทำอย่างไรตนจะเป็นที่พึ่งได้
อันนี้เราไม่ค่อยจะเดินหน้าหรือแม้แต่เอาใจใส่กันเลย ทั้งที่ตรงนี้เป็น
คำสอนที่สำคัญ ซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ
หมายความว่า เมื่อเรารู้หลักความจริงที่เป็นอย่างนั้นว่า ตนเป็น
ที่พึ่งของตนแล้ว มันก็เตือนเราว่า เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำตนให้เป็น
ที่พึ่งได้ แล้วก็ต้องพัฒนาตนขึ้นมา
คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ท่านเพียรพยายามสอนมามาก
มาย ก็คือสอนให้คนทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ ด้วยการฝึกฝนพัฒนาตน
๘ วิถีสู่สันติภาพ
คือด้วยการศึกษา ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ ถ้าเราอยู่แค่ตนเป็นที่พึ่งของตน
แค่นั้น ก็จบ คือได้แต่รู้หลักความจริง แต่ไม่ได้ก้าวไปไหน
อย่างคำสอนอีกข้อหนึ่งที่คุ้นๆ กันว่า เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร
หรือ เวรระงับด้วยการไม่จองเวร เราก็ได้ยินกันอยู่เสมอและจำกันได้
อย่างแม่นยำ อันนี้ก็เป็นหลักความจริงในหมู่มนุษย์ที่ว่า ถ้าเกิดมีเวร
และไปจองเวรกัน มันก็ไม่รู้จักจบสิ้น
แต่ในแง่ของภาคปฏิบัติที่จะต้องทำ จะต้องถามต่อไปว่า แล้ว
ทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องจองเวร ตรงนี้แหละที่คนไทยเราหรือชาวพุทธ
ไทยเราไม่ค่อยคิด ทั้งๆ ที่ในพระพุทธศาสนานั้น เมื่อค้นดูในคัมภีร์
ต่างๆ ท่านก็พยายามสอน ว่าทำอย่างไรจะไม่ต้องจองเวร โดยเฉพาะ
หลักการข้อนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องสงครามและสันติภาพด้วย การที่จะไม่
ต้องจองเวรนั้น เมื่อพูดอย่างชาวบ้าน ก็อาจจะมีอยู่ ๓ แบบ
แบบที่ ๑ คือ คนก่อเวรเขาทำรุนแรงได้ผล จนกระทั่งผู้ถูกกระทำ
นั้นสูญสิ้นชาติพันธุ์หายไปหมดเลย จึงไม่มีโอกาสมาจองเวร
แบบที่ ๒ คือ เมื่อถูกเขาก่อเวรแล้ว คนที่ถูกกระทำ มีความ
สามารถที่จะทำให้การก่อเวรของผู้ทำร้ายนั้นไม่สัมฤทธิ์ผล สงบ
ไป หรือ สยบได้ เลิกหายต่อกัน เพราะเขายอม อย่างนี้เรียกว่า
ชนะได้ด้วยธรรม โดยไม่ต้องทำร้ายเขา
แบบที่ ๓ คือ ทำอย่างไรในระยะยาว เราจะสามารถทำที่จะไม่
ให้มีการก่อเวรขึ้นมาอีกเลย แบบนี้แหละเก่งที่สุด ถึงขั้นนี้จึงจะ
มีสันติภาพแน่นอน โดยทำให้โลกนี้ไม่มีการก่อเวรกัน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๙
แล้วเราล่ะอยู่ในแบบไหนหรือขั้นไหน ถ้าไม่เพียรพยายาม เรา
จะอยู่ในขั้นที่ ๑ คือ ถ้าเขาก่อเวรมาเราก็สิ้นชาติสิ้นพันธุ์ จบกัน ก็ไม่
ต้องจองเวร
ในคัมภีร์ต่างๆ ท่านสอนไว้ ดังมีตัวอย่างในชาดกที่ยกเรื่องมา
เล่าไว้ให้เห็นว่า เราจะเปลี่ยนวิถีของโลกได้อย่างไร ในขณะที่โลกนี้มัน
ร้าย มีแต่คนที่คิดจะแก้แค้นกัน เบียดเบียนกัน ทำสงครามกันไม่
หยุดหย่อน แล้วทำอย่างไรจะให้เกิดสันติภาพหรือความสงบได้
แม้แต่เมื่อมีฝ่ายที่เขาตั้งตัวเป็นศัตรูในระดับประเทศชาติ ยกทัพ
มารุกรานเบียดเบียน ก็มีชาดกหลายเรื่องที่สอนเรื่องนี้ ชาดกใหญ่ๆ
เช่น มโหสถชาดก ก็เป็นเรื่องแบบนี้ คือฝ่ายประเทศอื่นนั้นเขาคิดร้าย
เขาต้องการความยิ่งใหญ่ขยายดินแดน ยกทัพมาบุก ฝ่ายนี้ตั้งอยู่ใน
ธรรมไม่ต้องการใช้กำลัง โดยเฉพาะไม่ต้องการให้ประชาราษฎร์
เดือดร้อน ก็หาทางแก้ไข จนกระทั่งสามารถทำให้ฝ่ายที่ยกทัพมารุกราน
นั้นต้องยอม ถูกสยบได้โดยไม่ต้องใช้กำลัง ไม่ต้องใช้ความรุนแรง
โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อเลย และกลับเป็นไมตรีกันด้วย หรือจบลง
ด้วยดี อย่างนี้คือขั้นกลาง
ส่วนขั้นที่ ๓ นั้นคือจุดหมายของพระพุทธศาสนาระยะยาว ที่
พยายามสอนและพัฒนามนุษย์ให้ขึ้นไปถึงขั้นนั้น
แต่เอาแค่ขั้นที่สองก็ต้องถามว่า เราได้พยายามบ้างหรือเปล่า
คนที่จะชนะได้ โดยสยบคนร้ายหรือทำให้การก่อเวรนั้นต้องสงบลง
ด้วยดี โดยเป็นมิตรไมตรีแก่กัน ต้องมีความสามารถกว่าคนที่เอาชนะ
๑๐ วิถีสู่สันติภาพ
ในการรบกันมากมายหลายเท่า อาจจะพูดว่าเป็นสิบเท่าเลย
ฉะนั้นคนที่จะสร้างสันติภาพ เพื่อทำไม่ให้มีความความรุนแรง
อย่างที่เรียกกันในปัจจุบันว่า อหิงสา ฝรั่งว่า nonviolence นั้น ต้อง
เป็นคนที่มีสติปัญญาความสามารถอย่างยอดเยี่ยม ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะ
ไปทำได้ ไม่ใช่ฟังแค่ว่า เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร แล้วพูดได้แค่ว่า
เราอย่าไปจองเวรนะ ก็จบเท่านั้นเอง เราก็เลยสูญสิ้น
เราต้องคิดกันให้จริงจังในแง่นี้ และท่านก็อุตส่าห์สอนไว้
มากมาย การพัฒนาความสามารถ กับการมีเจตจำนงที่เป็นธรรม มุ่งดี
ปรารถนาสันติสุขนั้น ต้องไปด้วยกัน ไม่ใช่เอาแค่มุ่งดีเพียงอย่างเดียว
หมายความว่า ทางพระสอนไว้ ๒ อย่าง คือในด้านหนึ่งต้องมี
เมตตา กรุณา นั้นแน่นอน นี่ก็คือ อหิงสา = ไม่เบียดเบียน
แต่พร้อมกันนั้นในด้านที่สอง ต้องมีปัญญา เพราะว่าคนที่จะ
ทำให้เมตตา ความปรารถนาดี หรือความรักสัมฤทธิ์ผลได้ ต้องมี
ปัญญา และต้องมีปัญญามากกว่าปกติ เพราะตามปกติคนเราจะรบรา
ฆ่าฟันต่อสู้กันและเอาชนะกันด้วยกำ ลัง ใครมีกำ ลังมากกว่า
โดยเฉพาะทางรูปธรรมมีร่างกายแข็งแรงกว่า มีอาวุธเหนือกว่า ก็ชนะ
ไป แต่ต้องเสียเลือดเนื้อ ลำบาก วุ่นวายกันมาก การที่เราพัฒนา
มนุษย์ให้มีอารยธรรมก็เพื่อให้มนุษย์นั้นสามารถที่จะทำให้ความ
