ยินดีตอนรับแฟนพันธุ์แท้ Hr & Mkt มาแบ่งปันประสบการณ์.....somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
6 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 

การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC )

ช่วงนี้ หากถามถึงกระแสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเซีย แน่นอนครับ ทุกคนทุกองค์กร ย่อมจะได้ยินคำนี้กันจนคุ้นหูคุ้นตากันแล้ว นั่นคือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ไปยังภูมิภาคเอเซีย หรือที่เรียกกันเป็นศัพท์ทางการว่า การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community : AEC ) ซึ่งจะมีผล ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 คำถามก็คือว่า เราในฐานะประชาชนคนไทย หรือ เราในฐานะของพนักงานในองค์กร มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร หรือในฐานะของผู้ประกอบกิจการ/เจ้าของกิจการ ควรมีการส่งเสริมหรือเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้หรือไม่ อย่างไร?

AEC ก็คือ การรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ บรูไน เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน หากถามถึงความเกี่ยวข้องกับเราในฐานะประชาชนคนไทย เมื่อการตลาดและฐานการผลิตเปิดกว้างยิ่งขึ้นเท่าใด การแข่งขันในเชิงขีดความสามารถของคนหรือประชาชนในประเทศนั้นๆ ก็ย่อมจะต้องทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งมีจุดเด่นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และการบิน หากประเทศในกลุ่ม AEC ได้เข้ามายังประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยวหรือเดินทางผ่านทางสายการบินในประเทศไทย เราในฐานะประชาชนคนไทย พร้อมหรือยังครับ ที่จะกล่าวต้อนรับเพื่อนบ้านของเราอย่างมั่นอกมั่นใจ พร้อมหรือยังครับ ที่จะแนะนำสถานที่น่าท่องเที่ยวในประเทศไทย ให้เพื่อนบ้านของเราได้รับรู้ รับทราบ และชื่นชมในความเป็นไทยของเรา

และหากจะถามว่า เราในฐานะพนักงานในองค์กร มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับ AEC ลองคิดต่อยอดดูนะครับว่า ถ้ามีคนอาเซียนเข้ามาทำงานในองค์กรในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เราพร้อมที่จะสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกับเพื่อนบ้านของเราหรือยังครับ เราพร้อมหรือยังครับ ที่จะช่วยกันสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี ไม่ทำให้เพื่อนบ้านของเรารู้สึกว่าเขาเป็นตัวประหลาด

และหากจะมองในมุมของผู้ประกอบกิจการหรือเจ้าของกิจการ ควรมีการส่งเสริมหรือเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ในความคิดเห็นของผม ถือเป็นโอกาสที่ดีและเหมาะสมอย่างยิ่งที่เราจะใช้โอกาสนี้ปัดกวาดบ้านเรือน ( องค์กร ) ซึ่งหมายถึงระบบการทำงานของเรา ให้แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเรา บริการของเราอย่างเป็นมืออาชีพและสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าหรือเพื่อนบ้านของเราครับ รวมทั้งขอความร่วมมือจากพนักงาน เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้สำเร็จจริงๆ จังๆ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่ใช่นึกจะทำก็ทำ หรือเห็นความสำคัญเป็นครั้งเป็นคราวไป เพราะวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและยั่งยืน เป็นการรับประกันถึง Brand ของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าหรือบริการขององค์กรนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีครับ ซึ่งผมมีคำแนะนำเกี่ยวกับกรอบของการจัดทำวัฒนธรรมองค์กรอย่างยั่งยืน โดยประกอบไปด้วย Culture Framework 4 ประการคือ

1. Strategy : Top-down, Leader Role Model, Align with Brand, Corporate KPIs

2. System : Recruitment, Performance Management, Reward & Recognition, Communication Plan

3. Structure : Cross Functional Team, Authority Empowerment, Set Responsible Unit

4. Staff : Mind Set, Skill Set


นอกจากนี้ การสร้างบรรยากาศของการมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและยั่งยืน เปรียบเสมือนกับ
การที่เราได้อยู่ในบรรยากาศของสปาครับ นั่นคือ วัฒนธรรมองค์กรจะต้องสัมผัสได้ตลอดเวลาครับ และ
ควรมีการวัดผลสำเร็จของการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ด้วยการ Survey, Interview และ Evidence ด้วยครับ

