แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 สิงหาคม 2550
 
 

"แพทย์ไม่พอ และ ทำงานหนัก จริงหรือ"



คำนำ เมื่อเข้ามาในบล็อกแก็งค์ นี้แล้ว จะพบกับบทความเรื่องแรก ของบล็อกในกลุ่มข่าวด้านขวามือ ที่มีคำว่า now here กระพริบอยู่

ส่วนพื้นที่ใต้บล็อกกลุ่มข่าวนี้ จะมีเรื่องในกลุ่มข่าวนั้น ให้กดเข้ามาอ่านได้ มีข่าวให้เลือกอ่านอีก ถึง 15 เรื่อง และ

ยังมีลิงค์เวบที่หน้าสนใจทางด้านซ้ายมือ กดเข้าชมลิงค์ได้อีกด้วย

หมายเหตุได้เก็บสะสมข่าว และ ลิงค์ เวบที่น่าสนใจไว้มากมาย เพื่อจะนำมาใช้อ้างอิงในวันหน้า เมื่อต้องการจะนำมาอ้างอิงจะได้เข้ามาค้นหา
ผู้เข้ามาเยี่ยมชมก็สามารถเข้ามาค้นหาและนำไปอ้างอิงได้ เพราะ เป็นข่าวที่เผยแพร่ เป็นสาธารณะ ใครจะนำไปใช้ เพียงขอให้อ้างอิงที่มาว่าได้มาจากที่ใดก็ไม่น่าจะมีปัญหา


เตือนนักเรียนอยากเป็นหมอ ต้องเต็มใจไม่ชอบอาจไม่จบ
[ข่าวจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ วันเสาร์ที่ 18 ส.ค. 50 - 14:28]



พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในงาน
โครงการ “เปิดรั้วโรงเรียนแพทย์ ครั้งที่ 5”
วันนี้ (18 ส.ค.) ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา โรงพยาบาลราชวิถี ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมเต็มอัตรากว่า 1,700 คนว่า
การเรียนแพทย์ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด นักเรียนที่ตัดสินใจเข้ามาเรียนจะต้องพบกับความเหนื่อยยาก ตลอดทั้งชีวิตอาจจะต้องทิ้งการแสวงหาความสุขอย่างที่คนอื่นมี ดังนั้น จะต้องมีความอดทน ขยัน เสียสละ และรับผิดชอบ

คณบดีวิทยาลัยแพทย์ฯ ม.รังสิต กล่าวต่อว่า
การเรียนแพทย์ใช้เวลา 6 ปี หลังจากเรียนจบต้องทำงานใช้ทุนคืนให้ประเทศอีก 3 ปี แล้วจึงมีโอกาสไปศึกษาต่อแพทย์สาขาเฉพาะทางอีก 3-5 ปี
นอกจากนั้น จะต้องรักษาสุขภาพ ระมัดระวังอย่าให้ป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างศึกษา โดยจะทำให้เรียนไม่ต่อเนื่อง
ขณะที่เรียนหนักจนแทบไม่มีเวลาให้ครอบครัว ที่สำคัญที่สุด คือ ตัวนักเรียนต้องมีความเต็มใจ ต้องอยากเรียนเอง ไม่ใช่เพราะผู้ปกครองอยากให้เรียน หรือเรียนตามเพื่อน หรือเรียนเพราะอยากมีเกียรติ อยากมีรายได้ดี จะทำให้เมื่อเข้ามาเรียนแล้วเรียนไม่จบ

“คนที่ไม่ได้ชอบ ไม่ได้เต็มใจอยากเรียนแพทย์จริง ๆ เข้ามาจะมีปัญหามากในการเรียน บางคนสอบตกต้องเรียน 9-12 ปี เมื่อจบไปก็ไม่ได้เป็นแพทย์ บางคนเปลี่ยนเส้นทางไปเลย แต่บางคนก็ไปทำงานเป็นฝ่ายบริหารของโรงพยาบาล หรือห้องปฏิบัติการต่างๆ โดยถือว่าไม่ห่างจากวิชาชีพนัก