รุนแรงนั้นหายไป โดยใช้วิธีสงบ ด้วยความสามารถทางปัญญา
เคยมีไหมในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ได้ทำหลักการนี้ให้เป็นจริง
ขึ้น ถ้าหลักการนี้มนุษย์ทำให้สำเร็จได้ ก็แสดงว่ามนุษย์เจริญในอารย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๑
ธรรม แต่ถ้ามนุษย์ยังทำไม่ได้ เขาก็ได้แต่เอากำลังมาสู้กัน ใครมีกำลัง
มากก็ชนะไป ก็แสดงว่ามนุษย์ไม่ได้เจริญอะไรขึ้นมาเลย มันจะเป็น
อารยธรรมได้อย่างไร เพราะมันก็เหมือนกับสมัยบุพกาล ซึ่งเขาก็รบ
กันมาอย่างนี้ ใครมีกำลังมากก็ชนะไป ไม่เห็นจะเป็นอารยธรรมอะไร
ก็เหมือนเดิม
เพราะฉะนั้นจึงต้องคิดกันให้ดี นี่คืออารยธรรมในแง่สันติภาพ
ซึ่งก็ควรเน้นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ คือ เวรไม่ระงับด้วย
การจองเวร
ถ้าจะปฏิบัติตามหลักนี้ก็ต้องมาคิดกันว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่
ต้องจองเวร อย่างน้อยก็ต้องพัฒนาความสามารถที่จะยุติความ
รุนแรงด้วยความสงบ และนอกจากเจตนาในจิตใจที่มีเมตตากรุณา ก็
จะต้องพัฒนาปัญญาอย่างยวดยิ่งด้วย ขอให้คิดกันจริงจังในเรื่องนี้
อย่างน้อยเราจะต้องพิจารณาในขั้น ๑ ที่ว่า เมื่อโลกเขายังเป็น
อย่างนี้ เช่นว่าในเมื่อแต่ละประเทศต่างก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์แก่
ชาติของตัว มันก็ต้องมีปัญหากันเรื่อยไปอย่างนี้ แล้วเมื่อในโลกเป็น
อย่างนี้ สังคมไทยเราจะอยู่ให้ดีได้อย่างไร แต่ในขั้นที่ ๑ วันนี้จะไม่
พูดถึง เพราะไม่ตรงกับหัวข้อที่นิมนต์ให้บรรยาย
ขอก้าวไปสู่ขั้น ๒ ที่ว่า แล้วคนไทยเรา หรือทุกๆ คน จะก้าว
ไปสู่การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของโลกในแง่ของสันติภาพนี้ได้
อย่างไร แล้วทำอย่างไรจะให้โลกนี้เดินไปสู่วิถีแห่งสันติภาพ
๑๒ วิถีสู่สันติภาพ
ถึงจะยากก็ต้องทำ
คือต้องแก้ไขความอยากได้-อยากใหญ่-ใจแคบ
วันนี้ทางท่านผู้นิมนต์ตั้งหัวข้อให้เป็นเรื่องของ “ศาสนา” ความ
จริง ถ้าพูดในแง่ของเรา ศาสนาก็คือคำสอน คำว่าพระพุทธศาสนาก็
แปลตรงตัวเลย พุทธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้ และ ศาสนา แปลว่า คำสอน
รวมกันแปลว่า คำสอนของท่านผู้รู้ความจริง ก็เป็นกลางๆ ไม่เข้าใคร
ออกใคร
โดยสรุป พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการบอกว่าความจริงมี
อยู่อย่างนี้ๆ ดังนั้น เราจึงควรประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ๆ
การที่เราจะสร้างสันติภาพ ก็คือการแก้ปัญหาการรบราฆ่าฟัน
สงครามของโลก เวลาจะแก้ปัญหาก็ต้องบอกว่าให้ทำอย่างนั้นทำอย่าง
นี้ แต่พอบอกให้ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ คนก็จะพูดขึ้นมาว่า “พูดมัน
ง่าย แต่ทำมันยาก” การจะพูดว่าให้ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ก็พูดได้ แต่
ในเวลาปฏิบัติ คนที่จะทำเขาลำบาก ทำยาก ไม่ใช่ปฏิบัติง่ายๆ นี้เป็น
แง่ที่คนชอบอ้าง
แต่ก็มีแง่ที่ทำให้อ้างไม่ได้เช่นกันว่า หลักการที่ต้องปฏิบัติหลาย
อย่างที่ว่ายากนั้น เมื่อเป็นความจริงที่จะต้องทำจึงจะสำเร็จ มันจะยาก
หรือไม่ยาก ก็ไม่เกี่ยวแล้ว
ถ้าคุณต้องการข้ามแม่น้ำนี้ไปฝั่งโน้น เพราะว่าหมู่บ้านที่คุณ
ต้องการอยู่ฝั่งโน้น การข้ามแม่น้ำนี้จะยากหรือไม่ยากก็ตาม คุณก็
ต้องข้าม กรณีนี้มันจำเป็นแล้ว จะมาอ้างความยากไม่ได้ คำถามมีได้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๓
แต่ว่าคุณจะไปหรือไม่ไป ถ้าคุณจะไปให้ถึง คุณก็ต้องข้ามมันไปให้ได้
ไม่ว่ามันจะยากหรือไม่ยากก็ตาม
หลักการหลายอย่างก็เช่นเดียวกัน จะมัวรำพันถึงความยาก
ไม่ได้ แม้แต่จะบอกว่า พูดมันง่ายแต่ทำมันยาก ก็พูดไม่ได้ เพราะว่า
มันเป็นหลักความจริง ถ้าคุณไม่ปฏิบัติ คุณก็ไม่สำเร็จ ถ้าคุณอยากมี
สันติภาพ ก็ต้องทำตามหลักการนี้ ถ้าไม่ทำ สันติภาพก็ไม่เกิดขึ้น
ทางเลือกไม่มี คุณต้องทำ
วันนี้เราจะพูดกันถึงหลักการแบบนี้ จึงต้องบอกไว้ก่อนว่าอย่า
มาอ้างกันอีกว่ายาก นี่เป็นการทำความเข้าใจกันไว้ก่อน
เรื่องการสร้างสันติภาพนี้ เริ่มต้นก็ต้องมาดูที่หลักการฝ่ายตรง
ข้าม คือด้านเหตุปัจจัยที่ทำให้คนขัดแย้งกัน ต่อสู้กัน มารบราฆ่าฟัน
ทำสงครามกัน ซึ่งประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็เป็นมาเป็นไปกันอยู่
อย่างนี้ มีสงคราม มีการต่อสู้ รบราฆ่าฟัน ขัดแย้งกัน ตั้งแต่ระดับ
บุคคล ระดับสังคม จนถึงระดับประเทศชาติ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย
ขอสรุปสั้นๆ เหตุปัจจัยของความขัดแย้งนั้น ถ้าไปขุดกันมาแต่
ละกรณีก็ต่างๆ กันไป แต่ว่าโดยสรุปแล้วก็มี ๓ อย่าง เท่านั้น เหตุ
ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ขัดแย้งกันจนปัญหาความรุนแรงเบียดเบียน
เกิดขึ้น คือ
๑. อยากได้
๒. อยากใหญ่
๓. ใจแคบ
๑๔ วิถีสู่สันติภาพ
อยากได้ ท่านเรียกว่า ตัณหา คืออยากได้ผลประโยชน์ อยาก
ได้สิ่งเสพบริโภค ทรัพย์สมบัติ ความพรั่งพร้อม มาบำรุงบำเรอตัวให้
มีมากที่สุด ข้อนี้เป็นเหตุใหญ่ให้คนขัดแย้งจนแม้กระทั่งยกทัพไปรบ
ราฆ่าฟันกัน จะเห็นได้ว่าไม่ต้องพูดถึงบุคคลหรอก ประเทศชาติ
ทั้งหลายก็ยกทัพไปตีกันเพราะเรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น แม้แต่
สงครามที่กำลังวุ่นวายอยู่เวลานี้ ก็วิจารณ์กันว่าเป็นเพราะข้อนี้
