ข้อผิดพลาด 1ข้อที่ทำให้...ลดน้ำหนัก ไม่ได้ผล...คุณต้องรู้ รายละอียด http://bit.ly/1LjJWOL
space
space
space
 
ตุลาคม 2558
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
14 ตุลาคม 2558
space
space
space

ร่วมด้วยช่วยกันอ้วน

ร่วมด้วยช่วยกันอ้วน

การกินวัยเด็ก



คุณสังเกตไหมว่า คนที่เป็นเพื่อนสนิทกันมักจะมีอะไรๆ

คล้ายกัน ไม่เพียงแต่นิสัยใจคอ แต่ยังรวมถึงบุคลิกภาพ

และรูปร่างภายนอกด้วย



กลุ่มเพื่อน ของน้องชายหมอก็เช่นกัน เวลาเดินด้วยกันเป็น

แผงราวกับกองทัพตู้เย็นบุก อย่างไรอย่างนั้น 

ไม่เพียงแต่หมอที่สังเกต

เห็นการจับกลุ่มกันอ้วนในหมู่เพื่อนนี้ ...



นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University)

และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก

(University of California San Diego)


ก็ได้ติดตามกระบวนการระบาดของความอ้วนในหมู่เพื่อน

เป็นช่วงเวลายาวนานถึง 32 ปี



พบว่าหากกลุ่มตัวอย่างคนใด มีเพื่อนที่เปลี่ยนสถานะ

จากปกติมาเป็นอ้วนในที่สุดแล้วก็จะมีโอกาสอ้วนตาม

เพื่อนถึงร้อยละ 57


และหากเป็นเพื่อนที่ถูกระบุว่าเป็น“เพื่อน สนิท” โอกาส

ที่จะอ้วนตามกันจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 171 เลยทีเดียว



และเมื่อ ขึ้นชื่อว่าเพื่อนสนิทกันแล้ว แม้บ้านจะอยู่ไกลกัน

หรือพบปะเจอตัวกัน ไม่บ่อยนัก ก็ยังส่งต่อความอ้วนกัน

ตามสายสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนได้


ทั้งนี้น่าจะอธิบายได้ จากการที่คนเรามักมีพฤติกรรมลักษณะ

เดียวกับคนที่เราถือเป็นเพื่อน



เช่น ชวน กันรับประทานหมูกระทะ ชวนกันดูโทรทัศน์

ไปกินไปและยึดเอาเป็นพฤติกรรมที่ปกติ หรือ‘norm’

ของแต่ละกลุ่มเพื่อนไป



ดังนั้นคำกล่าวโบราณที่ว่า “You are what you eat.”

นั้น อาจต้องมีคำเติมท้าย

ให้สอดคล้องกับงานวิจัยใหม่ๆ มากขึ้นว่า

“You are what you and your friends eat.”



“อ้วน”จึงเป็นโรคติดต่อในกลุ่มเพื่อนน้องชายของหมอ

โดยมีไลฟ์สไตล์ การเลือกใช้ชีวิตที่เหมือนกันเป็นพาหะนำโรค



ครอบครัวตัวอ้วน


ครอบครัว-อ้วน



อิทธิพลของครอบครัวจะมีผลอย่างมากต่อความอ้วนใน

วัยเด็ก ร้อยละ 70 ของเด็กวัยรุ่นที่อ้วนจะโตขึ้นมาเป็น

ผู้ใหญ่ที่อ้วน



พบว่าเด็กที่มีแม่จะมีความ เสี่ยงต่อการอ้วนเป็นสามเท่า

เมื่อเทียบกับเด็กที่มีแม่ผอมอิทธิพลที่ว่านี้ไม่ใช่ เพียงแต่

ในเรื่องของพันธุกรรม แต่รวมไป



ถึงรสนิยมการเลือกประเภทอาหาร ความชอบในรสชาติ พฤติกรรมการหม่ำและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการอ้วน


ในเด็กที่ยิ่งโตยิ่งอ้วนจะมีรสนิยมด้านอาหารแบบคนอ้วน

คือ ชอบอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น อาหารประเภทไขมัน

ซึ่งให้พลังงานสูงถึง 9 แคลอรี่ต่อกรัม(ในขณะที่แป้งและโปรตีน

จะให้พลังงาน 4 แคลอรี่ ต่อกรัม)




และสิ่งที่ ส่งผลถึงรสนิยมแบบอ้วนๆนี้ก็คืออาหารที่เรา

ได้รับประทานตั้งแต่วัยเด็กคุณผู้อ่านลองนึกถึงอาหาร

โปรดตลอดกาลที่คุณรับประทานเท่าไร



ก็ไม่เบื่อ มาสัก 3 อย่าง…

1.

2.

3.






