กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2567
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
16 พฤษภาคม 2567
space
space
space

สมถะ กับ สติปัฏฐาน แยกกันตรงไหน ร่วมกันตรงไหน


กท.นี้ 450 มีประเด็นต่อไปเรื่องสติปัฏฐาน ๔ 

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=15-05-2024&group=1&gblog=103

ความคิดเห็นที่ 27
ขอแชร์ให้ฟัง

มีครั้งหนึ่งผมไปรายงานสภาวะธรรมกับหลวงพ่อปราโมทย์

ท่านถามว่า มีสติตั้งมั่นดีไหม
ผม  ขณะนั้นผมมองดูพระพุทธรูปด้านขวา  (ซ้ายมือของท่าน)  ตอนนั้นผมทรงอารมณ์รู้ ทั้งสติ และสมาธิ ได้อย่างชัดเจน

แต่... ท่านบอกว่า แบบนี้ ผิด!!!!

ผมรับว่าครับ  แต่ยังงงว่า  เอเราผิดตรงไหนหว่า  ท่านไม่ได้บอกอะไรเพิ่ม ปล่อยให้ผมมาดูเอง พอกลับมาทบทวนจึงรู้ว่า อ๋อ แบบนี้...
------
ผิดเพราะจิตเคลื่อนไปที่พระพุทธรูป  คือ ถ้าทำเพื่อสมถะ  เป็นพุทธานุสติ  ก็ถือว่าถูกต้อง

แต่..ถ้าเพื่อวิปัสสนา  ตามหลักสติปัฏฐาน 4  นั้นมี  "ฐานแค่ 4 อย่าง"  คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้น และพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ ของ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น

อาจเห็นสภาวะธรรมภายนอกก่อนได้   แต่สุดท้ายต้องน้อมกลับมา ให้เห็นไตรลักษณ์ ที่ กาย เวทนา จิต ธรรม ของตนเสมอ

"ถ้าออกนอกจาก 4 อย่างนี้ ผิดหลักทั้งหมด"

ที่ท่านชี้ให้ดูตรงนี้สำคัญมาก เพราะแม้พระอนาคามี  ยังเผลอส่งจิตไปใน รูปฌาน อรูปฌาน (รูปราคะ อรูปราคะ)  แล้วติดข้องอยู่ในนั้นได้

หลักตรงนี้  ท่านจึงสอนให้เราเอาไปใช้ได้จนจบกิจถึงพระอรหันต์

สรุป เจิญสติอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม ของตนเท่านั้น

ความคิดเห็นที่ 27-1
ถ้าขณะที่มองพระพุทธรูป   แล้วเรารู้ตัวว่ากําลังมอง  อย่างนี้ถือว่าถูกไหมคะ


ความคิดเห็นที่ 27-2
อย่างแรก ให้รู้ธรรมชาติของจิตก่อนว่า

จิตทำงานได้ครั้งละอย่างเดียว แค่มันทำได้เร็วแบบติดๆ กัน หากแยกไม่ทันก็คิดว่า มีแค่ 1 การทำงาน

จากคำถาม  แบบนี้เป็น 2 ขณะ หรือ 2 ขั้นตอนครับ

1. ตอนที่มอง  อันนี้  ส่งจิตออกนอกเรียบร้อย  ตรงนี้ออกนอกฐาน
2. ตอนที่รู้ตัว อันนี้  มีสติกลับมาที่จิตรู้  ตรงนี้กลับมาที่ฐาน

ครั้งแรกผิด ครั้ง 2 ถูก ครับ แต่สรุปแล้ว ถือว่าใช้ได้
------
หัวใจสำคัญ ทำไมถึงใช้ได้

เพราะโดยปกติ  จิตจะเผลออยู่แล้ว  ยังไงก็เผลอ  สิ่งที่ควรทำ เมื่อเผลอเราก็แค่กลับมา มีสติรู้บ่อยๆ

เพื่ออะไร....เพื่อให้เห็นความต่างของ สิ่ง 2 สิ่งและนำไปสู่การให้จิตได้เรียนรู้ว่า

1. นี่ไง พยายามแค่ไหน มันก็เผลอ มันต้องเกิดดับ จากรู้ที่หนึ่ง ไปอีกที่เสมอ  "นี่เห็นอนิจจัง"
2. นี่ไง พยายามแค่ไหน มันก็เผลอ มันทนอยู่ในที่ๆ เดียวไม่ได้   "นี่เห็นทุกขัง"
3. นี่ไง พยายามแค่ไหน มันก็เผลอ มันบังคับไปตลอดกาลไม่ได้   "นี่เห็นอนัตตา"