จุดสำคัญอีกจุดหนึ่งคือ การสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม หากไม่ตั้งใจเรียนจะสอบไม่ได้ ก็จะไม่ได้เป็นแพทย์เช่นกัน ส่วนคนที่อยากเรียนแพทย์จริง ๆ แต่ไม่มีเงิน ขอให้แสดงความตั้งใจมุ่งมั่นให้ชัดเจน เพราะทุนที่ให้อยู่มากและเพียงพอ แต่เมื่อเรียนจบอาจต้องทำงานใช้คืนทุนนานกว่าคนอื่น” พญ.บุญเชียร กล่าว

คณบดีวิทยาลัยแพทย์ฯ ม.รังสิต กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ประเทศไทยยังถือว่าขาดแพทย์อีกมาก คิดเป็นอัตราส่วนแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,600 คน แต่ที่เหมาะสม น่าจะไปถึง 1 ต่อ 800 คน โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีกนานกว่า 10 ปี เพราะแต่ละปีมีนักศึกษาแพทย์เรียนจบประมาณ 1,250 คน การศึกษาแพทย์วิชาชีพเฉพาะทางในไทยรับได้ประมาณปีละ 300 คน ปัญหาในการเรียนการสอนแพทย์ขณะนี้ อยู่ที่ปี 1-3 หรือชั้นพรีคลินิก อาจารย์จะสอนวิทยาศาสตร์แท้ๆ โดยไม่ได้ระบุชัดเน้นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับแพทย์ ทั้งนี้อยู่ระหว่างปฏิรูปหลักสูตร

ด้าน นพท.ณัฐพงษ์ วาณิชย์เจริญ นายกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 วิทยาลัยแพทย์พระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า

นักเรียนที่จะเรียนแพทย์ต้องรู้ตัวเองว่าชอบหรือไม่ ต้องยอมรับให้ได้ว่าเรียนหนัก และใช้ความอดทนมาก ก่อนตัดสินใจมาเรียนควรศึกษาดูงานอย่างละเอียด ทั้งแง่หลักสูตรวิชาการ และการปฏิบัติงานจริงของแพทย์ อย่าเดินตามค่านิยมที่ผิด เช่น คนที่เรียนเก่งทุกคนต้องมาเรียนแพทย์ แท้จริงตัวเองอาจไม่ต้องการอยู่กับอาชีพแบบนี้ไปตลอดชีวิต ส่วนคนที่อยากเรียนแพทย์แต่พยายามสอบแล้วไม่ได้ คงต้องพิจารณาอีกครั้ง เพราะการสอบเข้าที่ว่ายากแล้ว แต่การเรียนยากกว่าหลายเท่า

...............................................................................................


น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์

ผม ขอยกข้อความของท่าน คณบดีวิทยาลัยแพทย์ฯ ม.รังสิต ที่กล่าวว่า ขณะนี้
ประเทศไทยยังถือว่าขาดแพทย์อีกมาก คิดเป็นอัตราส่วนแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,600 คน
แต่ที่เหมาะสม น่าจะไปถึง 1 ต่อ 800 คน
โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีกนานกว่า 10 ปี เพราะแต่ละปีมีนักศึกษาแพทย์เรียนจบประมาณ 1,250 คน การศึกษาแพทย์วิชาชีพเฉพาะทางในไทยรับได้ประมาณปีละ 300 คน