ปัจจัยที่ ๒ อยากใหญ่ คือต้องการอำนาจ ต้องการความ
ยิ่งใหญ่ ที่จะสามารถครอบงำผู้อื่นหรือบังคับเขาได้ ข้อนี้ท่านเรียกว่า
มานะ ตลอดทุกยุคสมัยที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ ปัจจัยข้อนี้มักจะ
มาคู่กับข้อที่ ๑ คืออยากได้ด้วย และอยากใหญ่ด้วย เพราะถ้าอยาก
ใหญ่แล้วเป็นใหญ่ได้ ความอยากได้ก็จะสำเร็จได้ง่าย อยากได้ก็ต้อง
สำเร็จด้วยอยากใหญ่ และเมื่อได้แล้วตัวเองก็จะใหญ่ยิ่งขึ้น ก็เลย
อยากได้ กับ อยากใหญ่นี้ คือ สองตัวสำคัญ เรียกว่า ตัณหา - มานะ
แต่บางทีสงครามเกิดขึ้นเพราะปัจจัยด้านอื่นก็มี คือ เรื่องลัทธิ
ศาสนา และอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์โดยตรง แต่
เป็นเรื่องของความเชื่อ และการยึดถือหลักการบางอย่าง โดยถือรั้นไม่
ยอมรับไม่ยอมฟังซึ่งกันและกัน อย่างนี้เรียกว่าใจแคบ
เพราะฉะนั้นลัทธิศาสนาก็เลยกลายเป็นเหตุให้เกิดสงครามใน
อดีตมากมาย และสงครามลัทธิอุดมการณ์และศาสนานี้กลายเป็น
เรื่องยืดเยื้อเรื้อรังกว่าสงครามแย่งชิงผลประโยชน์และสงคราม
แสวงหาความยิ่งใหญ่ด้วยซ้ำไป ฉะนั้นปัจจัยตัวที่ ๓ นี้ จึงเป็นตัวที่
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๕
ฝังลึกมาก ทางพระเรียกว่า ทิฏฐิ
ตกลงว่า ตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของความขัดแย้ง การรบ
ราฆ่าฟันกัน ตลอดจนสงคราม ก็คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ พูดเป็นไทย
ง่ายๆ ว่า อยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ
ปมปัญหายิ่งซับซ้อนใหญ่โตยากนักหนา
เมื่อตัณหา-มานะ-ทิฏฐิ ซ่อนแฝงไว้ซึ่งความกลัว-
หวาดระแวง-ไม่ไว้ใจ
แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร ก็ต้องยอมรับความจริงว่ามันแสน
ยาก อย่างที่ว่า พูดง่าย-ทำยาก นั่นแหละ แต่ถึงยากก็ต้องทำและการ
แก้ปัญหานั้นก็ไม่ใช่ว่าเราจะต้องทำพรวดเดียว เช่นบอกว่าคุณต้องไม่
มีตัณหา ต้องไม่อยากได้ผลประโยชน์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เราต้องยอมรับ
เรื่องของมนุษย์ทั่วไป และต้องทำเป็นขั้นตอน
อย่างเรื่อง ตัณหา เราก็ต้องวางมาตรการต่างๆ ที่จะไม่ให้คน
เอาเปรียบกัน ซึ่งโลกเขาก็พยายามวางกันมา แต่มนุษย์ก็พยายามเอา
เปรียบกันเสมอ บางทีก็ถึงกับวางกฎกติมาแบบเอาเปรียบคนอื่น และ
แม้แต่เมื่อมีกฎกติกาเป็นกรอบขึ้นมาแล้ว ก็ยังหาทางใช้กฎกติกานั้น
ให้เกิดผลเข้าข้างตน ให้เอื้อแก่ตัวเอง
ถึงจะอย่างไรก็ตาม ก็ต้องมีกฎกติกาไว้ รวมความก็คือ ต้องมี
กฎกติกาและมาตรการที่จะรักษาความเป็นธรรม เพื่อไม่ให้มีการแสวง
หาผลประโยชน์แบบรุกรานผู้อื่น หรือเอาเปรียบผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม
๑๖ วิถีสู่สันติภาพ
จะเห็นว่า แม้แต่เรื่องจำพวกการค้าเสรีและอะไรๆ ทำนองนี้
เขาก็อ้างเรื่องความเป็นธรรม บอกว่าเป็นการค้าที่เสรีและเป็นธรรม
เป็น “ฟรีเทรด” (free trade) ด้วย และ “แฟร์เทรด” (fair trade)
ด้วย แต่เอาเข้าจริงก็เป็นปัญหาว่าฟรีเทรดนั้นเป็นแฟร์เทรดหรือเปล่า
แล้วก็เถียงกันอยู่นั่นแหละ เพราะบางทีมันฟรี แต่มันไม่แฟร์ ทำ
อย่างไรจะให้ทั้งฟรีและทั้งแฟร์ด้วย ซึ่งยากเหลือเกิน เพราะมนุษย์นี่
ตัณหามันเยอะ
ตัณหา ความอยากได้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่ยอมแฟร์ และทำ
ให้อ้างความฟรีมาเพื่อไม่แฟร์ไป จึงต้องหาทางชิงไหวชิงพริบกันอยู่
เรื่อย แต่รวมแล้วหลักการในขั้นหนึ่งก็ต้องมีมาตรการไม่ให้เอารัดเอา
เปรียบกัน หรือให้เอาเปรียบได้น้อย ให้มีความเป็นธรรมบ้าง เท่าที่จะ
ทำได้ แล้วก็พยายามแก้จุดอ่อนกันไป
เรื่องมานะ ความอยากใหญ่ ความต้องการอำนาจครอบงำผู้อื่น
ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีมาตรการสะกัดกั้นและมีการดุล มีการคาน
อำนาจกัน เป็นวิธีการซึ่งทางรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะการเมืองระหว่าง
ประเทศ ต้องศึกษาและพยายามกันไป
แต่ทั้งนี้ จะต้องรู้ตระหนักด้วยว่า เบื้องหลังหลักการและ
ภายใต้เหตุปัจจัยใหญ่ๆ เหล่านี้ เรื่องของมนุษย์มีปัจจัยย่อยๆ เป็น
เงื่อนปมซับซ้อนมากมาย
อย่างเรื่องลาภ หรือผลประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องระดับรูปธรรม
พื้นฐาน ตั้งแต่เรื่องปัจจัย ๔ ก็ต้องมองไปถึงปัญหาความยากจนขาด
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๗
แคลนขัดสน ซึ่งก็เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของความขัดแย้งแบ่งแยก
เบียดเบียนกัน ตั้งแต่คนยากจนกับคนมั่งมี ไปจนถึงประเทศที่ขาด
แคลนกับประเทศที่ร่ำรวย
แม้แต่ในเรื่องนี้ ในขั้นต้นๆ ตัณหานอกจากทำให้คนขัดแย้ง
แย่งชิงกันแล้ว ก็ทำให้ไม่สามารถเผื่อแผ่แบ่งปันช่วยเหลือกัน
แต่ไม่ใช่แค่นั้น เมื่อตัณหาประสานกับมานะ คนมีอิทธิพล
ตลอดจนประเทศมหาอำนาจ อาจจะช่วยเหลือเผื่อแผ่แก่คนยากจน
ตลอดจนชาติที่ยากไร้บ้างในขอบเขตหนึ่ง แต่ต้องพยายามหาทางทำ
ให้คนจน และชาติที่ล้าหลัง ต้องยากจนต่อไป เพื่อให้คงอยู่ใต้อิทธิพล
ของตน ตลอดจนเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์
ของตน และเสริมอำนาจความยิ่งใหญ่
แต่ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ ตัณหา-มานะ-ทิฏฐินี้ ทำให้การ
