การศึกษา,แคลคูลัส,ข้อสอบทั่วไป,อย่างเก่งภาษาอังกฤษ,การเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น,เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์,แวดวงอินเทอร์เน็ต เรื่องน่ารู้,วิทยาศาสตร์น่ารู้,ประวัติศาสตร์น่ารู้,การใช้ชีวิตให้มีความสุข ,ความรัก คืออะไร?,เรื่องขำขำ,เกร็ดความรู้,การถ่ายภาพ,สิ่งแวดล้อม, คุณธรรมจริยธรรม,มาคุยกันเรื่องธรรมะ,จิตวิทยา,นิยาย เรื่องสั้น,เรื่องลี้ลับ,เทคนิคการเล่นกีฬา,สุขภาพ,อาการของโรคภัยไข้เจ็บ,ข่าวสารกีฬา,Sex สุขภาพ,สมุนไพรเพื่อสุขภาพ,ผู้หญิง ความงาม,การลดความอ้วน,ครอบครัว แม่และเด็ก,บ้านและสวน,การใช้รถรักษารถ,เคล็ดลับการใช้โทรศัพท์,อาหารของญี่ปุ่น,ขนมและอารหาร,รวมสูตรการทำแยมผลไม้,สูตรการทำแซนวิชที่อร่อย,เคล็ดลับการทำสลัด,เคล็ดลับในครัว,ผลไม้,ผัก แปรรูป,โภชนาการ,นานาสาระ,อภิสิทธิ์แสงแพง
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
17 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 

ตัวแปร (Variables)

ตัวแปร (Variables)


ตัวแปรจะเป็นชื่อที่ใช้ในการบอกจำนวนหรือปริมาณ ซึ่งสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงจำนวนได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การตั้งชื่อตัวแปร จะต้องตั้งชื่อให้แตกต่างไปจากชื่อของตัวแปรอื่นๆ ยกตัวอย่างชื่อของตัวแปร ได้แก่ x, y, peter, num_of_points และ streetnum เป็นต้น โดยปกติการเขียนโปรแกรมที่ดี ควรจะตั้งชื่อตัวแปรให้สอดคล้องกับการทำงานหรือหน้าที่ของตัวแปรนั้นๆ เพราะเมื่อถึงเวลาต้องมาทำการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรม จะสามารถทำได้โดยไม่ยากนัก

ในภาษา C หรือ C++ ได้มีกฏในการตั้งชื่อตัวแปรที่สามารถใช้งานได้ดังนี้
- ชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร
- ชื่อตัวแปรจะประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวแลข และ _ ได้เท่านั้น
- ชื่อตัวแปรจะต้องไม่ใช่ชื่อ reserved word (ชื่อที่มีการจองไว้แล้ว)

ตัวอย่างของชื่อตัวแปรที่สามารถนำมาใช้ตั้งชื่อได้ ได้แก่
length, days_in_year, DataSet1, Profit95, Pressure, first_one

และตัวอย่างของชื่อ ที่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นชื่อตัวแปรได้ ยกตัวอย่างเช่น
day-in-year, 1data, int, first.val เป็นต้น

reserved word (ชื่อที่มีการจองไว้แล้ว)

Reserved words หรือตัวแปรที่ได้จองไว้แล้วนั้น จะประกอบไปด้วยตัวอักษรตัวเล็กทั้งหมด และจะมีความสำคัญสำหรับภาษา C++ และจะไม่นำมาใช้ด้วยวัตถุประสงค์อื่นๆ ตัวอย่างของ Reserved words ได้แก่ and, bool, break, case, catch, char, class, continue, default, delete, do, double, if , else, enum, export, extern เป็นต้น

นอกจากนี้ในภาษา C หรือ C++ ชื่อตัวแปร ที่ประกอบไปด้วยอักษรเล็ก หรือใหญ่ ก็มีความแตกต่างกัน หรือที่เรียกว่า Case sensitive ยกตัวอย่างเช่น

‘X’ และ ‘x’ เป็นตัวแปรต่างกัน
‘peter’ และ ‘Peter’ เป็นตัวแปรต่างกัน
‘bookno1’ และ ‘bookNo1’ เป็นตัวแปรต่างกัน
‘XTREME’ และ ‘xtreme’ เป็นตัวแปรต่างกัน
‘X1’ และ ‘x1’ เป็นตัวแปรต่างกัน
‘int’ และ ‘Int’ เป็นตัวแปรต่างกัน

