กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(สํ.สฬ.18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า"ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
หลักปฏิบัติ: แยกจากหัวข้อใหญ่
สภาวธรรม
เบญจขันธ์
อายตนะ
ไตรลักษณ์
ปฏิจจสมุปบาท
กรรม
วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน
ผู้บรรลุนิพพาน
หลักบรรลุนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทา
ปรโตโฆสะ
โยนิโสมนสิการ
ปัญญา
ศีล
สมาธิ
อริยสัจ ๔
อารยธรรมวิถี
แรงจูงใจคน
ความสุข ๑
ความสุข ๒
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคม ฯ
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
เรื่องเหนือสามัญวิสัย
รู้เขา รู้เรา
คำพูดของคนใกล้สิ้นลม
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
แรงผลักดันมนุษย์
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
<<
พฤษภาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1 พฤษภาคม 2564
บาลีวินิจฉัยกรรมดี กรรมชั่ว
สรุป กรรมดี กรรมชั่ว
กรรมดี กรรมชั่ว (ต่อ
กรรม ๑๒ หรือกรรมสี ๓ หมวด
คุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรม
ทั้งกายใจเป็นอนัตตาแล้วใครจะรับผลกรรมที่อนัตตาทำ (ต่อ
ทั้งกายใจเป็นอนัตตาแล้วใครจะรับผลกรรมที่อนัตตาทำ
กรรมในกฎมนุษย์
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก.
พุทธพจน์เกี่ยวกับกรรมที่ทำให้สิ้นกรรม
กรรมที่ทำให้สิ้นกรรม
แก้กรรม แบบพุทธ
ล้างกรรมด้วยเมตตาเจโตวิมุติ
๓ ลัทธิมิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม
สุขทุกข์ ใครทำให้ ?
ผลกรรมตามนัยแห่งจูฬกรรมวิภังคสูตร
สรุป พิสูจน์และท่าทีปฏิบัติเรื่องชาติหน้า
การพิสูจน์ตายแล้วเกิด-ไม่เกิด
ผลกรรมในช่วงไกล
สมบัติ-วิบัติผลแห่งกรรม
ผลกรรมในระดับต่างๆ
บาลีวินิจฉัยกรรมดี กรรมชั่ว
สรุป กรรมดี กรรมชั่ว
กรรมดี กรรมชั่ว (ต่อ
กรรมดี กรรมชั่ว (ต่อ
กรรมดี กรรมชั่ว
บุญและบาป กับ กุศลและอกุศล
กุศลและอกุศล เป็นปัจจัยแก่กันได้
กุศล กับ อกุศล
ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว
ประเภทของกรรม
ความหมายของกรรม
ต่อจากหัวข้อล่าง
ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรม
กรรมหลักธรรมที่เนื่องอยู่ในปฏิจจสมุปบาท
กรรมดี กรรมชั่ว (ต่อ
ต่อ
อนึ่ง ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า "
เจตนา
" สักเล็กน้อย เจตนาในทางธรรม มีความหมายละเอียดอ่อนกว่าที่เข้าใจกันทั่วไปในภาษาไทย กล่าวคือ ในภาษาไทย มักใช้เจตนาต่อเมื่อต้องการเชื่อมโยงความคิดที่อยู่ภายใน กับ การกระทำที่แสดงออกมาในภายนอก เช่นว่า พูดพลั้งไป ไม่ได้เจตนา หรือเขากระทำการโดยเจตนา เป็นต้น แต่ใน
ทางธรรม
คือตามหลักกรรมนี้ การกระทำ การพูด ที่แสดงออกภายนอกโดยจงใจก็ดี ความคิดต่างๆ แม้เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น ๆ ชั่วครู่ชั่วขณะแล้วผ่านไปๆ ภายในจิตใจก็ดี การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ดี ความรู้สึกและท่าที ของจิตใจต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ประสบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ระลึกหรือนึกขึ้นมาในใจก็ดี ล้วนมี