แก้ปัญหายากยิ่งขึ้น เมื่อมันเป็นตัวการทำให้เกิดความกลัว ความ
หวาดระแวง และความไม่ไว้ใจกัน
ความกลัวของคนที่อ่อนแอยังไม่สำคัญเท่าไร มันไม่รุนแรง แต่
ความกลัวของผู้มีอำนาจนี่แหละ ที่เป็นตัวก่อปัญหายิ่งใหญ่
ทำไมไม่ช่วยเขาจริงจังให้หายยากจน บางทีทำไมต้องทำ
สงครามทั้งที่ดูตามสภาพทั่วไปไม่เห็นมีอะไรมาก
มีบ่อยๆ ที่ต้องทำอย่างนั้น เพราะความกลัวที่ซ่อนแฝงอยู่ว่าเขา
จะมีอำนาจขึ้นมาแข่งตน หรือกลัวว่าถ้าพวกนั้นมีกำลังขึ้นมาจะเป็นภัย
แก่ตน หรือแม้แต่ระแวงไปต่างๆ หรือตกลงกันไม่ได้เพราะไม่ไว้ใจกัน
๑๘ วิถีสู่สันติภาพ
เวลานี้ก็รู้กันดีแล้วว่า การแย่งชิงเบียดเบียนกันที่ทำให้โลกไม่มี
สันติภาพนี้ มิใช่ก่อความเดือดร้อนเฉพาะในสังคมมนุษย์เองเท่านั้น
แต่ยังขยายปัญหาออกไป ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งยิ่ง
เป็นการซ้ำเติมปัญหาความขาดสันติภาพให้รุนแรงยิ่งขึ้น
ในกระบวนการที่ว่านี้ ตัณหา-มานะ-ทิฏฐิ ที่ซ่อนแฝงความ
กลัว-หวาดระแวง-ไม่ไว้ใจกันนั้น นอกจากเป็นตัวการก่อปัญหา
สิ่งแวดล้อมแล้ว แม้เมื่อมนุษย์รู้ว่าตนควรจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
อย่างไร ก็ไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหานั้นให้มีผลจริงขึ้นมาได้
รวมแล้ว การแก้ปัญหาต้องมีวิธีการหลายระดับ โดยเฉพาะ
ก) ระดับความสัมพันธ์ทางสังคม ด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
การแบ่งปัน การสงเคราะห์ต่างๆ
ข) ระดับการปกครอง หรือระดับจัดการ รวมทั้งการวางกฎ
กติกา ที่จะให้มีกรอบแห่งการกระทำ และไม่ให้ข่มเหงเอา
รัดเอาเปรียบกัน แต่ให้มีความเป็นธรรม ด้วยหลัก
กฎหมาย และการใช้กฎหมาย
แต่สองระดับนี้ เป็นการแก้ปัญหาขั้นพื้นผิว และเฉพาะหน้า ซึ่ง
ไม่เป็นหลักประกันแห่งการแก้ปัญหาและการสร้างสันติภาพที่แท้จริง
เช่นอาจจะมีการช่วยเขาเพื่อเอาไว้ใต้อำนาจ การวางกฎกติกาที่ไม่เป็น
ธรรม หรือไม่ยอมตั้งกฎที่จะทำให้ตนเสียผลประโยชน์ และการใช้กฎ
กติกาแบบฉลาดแกมโกง เพื่อเอาเปรียบเป็นต้น
ดังที่มองเห็นกันชัดเจนเวลานี้ ในความสัมพันธ์ช่วยเหลือกัน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๙
ระหว่างประเทศ ทั้งชาติที่ให้ความช่วยเหลือ และชาติที่รับการช่วยห
ลือ หายากที่จะมีไมตรีธรรม ที่ซาบซึ้งใจต่อกัน ต่างก็มีความเคลือบ
แคลงใจ มองทางฝ่ายผู้ที่ช่วยก็อาจจะมีแรงจูงใจแอบแฝง ทางฝ่าย
ผู้รับก็ฉวยโอกาสหรือไม่ก็ซ่อนความหวาดระแวงไว้ข้างใน ทั้งสองฝ่าย
ไม่จริงใจต่อกัน
ทั้งหมดนี้จึงไม่ปลอดภัยจริง หนีไม่พ้นที่จะต้องขึ้นให้ถึง
ค) ระดับการศึกษา ด้วยการสังสรรค์ทางการศึกษา ที่จะปรับ
ท่าทีแห่งความสัมพันธ์ และพัฒนาคนส่วนใหญ่ให้หลุดพ้น
จากตัณหา-มานะ-ทิฏฐิ ตลอดจนความกลัว ความหวาด
ระแวง ไม่ไว้ใจกัน ให้มีความเป็นมิตรผู้มีความปรารถนาดี
ต่อกัน และใฝ่ประโยชน์สุขที่ร่วมกัน เป็นเพื่อนร่วมโลกกัน
ได้จริง
ในที่สุด ก็ต้องแก้ไปให้ถึงตัวก่อการร้ายที่ฝังลึกที่สุด ซึ่งเมื่อมี
อยู่ มันจะประสานทั้งตัณหาและมานะ ไปจนถึงความกลัว ความ
หวาดระแวง ไม่ไว้ใจกันทั้งหมด ที่ทำให้โลกไม่อาจจะมีสันติภาพ
แค่ทิฏฐิในเรื่องชาติพันธุ์ที่มีมานานนักหนา
มนุษย์ก็ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเลย
นี่แหละจึงมาถึงข้อสุดท้ายคือความใจแคบ ได้แก่ความยึดติด
ในทิฏฐิ และความเชื่องมงายต่างๆ การเอาลัทธิศาสนาและอุดมการณ์
มาเป็นเหตุให้แบ่งแยกทำร้ายกัน แทนที่จะเป็นสื่อแห่งสันติภาพ
๒๐ วิถีสู่สันติภาพ
แม้แต่ความเชื่อในเรื่องชาติพันธุ์ เช่นเชื่อว่าพวกชาติพันธุ์นั้นเลวร้าย
เผ่าพันธุ์นั้นต่ำทราม ชาติวงศ์นี้เป็นศัตรูของเรา ต้องฆ่าให้หมด ต้อง
กำจัดให้สิ้น นี่คือทิฏฐิ ความเชื่อที่ลงลึก ซึ่งเมื่อยึดถือเข้าแล้ว ทำให้
เรื่องไม่จบ สงครามอาจยืดเยื้อคู่ประวัติศาสตร์ แล้วแก้ได้ไหม ถ้าจะ
ให้มีสันติภาพจริง ต้องแก้ให้ได้
มนุษย์ต้องเปิดใจต่อกัน ยอมรับและมาพูดกัน เวลานี้มักจะ
เน้นกันที่ข้อ ๑ และข้อ ๒ ซึ่งก็ยังแก้ไม่ได้ ส่วนข้อ ๓ ไม่กล้าพูด
เพราะถ้าพูดก็กลัวจะกระทบกัน ก็เลยไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาได้จริง
เพราะว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริงต้องลงไปถึงปัจจัยตัวที่ ๓ ซึ่งเป็นเรื่อง
ในขั้นปัญญา ที่เมตตาต้องพร้อมด้วยปัญญาจริงๆ
แต่จะอย่างไรก็ตาม การสร้างความรู้ความเข้าใจและแก้ไขเรื่อง
ทิฏฐิความเชื่อความยึดถือต่างๆ นี้ มนุษย์ต้องทำให้ได้ และทั้งหมดนี้
ขั้นสุดท้าย นอกจากการแก้ด้วยมาตรการทางสังคมเป็นต้นแล้ว ใน
ที่สุดก็ต้องถึงฐานคือการพัฒนามนุษย์ด้วยการศึกษา
เพราะฉะนั้น ภารกิจยิ่งใหญ่ที่เป็นพื้นฐานก็คือการศึกษา ซึ่งจะ
สร้างมนุษย์ให้มีคุณธรรม มีจิตใจที่มีเมตตากรุณา เป็นต้น มีความ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเสียสละ ไม่ใช่เอาแต่เห็นแก่ตัวอยากได้
ผลประโยชน์อย่างเดียว และคิดแต่จะเบียดเบียนครอบงำผู้อื่น
ถ้าสร้างคุณธรรมในจิตใจขึ้นมาได้ เราก็มีตัวคานกับเรื่องของ
ตัณหา และมานะ แต่ข้อทิฏฐิต้องแก้ด้วยปัญญา คือสร้างปัญญาให้รู้
เข้าใจ แต่ถึงปัจจุบันนี้เราก็ไม่ได้พัฒนาอะไรมากกว่าสมัยโบราณ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๑
โดยเฉพาะเรื่องทิฏฐิ ความเชื่อถือที่เป็นความใจแคบในเรื่อง
