กฤษฎีกาตีความฮัทช์ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุน
กฤษฎีกาตีความฮัทช์ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤษภาคม 2551 11:50 น.

กฤษฎีกาตีความ กสท-ฮัทช์ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุน แนะนำกันเหนียวรายงานครม.รับทราบ วงในเผย 31 พ.ค.นี้บอร์ดเคาะแผนเทิร์นอะราวนด์ และยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์ อัพเกรด 3G ให้ดีแทค ระบุ26 พ.ค.นี้จบปัญหาขายหุ้นไทยโมบาย ไอซีทีรับเป็นเจ้าภาพจัดงาน ITU TELECOM ASIA 2008

แหล่งข่าวจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตีความกลับมาแล้วว่ากรณี กสท ให้ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอทีไวเลส มัลติมีเดีย จำกัด ทำการตลาดซีดีเอ็มเอใน 25 จังหวัดนั้น ไม่เข้าข่าย กฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน เพียงแต่เพื่อความรอบคอบควรนำเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เพื่อทราบก่อน

อย่างไรก็ดีเรื่องดังกล่าวยังไม่สามารถระบุลงลึกถึงรายละเอียดได้มากนัก เนื่องจากเรื่องดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ(บอร์ด)ของ กสท แต่เบื้องต้นแผนการดำเนินการก็ยังจะเป็นไปในรูปแบบเดิม คือ กสท จะเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย หรือ เซอร์วิสโพรวายเดอร์ และ ฮัทช์ จะเป็นเพียงผู้ทำการตลาด หรือ เซอร์วิส โพรวายเดอร์เพียงอย่างเดียว ดังนั้นฮัทช์จะต้องโอนโครงข่ายในพื้นที่ 25 จังหวัดให้ กสท นำมาดำเนินการเองทั้งหมด
ส่วนแผนดำเนินธุรกิจ หรือ เทิร์นอะราวนด์ ที่บอร์ดให้นำกลับอีกครั้งเพื่อเพิ่มผลกำไรตอบกลับมากกว่าแผนเดิมนั้นจะนำเข้าพิจารณาอีกครั้งในวัน 31 พ.ค. 51 ส่วนเรื่องข้อสรุปการซื้อขายหุ้น กิจการร่วมค้าไทยโมบาย ระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และ กสท สามารถหาข้อยุติได้ในวันที่ 26 พ.ค. 51 นี้

ในส่วนการยื่นขอใบอนุญาต นำเข้าอุปกรณ์ อัปเกรดคลื่นความที่เดิม 850 MHz ด้วยเทคโนโลยี HSPA นั้น ขณะนี้เอกสารได้เตรียมการไว้ครบทั้งหมดแล้ว เหลือแค่รอบอร์ดซึ่งอาจจะพิจารณาในวันที่ 31 พ.ค. 51 นี้ก็สามารถยื่นขอกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมได้ทันที

นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า กระทรวงได้ลงนามข้อตกลงระหว่างสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union) หรือ ITU ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ITU TELECOM ASIA 2008 ในวันที่ 2-5 กันยายน 2551 ที่ อิมแพค เมืองทองธานี โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์กรมหาชน) หรือ สสปน.โดยใช้งบลงทุนในการจัดงานและอำนวยความสะดวก รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 244 ล้านบาท คาดมีรายได้รวมในการจัดงานถึง 5.5 หมื่นล้านบาทต่อปี

“ถือเป็นสุดยอดนิทรรศการด้านไอซีที ที่ย้ายฐานความเชื่อมั่นในการจัดงานจากตลาดในแถบตะวันตกมายังภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวของตลาดไอซีทีที่สูงและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีมูลค่าการลงทุนในธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคมสูงสุด และมีการพัฒนาความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่หยุดนิ่ง และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยต่อยอดการวางแผนและกำหนดนโยบายด้านไอซีทีร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตลาดธุรกิจไอซีทีในอนาคต“นายมั่น กล่าว

นอกจากนี้ งาน ITU TELECOM ASIA 2008 เป็นงานแสดงสินค้าและนิทรรศการที่นำเสนอนวัตกรรมมากมายแห่งวงการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารแห่งเอเชียมากมาย เช่น เครือข่าย บรอดแบรนด์ การสื่อสารเคลื่อนที่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีผู้ร่วมงานทั้งสิ้นประมาณ 25,000 คน นอกจากนี้ยังเป็นเวทีสำหรับนักธุรกิจหรือคนรุ่นใหม่จากทั่วภูมิภาคเอเชียในการร่วมแสดงความคิดเห็นในด้านการพัฒนาโทรคมนาคมให้ก้าวหน้าต่อไป





Create Date : 25 มิถุนายน 2551
Last Update : 25 มิถุนายน 2551 16:04:53 น.
Counter : 560 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rahoo
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มิถุนายน 2551

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30