เจตนา
ประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น
เจตนาจึงเป็นเจตจำนง ความจงใจ การเลือกอารมณ์ของใจ ตัวนำที่หันเหชักพาทำให้จิตเคลื่อนไหวโน้มน้อมไปหา หรือ ผละไปจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมุ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เป็นหัวหน้าเป็นผู้จัดการ หรือเจ้ากี้เจ้าการของจิตว่าจะเอาอะไรไม่เอาอะไร กับเรื่องใดอย่างไร เป็นตัวการจัดแจงแต่งวิถีทางของจิต และในที่สุดก็เป็นตัวการปรุงแต่งจิตนั้น ให้เป็นไปต่างๆ
เมื่อเจตนาเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ก็คือกรรมเกิดขึ้นทีหนึ่ง เมื่อกรรมเกิดขึ้นแล้ว ก็มีผลทันที เพราะเมื่อเจตนาเกิดขึ้น ก็คือ
มีกิจกรรมเกิดขึ้นในจิต
แล้ว จิตมีการเคลื่อนไหว หรือไหวตัวแล้ว แม้เป็นเพียงความคิดอะไรเล็กน้อย ซึ่งถึงจะไม่มีผลอะไรสำคัญ แต่ก็ไม่ไร้ผลเสียเลย อย่างน้อยก็เป็นละอองกรรมอันละเอียดที่สั่งสม หรือพอกเข้าไว้เป็นเครื่องปรุงแต่ง
คุณสมบัติของจิต
อยู่ภายใน เมื่อมากขึ้น เช่น จิตเสพความคิดนั้นบ่อยๆ หรือความคิดนั้นรุนแรงขึ้นจนออกมาภายนอก ผลก็แรงขึ้นขยายออกมาเป็นลักษณะ
นิสัย บุคลิกภาพ
เป็นต้น
ยกตัวอย่าง เช่น เจตนาในการทำร้าย ไม่ต้องพูดถึงกรรมร้ายแรงถึงขั้นจะฆ่าคน แม้แต่การทำลายสิ่งของที่เล็กๆ น้อยๆ เหลือเกิน ถ้าทำด้วยเจตนาทำร้าย คือ ประกอบด้วย
โทสจิต
หรือมีความโกรธ อย่างคนฉีกกระดาษด้วยความฉุนเฉียว ทั้งที่กระดาษนั้นไม่มีคุณค่าสำคัญอะไร แต่ย่อมมีผลต่อสุขภาพจิต หาเหมือนกันไม่กับการฉีกกระดาษของคนที่
ทำด้วยจิตปกติ
โดยรู้ว่าจะไม่ใช้กระดาษนั้นแล้ว
เมื่อทำการอะไรๆ ด้วยเจตนาอย่างนั้นบ่อยๆ ผลแห่งการสั่งสมก็จะปรากฏชัดยิ่งขึ้น และอาจขยายกว้างออกไปในระดับต่างๆโดยลำดับ เปรียบเหมือน
ฝุ่นละออง
ที่ปลิวเข้ามาในห้องทีละเล็กละน้อยอย่างที่มิได้สังเกตเลย ย่อมไม่มีส่วนใดที่ไร้ผลเสียเลย แต่ผลนั้นจะสำคัญแค่ไหน นอกจากเป็นไปตามความแรงและปริมาณของสิ่งที่สั่งสมแล้ว ยังสัมพันธ์กับคุณภาพ และการ
ใช้งานของจิตในระดับต่างๆ
อีกด้วย
ฝุ่นละออง
ปลิวลงจับท้องถนน กว่าจะทำให้รู้สึกสกปรก ก็ต้องมีปริมาณมากมาย ฝุ่นละอองปลิวลงบนพื้นเรือน แม้น้อยกว่านั้น ก็รู้สึกสกปรก ฝุ่นละอองน้อยกว่านั้นลงจับโต๊ะเขียนหนังสือ ก็สกปรก และรบกวนงาน น้อยกว่านั้นอีก ลงจับกระจกเงาส่องหน้า ก็รู้สึกเปื้อนและกระทบการใช้งาน ธุลีละอองนิดเดียวลงจับแว่นตา ก็รู้สึกได้และทำให้การเห็นพร่ามัวได้
อุปมา
อย่างอื่น เช่น เอามีดขีดที่พื้นถนน ที่พื้นห้อง ที่กระจกแว่นตา ก็ทำนองเดียวกัน ส่วนในด้านตรงข้ามก็พึงเห็นได้ เช่น การใช้ผ้ากำมะหยี่ หรือสำลีเล็กน้อย เช็ดพื้นห้อง จนถึงเช็ดแว่นตา เป็นต้น
รวมความ
ว่า เจตจำนง คือ เจตนา หรือ กรรมนั้น แม้เล็กน้อย ก็มิได้ไร้ผล อาจอ้างพุทธศาสนสภาษิตว่า
“กรรมดี หรือชั่ว ทุกอย่าง ที่คนสั่งสมไว้ ย่อมมีผล ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลย ย่อมไม่มี”
(ขุ.ชา.27/2054/413.