ชาติพันธุ์ ซึ่งนอกจากทำให้เกิดความเกลียดชังกันแล้ว ก็พ่วงเอามานะ
มาด้วย โดยทำให้ดูถูกเหยียดหยามคนเผ่าอื่นพวกอื่น และเรื่องนี้ก็มี
มาตั้งแต่โบราณนานนักแล้ว
แม้แต่ในพุทธประวัติ เราก็มีตัวอย่างอยู่แล้ว เช่นอย่างศาก
ยวงศ์นี้เอง แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงพยายามแก้ แต่เขาก็ยังยึดถืออยู่
ศากยวงศ์นี้เราก็เห็นชัดว่ามีความยึดถือชาติตระกูลรุนแรง จะแต่งงาน
กับคนพวกอื่นไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้ผู้อื่นเขาแค้น พยายามมาทำลาย
ศากยวงศ์ทั้งหมด ตัวอย่างก็มีมาชัดเจน
ปัจจุบันนี้จะทำอย่างไร เมื่อมนุษย์มาถึงยุคโลกาภิวัตน์แล้ว
บอกว่าโลกไร้พรมแดน โลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็น global
village ก็พูดกันไปๆ แล้วเป็นจริงไหม มนุษย์ก็ยังแบ่งแยกกันอยู่
อย่างนั้นแหละ ซ้ำร้าย โลกยิ่งกว้างไกล ใจคนยิ่งแคบลง ทำอย่างไร
จะให้ใจกว้างตามโลกที่แผ่ขยายกว้างออกไปได้ ให้ใจไร้พรมแดน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระอรหันต์มีลักษณะอย่างหนึ่ง คือ
วิมริยาทิกจิต เป็นผู้มีจิตใจ “ไร้พรมแดน” ตรงกันเลยกับคำที่เขาใช้
กันในปัจจุบัน
แต่เวลานี้เขาใช้คำว่าไร้พรมแดนกับการสื่อสารคมนาคม เป็น
ต้น เขาไม่พูดถึงจิตใจ ทั้งที่เห็นอยู่ชัดๆ ว่าจะไร้พรมแดนจริง ต้องทำ
ใจคนให้ไร้พรมแดนด้วย เราจะทำได้ไหมล่ะ ถ้าทำได้ก็จะเข้าหลัก
พระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่แล้วชัดเจน อย่างที่พูดไว้นานแล้วว่า
๒๒ วิถีสู่สันติภาพ
วิมริยาทิกจิต ทำได้ไหม ทำให้มีจิตใจไร้พรมแดน
ถ้าทำได้จริงๆ ก็เป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่ถึงขั้นนั้น ก็ควร
พยายามทำใจให้กว้างขวาง และการทำใจให้กว้างขวางนั้น ก็ต้อง
พัฒนามนุษย์อย่างที่ว่า โดยเฉพาะต้องให้มีการศึกษาที่ถูกต้อง
เป็นไปได้หรือไม่ ที่เวลานี้คนเราจะคิดให้ถึงขั้นที่จะ หลอมรวม
ชาติพันธุ์มนุษย์ให้เป็นชาติพันธุ์เดียว โดยไม่ต้องมาเถียง มา
แก่งแย่ง หรือแบ่งแยกอะไรกันอีก เรื่องนี้เราจะต้องพูดกันอย่าง
จริงจัง โดยไม่มีอะไรแอบแฝงอยู่ในใจ และไม่ใช่ไม่กล้าพูดกัน แต่
ต้องเปิดใจกันเลย แล้วพูดกันอย่างจริงจัง ในเมื่อเป็นโลกาภิวัตน์โลก
ไร้พรมแดนอย่างนี้ ต้องคิดว่าถึงเวลาหรือยังที่จะให้มนุษย์นี้ หลอม
รวมเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน ไม่ต้องไปกีดกั้นแบ่งแยกอะไรอีก
อย่างทางตะวันออกกลางก็มีปัญหาเรื่องแบบนี้ เหมือนที่พูด
เมื่อครู่นี้ว่าแม้แต่แต่งงานกันก็ไม่ได้ แล้วมันจะไปแก้ปัญหาอะไร
เพราะแค่นี้ก็ไม่สามารถพูดกันได้ แล้วจะมาพูดว่าจะแก้ปัญหาให้โลก
มีสันติภาพ ก็เห็นๆ อยู่ว่ามันไม่มีเค้าอะไรเลย ในเมื่อคนยังมุ่งหน้า
มุ่งมั่นในการที่จะแบ่งแยกกันอยู่ชัดๆ
รวมความว่า สาเหตุของความขัดแย้ง รบราฆ่าฟัน และ
สงคราม ที่ทำให้ไม่มีสันติภาพตลอดมาทุกยุคทุกสมัย มี ๓ ประการ
ด้วยกัน คือ อยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ หรือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ซึ่งต้องแก้ไขด้วยมาตรการทางสังคมและด้วยวิธีการต่างๆ ที่เป็นทาง
สันติ และที่สำคัญที่สุดคือพัฒนามนุษย์ ด้วยการศึกษาที่ถูกต้อง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๓
ทั้งนี้ คนที่จัดการศึกษาต้องยอมรับความจริงก่อน ว่าจะเอา
อย่างนี้ไหม แต่รับรองว่า ไม่ว่าใครจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม ถ้าแก้กิเลส
๓ อย่างนี้ไม่ได้ เรื่องก็ไม่จบ อันนี้คือหลักการที่บอกแล้วว่า มันจะ
ยากหรือไม่ยาก คุณไม่มีสิทธิพูด เพราะว่าถ้าคุณไม่ทำ มันก็ไม่สำเร็จ
แค่ “รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย” สร้างสันติภาพโลกไม่ได้
แต่ต้องรวมกันเป็นหมู่ สู่ความประสานเป็นสากล
ได้บอกแล้วว่า เรื่องใจแคบนี้สำคัญที่สุด จึงต้องขยายออกไป
ให้เห็นอาการด้านต่างๆ ของการแสดงความใจแคบ คือความหวง
แหนกีดกั้นกันแบบต่างๆ
ความหวงแหนกีดกั้นมีหลายอย่าง ทางพุทธศาสนาถือเป็นเรื่อง
สำคัญมาก จะเห็นว่าพระพุทธศาสนาพยายามสร้างสันติสุขให้แก่
มนุษย์ด้วยการไม่ให้มีการแบ่งแยกเบียดเบียน
ฉะนั้น นอกจากตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่จะไม่ให้ขัดแย้งทำ
สงครามรบราฆ่าฟันกันแล้ว ยังมีหลักต่อไปอีกชุดหนึ่ง ที่ท่านวางไว้
เพื่อให้เราขจัดความใจแคบ และพัฒนามนุษย์ไปสู่ความมีจิตใจไร้
พรมแดน และอยู่ร่วมกันโดยสันติ
ท่านให้หลักไว้ว่า มนุษย์ที่พัฒนาแล้วจะต้องหมดความใจแคบ
หรือความหวงแหนกีดกั้นกัน ๕ ประการ ที่เรียกว่า มัจฉริยะ ๕
“มัจฉริยะ” เราแปลกันว่าความตระหนี่ หรือขี้เหนียว แต่คำว่าขี้
เหนียวชวนให้คิดไปว่าเป็น ความโลภ
๒๔ วิถีสู่สันติภาพ
กิเลสทั้งหมดจัดรวมเข้าได้ ๓ กลุ่ม คือ โลภะ โทสะ โมหะ ถ้า
ถามคนทั่วไปว่า มัจฉริยะจัดเข้าในกิเลสประเภทไหนในสามประเภท
นั้น คนส่วนใหญ่จะตอบว่าอยู่ในกิเลสประเภท โลภะ หรือ โลภ แต่
ไม่ถูก เพราะไปนึกถึงคำแปลภาษาไทย แต่ความหมายของมันไม่ตรง
ทีเดียวกับในภาษาเดิม
มัจฉริยะ ทางพระจัดเข้าในกลุ่ม โทสะ ซึ่งเห็นได้ชัดในการกีด
กั้นผู้อื่น หวงแหนคอยกั้นขวางไม่ให้เขาได้อย่างเรา หรือไม่ให้เขามี
ส่วนร่วม ความหวงแหนกีดกั้น หรือมัจฉริยะนั้น มี ๕ ประการ เรา
