ทำทุกอย่างด้วยใจรัก

 
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 พฤษภาคม 2557
 

3. Single License จรรยาบรรณสำคัญที่สุด ตอนที่ 2

ตอนที่ 3

ผ่านไป 2 ตอน ผู้เขียนก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับท่านได้ไม่มากก็น้อย

ลักษณะของแนวสอบของบทจรรยาบรรณนี้ คล้ายการให้เปิดหนังสือให้อ่านตาม ซึ่งมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะตอนที่ผู้เขียนอบรมกับอาจารย์นั้น ท่านก็ให้เปิดหนังสือแล้วทำเครื่องหมายตามคำอธิบาย ไม่มีสรุปให้ ผลปรากฏว่ามีแต่เส้นสีแดง สีเขียวเต็มหน้าหนังสือไปหมด เวลาทำข้อสอบนี่ นึกได้เลยว่า มันออกเกือบทุกหน้าจริงๆ

เพราะทุกอย่างในหนังสือคือทั้งหมดของข้อสอบ

ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่อาจพิมพ์ทุกตัวอักษรลงในบทความได้ ต้องขอให้ท่านเปิดหนังสือดูตามแนวทางต่อไปค่ะ

1.3 การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน     

(เป็นหัวข้อที่ย่อยมาจาก 1.2.5 และบทที่ 9 ใช้ประโยชน์ได้มาก เพราะสามารถนำไปสอบได้ในหัวข้ออื่นๆ ได้อีก)

- หน้าที่ของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (อ่านให้หมด)          

          โจทย์ อาจจะถามว่า ทุกข้อเป็นหน้าที่ของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ยกเว้นข้อใด

1.3.1 การติดต่อ ชักชวน หรือการให้คำแนะนำลูกค้า (***)

หลักปฏิบัติงานทั่วไป (อ่าน)

- เข้าใจความหมายของ คำว่า Churning, Front Running ***

- ข้อยกเว้นในการนำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไปเปิดเผย          

- ต้องเป็นการเปิดเผยโดยหน้าที่

   เช่นเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่รัฐตามคำสั่งศาล          

- ไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ตามคำสั่งของผู้ไม่ใช่เจ้าของบัญชีอย่างแท้จริง          

- การมอบอำนาจต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรตามกฎหมาย          

- ผู้ติดต่อฯ จะต้องไม่รับประกันผลตอบแทนที่ลูกค้าจะได้รับไม่ว่าด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร              

ยกเว้น ตัวหลักทรัพย์มีการรับประกันผลตอบแทนอยู่แล้ว ปกติจะระบุอยู่ในหนังสือชี้ชวน 

           โจทย์ อาจถามว่า พฤติกรรมใดไม่ถือว่าเป็นหลักปฏิบัติงานทั่วไปของผู้ติดต่อฯ          

อาจจะมีคำตอบที่ทำให้เราสับสนเกี่ยวกับเงื่อนไขของการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าให้เจ้าหน้าที่รัฐ หรือการดำเนินคำสั่งซื้อขายโดยได้รับอนุญาตจากลูกค้า ต้องแยกแยะให้ดี

หลักเกณฑ์การชักชวน ให้คำแนะนำ

- คำแนะนำที่มีคุณภาพจะต้องอ้างอิงตามหลักสากลได้ ไม่ใช่ข่าวลือ

          โจทย์ อาจจะถามว่า ถ้าเราได้รับข่าวลือจากนักลงทุนว่าบริษัท A จะเทคโอเวอร์บริษัท B ซึ่งจะทำให้มูลค่าหุ้นของบริษัท B เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด สิ่งที่ควรทำคือ          

ต้องแจ้งหัวหน้าที่รับผิดชอบเพื่อประสานงานไปยังสำนักงานกำกับ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง  

การเปิดเผยส่วนได้ส่วนเสียเมื่อมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์   

ต้องแจ้งให้กับลูกค้าทราบ หากค่าตอบแทนที่จะได้รับเมื่อเสนอคำแนะนำด้านสินทรัพย์ให้กับลูกค้าแตกต่างกัน

