กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มกราคม 2565
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
17 มกราคม 2565
space
space
space

???



  พึงรู้จักลมหายใจเข้า-ออก  ซึ่งภาษาพระเรียกอานาปาน-สติ สักเล็กน้อย

คำว่า อานาปานสติ แยกความหมายเป็นสามคำ คือ คำว่า อานะ แปลว่า ลมหายใจเข้า (Breathing in) ตรงกับคำว่า อัสสาสะ คำว่า อาปานะ แปลว่า ลมหายใจออก (Breathing out) ตรงกับคำว่า ปัสสาสะ และคำว่า สติแปลว่า ความระลึกตาม ความกำหนดพิจารณา (Mindfulness) รวมสามคำเข้าด้วยกันเป็น อานาปานสติ แปลว่า ความกำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า และลมหายใจออก (Mindfulness of Breathing in and out)

หมายถึงการใช้สติเป็นตัวกำหนดดูลมหายใจเข้า และลมหายใจออกของตนในปัจจุบันแต่ละขณะ เป็นหนึ่งในวิธีฝึกกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธี โดยจัดอยู่ในข้อที่ ๙ แห่งกัมมัฏฐานประเภทที่ใช้สติเป็นตัวนำ ซึ่งเรียกว่า อนุสติ ๑๐

เพราะเป็นหนึ่งในวิธีการฝึกกัมมัฏฐาน จึงเรียกว่า อานาปานสติกัมมัฏฐาน ซึ่งหมายถึงกัมมัฏฐานที่ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก หรือ เรียกว่า อานาปานสติสมาธิ หมายถึง วิธีการฝึกสมาธิโดยใช้สติเป็นเครื่องกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ทุกขณะ  นอกจากนี้ ยังเรียกรวมๆว่า อานาปานสติภาวนา หมายถึง การเจริญกัมมัฏฐานโดยวิธีอานาปานสติ หรือ การฝึกสมาธิเจริญปัญญาด้วยการใช้สติระลึกอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก และนิยมเรียกสั้นๆว่า อานาปานสติ หรือ อานาปานะ อานาปาน์

(คู่มือพุทธศาสนิกชน หน้า ๒๖๐)

  ปราชญ์บางท่านชี้ให้สังเกตความแตกต่าง ระหว่างอานาปานสติ กับ วิธีฝึกหัดเกี่ยวกับลมหายใจของลัทธิอื่นๆ เช่น การบังคับควบคุมลมหายใจของโยคะ ที่เรียกว่า ปราณยาม เป็นต้น ว่าเป็นคนละเรื่องกันทีเดียว โดยเฉพาะ อานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ
ส่วนการบังคับลมหายใจนั้น  บางอย่างรวมอยู่ในวิธีบำเพ็ญทุกรกิริยา  ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงบำเพ็ญ และละเลิกมาแล้ว

(พธ. ๘๑๖)

  สภาพกายจิตสัมพันธ์ อาจแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ ตามขั้นของพัฒนาการทางจิต

ขั้นต่ำสุด ทุกข์กาย ซ้ำทุกข์ใจคือผลต่อกาย กระทบจิตด้วย พอไม่สบายกาย ใจพลอยไม่สบายด้วย ซ้ำเติมตัวเองให้หนักขึ้น

ขั้นกลาง ทุกข์กาย อยู่แค่กาย คือ จำกัดขอบเขตของผลกระทบได้ ความทุกข์ความไม่สบายมีอยู่แค่ไหน ก็รับรู้ตามที่เป็นแค่นั้น วางใจได้ ไม่ให้ทุกข์ทับถมลุกลาม

ขั้นสูง ใจสบาย ช่วยกายคลายทุกข์ คือ เมื่อร่างกายทุกข์ ไม่สบาย นอกจากไม่เก็บไปก่อทุกข์แก่ใจแล้ว ยังสามารถใช้สมรรถภาพที่เข้มแข็ง และคุณภาพที่งามของจิต ส่งผลตีกลับมาช่วยกายได้อีกด้วย





 

 




 

Create Date : 17 มกราคม 2565
0 comments
Last Update : 27 มกราคม 2565 19:55:58 น.
Counter : 439 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space