การกำหนดชนิดของตัวแปร (Declaration of Variables)

ในภาษา C หรือ C++ (และโปรแกรมในภาษาอื่นๆ) ตัวแปรทุกตัวที่จะมีการเรียกใช้ในโปรแกรมจำเป็นต้องมีการกำหนดชนิดของตัวแปรนั้นๆ ก่อนที่จะทำการเรียกใช้ตัวแปร

การกำหนดชนิดของตัวแปรมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการได้แก่
- เป็นการบอกชนิด และตั้งชื่อตัวแปรที่จะเรียกใช้ ชนิดของตัวแปรจะทำให้คอมไพเลอร์สามารถแปลคำสั่งได้อย่างถูกต้อง (ยกตัวอย่างเช่น ใน CPU คำสั่งที่ใช้ในการบวกตัวเลขจำนวนเต็ม 2 จำนวน ย่อมแตกต่างจากคำสั่งที่จะบวกจำนวนจริง 2 จำนวนเข้าด้วยกัน)
- ชนิดของตัวแปร ยังเป็นบ่งบอกคอมไพเลอร์ให้ทราบว่าจะต้องจัดเตรียมเนื้อที่ให้กับตัวแปรตัวนั้นมากน้อยเท่าใด และจะจัดวางตัวแปรนั้นไว้แอดเดรส (Address) ไหนที่สามารถเรียกมาใช้ใน code ได้

สำหรับในบทความนี้จะพิจารณาชนิดตัวแปร 4 ชนิดที่ใช้กันมากได้แก่ int, float, bool และ char

int ชนิดตัวแปรที่สามารถแทนค่าจำนวนเต็มได้ทั้งบวกและลบ โดยปกติสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป คอมไพเลอร์ จะจองเนื้อที่ 2 ไบต์ สำหรับตัวแปรชนิด int จึงทำให้ค่าของตัวแปรมีค่าตั้งแต่ -32768 ถึง +32768
ตัวอย่างของค่า int ได้แก่ 123 -56 0 5645 เป็นต้น

floatชนิดของตัวแปรที่เป็นตัวแทนของจำนวนจริง หรือตัวเลขที่มีค่าทศนิยม ความละเอียดของตัวเลขหลังจุดทศนิยมขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยปกติแล้ว ตัวแปรชนิด float จะใช้เนื้อที่ 4 ไบต์ นั่นคือจะให้ความละเอียดของตัวเลขหลังจุดทศนิยม 6 ตำแหน่ง และมีค่าอยู่ระหว่าง -1038 ถึง +1038
ตัวอย่างของค่า float ได้แก่ 16.315 -0.67 31.567

bool ชนิดของตัวแปรที่สามารถเก็บค่าลอจิก จริง (True) หรือ เท็จ (False) ตัวแปรชนิดนี้ เป็นที่รู้จักกันอีกชื่อคือ ตัวแปรบูลีน (Boolean)
ตัวอย่างของตัวแปรชนิด bool ได้แก่ 1 0 true false (เมื่อ 1 = true และ 0 = false)

char เป็นชนิดตัวแปรที่เป็นตัวแทนของ ตัวอักษรเพียงตัวเดียว อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือตัวอักขระพิเศษ โดยปกติตัวแปรชนิดนี้จะใช้เนื้อที่เพียง 1 ไบต์ ซึ่งจะให้ตัวอักษรในรูปแบบที่แตกต่างกันได้ถึง 256 ค่า การเขียนรูปแบบของ char หลายๆ ตัว โดยปกติ จะอ้างอิงกับ American Standard Code for Information Interchange (ASCII)
ตัวอย่างของตัวแปรชนิด char ได้แก่ '+' 'A' 'a' '*' '7'

การกำหนดชนิดของตัวแปร สามารถเขียนได้อยู่ในรูป type identifier-list;
เมื่อ type บ่งบอกชนิดของตัวแปร ส่วน identifier-list เป็นการกำหนดชื่อของตัวแปร ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 ตัวแปร และจะแยกตัวแปรแต่ละตัวออกจากกันด้วยเครื่องหมาย comma (,)
ตัวอย่าง รูปแบบของการกำหนดชนิดของตัวแปร ได้แก่
int i, j, count;
float sum, product;
char ch;
bool passed_exam;