จะต้องพัฒนามนุษย์ให้กำจัด มัจฉริยะ ๕ นี้ให้ได้ มิฉะนั้นมนุษย์จะ
ไม่มีทางเลิกแบ่งแยกกัน และก็จะต้องเกิดปัญหาในการขัดแย้งกัน
จนกระทั่งถึงสงครามอยู่เรื่อยไป
ความหวงแหนกีดกั้น ๕ ประการ นี้มีอะไรบ้าง
๑. ความหวงแหนกีดกั้นกัน ในเรื่องที่อยู่ ที่อาศัย ท้องถิ่น
ดินแดน จนถึงประเทศ
๒. ความหวงแหนกีดกั้นกัน ในเรื่องผลประโยชน์ เรื่องลาภ
เรื่องการได้สิ่งเสพบริโภค เป็นต้น
๓. ความหวงแหนกีดกั้นกัน ในเรื่องพงศ์เผ่าเหล่ากอ ชาติพันธุ์
วงศ์ตระกูล พวกพ้อง
๔. ความหวงแหนกีดกั้นกัน ในเรื่องชนชั้น วรรณะ สีผิว
๕. ความหวงแหนกีดกั้นกัน ในเรื่องวิชาความรู้ หรือวิทยาการ
และผลสำเร็จทางภูมิธรรมภูมิปัญญา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๕
ปัจจุบันนี้กำลังเข้าสู่ยุคแห่งความหวงแหนกีดกั้นข้อที่ ๕ นี้
เต็มที่ เช่นเรื่องสิทธิทางปัญญา หรือสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา แต่
ข้อต้นๆ ปัจจุบันก็มีอยู่ทั้งหมด จึงมี ๕ ข้อ ครบเลย
ถ้ากำจัดความหวงแหนกีดกั้น ๕ อย่างนี้ไม่ได้ มนุษย์ก็ต้อง
ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไป จะต้องรบรา แย่งชิง กำจัดกันเรื่อยไป
พระพุทธศาสนาจึงสอนให้มนุษย์ศึกษาพัฒนาตัวเอง จนถึงขั้นที่ว่าถ้า
เป็นโสดาบันก็หมดมัจฉริยะทั้ง ๕ อย่าง ไม่มีเหลือเลย การที่พุทธ
ศาสนาพัฒนามนุษย์ก็เพื่อให้ถึงขั้นนี้
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะสุดโต่งไปอีกทางหนึ่ง ไม่ใช่ว่า
เมื่อไม่ให้มีการกีดกั้นหวงแหนกัน เราก็ไม่ถืออะไรทั้งนั้น ไม่ยึดถือ
เลย เรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย หรือประเทศของเรา ตลอดหมดทั้ง ๕ ข้อไม่
ยึดถือ ถ้าทำอย่างนี้ก็เป็นสุดโต่ง กลายเป็นโมหะ ไม่ใช่การทำด้วย
ปัญญา แต่กลายเป็นการยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น
การปฏิบัติในเรื่องนี้ ต้องทำโดยรู้เท่าทันความจริงตามเหตุผล
ว่า ถ้าคนยังขืนยึดถือกันอยู่ ก็เป็นความยึดมั่นถือมั่นที่ผิด การที่เรา
ตั้งข้อตกลงในเรื่องดินแดน วงศ์ตระกูล เป็นต้น เหล่านี้ขึ้นมา ก็
เพื่อให้มนุษย์เรามีหลักมีเกณฑ์ มีกฎกติกาที่จะคุมการอยู่ร่วมสังคม
ให้อยู่ในขอบเขตและมีขั้นตอนที่ถูกต้อง แล้วเราก็ปฏิบัติไปเพื่อการ
อยู่ร่วมกันด้วยดี วัตถุประสงค์ที่แท้จริงนั้น ก็เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกัน
ด้วยสันติสุข จุดหมายแท้จริงอยู่ที่นั่น
การที่เราจัดแบ่งให้คนมีที่อยู่อาศัยโดยกำหนดว่าเป็นของใครๆ
๒๖ วิถีสู่สันติภาพ
นั้น ท่านเรียกว่า สมมติ แปลว่ามติหรือข้อตกลงหรือการยอมรับ
ร่วมกัน ซึ่งเป็นการจัดสรรแบ่งจำแนกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้
มนุษย์มีจุดกำหนดที่จะปฏิบัติต่อกันได้ถูกต้อง
การที่คนจะอยู่ร่วมกันด้วยดี ก็ต้องมีการจัดแบ่งจัดสรร เรื่อง
อย่างนี้เป็นปัญญาของมนุษย์ เรียกว่ารู้จักสมมติ จึงเอาสมมติมาใช้
ตามความฉลาดของมนุษย์ แต่พร้อมกันนั้นก็ต้องรู้ทันสมมติ และไม่
ไปหลงยึดติดกับสมมติ จนกลายเป็นการเอาตัวสมมติเองมาแบ่งแยก
ทำลายกัน
เรื่องที่คนเอามาหวงแหนกีดกั้นกันทั้ง ๕ ประการนี้ก็มาจาก
สมมติ ถ้าเราปฏิบัติถูกขั้นตอน ก็ไม่เป็นปัญหา แต่กลับเป็นเรื่องที่ดี
ประเทศของเราก็ยังมี แม้แต่บ้านที่อยู่ของเราก็มีอยู่เป็นธรรมดา แต่
เรารู้ตระหนักว่าเรามีมันเพื่ออะไร ก็เพื่อให้คนอยู่กันได้ด้วยดี โดยมีที่
กำหนด และจะได้มีขอบเขตที่อยู่อาศัยว่าบ้านใครบ้านใคร ครอบครัว
ใคร และมีวิธีปฏิบัติสัมพันธ์กันได้ถูกต้อง
หลักการในเรื่องนี้ คือ คนมารวมเป็นกลุ่มย่อย มิใช่เป็นการ
แยกออกจากกลุ่มอื่น แต่เพื่อเป็นขั้นตอนให้เกิดความสะดวกในการที่
จะมารวมให้เป็นมวลที่ครบบริบูรณ์ต่อไป พูดง่ายๆ ว่า
ไม่ใช่รวมกลุ่มหนึ่งพวกหนึ่ง เพื่อแยกจากกลุ่มอื่นพวกอื่น แต่
เป็นการรวมเพื่อร่วม คือ เอาหน่วยมารวมเป็นหมู่ เพื่อให้หลายหมู่มา
รวมกันเป็นมวล ขยายกว้างออกไปจนรวมกันเป็นโลกอันเดียว เป็น
การปฏิบัติด้วยปัญญา มนุษย์จะต้องทำให้มัจฉริยะ ๕ นี้หมดไป โดย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๗
เอาปัญญามาปฏิบัติต่อสมมติให้ถูกต้อง
เอาเป็นว่า มัจฉริยะ ๕ อย่างนี้เรากำจัดได้ไหม โดยจะต้อง
เปลี่ยนมันให้เป็นการปฏิบัติต่อสมมติอย่างถูกต้องด้วยปัญญาที่รู้เท่า
ทัน และจริงไหมที่ว่า ถ้ามนุษย์ยังไม่หมดความหวงแหนกีดกั้น ๕
ประการนี้ ก็แก้ไขปัญหาความขัดแย้งไม่ได้
การที่มีปัญหากันอยู่ ก็เพราะความใจแคบในเรื่องเผ่าพงศ์ ชาติ
พันธุ์ และลัทธิศาสนา เป็นต้นนี้ ดังที่ศากยวงศ์ต้องถูกทำลายไป ถ้า
จะแก้ปัญหาให้สำเร็จ ก็ต้องแก้เรื่องนี้ให้ได้ เป็นเรื่องที่ขอฝากไว้
ความจริงเรื่องสันติภาพนี้ไม่ยากอะไร อย่างที่ว่าพูดง่าย ถ้าทำ
ตามหลักนี้ได้มันก็จบ แต่มนุษย์ก็ทำไม่ได้สักที ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์
ไม่ได้พัฒนาจิตใจและปัญญา ให้มีคุณสมบัติเหล่านี้
แค่ “สากล” สามประการ ที่เป็นเรื่องพื้นฐานธรรมดา
ทำไมการศึกษาจึงยังพัฒนาคนไปไม่ถึง
ถ้าเราสามารถแก้ปัญหาในเรื่องตัณหา มานะ ทิฏฐิ และเรื่อง
มัจฉริยะความหวงแหนกีดกั้นเหล่านี้ได้แล้ว ก็จะเกิดความเป็นสากล
ที่แท้จริง สากลก็คือทั่วทั้งหมด หรือทั่วกัน คือโลกนี้ทั้งโลกไม่มีการ
แบ่งแยกอีกต่อไป
