ยินดีตอนรับแฟนพันธุ์แท้ Hr & Mkt มาแบ่งปันประสบการณ์.....somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
4 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
การสร้างจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของ vs การสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบ


เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมได้มีโอกาสเป็นผู้ประสานงานโครงการกิจกรรม QCC ( Quality Control Circle ) ให้กับบริษัทฯ แห่งหนึ่ง ซึ่งดำเนินธุรกิจมาประมาณกว่า 30 ปี โดยกิจกรรมดังกล่าวนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างจิตสำนึกในเรื่อง การทำงานอย่างมีคุณภาพ ในทุกส่วนงาน ซึ่งเชื่อได้ว่าในหลายๆ องค์กร คงได้เคยจัดกิจกรรมดังกล่าวนี้ จากการสอบถามจากผู้รับผิดชอบโครงการกิจกรรม QCC ( ประธานโครงการฯ ) แจ้งให้ผมทราบว่า กิจกรรมดังกล่าวนี้ ได้จัดมาแล้ว ประมาณ 4 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 และนอกจากนี้ผมยังได้รับคำบ่นในเชิงตัดพ้อต่อว่าองค์กรจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ หลายๆ ท่านจะบ่นว่า งานประจำก็เยอะอยู่แล้ว ทำแทบจะไม่ไหวทำงานล่วงเวลา และวันอาทิตย์ก็เกือบแทบจะทุกอาทิตย์เลย ไม่รู้ทำไมกิจกรรมอะไรต่างๆ ในบริษัทฯ ถึงมากมายขนาดนี้ บริษัทฯ ไม่เห็นใจพนักงานบ้างเลยหรือ?

องค์กรของท่าน เคยประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้นนี้ไหมครับ? มีกิจกรรมดีๆ โครงการดีๆ ระบบดีๆ ที่เป็นประโยชน์กับองค์กรและพนักงานที่นำมาใช้ในบริษัทฯ ของท่านและบริษัทฯ ชั้นนำของโลก เช่น TQM, Kaizen, 5 s, Balance Scorecard, Key Performance Indicators, Six Sixma, Lean Production ฯลฯ แต่พนักงานกลับรู้สึกว่า เป็นเรื่องของภาระ เป็นการเพิ่มปริมาณงาน ( แต่เงินเดือนไม่เพิ่ม ) ทำให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนและทำงานไม่สะดวก ซึ่งท่านเองก็อาจจะเคยรู้สึกแบบนี้มาก่อนเหมือนกัน พูดง่ายๆ คือ ทำไมระบบดีๆ จึงไม่ประสบความสำเร็จหรือทำไมระบบดีๆ จึงสำเร็จในระยะเวลาสั้นๆ แต่ในระยะยาวก็ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่อยู่เสมอๆ?

จากรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น ผมกำลังจะสรุปประเด็นที่จะนำเข้าในเรื่องของ การสร้างจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของ vs การสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบ ครับ ถามว่าหัวข้อ ของบทความนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับการตัดพ้อต่อว่าของพนักงานผู้เข้าร่วมกิจกรรม QCC กับความสงสัยขององค์กรในความคาดหวังความสำเร็จของระบบดีๆ ที่นำมาใช้ปฏิบัติในองค์กร เกี่ยวข้องกันอย่างนี้ครับ เจ้าของกิจการ / นายจ้าง / CEO / กรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารในองค์กรทุกองค์กร มักจะมีเป้าหมายในใจว่า เราจะต้องสร้างความรู้สึกของความเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้นในใจของพนักงาน พนักงานจะต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิต พนักงานจะต้องคำนึงถึงคุณภาพในการทำงาน โดยแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติ ซึ่งแตกต่างจากพนักงานหรือมนุษย์เงินเดือนที่มักจะบอกกับ เจ้าของกิจการ / นายจ้าง / CEO / กรรมการผู้จัดการว่า เป็นไปไม่ได้ครับ / ค่ะ ที่จะผม / ดิฉัน มีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรหรือบริษัทฯ เพราะในความเป็นจริง เราเป็นเพียงแค่ “ลูกจ้าง” เท่านั้น จึงเกิดความรู้สึกขัดแย้งหรือสวนทางกันอยู่ตลอดเวลา ระหว่าง “นายจ้างหรือผู้บริหาร กับลูกจ้างหรือพนักงาน” จึงทำให้เกิดการตัดพ้อ ต่อว่าองค์กร และเกิดความสงสัยในความสำเร็จของระบบที่ใช้บริหารในองค์กรอื่นแล้วประสบความสำเร็จ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในองค์กรของตนเอง