มาถึงตอนนี้ เราก็จะสามารถปรับปรุงการเขียนโปรแกรมแบบง่ายๆ ได้ดังนี้

#include
main()
{
int its_price;
printf("How much is that ? ");
scanf("%d", &its_price);
printf("oh! %d ?, hmmm...., too expensivenn",its_price);
}
จาก code ข้างบน ผู้อ่านจะเห็น %d เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชัน scanf และ printf ทั้งนี้ %d จะเป็น format ที่ใช้บ่งบอกชนิดของตำแหน่ง (Place Holders) ที่จะมีการส่งข้อมูล โดยในที่นี้ %d หมายถึงตำแหน่งของจำนวนเต็ม หรือ int นั่นเอง ตัวอย่างของ Place Holders อื่นๆ สามารถแสดงได้ดังตาราง

คราวนี้ลองมาดูตัวอย่างของการใช้ Place Holders

printf("C=%f, F=%f",cel,fah);
printf("He wants to score %d goals today",9);

เมื่อ % เป็นการบ่งบอกตำแหน่งเริ่มต้นของ Place Holder จากนั้น
ตัวอักษร f ตัวแรก จะบ่งบอกถึง ตัวแปรcel ว่ามีค่าเป็นจำนวนจริง (Float)
ส่วน f ตัวทีสอง จะบ่งบอกคอมไพเลอร์ว่า ตัวแปร fah ก็มีค่าเป็นจำนวนจริงเช่นกัน

นอกจากนี้ Place holder %d และ %f ยังสามารถใช้กับการกำหนดตำแหน่งตัวเลขตามต้องการได้ ยกตัวอย่างเช่น สมมุติให้ x=235; และ y=6.54321;




การให้กำหนดค่าตัวแปร (Variable Assignment)

เราสามารถกำหนดค่าให้กับตัวแปรได้ ด้วยเครื่องหมาย = ยกตัวอย่างเช่น

int name; // กำหนดตัวแปร name ที่เก็บค่าจำนวนเต็ม
name = 23; // กำหนดให้ตัวแปร name มีค่าเป็น 23

ในขณะเดียวกัน เราสามารถใช้เครื่องหมาย = ระหว่างตัวแปรกับตัวแปร หรือตัวแปรกับจำนวนใดๆ ได้ อาทิเช่น

change = x1 - x2;
mean = (x1 + x2)/2;
x = x + 1;

ตอนนี้เราลองมาเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อทำการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยการแปลงค่า อุณหภูมิ ในหน่วยของ ฟาเรนไฮต์ เป็น เซลเซียส เมื่ออุณหภูมิในหน่วยฟาเรนไฮต์ มีค่า = 85 และเป็นที่ทราบกันดีว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง องศาฟาเรนไฮต์ และ เซลเซียส สามารถเขียนได้อยู่ในรูปของสมการ



//www.vcharkarn.com/uploads/5/5522.jpg


การเขียนโปรแกรม เพื่อแก้ปัญหา การแปลงค่า 85 ฟาเรนไฮต์ให้เป็นเซลเซียส สามารถเขียนได้ดังนี้

#include
void main()
{
float F;
float C;

F = 85;
C = 5*(F-32)/9;
printf("the result is %f",C);
}

อีกตัวอย่าง ของโปรแกรม การบวกค่าจำนวนเต็ม 2 จำนวนเข้าด้วยกัน แล้วแสดงผลลัพธ์ออกทางหน้าจอ การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหานี้ สามารถเขียนได้ดังนี้

#include
void main()
{
int N1, N2, Sum;

printf("please input an integer number : ");
scanf("%d",&N1);
printf("please input another integer number : ");
scanf("%d",&N2);

Sum = N1 + N2;
printf("so, %d + %d = %d",N1,N2,Sum);
}

จากตัวอย่างการเขียนโปรแกรมข้างต้น จะเห็นว่ามีการคำนวณทางคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง คราวนี้เราลองมาดู การคำนวณในภาษา C กันว่าจะเขียนกันได้อย่างไรบ้าง




 

Create Date : 17 กรกฎาคม 2554
0 comments
Last Update : 17 กรกฎาคม 2554 2:28:38 น.
Counter : 1886 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


apisit.az
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








Friends' blogs
[Add apisit.az's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.