ความเป็นสากลนั้นมีลักษณะต่างๆ ที่เป็นเครื่องตรวจสอบ ซึ่ง
เอามาใช้ในการฝึกมนุษย์ได้ด้วย
ความเป็นสากลนั้นมี ๓ ประการด้วยกัน ถ้าเราเอามาเป็น
๒๘ วิถีสู่สันติภาพ
เครื่องตรวจสอบ ก็จะมองเห็นทันทีว่า โลกปัจจุบันนี้ไม่มีความเป็น
สากลเลย ได้แต่พูดกันว่าสากล ใส่เสื้อแบบฝรั่งก็ว่าชุดสากล แต่ดูกัน
จริงๆ แล้วใจไม่เป็นสากล ปัญญาไม่เป็นสากล
สากล ๓ อย่าง คือ
๑. ความเป็นมนุษย์ที่สากล หมายความว่า เมื่อเป็นคนแล้ว จะ
เกิดที่ไหน อยู่ที่ไหน ก็เป็นมนุษย์ทั้งนั้น ส่วนการที่จะบอกว่าเป็น
มนุษย์ฝรั่ง มนุษย์แขก มนุษย์ไทย มนุษย์จีน ก็เป็นเรื่องของความ
เป็นจริงโดยปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น ชาติพันธุ์ ที่รู้ไว้เพื่อช่วยเสริม
การปฏิบัติด้วยปัญญาเท่านั้น แต่ทุกคนมีภาวะพื้นฐานที่ร่วมกันเป็น
อันหนึ่งอันเดียว คือความเป็นมนุษย์
เมื่อคนพบกันต้องมองกันโดยเริ่มที่ความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่เริ่ม
ที่ความเป็นแขก เป็นไทย เป็นฝรั่ง เมื่อมองเห็นคนอื่นก็ต้องมองว่า
เป็นมนุษย์ก่อน ส่วนว่าจะเป็นมนุษย์พวกไหนก็ว่ากันไป เพียงเพื่อรู้
และปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่ต้องมีจิตใจที่นึกถึงความเป็นมนุษย์และ
ปฏิบัติต่อกันในฐานะแห่งความเป็นมนุษย์ก่อนเป็นฐาน
อย่างในการแบ่งแยกเรื่องศาสนา คนทั้งหลายพอเห็นกัน
แทนที่จะนึกว่าคนนี้เป็นมนุษย์ ก็นึกว่าเป็นคนศาสนาไหน เมื่อเริ่มต้น
ด้วยการแบ่งแยกอย่างนี้แล้วก็ลำบาก ความเป็นสากลก็ไม่เกิด
เราต้องเริ่มด้วยความเป็นมนุษย์ที่สากล เพราะความเป็นมนุษย์
ที่สากล จะทำให้นึกถึงทุกคนว่าเป็นมนุษย์ทั้งนั้น อย่างเช่น ในการฆ่า
เมื่อถือว่าฆ่ามนุษย์เป็นบาป มันก็สากล แต่ถ้าไปแบ่งแยกว่าฆ่าคน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๙
ชาติพันธุ์นี้บาป ฆ่าคนชาติพันธุ์นั้นไม่บาป หรือกลับดี อย่างนี้ก็ยุ่ง ไป
ไม่รอด กลายเป็นว่าคนที่ไม่ใช่เผ่านี้ ไม่นับถืออย่างนี้แล้ว เป็นคนบาป
ฆ่าได้ หรือต้องฆ่า อย่างนี้เป็นการแบ่งแยก ความเป็นมนุษย์ก็ไม่สากล
ฉะนั้นต้องเริ่มที่ความเป็นมนุษย์ที่สากลก่อน เมื่อมองดูคนทุก
คน พอเริ่มก็ต้องถือว่าเขาเป็นมนุษย์ก่อน และความเป็นมนุษย์นี้จะ
เป็นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนการที่จะจำแนกแบ่งแยกอย่างไร
ต่อไป ก็เป็นเรื่องของความรู้เข้าใจ เพื่อประโยชน์และเพื่อความ
สะดวกในการปฏิบัติต่อกัน ไม่ใช่เอามาเป็นเครื่องแบ่งแยก
แต่มนุษย์เวลานี้มีท่าทีตรงกันข้าม เขามองข้ามความเป็นมนุษย์
ไปเสีย ได้แต่ยึดถือเอาจุดกำหนดในการแบ่งแยกว่าเป็นชาติพันธุ์ไหน
เป็นเผ่าไหน เป็นศาสนาไหน ขึ้นมาก่อน แล้วก็เอาข้อยึดถือนี้เป็นตัว
กำหนดในการที่จะปฏิบัติต่อกัน เพราะฉะนั้นสันติภาพก็ไม่มีทางเกิดขึ้น
๒. ความรักที่สากล หรือใช้ภาษาพระว่า เมตตาที่เป็นสากล
หมายความว่า เมื่อเป็นมนุษย์แล้วเราก็มีเมตตารักเหมือนกันหมด เรา
ต้องการให้คนรักกัน มีเมตตาไมตรี มนุษย์จะอยู่กันด้วยดีก็ต้องมี
เมตตา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ปรารถนาดีต่อกัน ช่วยเหลือกัน ไม่
โกรธกัน ไม่คิดหาทางที่จะทำร้ายกัน โดยมีเมตตาต่อทุกคนเสมอกัน
แต่เวลานี้มีปัญหาว่า คนมีเมตตารักแต่พวกของตัว ส่วนพวก
อื่นเมตตาไม่ได้ แม้กระทั่งต่างศาสนา ก็รักกันไม่ได้ เรื่องอย่างนี้ต้อง
พูดกันอย่างเปิดใจ ทำได้ไหม ให้เมตตาเป็นสากล รักคนทุกคนเสมอ
เหมือนกันหมด ไม่แบ่งแยก
๓๐ วิถีสู่สันติภาพ
๓. กฎกติกาและหลักความจริงที่เป็นสากล ไม่ใช่เป็นกฎกติกา
แบบที่ว่า ถ้าเป็นมนุษย์ที่นับถืออย่างนี้หรือเป็นพวกนี้แล้ว ทำการนี้จะ
ได้รับผลอันนี้ แต่ถ้าเป็นมนุษย์พวกอื่น ถึงจะทำการนี้ก็จะไม่ได้รับผล
อย่างนี้ กฎกติกาสากลคือ ไม่ว่าใครทำเหตุปัจจัยนี้ ก็ได้รับผลอันนั้น
ไม่ว่าที่ไหน เมื่อใด ไม่จำกัดด้วยขอบเขตแห่งกาละเทศะ หรือกลุ่มชน
เรื่องนี้มนุษย์ก็ยังทำไม่ได้ แม้แต่ความจริงทางธรรมชาติ ก็ยัง
เอามาแบ่งแยกกันอีก ทั้งที่ความจริงทางธรรมชาตินั้นที่จริงมัน
แบ่งแยกไม่ได้ ไม่เหมือนกฎกติกาของมนุษย์ที่ยังพอเห็นว่าแบ่งกัน
เพราะยังมีการถือเรื่องของพวกนั้นพวกนี้อยู่ เราจึงต้องขยายให้เป็น
กฎกติกาที่สากล ส่วนความจริงทางธรรมชาตินั้นที่จริงมันแบ่งแยก
ไม่ได้ มันเป็นสากลอยู่ตามธรรมดาของมันอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะต้อง
ปฏิบัติให้ตรง แล้วมันก็จะเป็นสากลแก่มวลมนุษย์
เช่นว่า คนทำดี ไม่ว่าเป็นคนชาติไหน นับถือศาสนาไหน ก็ต้อง
ไปสวรรค์เหมือนกันหมด คนทำชั่ว ไม่ว่าเป็นชาติไหน ศาสนาไหน ก็
ต้องไปนรกเหมือนกันหมด ไม่ใช่ว่า คนศาสนานี้ นับถือศาสนานี้ ทำดี
จึงจะไปสวรรค์ได้ แต่คนที่นับถือศาสนาอื่นถึงจะทำดีก็ต้องไปนรก
ต้องเสมอกัน จึงจะตรงกับความจริงที่เป็นสากล
ถ้าเมื่อใดได้สากลครบ ๓ อย่างนี้ ก็มีทางที่จะทำให้โลกมี
สันติภาพได้ แต่ถ้าไม่สากลก็คือแบ่งแยก เมื่อแบ่งแยกก็ย่อมขัดแย้ง
กัน ก็ต้องเกิดปัญหาไม่รู้จบ
หลักการสำคัญก็แค่ ๓ หลักนี้เท่านั้น แค่ทำได้ ๓ หลักนี้เรื่อง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๑
สงครามก็จบ และสันติภาพก็เกิดขึ้นมาแน่ แต่คนจะทำได้หรือเปล่า
และบอกได้เลยว่าถ้าคุณทำไม่ได้ สันติภาพก็ไม่สำเร็จ คุณจะมาอ้าง