ผมว่าถ้ามีการกระจายแพทย์ให้เหมาะสมเป็นรูปเครือข่าย 3 ระดับ รับส่งต่อ กัน จะทำให้แพทย์ไม่ขาดแคลน จากการลาออกเพราะงานหนัก เพราะ เมื่อกระจายเป็นรูปเครือข่ายได้แล้ว งานแต่ละเครือข่ายจะไม่หนัก นอกจากแพทย์ไม่ลาออกแล้วที่ลาออกไปแล้วเมื่อเห็นงานสบายเป็นเครือข่าย อาจกลับเข้ามาทำงานต่อเป็นแพทย์ตามความถนัด หรือ มาเป็นแพทย์ด่านแรกคอยเป็นแพทย์คนแรกที่ตรวจวินิจฉัยคนไข้ เหมือนในต่างประเทศ ที่มีแพทย์ด่านแรก หรือ แพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว มากกว่าแพทย์เฉพาะทาง(แพทย์ด่านแรกควรมีถึงครึ่งหนึ่งของแพทย์ในประเทศ) และ ถ้าเป็นไปได้สร้างแรงจูงใจ จ่ายตามผลงาน มีคนไข้ดูแลมาก ได้มาก ออกตรวจนอกสถานที่ อาจให้ค่าน้ำมันรถ ถ้าใช้รถตนเอง ตามระยะทาง เสริมเข้าไปอีก จะทำให้มีแพทย์ด่านแรกเป็นผู้ตรวจคนแรก และ เลือกสถานพยาบาลที่เหมาะสมให้คนไข้ ที่ไม่รู้เรื่องการแพทย์เลือกเอง หน้าที่ของแพทย์ด่านแรก ต้องทำงาน 2 สถานที่ เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ แทนที่จะตรวจรักษาอยู่แต่ที่ ร.พ. เป็นว่า ช่วงเช้าตรวจคนไข้ในตึก เฉพาะ คนไข้ในพื้นที่รับผิดชอบ ประมาณ 9 โมงเช้าหรือกว่านั้นเล็กน้อย ก็ออกตรวจคนไข้นอกที่สถานีอนามัยในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบพร้อมทีมสุขภาพ (เภสัช,ทันตแพทย์,พยาบาล และ เจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง)ไปดูแลคนไข้ป่วยที่เพิ่งเริ่มป่วยเล็กน้อยรักษาง่ายๆ หรือ มารอรับยาเก่า น้อยครั้งที่จะมีเกินความสามารถต้องส่งต่อไปร.พ.ก็เขียนใบส่งตัวให้ถือไปสถานพยาบาลที่เหมาะสมให้ต่อไป แทนที่จะให้คนไข้เดินทางมา30-50ครอบครัวมา ร.พ.เป็นนั่งรอแพทย์มาออกตรวจพร้อมทีมสุขภาพที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน
ผมไปออกตรวจส่วนใหญ่ แทบจะไม่มีส่งต่อเลย คนไข้พอใจมาก แต่ยังมีคนไข้ที่เบิกได้ บอกว่าต้องมา ร.พ.เพราะ ที่สถานีอนามัยไม่สามารถแสกนนิ้วจ่ายตรงได้ เหมือนที่ ร.พ.ไม่ทราบว่า เพราะเหตุใด???จึงทำให้ไม่ได้
แต่ถ้าแพทย์ไม่ว่างไปก็จะมีพยาบาลเวชปฏิบัติที่ประจำสถานีอนามัยตรวจแทนให้ถ้ามีปัญหาก็สามารถโทรฯปรึกษาแพทย์เจ้าของพื้นที่ได้ในเวลาราชการ
แต่ถ้านอกเวลาราชการสามารถปรึกษาแพทย์เวร ร.พ.ที่อยู่เวรนอกเวลาให้คำปรึกษาได้ ที่งานสาธารณสุขหนักเพราะไม่ทำให้เป็นรูปเครือข่ายเอง จึงเกิดการลาออกของแพทย์ คนไข้ มารอรับบริการกันมากที่ ร.พ. แล้วสถานีอนามัยใกล้บ้านกลับว่าง แทนที่ป่วยเป็นแค่ไข้หวัดรักษาง่าย กลายเป็น เป็นหนัก เป็นปอดอักเสบ จึงมา ร.พ.เพราะไม่มีสถานพยาบาลมีคุณภาพใกล้บ้าน

การจัดระบบสาธารณสุขให้เป็นรูปเครือข่าย 3 ระดับ ดังเวบข้างล่าง

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2006&date=30&group=1&gblog=3

และ ประชาชนไม่รับทราบความจริงว่า คนจะป่วยจะเริ่มจากเป็นน้อยก่อน ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ที่เรียนมาเพื่อดูแลรักษาคนไข้ที่ป่วยหนัก พบเพียงแพทย์ทั่วไป ที่จบแพทย์ 6 ปี ก็สามารถให้การรักษาได้ มากกว่า 9 ใน 10 คนที่ป่วย เมื่อเกินความสามารถก็จะส่งต่อให้ไม่ต้องเสียค่ารักษา และ ประชาชน ยังไม่ใส่ใจเรื่องการดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรง ในประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มมีแนวทาง จะให้ผู้ที่ไม่ดูแลสุขภาพ โดยดูจากพฤติกรรม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ทานอาหารมาก ไม่ออกกำลังกาย จนอ้วน ให้ร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย ดังเวบ

