กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มกราคม 2565
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
25 มกราคม 2565
space
space
space

พิธีกรรม


สังคมเรา (ผู้ปกครอง) แก้ปัญหาแบบขอไปทีวูบวาบๆแบบไฟไหม้ฟาง วัวหายทีล้อมคอกที     

https://image.onehd.net/Media/News/220128060123922.jpg
 


ขนาดไฟแดงยังขับผ่านิ 




จยย.ซิ่งฝ่าไฟแดง ชนกระบะดับคาที่ 2 ราย

 

 
 


ประวัติของทางม้าลาย
 
ย้อนกลับไปยังปี ค.ศ. 1951 ที่ทางม้าลายอันแรกของโลก ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางข้ามถนนอย่างเป็นทางการในเมือง Slough ประเทศอังกฤษ โดยช่วงปีนี้เป็นปีที่การใช้รถยนต์ส่วนตัวกำลัเป็นที่นิยมและอัตราการเกิดอุบัติเหตุรถชนคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่น่าวิตก จึงต้องมีการตีเส้นสัญลักษณ์เพื่อให้คนข้ามถนน และหยุดรถขึ้นมา ในเวลาไม่ถึงยี่สิบปีให้หลัง ทางม้าลายแห่งแรกของโลกก็กลายมาเป็นจุดท่องเที่ยวโด่งดังอย่างไม่คาดฝัน เมื่อวงดนตรีร็อกแอนด์โรลระดับตำนานอย่าง The Beatles ใช้ทางม้าลายบนถนน Abbey เส้นนี้เป็นภาพหน้าปกอัลบั้มที่โด่งดังไปทั่วโลก

ทุกวันนี้เวลาใครไปเที่ยวอังกฤษ ก็จะต้องพากันไปถ่ายรูปเลียนแบบหน้าปกอัลบั้มของ The Beatles จนถนนแห่งนี้ได้กลายเป็นมรดกโลกและเป็นจุดท่องเที่ยวไฮไลท์หนึ่งของประเทศอังกฤษเลยทีเดียว

ทว่าก่อนที่จะมีทางม้าลาย Abbey Road นั้นได้มีการออกแบบและทดสอบมาก่อนแล้ว โดยตั้งแต่ปีค.ศ. 1930 สมัยนั้นทางข้าม ไม่ได้มีลักษณะเป็นการตีเส้นอย่างที่เราเห็น แต่เป็นการปักหมุดด้วยปุ่มเหล็กเล็กๆ บนเส้นถนน ให้สัญญาณคนขับรถ และใช้เสาติดตั้งด้านข้างบนทางเท้าเพื่อให้สัญญาณแก่คนข้าม เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ทางข้ามก็ได้มีการพัฒนามากขึ้นด้วยการติดตั้งโคมไฟเพื่อให้สัญญาณชัดเจนขึ้น มาเป็นการทาสีบนพื้นถนนเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ โดยมีการทดลองในเรื่องของสีที่จะใช้ทาอยู่หลายสี ทั้งสี เหลือง-ฟ้า ขาว-แดง กระทั่งในปี 1949 ทางรัฐบาลประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจใช้สี เหลือง-ฟ้า ในการทาสีทางข้ามถนน และทางข้ามสี เหลือง-ฟ้า กว่า 1,000 จุดก็ได้ถูกติดตั้งอย่างแพร่หลายไปทั่วทั้งประเทศอังกฤษ

สองปีให้หลัง ในปีค.ศ. 1951 สีของทางข้ามก็ได้เปลี่ยนไปเป็นสีดำและสีขาว เนื่องจากเป็นสีที่สังเกตเห็นได้ง่ายกว่าเมื่อผสานรวมกับวิธีในการให้สัญญาณด้วยเสาไฟเพิ่มความปลอดภัย แสงสัญญาณนั้นมีชื่อเรียกตามผู้เสนอแนวคิดว่า Belisha beacon ต่อมาได้พัฒนามาเป็นแสงไฟให้สัญญาณคนข้ามถนนนั่นเอง

ในช่วงยุคล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ การใช้เส้นทางข้าม หรือ ทางม้าลาย ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ให้สัญญาณคนข้ามถนน และผู้ขับขี่ยานพาหนะ และไอเดียนี้ก็ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก จนกลายมาเป็นทางม้าลายที่ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหนก็เห็นอยู่ทุกที่ และเป็นที่เข้าใจความหมายทั่วกัน

ทำพิธีเปิดงานทาสีทางคนข้ามถนน




 

Create Date : 25 มกราคม 2565
0 comments
Last Update : 9 มีนาคม 2565 8:13:18 น.
Counter : 488 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space