- ส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องเปิดเผย (อาจออกสอบ)          

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่เราควรต้องเปิดเผยให้กับลูกค้าทราบด้วย เช่น          

- บ.หลักทรัพย์ที่ผู้ติดต่อฯ สังกัดเป็นผู้ออกหลักทรัพย์นั้นๆ          

- ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ เป็นกรรมการในบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่นำเสนอ          

- บ.หลักทรัพย์, ผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์, ผู้ติดต่อนักลงทุน ถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของหุ้นที่แนะนำ  

 

ตาราง 1-1  หลักเกณฑ์ปฏิบัติเมื่อบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์หรือเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

ให้จำ ข้อมูลประเภท จำนวนวัน ที่กำหนดในการเผยแพร่ข้อมูลก่อนและหลังการขาย

- หลักเกณฑ์การออกบทวิเคราะห์หรือแนะนำผู้ลงทุน การซื้อขายหลักหลักทรัพย์ที่เผยแพร่ข้อมูล A(น่าจะออก)

 

 

 

การเปิดเผยส่วนได้ส่วนเสียจะต้องแสดงด้วยตัวอักษรที่ชัดเจนอยู่ในหน้าเดียวกันกับหน้าที่สรุปความเห็นของบทวิเคราะห์ หรือในตำแหน่งที่เห็นชัดเจน (อาจออกสอบ)

  

หลักเกณฑ์การปฏิบัติงานในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้ร้องขอ (Cold Calling)***

- ความหมายของ Cold Calling

- หลักเกณฑ์การปฏิบัติงานกรณีที่มีการทำ Cold Calling

- การจัดทำ บัญชีชื่อลูกค้าที่ปฏิเสธไม่รับการติดต่อ และต้องไม่ติดต่อกับลูกค้าอีก ภายในระยะเวลา 2 ปี (อาจจะออก)

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ติดต่อกับนักลงทุน

- กรณีที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการใช้ข้อมูลภายใน - ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ผู้ติดต่อผู้ลงทุนเผยแพร่บทวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้นตามวันที่กำหนด (สามารถซื้อขายหลักทรัพย์นั้น หลังเผยแพร่ไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ)  

1.3.2 การจัดทำข้อมูลลูกค้า

การปรับปรุงข้อมูลลูกค้าเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

1.3.3 การจัดคู่มือการลงทุน

รายละเอียดที่ลูกค้าพึงทราบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองควรประกอบไปด้วย ชื่อ ที่ตั้ง บริษัทหลักทรัพย์/สาขา ตัวแทน (ถ้ามี) สิทธิพื้นฐานของผู้ลงทุน วิธีปฏิบัติในการร้องเรียน และการแจ้งเตือนความเสี่ยง  

1.3.4 จรรยาบรรณในการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

มีขอบเขตและกฎเกณฑ์มากกว่าข้อบังคับทางกฎหมาย

1.3.5 คุณสมบัติต้องห้ามของผู้ติดต่อกับนักลงทุน ***          

         โจทย์ อาจจะถามว่า บุคคลใดสามารถเป็นผู้ติดต่อกับนักลงทุนได้         

ข้อสังเกต  กรณีนาย A ไม่ผ่านการทดลองงานจากบริษัทหลักทรัพย์ ยังถือว่าสามารถเป็นผู้ติดต่อนักลงทุนได้

1.3.6 บทลงโทษสำหรับผู้ติดต่อนักลงทุน (อาจจะออก)          

ภาคทัณฑ์ สั่งพัก และเพิกถอน

1.4.1-1.4.3 กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ***          

- ยึดหลัก สะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม (Small Claims Court)           - ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของกระบวนการฯ          

- เงื่อนไขที่ข้อพิพาทจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตฯได้ ***          

 - จำนวนของอนุญาโตตุลาการที่สามารถเลือกได้          

- จำนวนวันที่ต้องตัดสินชี้ขาด (90 วัน หรือ120 วันหากจำเป็น        

- คำตัดสินเป็นอันชี้ขาดหากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตาม สามารถไปร้องขอต่อศาลเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาด (ไม่ใช่การฟ้องใหม่)  