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11

ดังนั้น เมื่อประชาชนเริ่มดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และ เริ่มรู้ว่าป่วยเล็กน้อย ควรไปพบแพทย์ใกล้บ้าน หรือ แพทย์ด่านแรก ที่กำลังเร่งพัฒนาให้มีขึ้น ให้มีคุณภาพ มีแพทย์ทั่วไปด่านแรกที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน ซึ่งเมื่อทำตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน มีแพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ไปตรวจรักษา ตามเกณฑ์ คือ 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ ไปในวันราชการทุกวันวันละ 3 ชั่วโมง พร้อมทีมสุขภาพ ก็จะทำให้แพทย์ทำงานสบาย ถ้าเลือกเป็นแพทย์ด่านแรก ซึ่งควรจะมีจำนวนแพทย์ด่านแรก เป็นครึ่งหนึ่ง ของแพทย์ทั้งประเทศ แต่ตอนนี้การกระจายตัวของแพทย์ผิด มีแพทย์เฉพาะทางมาก ไม่มีแพทย์สนใจเป็นแพทย์ด่านแรก ซึ่งที่จริงงานสบายมาก ตอน เช้าดูคนไข้ที่มานอนใน ร.พ.เสร็จแล้วก็ขับรถ หรือ ขึ้นรถ ไปพร้อมกับทีมสุขภาพ ไปให้บริการที่สถานีอนามัย เที่ยงก็กลับมาดูแลคนไข้พื้นที่นั้น ที่มานอนรักษาใน ร.พ.ตอนนี้ผมไปเพียงวันเดียว 3 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งตามเกณฑ์ต้องไปทุกวันตอนเช้า รวม 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะทำให้ ร.พ.ทุกแห่ง คนไข้ที่จำเป็นเท่านั้นถึงจะมา ร.พ.เป็นคนไข้รอบ ร.พ.ที่มี ร.พ.เป็นสถานพยาบาลด่านแรก และ รับคนไข้ฉุกเฉิน หรือ ป่วยหนัก หรือ อุบัติเหตุ ซึ่งมาได้โดยไม่ต้องพบแพทย์ใกล้บ้าน ส่งตรวจมาตรวจ

จึงขอประชาสัมพันธ์ว่า ใครที่ชอบเป็นแพทย์ มีใจรัก อยากช่วยเหลือ ผู้ป่วยไข้ เลือก เรียนแพทย์ มาได้
ถ้ามีความสามารถ เรียนได้ ทนความยากลำบากในการเรียนได้ เหมือนการฝึกความอดทนก่อนจะมาเป็นแพทย์จริง
ผมคาดว่าไม่นานการจัดระบบเป็นรูปเครือข่ายเหมือนประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ จะเป็นจริง

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4

เมื่อถึงเวลานั้นการเป็นแพทย์ จะไม่ลำบากแล้ว เพราะ มีให้เลือกว่าจะอยู่ด่านใด ตามใจที่ชอบ

ถ้าชอบงานทำงานสบาย ไม่ต้องดูแลคนไข้หนัก ก็อยู่ด่านแรก พบคนป่วยเกินความสามารถก็ส่งต่อไปให้ด่านสอง หรือ ด่านสามดูแทน รับดูเฉพาะคนไข้เริ่มป่วยซึ่งมีมากกว่า 90%ของคนป่วย
ถ้าชอบเฉพาะทาง งานก็จะไม่หนัก เพราะ จะมีแพทย์ด่านแรก ดูแล ดูให้ก่อนแล้วเลือกเฉพาะที่ควรส่งจึงส่งต่อ งานจึงไม่หนัก และ
ถ้าชอบวิจัย ชอบสอนหนังสือ ก็เป็นแพทย์ด่านสาม ใน ร.พ.ที่เป็นร.ร.แพทย์ ทำวิจัย สอนหนังสือ ก็จะมีความสุขได้ เช่นกัน

อยากให้เกิดเป็นจริง เพื่องานสาธารณสุข จะได้สบาย และ ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้จริง