แต่ไม่พึงสับสนกับเรื่องกรรมที่ไม่ให้ผลในระดับวิถีชีวิตภายนอก)
และว่า
“กรรม ไม่ว่าดี หรือชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย”
(ขุ.ชา.28/864/306)
อย่างไรก็ตาม ผลทางด้านกรรมนิยามในระดับจิตใจนี้ คนจำนวนมากคอยจะมองข้าม ไม่เห็นความสำคัญ จึงขอเพิ่มการเปรียบเทียบ ด้วยข้ออุปมาเกี่ยวกับน้ำอีกสัก ๒ อย่าง
น้ำ
สะอาด และ
น้ำสกปรก
มี
หลายระดับ
เช่น น้ำครำในท่อระบายโสโครก น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำประปา และน้ำกลั่นสำหรับผสมยาฉีด เป็นต้น น้ำครำพอใช้เป็นที่อาศัยของสัตว์หลายอย่างได้ แต่ไม่เหมาะแก่การใช้อาบ ไม่อาจใช้กินหรือทำกิจที่ประณีตอื่นๆ น้ำในแม่น้ำลำคลองใช้อาบน้ำซักผ้าได้ แต่ก็ยังไม่เหมาะที่จะใช้ดื่ม น้ำประปาใช้ดื่มกินได้ แต่จะใช้ผสมยาฉีดยังไม่ได้ เมื่อมีแต่น้ำประปา และกิจที่ใช้ไม่มีส่วนพิเศษออกไป น้ำประปานั้นก็พอแก่ความประสงค์ แต่ถ้ามีกรณีพิเศษเช่นจะผสมยาฉีด ก็เป็นอันติดขัด
ทั้งนี้
เปรียบได้กับจิตที่มีคุณภาพต่างๆกัน
โดยความ
หยาบประณีตขุ่นมัว
และ
สะอาดผ่องใสกว่ากัน
เนื่องมาจาก
กรรม
ที่ได้ประกอบสั่งสมไว้
ถ้ายังใช้งานในสภาพชีวิตอย่างนั้นๆ ก็อาจยังไม่รู้สึกปัญหา
แต่เมื่อ
ล่วงผ่านกาลเวลาและวัยแห่งชีวิต
ไป อาจ
ถึงโอกาสที่ต้องใช้จิตที่ประณีตยิ่งขึ้นซึ่งกรรมปางหลัง
จะก่อปัญหาให้ อาจติดขัดใช้ไม่ได้ หรือถึงกับเน่าเสียไปทีเดียว
น้ำกระเพื่อม
และ
สงบเรียบ มีหลายระดับ
ตั้งแต่น้ำในทะเลมีคลื่นโตๆ น้ำในแม่น้ำที่มีคลื่นจากเรือยนต์ น้ำในลำธารที่ไหลริน น้ำในสระที่ลมสงบ จนถึงน้ำในภาชนะนิ่งปิดสนิท บางกรณีจะใช้น้ำมีคลื่นกระเพื่อมกระฉอกบ้างก็ได้ แต่บางกรณีอาจต้องใช้น้ำสงบนิ่งอย่างที่แม้แต่วางเข็มเย็บผ้าลงไปก็ลอยนิ่ง อยู่ได้นาน
คุณภาพของ
จิต
ที่หยาบและประณีต ซึ่ง
สัมพันธ์
กับการใช้งาน และการ
เข้าถึงคุณวิเศษต่างๆ
ที่ชีวิตจะเข้าถึงได้ ก็พึงเข้าใจโดยทำนองนั้น
สมมตินิยาม
กับ
กรรมนิยาม
แยกต่างหากกัน ผลในฝ่ายกรรมนิยาม ย่อมดำเนินไปตามกระบวนการของมันเอง
ไม่ขึ้นต่อบัญญัติของสังคม
ที่ขัดกับมัน ดังที่กล่าวมานี้
ท่านว่าไว้ชัด ดังนั้น วางภาพตัวอย่างเทียบเล็กน้อย
นั่งสมาธิแล้วมีภาพเจ้ากรรมนายเวรลอยมาให้เห็นครับ
เวลาผมนั่งสมาธิ พอภาวนาไปซักพัก เริ่มตัดภาวนาไปแล้ว ทีนี้ก็จะเกิดอาการขนลุกเย็นทั้งตัว แล้วหลังจากนั้นก็จะมีภาพ คน สัตว์ แมลง ที่เราเคยทำร้ายเคยทำให้เค้าตาย หรือเจ็บลอยมาให้เห็น คือ แปลกใจว่า บางเรื่องเป็นเรื่องที่นานมาก บางเรื่องเป็นเรื่องสมัยเด็กๆอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งบางทีนึกถึงยังนึกไม่ออกเลยเพราะนานมาก แต่พอมานั่งสมาธิ ก็ลอยมาให้เห็นเฉยเลย
ภาคปฏิบัติทางจิต มิใช่ให้เรามานั่งเสียใจต่อภาพอดีต เพราะทุกคนมีภาพอดีตฝั่งใจอะไรๆมากมาย วิธีแก้อารมณ์ ท่านให้กำหนดตรงๆปัญหา ไม่ให้เลี่ยงหนี ไม่อะไรทั้งนั้น กำหนดต่อปัญหาใจ
ขณะนั้นรู้สึกยังไงกำหนดยังงั้น เห็นหนอ เสียใจหนอ แล้วแต่มัน กำหนดไป ก็จะผ่านไปได้.
