 |
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
 |
14 มกราคม 2550 |
|
 |
 |
|
 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
 |
 |
|
"สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"สามารถแก้ปัญหาสังคมที่ยากๆ เมื่อทำตามแนวทาง
"สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"
เสนอ โดย

ศ.น.พ.ประเวศ วะสี
มาจากการ ค้นหา "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"จาก google ที่เวบข้างล่าง
//gotoknow.org/blog/ict-today/2297
"ภูเขา" หมายถึง สิ่งยากที่ดูเหมือนเขยื้อนไม่ได้ สามารถ
จัดการให้เขยื้อนได้โดย โครงสร้างสามเหลี่ยม หรือ สาม
มุมเชื่อมกันดังรูป ข้างล่าง

ดังนั้น สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ก็หมายถึง การจัดการความ
รู้เพื่อเคลื่อนสิ่งยากโดย การจัดการให้มีการสร้างความรู้
และจัดการให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน ที่เรียกว่า "การเรียนรู้ร่วม
กันในการปฏิบัติ" ในการนี้ต้องมี "หน่วยจัดการความรู้ที่
เป็นอิสระ"ที่จัดกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้นที่ไม่มีผล
ประโยชน์แอบแฝงของใคร นอกจาก ผลประโยชน์ของ
ส่วนรวมเท่านั้น
ซึ่งสามมุม ประกอบด้วย
มุมที่ 1 การสร้างความรู้ ด้วยการวิจัยเพื่อหาความ
รู้ในการแก้ปัญหาสังคมที่ต้องการ
การวิจัย มี 3 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่
1.1การวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research)ได้แก่
การศึกษาปัญหาเชิงบรรยายจากข้อมูลที่ได้มา นำมา
ประมวลเป็นข้อมูลทางสถิติ เพื่อเข้าใจปัญหาได้มากขึ้น
1.2การวิจัยเชิงวิเคราะห์(Analytic Research) ได้แก่ การ
นำข้อมูลเชิงสถิติ จากการวิจัยเชิงพรรณาข้อ 1.1 มา
วิเคราะห์ หาเหตุ-หาผลเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหานั้น และ
1.3การวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Research)
ได้แก่ การนำเหตุ-ผล จากการวิจัยเชิงวิเคราะห์ข้อ 1.2
มาทำการทดลอง ว่าเป็นไปตามที่วิเคราะห์ หรือไม่ ผลที่ได้
จะนำมาใช้ดำเนินการแก้ปัญหาซึ่งต้องดำเนินการตามวงจร
คุณภาพของเดมมิงส์ PDCA-P-Plan,D-Do,C-Check,,A-
Act
มุมที่ 2 การเคลื่อนไหวทางสังคม
หมายถึงการที่สังคมเข้ามาร่วมเรียนรู้ ร่วมบอกความต้อง
การ นี่คือการจัดการเรียนรู้ ซึ่งต้องแปรความรู้ในมุมที่ 1 ให้
อยู่ในรูปที่สังคมจะเข้าใจได้ง่าย เข้าร่วมได้ เรียกว่าความรู้
เพิ่มอำนาจให้สาธารณะ (empowerment)
ถ้าปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง สังคมจะเคลื่อนไปได้ยาก ไม่
มีพลัง หรือเคลื่อนแล้วเพี้ยนไปทางอื่น
โดยมีการรวมตัวกันของผู้มีความรู้ ตามมุมที่ 1.ของ "สาม
เหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"นั้น ขึ้นเป็นกลุ่มคน โดยมีผู้นำกลุ่มที่มีความสามารถนำความรู้นั้นให้ออก
มาเป็นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้
มุมที่ 3 อำนาจรัฐ หรือ อำนาจทางการเมือง การ
เมืองเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นผู้ใช้อำนาจ
รัฐ บริหารการใช้ทรัพยากรของรัฐ และเป็นผู้ออกกฎหมายมาบังคับใช้ให้เป็นไปตามความรู้นั้นๆ
สามเหลี่ยมทั้ง 3 มุม จะต้องประกอบกัน ไม่อ่อนมุมใดมุม
หนึ่ง แม้มีนักการเมืองที่ดีเป็น มุมที่3 แต่ปราศจากมุมที่ 1
และมุมที่ 2 ก็ไม่สามารถแก้ปัญหายากๆ ได้ เช่น
ปัญหา หวยบนดิน ประชาชนยังหลงใหลในการพนัน
การยกเลิกหวยบนดิน ยังถูกต่อต้านจากผู้ได้ประโยชน์จาก
หวยบนดิน เป็นต้น
รูปแบบของ "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" สามารถนำไปใช้ใน
ปัญหาเรื่อง และ ระดับต่างๆ ได้ไม่ว่าระดับประเทศ ระดับ
ภูมิภาค ระดับหน่วยงาน ระดับครอบครัว และ ระดับส่วน
บุคคล
ขอยกตัวอย่างระดับหน่วยงาน ที่ทำการรณรงค์
"สร้างสุขภาพทั้งหน่วยงาน" (ย้ายภูเขา)ด้วยการให้เจ้า
หน้าที่ ทั้งหมดออกกำลังกายสัปดาห์ละ3วัน วันละ 30
นาที ตามผลการวิจัย ว่าการออกกำลังกายทำให้สุขภาพ
แข็งแรง(มุมที่1)ได้นำมาใช้ในหน่วยงาน(มุมที่2)ให้คนใน
หน่วยงานออกกำลังกายตามความสมัครใจตามเกณฑ์ข้าง
ต้น ปรากฏว่า เมื่อเวลาผ่านไปคนออกกำลังกาย จะลดลง
เรื่อยๆ แต่เมื่อหัวหน้าหน่วยงาน นำสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
มาใช้(มุมที่3)มาใช้โดยการออก ระเบียบของหน่วยงานว่า
ถ้าออกกำลังกายไม่ถึง80%ของกิจกรรมจะไม่ได้รับการ
พิจารณาความดีความชอบขั้นพิเศษ จะไม่ได้รับโบนัส จาก
การทำงานเท่าผู้ทำกิจกรรมตามเกณฑ์
ผลปรากฏว่าเมื่อใช้มุมที่ 3 นี้มาบังคับทำให้คนในหน่วย
งานออกกำลังกายตามเกณฑ์ 100% ได้ เป็นต้น
Create Date : 14 มกราคม 2550 |
Last Update : 14 เมษายน 2550 18:33:17 น. |
|
3 comments
|
Counter : 16890 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: icebridy วันที่: 14 มกราคม 2550 เวลา:19:44:51 น. |
|
|
|
โดย: samrotri (samrotri ) วันที่: 18 มีนาคม 2550 เวลา:12:52:37 น. |
|
|
|
โดย: samrotri (samrotri ) วันที่: 1 เมษายน 2550 เวลา:14:00:24 น. |
|
|
|
| |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|
เข้ามาทักทายค่ะ มีความสุขมาก ๆ น่ะค่ะ