สำหรับผมอยู่ด่านแรก สบาย เจอคนไข้เกินความสามารถก็ส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทาง ไปรักษา แทน รับดูเฉพาะ คนไข้เริ่มป่วยหรือป่วยเล็กน้อย โอกาศโดนฟ้อง จะน้อยมากเพราะไม่ได้ไปรักษาคนไข้อาการหนัก จะมีโดนฟ้อง ก็ตอนที่คนไข้ป่วยหนัก ไปบอกว่าไม่หนักรับไว้รักษาด่านแรก จนเสียชีวิต โดนฟ้อง ได้จึงควรระมัดระวังไม่แน่ใจปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หรือ ส่งต่อไปปลอดภัยกับคนไข้และต่อตนเองจากการโดนฟ้องร้องด้วย




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2550
10 comments
Last Update : 20 สิงหาคม 2550 15:29:25 น.
Counter : 1235 Pageviews.

 

Sook San Wan Kerd Kha

 

โดย: โสมรัศมี 26 สิงหาคม 2550 0:51:04 น.  

 

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket

ให้โชคดีสุขีวันเกิด
สิ่งประเสริฐใดหวังตั้งใจ
ให้ได้สมดังฝันใฝ่
จิตแจ่มใสทุกวันคืน
ให้ร่ำรวยเงินทองยศศักดิ์
ให้คนรักมีดาษดื่น
ทำสิ่งใดจงลุล่วงราบรื่น
อายุยืนปลอดโรคปลอดภัย

 

โดย: เนระพูสี 26 สิงหาคม 2550 2:48:12 น.  

 

มีความสุขมาก ๆ นะครับ
สุขสันต์วันเกิดครับ

 

โดย: :bo (ECie ) 26 สิงหาคม 2550 8:23:48 น.  

 

มาทักทายเพื่อนที่เกิดวันเดียวกัน (26 ส.ค.)

สุขสันต์วันเกิดนะคะ

ขอให้มีความสุขมากๆ

สมหวังในทุกสิ่งที่ตั้งใจไว้ค่ะ

อิ อิ ทำไมหนูก็เกิดวันนี้เรียนไม่เห็นเก่งเลยค๊า

 

โดย: เพียงแค่เหงา 26 สิงหาคม 2550 10:53:52 น.  

 

Happy birthday nakah

 

โดย: aey_tara 26 สิงหาคม 2550 11:44:33 น.  

 



::::::: H A P P Y :: B I R T H D A Y :::::::


ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ

 

โดย: หนีแม่มาอาร์ซีเอ 26 สิงหาคม 2550 12:24:06 น.  

 

ขอให้มีความสุขมากๆนะคะทุกๆวันเลยคะ

 

โดย: Gu_modmod 26 สิงหาคม 2550 20:22:03 น.  

 




เขาว่าวันเกิดมีคนมาอวยพรน่ะมีความสุขดีนะ
ก็เลยชอบเอาการ์ดมาอวยพรชาวบ้านเค้าในวันเกิด
สุขสันต์วันเกิดครับ
ขอให้มีความสุขมากๆ


 

 

โดย: granun 26 สิงหาคม 2550 21:11:32 น.  

 

แวะมาสุขสันต์วันเกิดค่ะ

ขอให้คุณเจ้าของบล็อก และครอบครัวมีแต่ความสุข สมหวัง สดชื่น แจ่มใสทั้งกายและใจตลอดไปนะคะ

รวย ๆ ๆ เฮง ๆ ๆ ค่ะ




ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ... รักษาสุขภาพด้วยนะคะ...

 

โดย: largeface 26 สิงหาคม 2550 21:29:40 น.  

 

***Pahu and Pameow***



ป้าพานางฟ้ามาอวยพรวันเกิดค่ะ
ขอให้พบแต่สิ่งดีๆ คนที่ดีมีจิตใจดี
และเหตุการณ์ดีๆนะคะ
หวังว่าคงจะไม่ช้าไปนะคะ
*********
*****


 

โดย: ป้าหู้เองค่ะ (fifty-four ) 26 สิงหาคม 2550 22:25:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ เวชศาสตร์ป้องกัน
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร.พ.พนมสารคาม และ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โทรฯ 0896112714
[Add samrotri's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com