การศึกษา,แคลคูลัส,ข้อสอบทั่วไป,อย่างเก่งภาษาอังกฤษ,การเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น,เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์,แวดวงอินเทอร์เน็ต เรื่องน่ารู้,วิทยาศาสตร์น่ารู้,ประวัติศาสตร์น่ารู้,การใช้ชีวิตให้มีความสุข ,ความรัก คืออะไร?,เรื่องขำขำ,เกร็ดความรู้,การถ่ายภาพ,สิ่งแวดล้อม, คุณธรรมจริยธรรม,มาคุยกันเรื่องธรรมะ,จิตวิทยา,นิยาย เรื่องสั้น,เรื่องลี้ลับ,เทคนิคการเล่นกีฬา,สุขภาพ,อาการของโรคภัยไข้เจ็บ,ข่าวสารกีฬา,Sex สุขภาพ,สมุนไพรเพื่อสุขภาพ,ผู้หญิง ความงาม,การลดความอ้วน,ครอบครัว แม่และเด็ก,บ้านและสวน,การใช้รถรักษารถ,เคล็ดลับการใช้โทรศัพท์,อาหารของญี่ปุ่น,ขนมและอารหาร,รวมสูตรการทำแยมผลไม้,สูตรการทำแซนวิชที่อร่อย,เคล็ดลับการทำสลัด,เคล็ดลับในครัว,ผลไม้,ผัก แปรรูป,โภชนาการ,นานาสาระ,อภิสิทธิ์แสงแพง
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
16 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) ใช้เข่าอย่างถนอมอย่าให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย


การใช้งาน “ข้อเข่า” หนักเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด “โรคข้อเข่าเสื่อม” (Osteoarthritis) ก่อนวัยได้ โดยทั่วไปแล้วข้อเข่าของคนเราก็ค่อยๆเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติอยู่แล้ว เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสที่จะเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก็มีมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นควรใช้งานข้อเข่าอย่างระมัดระวังเพื่อถนอมให้ข้อเข่าอยู่กับเรานานขึ้น

อาการข้อเข่าเสื่อม มักพบได้บ่อยในคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือผู้สูงอายุ กล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าและกระดูกข้อเข่าจะทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวของเราไว้ ถ้าใครมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ก่อนวัย นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้งานข้อเข่าที่หนักเกินไปในแต่ละวันเช่น การได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกบริเวณข้อเข่า ภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากวัยที่เพิ่มขึ้นหรือแม้แต่การนั่งนานๆในท่าเดียวกันโดยเฉพาะการนั่งพับเข่า สิ่งที่กล่าวมาล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น

ความเจ็บปวดทรมานจากโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) จะสร้างความยากลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวันให้กับผู้ป่วยมาก บางรายที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ทำให้เกิดผลทางด้านจิตใจและโรคอื่นๆตามมาเช่น อาการซึมเศร้า ความเครียด โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น

การตรวจและวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม ศัลยแพทย์ด้านกระดูกจะเป็นผู้วินิจฉัยอาการของโรคว่าข้อเข่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใดและยังต้องตรวจอย่างอื่นควบคู่กันไปพร้อมกันเช่น ตรวจดูข้ออื่นๆ โรคเกาต์ (Gout) โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid) หลังจากนั้นแพทย์จะเอกซเรย์ข้อเข่าในท่ายืนเพื่อตรวจสภาพที่แท้จริงของกระดูกอ่อนดูการสึกหรอของข้อเข่าว่าเกิดขึ้นแล้วมากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้อาจมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับกรดยูริค ความหนาแน่นของกระดูก น้ำเลี้ยงข้อเข่า ฯลฯ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมและหาทางรักษาที่สาเหตุของโรคซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น


Create Date : 16 ตุลาคม 2554
Last Update : 16 ตุลาคม 2554 18:05:42 น. 0 comments
Counter : 2068 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

apisit.az
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








Friends' blogs
[Add apisit.az's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.