 

************************************

สำหรับบทที่ 1 ก็จบไปแล้ว ตอนหน้าจะเป็นบทที่ 2 แล้วค่ะ

หมายเหตุส่งท้าย          

ช่วงระยะเวลาในการสอบของผู้เขียน เมษายน 2557          

        หากบทความเหล่านี้มีผลกระทบทางด้านลิขสิทธิ์, เป็นความลับ, หรือกระทบต่อผลประโยชน์ใด รบกวนช่วยแจ้ง จะได้ลบออก          

          ผู้เขียนจะใช้คำว่า ‘ควรอ่าน/จำ/ทำความเข้าใจ’ ‘อาจจะ’ ‘มีโอกาส’ เป็นส่วนใหญ่ เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าข้อสอบที่ท่านจะเจอนั้นเป็นอย่างไร          

*** หมายถึงว่า มีโอกาสออกเป็นข้อสอบค่อนข้างสูง

          ปันนที รุ้งปลายฟ้า พลับพลาตะวัน เป็นนามปากกาของผู้เขียน จะขอบคุณมากถ้าจะ Cr.ชื่อผู้เขียน ไว้ให้สักนิด หากท่านใดคัดลอกนำไปเผยแพร่

          ความสุขสำเร็จใดของผู้อ่านอันเกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนขอมอบกับให้กับอาจารย์และวิทยากรผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ให้กับผู้เขียน

 ***********

 

 


Create Date : 17 พฤษภาคม 2557
Last Update : 17 พฤษภาคม 2557 11:03:35 น. 3 comments
Counter : 16286 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากนะคะที่ไปแวะทักทายค่ะ ตามมาอ่านบทความดีๆมีประโยชน์มากๆๆๆ แต่เสียดายจังกิ่งไม่ค่อยเก่งเรื่องแบบนี้แต่ก็อ่านไปประดับความรู้ค่ะ

ขอบคุณสิ่งดีๆที่นำมามอบให่เพื่อนๆนะคะ

มีความสุขยามบ่ายค่ะไลท์ให้นะคะ

 
 

โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 18 พฤษภาคม 2557 เวลา:14:25:16 น.  

 
 
 
รบกวนถามนิดนึงนะครับ มีแนวข้อสอบย้อนหลังให้ลองทำไหมครับ แล้วท่านเจ้าของบล็อคใช้เวลาจริงๆทั้งหมดประมาณกี่วันที่ใช้เตรียมตัวก่อนทำการสอบครับ
 
 

โดย: dat IP: 171.101.91.162 วันที่: 13 กันยายน 2557 เวลา:0:47:14 น.  

 
 
 
คงทยอยลงเรื่อยๆ ค่ะ

เนื่องจากเป็นคนหัวช้า เลยเข้าติวกับอาจารย์ วันละ ประมาณ 8 ชม 6 วัน แล้วกลับมานั่งอ่านเองอีกเช้ายันเย็นอีก 4 วัน ค่ะ

แต่ที่สอบมา ครึ่งหนึ่งได้จากการติว อีกครึ่งหนึ่งคือประสบการณ์ที่วนเวียนอยู่ในตลาดทุนค่ะ เพราะคำถามบางคำถาม ผู้เขียนได้คำตอบจากภาคปฏิบัติ (การซื้อ การขาย รับเงินปันผล bid-offer IPO) ใครก็ตามที่เคยซื้อกองทุน หรือเล่นหุ้นบ้าง จะนึกภาพออกได้เร็วค่ะ

แต่เพื่อนบางคนอ่านเองใช้เวลา หนึ่งเดือนค่ะ
 
 

โดย: ปันนที วันที่: 23 กันยายน 2557 เวลา:13:38:49 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ปันนที
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




สวัสดีทุกท่าน
ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยม ถ้ามีอะไรช่วยติชม วิจารณ์ได้เลยนะคะ
[Add ปันนที's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com