ผมนำเสนอความคิดเห็นอย่างนี้ครับ แน่นอนว่า การสร้างจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของของนายจ้างหรือผู้บริหาร ก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่พนักงานทุกคนหรือลูกจ้างทุกคน ควรจะได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เริ่มชีวิตการทำงานในสถานประกอบการทุกๆ แห่ง แต่อย่าลืมนะครับว่า ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น นายจ้างหรือผู้บริหารก็ไม่สามารถที่จะทำให้ลูกจ้างหรือพนักงาน ทุกคน เปลี่ยนสถานภาพมาเป็นเจ้าของกิจการได้ ( ยกเว้นบางองค์กร ซึ่งมีเป็นส่วนน้อยมาก ) จึงเป็นแผนในระยะยาว ที่นายจ้างหรือฝ่ายบริหารจะต้องสร้างความรู้สึกของความเป็นเจ้าของร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลในองค์กร และกำหนดดัชนีชี้วัดให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้ โดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน เช่น เมื่อพนักงานเห็นมีเศษกระดาษทิ้งลงพื้น พนักงานก็จะเก็บเศษกระดาษลงทิ้งถังขยะทันที นายจ้างหรือผู้บริหารก็จะต้องแสดงความชื่นชมหรือชมเชย พนักงานท่านนั้นอย่างทันทีทันใด หรือเวลาพักกลางวัน พนักงานทุกฝ่ายก็ช่วยกันปิดไฟ ปิดแอร์ หรือปิดพักหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทำอย่างนี้เป็นกิจวัตรประจำวัน ซึ่งนายจ้างหรือฝ่ายบริหาร ก็จะต้องแสดงความขอบคุณกับสถานการณ์นี้ทันที อย่านิ่งเฉย ก็จะสามารถสั่งสมความรู้สึกของความเป็นเจ้าของให้กับพนักงานได้อย่างยั่งยืน

แต่ถ้านายจ้างหรือผู้บริหาร คิดว่า การสร้างความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ อาจจะต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนาน และพิสูจน์ค่อนข้างยากแล้ว ผมแนะนำให้ท่านปลูกฝังหรือเน้นในเรื่องของความรู้สึกในความรับผิดชอบของพนักงาน หรือลูกจ้างครับ เพราะเป็นสิ่งที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น หรือเห็นผลได้เร็วกว่าความรู้สึกของความเป็นเจ้าของครับ เพราะโดยพื้นฐานของลูกจ้างหรือมนุษย์เงินเดือนแล้วนั้น ย่อมจะไม่มีใครที่อยากจะตกงาน หรือหากเข้าทำงานแล้ว โดยส่วนใหญ่ก็จะมีความรู้สึกที่จะต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของตัวเองอยู่แล้ว จึงเป็นการง่ายต่อการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้ครับ

ผู้เขียนบทความ : สมชาย หลักคงคา
E-mail : Somchailak@hotmail.com






Create Date : 04 กันยายน 2551
Last Update : 4 กันยายน 2551 13:23:09 น. 2 comments
Counter : 1787 Pageviews.

 
ดีครับดีผม มีแหล่งความรู้เพิ่มอีก ที่หนึ่งแล้วขอบคุณครับสำหรับเนื้อหาดีๆ


โดย: T........ IP: 116.58.231.242 วันที่: 4 กันยายน 2551 เวลา:14:29:09 น.  

 
เคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกันคับ...เพราะเราทำงานกลางคืนร้านก็ส่งไปอบรมเยอะแยะไปหมด..ความรู้น่ะก็อยากได้อยู่แต่ก็แย่งเวลาส่วนตัวเราไปบ้างพอสมควร ครั้งล่าสุดเพิ่งไปอมรมเกี่ยวกับ brand ที่กระทรวงพาณิชย์มา ก็ถือว่าได้ความรู้มากคับ ยอมเสียเวลานิดหน่อยอย่างน้อยเราก็ได้กับตัวเราเอง เพราะหากเราเก่งแล้วบ.คงไม่ส่งไปอบรมเพิ่มหรอก คิดแบบนี้ดีกว่าสบายใจดี


โดย: อันดา คุง วันที่: 14 กันยายน 2551 เวลา:0:11:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tukey
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




สวัสดีครับ blog ที่คุณอ่านนี้มีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อแนะนำตัวเราซึ่งมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา และวิทยากร เกี่ยวกับงานด้าน HRM และ HRD และอีกด้านหนึ่งคืองานด้านMKTหากท่านใดสนใจในงานHR & MKT เช่นเดียวกับเรา ก็ขอเชิญมาแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ ร่วมกันจะยินดีมากขอขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่าน ความรู้และประสบการณ์ของเรา

Somchai Lakkongka. 081-6529843

somchailak1@hotmail.com




images by free.in.th สวัสดีครับ ผมอาจารย์ สมชาย หลักคงคา เป็นวิทยากรที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารงานฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม ดำเนินการจัดอบรม และประเมินผลงานการฝึกอบรม โดยจะมุ่งเน้นผลสำเร็จด้วยกระบวนการ Training & Coaching ซึ่งเป็นการให้บริการฝึกอบรมแบบครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรม การวางแผนการพัฒนารายบุคคล การออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับธุรกิจ และลักษณะขององค์กร
อ.สมชาย หลักคงคา somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Friends' blogs
[Add tukey's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.