ไปต่อ
อย่างไรก็ดี เพราะเหตุที่นิยามทั้งสองนั้น มีแง่ที่สัมพันธ์กันดังกล่าวแล้วในข้อที่หนึ่ง ดังนั้น
ผู้ปฏิบัติถูกต้องในแง่ของกรรมนิยาม
คือ ทำตามหลักกุศล ก็
อาจประสบปัญหาจากสมมตินิยามที่ขัดแย้งนั้น
ได้ เช่น ผู้ที่อยู่ในสังคมที่ชื่นชอบการเสพสิ่งมึนเมา แต่ไม่ยอมเสพด้วย เขาย่อมได้รับผลตามกรรมนิยาม คือ ไม่เสียคุณภาพจิตที่โปร่งผ่องใสไป เพราะเหตุจากของเมานั้นก็จริง แต่ในแง่สังคม ซึ่งต่างหากจากกรรมนิยาม เขาอาจถูกเย้ยหยันล้อเลียน เช่นว่า ไม่เข้มแข็ง หรือ ถูกมองในทางไม่ดี ในแง่สังคมอย่างอื่นๆอีก และแม้ในแง่ของกรรมนิยามเอง เขาอาจประสบ ปัญหาจากเจตนาฝ่าฝืนข้อนิยมนี้ของสังคมอย่างที่กล่าวแล้วในข้อหนึ่ง เกิดความข้อแย้งในทางจิตใจ ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดแล้วแต่ปัญญาที่จะปลดเปลื้องจิตของเขา
สังคมเจริญแล้ว ที่คนทั้งหลายมีปัญญา มักได้อาศัยประสบการณ์ ซึ่งได้สะสมมาของมนุษย์รุ่นเก่าๆ ได้เรียนรู้ว่าอะไรเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจของมนุษย์อย่างแท้จริง อะไรไม่เกื้อกูลแล้วมักบัญญัติกฎเกณฑ์ข้อกำหนดเกี่ยวกับความดีความชั่วฝ่ายสมมตินิยาม ให้สอดคล้องกับหลักฝ่ายกุศล และ อกุศลในฝ่ายกรรมนิยาม
ความสามารถบัญญัติหลักความดีความชั่วในฝ่ายสังคม ให้สอดคล้องกับหลักกุศลและอกุศลในฝ่ายกรรมนิยาม หรือพูดให้สั้นว่า ความสามารถบัญญัติ หลักฝ่ายสังคม ให้สอดคล้องกับหลักฝ่ายกรรมนิยามนี้ น่าจะเป็นเครื่องวัดถึงความเจริญที่แท้จริง หรืออารยธรรมของสังคมนั้นอย่างหนึ่ง
โดยนัยนี้ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยข้อบัญญัติเกี่ยวกับความดี และความชั่ว น่าจะพิจารณาเป็น ๒ ขั้น คือ พิจารณาในแง่สมมตินิยามว่า ข้อบัญญัติ นั้นเป็นไปเพื่อผลดี เช่น ช่วยให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมหรือไม่ ขั้นหนึ่ง แล้วพิจารณาในแง่กรรมนิยามว่าข้อบัญญัตินั้นเป็นกุศลหรือไม่ คือ เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจหรือไม่ อีกขั้นหนึ่ง
ข้อบัญญัติบางอย่าง แม้สังคมจะยึดถือกันมานาน แต่แท้จริงแล้วไม่เกื้อกูลเลย แม้ในแง่สมมตินิยาม ส่วนในแง่กรรมนิยามเป็นอันไม่ต้องพูดถึง ข้อบัญญัติเช่นนั้น สังคมพึงตกลงกันยกเลิกเสีย หรืออาจต้องอาศัยผู้มีปัญญาที่ใจบริสุทธิ์กอปรด้วยกรุณามาชักนำ เช่น ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำต่อประเพณีเกี่ยวกับการบูชายัญ และวรรณะ ๔ ของสังคมอินเดีย เป็นต้น
ในกรณีทีพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อบัญญัตินั้นเกื้อกูลในแง่สังคม จะช่วยให้เกิดความเจริญแก่หมู่มนุษย์ แต่ไม่สอดคล้องกับหลักแห่งกุศลธรรมตามกรรมนิยาม กรณีเช่นนี้ ควรจะตั้งข้อสงสัยว่า บางทีคนอาจหลงผิดมองเห็นสิ่งที่ไม่เกื้อกูลแก่สังคมอย่างแท้จริง ว่าเป็นสิ่งเกื้อกูลก็ได้ คืออาจ หลงพอใจในความเจริญก้าวหน้าที่ผิดๆ เป็นที่ชื่นชมน่าพอใจในเวลาสั้นๆ แต่ก่อโทษในระยะยาว สิ่งที่เกื้อกูลแท้จริง น่าจะสอดคล้องกันทั้งในแง่สมมตินิยามและในแง่กรรมนิยาม