จากประสบการณ์ที่ผมได้เคยให้คำปรึกษาในหลายๆ องค์กร พบว่าหลายองค์กรที่จัดทำวัฒนธรรมองค์กร ทำแล้วประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ องค์กรที่ทำแล้วไม่สำเร็จ หรือล่มกลางคัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆ ประการ คือ

-ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ ไม่เป็น Role Model ไม่สนับสนุน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบริการ

- เปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง ในขณะที่วัฒนธรรมองค์กรยังไม่แข็งแรง

- มีพฤติกรรม ค่านิยม มากเกินไป

- ขาดการส่งเสริม การสืบต่อวัฒนธรรมองค์กรอย่างต่อเนื่อง

- ไม่มีหน่วยงานดูแลอย่างเต็มที่

- ต้องการให้เกิดผลอย่างรวดเร็ว จับต้องได้

- มีผลตอบแทนทางธุรกิจอย่างชัดเจน

- กิจกรรมขาดความต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงแรกที่ต้องการให้เกิดการปรับเปลี่ยนของพฤติกรรม

- ไม่พิจารณาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร เมื่อถึงเวลาอันสมควร

- ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้

- เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรบ่อยเกินไป

- ลอกเลียนแบบวัฒนธรรมขององค์กรอื่นโดยปราศจากความเข้าใจ

- มีการให้รางวัล หรือการลงโทษไม่เหมาะสม ไม่สร้างสรรค์


ท้ายที่สุดนี้ ขอมอบตัวอย่างในเบื้องต้น สำหรับการจัดทำแผนการส่งเสริมหรือเสริมสร้าง
วัฒนธรรมองค์กรอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน มาเพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรที่มีความเชื่อที่ว่า
“หากวัฒนธรรมองค์กรของเราเข้มแข็งและยั่งยืนแล้ว ไม่ว่าเศรษฐกิจของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดก็ตาม ผลิตภัณฑ์ของเรา สินค้าของเรา บริการของเรา จะยังคงยืนหยัดอยู่บนเวทีการแข่งขันทางธุรกิจได้ตราบนานเท่านานครับ”


Somchai Lakkongka
somchailak1@hotmail.com
081-6529843




 

Create Date : 06 มีนาคม 2556
0 comments
Last Update : 15 มีนาคม 2556 11:17:44 น.
Counter : 2797 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


tukey
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




สวัสดีครับ blog ที่คุณอ่านนี้มีวัตถุประสงค์ ก็เพื่อแนะนำตัวเราซึ่งมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา และวิทยากร เกี่ยวกับงานด้าน HRM และ HRD และอีกด้านหนึ่งคืองานด้านMKTหากท่านใดสนใจในงานHR & MKT เช่นเดียวกับเรา ก็ขอเชิญมาแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ ร่วมกันจะยินดีมากขอขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่าน ความรู้และประสบการณ์ของเรา

Somchai Lakkongka. 081-6529843

somchailak1@hotmail.com




images by free.in.th สวัสดีครับ ผมอาจารย์ สมชาย หลักคงคา เป็นวิทยากรที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารงานฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม ดำเนินการจัดอบรม และประเมินผลงานการฝึกอบรม โดยจะมุ่งเน้นผลสำเร็จด้วยกระบวนการ Training & Coaching ซึ่งเป็นการให้บริการฝึกอบรมแบบครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรม การวางแผนการพัฒนารายบุคคล การออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับธุรกิจ และลักษณะขององค์กร
อ.สมชาย หลักคงคา somchailak1@hotmail.com 081-6529843
Friends' blogs
[Add tukey's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.