ความยากไม่ได้ มนุษย์มีหน้าที่ต้องพยายาม ทั้งด้วยการจัดวาง
มาตรการต่างๆ ทางสังคม และด้วยการศึกษาพัฒนามนุษย์
ถ้าคิดไป ก็น่าแปลกใจนักว่า มนุษย์บอกว่าตนมีอารยธรรม
สูงส่ง เป็นผู้ที่ได้พัฒนาแล้ว มีการศึกษาก้าวหน้าไกล แต่ไฉนจึงยังไม่
สามารถพัฒนาคนให้ขึ้นถึงความเป็นสากลธรรมดาๆ ๓ อย่างนี้
คนที่จะพัฒนามนุษย์ ต้องรู้ก่อนว่าความจริงเป็นอย่างนี้
หลักการที่แท้จริงที่จะให้สำเร็จเป็นอย่างนี้ แล้วก็ให้เข้าใจทั่วกัน
ยอมรับกัน ถ้ายอมรับกันและพัฒนาคนไปสู่จุดหมายนี้ ก็มีทางที่จะ
ประสบความสำเร็จ
โลกจะไร้พรมแดนได้จริง ใจต้องไร้พรมแดน
ใจจะไร้พรมแดนได้ ต้องให้มีการศึกษาที่ถูกต้อง
วันนี้ขอโอกาสพูดไว้ โดยเน้นในแง่ตัวเหตุปัจจัยที่จะต้องแก้ไข
และหลักการที่จะต้องปฏิบัติ ส่วนในแง่ของวิธีดำเนินการคงยังไม่มี
โอกาสจะพูด ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อคนรู้หลักการ และเข้าใจจน
ยอมรับกันดีแล้ว ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของคนที่มีความสามารถจะ
พัฒนาวิธีการขึ้นมาบนฐานของหลักการนี้ ในด้านวิธีการนั้นหลายคน
เก่ง แต่ต้องให้เขายอมรับหลักการก่อน เราจะเอาไหมว่า
๑. ต้องแก้ปัญหาเรื่องตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่างน้อย ๒ ข้อแรก
๓๒ วิถีสู่สันติภาพ
ต้องเน้นโดยพยายามดำเนินมาตรการหรือวางกฎกติกาที่จะให้ดุลกับ
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ นั้นได้ หรือให้มันลดน้อยลงไป เพื่อให้อยู่ในขอบ
เขต เช่น ให้อยู่ในความเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบกันเป็นต้น และ
ลึกลงไปอีกก็ถึงเรื่องทิฏฐิ ซึ่งแสดงออกที่ความใจแคบกีดกั้นกันต่างๆ
๒. ต้องหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของความหวงแหนกีดกั้น
คือ มัจฉริยะ ๕ ประการ ที่พูดเป็นภาษาพระ คือ
๑ อาวาสมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นในเรื่องที่อยู่อาศัย ท้องถิ่น
ดินแดน
๒ ลาภมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นในเรื่องผลประโยชน์
๓ กุลมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นในเรื่องชาติวงศ์ พงศ์พันธุ์
เผ่าชน กลุ่ม พรรคพวก
๔ วัณณมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นกันในเรื่อง ชั้น วรรณะ สีผิว
๕ ธรรมมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นกันในเรื่องวิชาการ ความรู้
และผลสำเร็จทางภูมิธรรมภูมิปัญญา
จะต้องจับจุดให้ได้ และพัฒนามนุษย์ให้สลายความใจแคบ
เหล่านี้ โดยให้มีปฏิบัติการทางสังคมด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันสมมติ
๓. ในด้านบวก ต้องสร้างความเป็นสากล ๓ ประการขึ้นมา
โดยให้ยอมรับยึดถืออยู่ในใจตามความเป็นจริงในเรื่องเหล่านี้ คือ
๑ ความเป็นมนุษย์ที่สากล มองคนเป็นคน
๒ เมตตาความรักที่สากล
๓ กฎกติกาและความจริงที่เป็นสากล
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๓
ถ้าได้สากล ๓ อย่างนี้ และให้คนยอมรับถืออย่างเดียวกันแล้ว
มนุษย์ก็หมดเครื่องแบ่งแยก เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เมื่อความ
แบ่งแยกทางใจหมดไปแล้ว ความแบ่งแยกอื่นก็หายไปเอง แต่
ถึงแม้ว่าการแบ่งแยกด้านนอกจะหายไป หากใจยังแบ่งแยกอยู่ ก็ไม่มี
ทางแก้เลย
ตกลงว่า มนุษย์เวลานี้บอกตัวเองว่าหมดเครื่องแบ่งแยกภาย
นอก เป็นโลกไร้พรมแดน แต่ที่แท้นั้นใจของเขาแสนจะแบ่งแยกกัน
เพราะฉะนั้นโลกจึงไปไม่ไหว
จึงต้องแก้ให้คนมีใจไร้พรมแดน โดยพัฒนามนุษย์ด้วยการ
ศึกษา เอา ศีล สมาธิ ปัญญา มาฝึกมาพัฒนาคนให้ก้าวไปสู่การสลาย
ความขัดแย้ง ปลอดพ้นจากการแข่งขันแย่งชิงเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
นำโลกไปสู่สันติภาพและสันติสุข
ก็ขอให้ทำให้ได้อย่างที่ว่ามานี้ เริ่มตั้งแต่ขั้นต้นคือมาฟังหลักการ
แล้วตรวจสอบพิจารณาว่า เราจะยอมรับไหม เมื่อยอมรับแล้วก็มา
ช่วยกันหาทางปฏิบัติตามหลักการนั้นต่อไป
อาตมาได้นำข้อคิดเกี่ยวกับหลักการต่างๆ ในทางธรรมมาเสนอ
มาบอกกล่าว หรือมอบให้แก่ท่านสาธุชนทั้งหลาย โดยเฉพาะเริ่มต้น
ในวงสำคัญคือ ในวงของครูบาอาจารย์ที่จะเป็นผู้ตั้งฐานของเรื่องนี้
อย่างที่ได้บอกแล้วว่า ต้องแก้ด้วยการศึกษาชนิดที่แท้ ซึ่งพัฒนาคน
ให้หลุดพ้นจากกิเลสที่กีดกั้นแบ่งแยกทั้งหลาย
ดังนั้นครู อาจารย์ จะเป็นเจ้าของเรื่องนี้ต่อไป ถ้าปฏิบัติอย่าง
วิถีสู่สันติภาพ
ที่ว่ามานั้นได้จริง ก็เป็นครูอาจารย์ที่จะเป็นผู้สร้างสันติภาพต่อไป
การศึกษานั้นสัมฤทธิ์ผลเป็นสันติภาพ และสันติสุข ทั้งภาย
นอกและภายใน ทั้งในโลก ในสังคม และในจิตใจของทุกคน
จึงขอให้ทุกคนเจริญงอกงามในสันติที่มีความสุขมาพรั่งพร้อม
ด้วย ทั้งภายในและขยายไปภายนอก ให้เป็นความสุขและเป็นสันติที่
เป็นสากล ขอจงมีความสุขสวัสดีทั่วกันทุกท่าน


Create Date : 01 สิงหาคม 2553
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 12:59:11 น. 0 comments
Counter : 595 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ถนอมครับ
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]














ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยี่ยมชม
[Add ถนอมครับ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com