เมื่อเห็น 3 สิ่งนี้มากเข้า ปัญญาบารมี จะเข้มเเข็งขึ้น และนำไปสู่การได้  "ดวงตาเห็นธรรม"  ครับ




235 สมถะ กับ สติปัฏฐาน  แยกกันตรงไหน  ร่วมกันตรงไหน หรือพูดใหม่ว่า สมาธิ กับ ปัญญา แยกกันตรงไหน  ร่วมกันตรงไหน  

- สติปัฏฐานนี่เรื่องใหญ่เรื่องยาว อ้างอิงกันบ่อย  โดยเฉพาะชื่อสั้นๆ กาย  เวทนา จิต ธรรม  วางหลักปฏิบัติให้สังเกตแต่พอเห็นเค้า เต็มๆศึกษาตามลิงค์

     สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และวิปัสสนา 

     ในสมถะ  สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือ เคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด    ส่วนในวิปัสสนา    สติกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้   ไม่จำกัดขอบเขต

     ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง  ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย    ส่วนในวิปัสสนา   ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด  สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณา  และอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง   (สรุปลงได้ทั้งหมดใน ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนาม และรูป)

     ในการเจริญสมถะ  สาระสำคัญมีเพียงให้ใช้สติกำกับจิตไว้กับอารมณ์ หรือ คอยนึกถึงอารมณ์นั้นไว้ และเพ่งความสนใจไปที่อารมณ์  ให้จิตอยู่กับอารมณ์นั้นจนแน่วแน่

- ตัวอย่างเพ่งอารมณ์สมถะ (สมาธิล้วน) 450

   ลักษณะไทย | ย้อนเรื่องราวชีวิตจริงที่ยิ่งกว่านิยาย | Facebook


235 จับหลักปฏิบัติสมถะ  กับ  วิปัสสนา   451 นั่น ให้ได้ เมื่อจับหลักได้แล้วพลิกแพลงได้หมด


235 เต็มๆ สติปัฏฐานเป็นอาหารของโพชฌงค์    450

     ความจริงนั้น สติไม่ใช่ตัววิปัสสนา  ปัญญา หรือการใช้ปัญญาต่างหาก  เป็นวิปัสสนา  แต่ปัญญาจะได้โอกาส และจะทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่  ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วย  การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

     พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติ ก็เพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง ในภาษาของการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติ ก็มักเล็งและรวมถึงสัมปชัญญะ คือ ปัญญา  ที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็ง หรือชำนาญคล่องแคล่วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน

ต่อ  

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=89


235 เหตุใดสติที่ตามทันขณะปัจจุบัน จึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา?


     กิจกรรมสามัญที่สุดของทุกๆคน  ซึ่งเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ก็คือ การรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

     เมื่อมีการรับรู้  ก็มีความรู้สึกพร้อมไปด้วย คือ สุขสบายบ้าง ทุกข์ระคายเจ็บปวด ไม่สบาย บ้าง เฉยๆ บ้าง เมื่อมีความรู้สึกสุขทุกข์ ก็มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในใจด้วย คือ ถ้าสุขสบายที่สิ่งใด ก็ชอบใจติดใจสิ่งนั้น ถ้าไม่สบายได้ทุกข์ที่สิ่งใด ก็ขัดใจไม่ชอบสิ่งนั้น เมื่อชอบ ก็อยากรับรู้อีก อยากเสพซ้ำ หรืออยากได้ อยากเอา เมื่อไม่ชอบ ก็เลี่ยงหนี หรืออยากกำจัด อยากทำลาย


https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=88


235 สาระสำคัญของสติปัฏฐาน


     จากใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่าจะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือจำเพาะในกาลเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเหตุนี้ จึงมีการสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

     ว่าโดยสาระสำคัญ สติปัฏฐาน ๔ บอกให้รู้ว่า  ชีวิตของเรานี้  มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลทั้งหมด เพียง ๔ แห่งเท่านั้นเอง คือ ร่างกายและพฤติกรรมของมัน ๑ เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ ๑ ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ ๑ ความคิดนึกไตร่ตรอง ๑  ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้งสี่นี้แล้ว  ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย  ไร้ทุกข์  มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทานำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=85


235 สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ


      สติปัฏฐาน  แปลว่า  ที่ตั้งของสติ บ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกำกับอยู่ บ้าง ฯลฯ ว่าโดยหลักการ ก็คือการใช้สติ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด ดังความแห่งพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

        "ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน ๔"  (ที.ม.10/273/245 ฯลฯ)

     การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว  ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌาน อย่างที่จะกล่าวถึงในเรื่องสัมมาสมาธิอันเป็นองค์มรรคข้อที่ ๘ ก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้

     วิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมาก  พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน  จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=84


235 กระบวนการปฏิบัติ - ผลของการปฏิบัติ


     องค์ประกอบ หรือ สิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัติ นี้ มี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ทำ (ตัวทำการ ที่คอยสังเกตตามดูรู้ทัน) กับ ฝ่ายที่ถูกทำ  (สิ่งที่ถูกสังเกตตามดูรู้ทัน)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=87


235   ที่ว่ามาทั้งหมด ก็อกๆแก๊กๆ ดวงตาเห็นธรรมล่ะ  ไม่มีอุปสรรคอันใด แต่ความจริงเปล่า  จะเรียกภาวนาหรือจะเรียกอะไรแล้วแต่   มันมีอุปสรรคตามพื้นประจำของชีวิต (รูปนาม) เมื่อถึงระดับหนึ่ง ดูตัวอย่าง

ความคิดเห็นที่ 6
ตอนแรก  ดิฉันมีอาการผิดปกติทางกายแล้วไปถามผู้สอนแล้วได้คำตอบที่ไม่สมเหตุผลมากเลยจึงขาดความไว้ใจในตัวผู้สอน  คราวนี้พอเกิดอย่างอื่นตามมาก็ไม่ได้ถามอีก
ต่อมา ทั้งตาฝาด หูแว่ว ได้ยินอะไรแบบพิเศษจากปกติ   ก็คิดว่าตัวเองวิเศษ  ไม่ไปถามผู้ฝึกสอนอีกเพราะขาดความไว้วางใจ   แถมหลงในสิ่งลวงนั้นแล้วด้วย  เป็นหนักจนต้องไปอยู่โรงพยาบาล และก็รักษาจนรู้ตัว และเข้าใจแล้วว่าเป็นเรื่องไม่จริง
แต่ยังมีอาการอย่างนึงที่ยังไม่หายคือใจแว่ว   (ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดีค่ะเพราะมันคลายหูแว่วแต่เสียงเหมือนมีคนอื่นพูดมาจากใจเรา)   กินยาตามหมอสั่งมาก็หลายเดือนก็ยังไม่หาย  ยังงงอยู่ว่าเป็นไปได้อย่างไร  เสียงที่ได้ยินบอกว่าไม่หายหรอกต้องเป็นคนจิตผิดปกติไปตลอดบ้างละ ต้องไปฝึกสมาธิต่อให้หายบ้างละ  ฟังไปก็งงไปเรื่อยค่ะ เข้าใจว่ามันเป็นอาการจิตเภทแบบที่หมอบอก  แต่ไม่รู้ว่าต้องเดินทางไปสุดวิธีรักษาแบบคนเป็นโรคจิต หรือควรกลับมาทางทำสมาธิแทน แต่กลัวตอนที่ร่างกายผิดปกติ กลัวเป็นอีกแล้วจะไม่หายคราวนี้


ความคิดเห็นที่ 8
แล้วอาการทางกายล่ะคะ  คุณเคยได้ยินว่ามีคนผิดปกติทางกายจากการฝึกสมาธิแล้วไม่หายไหมคะ เพราะมันเป็นเหตุนึงที่ดิฉันกลัว  จึงไม่กล้าทำอีก  เพราะตอนที่เป็นนั้น  เหมือนมีคนมาจับหน้าเราบิดแรงๆไปมาตลอดเวลา ตอนออกจากสมาธิก็ยังเป็น   ตอนนั้นค่อนข้างหวั่นใจ แต่ก็อดทนนั่งจนหายไป   ใช้เวลาช่วงนั้นราวสองวันค่ะ  กลัวว่าคราวนี้ทำอีกแล้วเกิดมันเป็นอีก แล้วไม่หายจะแย่ ....
(หากเรื่องที่เขาพูดกันว่าหมดวาสนาทางนี้เป็นเรื่องจริง  เพราะมีคนพูดใส่เราแบบนั้นเช่นกัน  แต่ดิฉันเองไม่อยากจะเชื่อ   ผลของทุกอย่างย่อมเกิดจากเหตุ  แต่ดิฉันไม่รู้ว่าเหตุใด ร่างกายราเกิดอาการผิดปกติเช่นนั้นจากการทำสมาธิ  แล้วจะไปป้องกัน หรือเลี่ยงมันได้อย่างไร )

PANTIP.COM : Y9785609 ประสบการณ์จากการฝึกสมาธิ []

 


Create Date : 16 พฤษภาคม 2567
Last Update : 16 มีนาคม 2568 20:12:20 น. 0 comments
Counter : 215 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space