มีหลักทั่วไปว่า สิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ มักเกื้อกูลอย่างเป็นกลางๆ คือ เมื่อเกื้อกูลแก่ชีวิตหนึ่ง ก็เกื้อกูลแก่ชีวิตทั้งหมด เรื่องนี้พึงเห็นบทเรียนจากการสร้างความเจริญด้านกายภาพ มนุษย์มุ่งหวังความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ เข้าใจว่าความมีวัตถุพรั่งพร้อมสะดวกบริบูรณ์จะนำมาซึ่งประโยชน์สุขสูงสุดแก่สังคมมนุษย์จึงได้เพียรพยายามสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุมาก มาย พร้อมกับทำลายชีวิตและสภาพชีวิตต่างๆ ที่เห็นว่าขัดขวางความเจริญของตน จนในที่สุดก็ได้ทราบว่า การกระทำของตนมีหลายส่วนที่ได้เป็นไปด้วยความหลงผิด แม้สังคมจะดูคล้ายเจริญก็จริง แต่ได้ก่อพิษภัยแก่ชีวิต ด้านร่างกายเป็นอันมาก จนถึงกับว่า ถ้าขืนก้าวหน้าในลักษณะเดิมต่อไป อาจกลายเป็นการดำเนินสู่ความพินาศเสื่อมสูญก็ได้
พึงสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ชนิดที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ชีวิตด้านกาย ฉันใด ก็พึงสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางสังคม ชนิดที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ชีวิตด้านจิตปัญญา ฉันนั้น
ในการวินิจฉัยว่าอะไรเป็นความดี อะไรอะไรเป็นความชั่วนี้ เมื่อพูดในทางปฏิบัติ เพื่อให้คนทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ทุกระดับ พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ถือข้อพิจารณาเกี่ยวกับกุศลและอกุศลเป็นหลักแกนกลาง จากนั้นทรงผ่อนขยายออกไป ให้ใช้สำนึกเกี่ยวกับความดีความชั่วของตนเอง อย่างที่เรียกกันว่ามโนธรรม และให้ถือมติของผู้รู้เป็นหลักประกอบหรืออ้างอิง
(สองอย่างนี้เป็นฐานของหิริโอตตัปปะ)
นอกจากนั้น ให้พิจารณาที่ผลของการกระทำอันจะเกิดแก่ตนเอง และแก่ผู้อื่น หรือแก่บุคคลและสังคม
การที่ตรัสเช่นนี้ คงจะเป็นด้วยว่า คนบางคนยังมีปัญญาไม่กว้างขวางลึกซึ้งเพียงพอ อาจมองเห็นภาวะที่เป็นกุศล และอกุศลไม่ชัดเจน จึงให้ถือเอามติของท่านผู้รู้เป็นหลักประกอบด้วย และถ้ายังไม่ชัดพอ ก็มองดูง่ายๆ จากผลของการกระทำ แม้แต่ที่เป็นไปตามบัญญัติของสังคม สำหรับคนทั่วไป การพิจารณาด้วยหลักทั้งสามนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการตรวจสอบหลายๆชั้น เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปอย่างรอบคอบ
Create Date : 01 พฤษภาคม 2564
Last Update : 2 พฤษภาคม 2564 13:34:34 น.
0 comments
Counter : 147 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ให้ทิปเจ้าของ Blog
[
?
]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com