เชื่อไหมว่าต้องมีอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อมโยง

กับความทรงจำในวัยเด็กของคุณ อาหารที่เราเคย

รับประทานในวัยเด็กร่วมกับครอบครัว


ความ อบอุ่น ความรู้สึกดีๆที่เกิดขึ้นในวัยเยาว์ ได้ถูกนำมา

ผูกติดกับอาหารประเภท นั้นๆโดยที่เราเองก็ยังไม่รู้เท่าทัน

ความคิด ว่า…



แท้จริงแล้วเราไม่ได้ติดใจในรส ของอาหารชนิดนั้นเลย

แต่สิ่งที่เราโหยหาคือความสุขที่เคยผูกติดกันมา ในเวลา

ที่เราเคยรับประทานมันต่างหาก




อย่างของหมอเอง มีจุดอ่อนชวนอ้วนอยู่อย่างหนึ่งคือ

ชอบซุปข้าวโพดมาก โดยเฉพาะในวันที่ต้องทำงานถึงดึก

แม้จะรู้ซึ้งถึงข้อเสียของการรับประทานอาหารยามดึก

และทราบดีถึงปริมาณแคลอรี่และตัวเลขคาร์บมหาศาลใน

ซุปข้าวโพดหวานมัน แต่หลายครั้งก็ยังอดใจไม่ได้




เมื่อย้อนวิเคราะห์กลับไป จะพบว่าในวัยเด็กที่ต้อง

อ่านหนังสือเตรียมสอบคุณแม่ของหมอจะชอบทำ

ซุปข้าวโพดร้อนๆให้รับประทาน



ดังนั้นสิ่งที่หมอติดใจและโหยหาแท้จริงแล้ว ไม่ใช่ความ

อร่อยของซุปข้าวโพดอุ่นๆ แต่เป็นความอุ่นในหัวใจที่ได้

รับการดูแล จากคุณแม่ในวัยเยาว์ต่างหาก ความชอบหรือ

ไม่ชอบในรสอาหารก็เป็นอีกสิ่งที่มีการถ่ายทอดต่อกัน

จากรุ่นสู่รุ่น พบว่าลิ้นที่กลัวรสขมหรือลิ้นที่กลัวใน

รสแปลกใหม่เป็นรสนิยม ที่ถูกถ่ายทอดต่อกันจากแม่สู่ลูก




ด้วยอัตราการส่งต่อที่สูงถึงร้อยละ 66-78 ซึ่งความกลัว

ในรสที่แปลกใหม่นี้ส่งผลให้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่

รับประทานอาหาร ไม่หลากหลาย ถือเป็น...




ข้อเสียเปรียบ ทางโภชนาการอย่างยิ่งนอกจากรสชาติ

ของอาหารแล้ว พฤติกรรมการรับประทานที่ต่างกันไป

ในแต่ละครอบครัวก็มีผล



การศึกษาพบว่า พฤติกรรมการหม่ำแบบติดจรวดจะ

ส่งผลให้อ้วนได้ง่าย กว่าการหม่ำแบบค่อยเป็นค่อยไป

ซึ่งแน่นอนว่าความเร็วช้า ของการหม่ำนี้




มักเป็นอิทธิพลจากวัฒนธรรมที่ถูกปลูกฝังกันมาในครอบครัว

ฟัง ๆ ดูแล้วเหมือนกับว่าความอ้วนก็น่าจะเป็นโรคที่ติดต่อ

ถึงกันในครอบครัวได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว




ทำไมหมอกับน้องชายถึงมีพฤติกรรมการรับประทาน

อาหารที่ต่างกัน



คำตอบน่าสนใจมากค่ะ เพราะพบว่าการเลียนแบบ

พฤติกรรมการหม่ำนั้น ....

ลูกสาวจะมีแนวโน้มเลียนแบบคุณแม่

ในขณะที่ลูกชายมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบคุณพ่อ



และเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอิทธิพลจากครอบครัวจะลดลง

แต่อิทธิพลจากเพื่อนและสิ่งแวดล้อมนอกบ้านจะเพิ่มขึ้น

น้องชายของหมอจึง มีพฤติกรรมรับประทานไม่ยั้งเป็น

ระยะแรกแบบคุณพ่อ



ในขณะที่หมอจะมีพฤติกรรม หม่ำอนุรักษ์หุ่นแบบคุณแม่

เมื่อโตเข้าวัยรุ่นเราสองคนก็แยกสู่สิ่งแวดล้อมที่ ต่างกัน

มีกลุ่มเพื่อนซึ่งมีรสนิยมต่างกัน และนั่นคือเหตุผลที่

อธิบายได้ชัดเจน ว่า ทำไมโรคอ้วนจึงไม่ระบาดยกครัวเรือน

ในบ้านของหมอ



นอกจากครอบครัวในวัยเด็กแล้ว คู่ครองของคุณ ไม่ว่าจะ

เป็นสามี ภรรยาแฟน หรือกิ๊ก ที่คุณใช้ชีวิตร่วมกัน เดตด้วยกัน

รับประทานอาหาร ด้วยกัน



ก็มีอิทธิพลที่ส่งต่อความอ้วนให้ได้เซ่นกัน โดยมีอัตราอยู่

ที่ราวร้อยละ 37



สรุป

แล้วครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมระดับไมโคร (Microenvironment)

ที่ส่งผลถึงความอ้วน โดยเฉพาะครอบครัวในวัยเยาว์

การลดน้ำหนักที่ดีจึงต้อง มองถึงการปรับสิ่งแวดล้อมเล็ก ๆ

ภายในครอบครัวของเราด้วยแต่จะทำอย่างไร นั้น ขออุบ

ไว้ก่อนในบทนี้






CR   ผอมได้ไม่ต้องอด , แพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล








 ◕()◕╰☆╮╰☆╮ LOVE YOU ALL╰☆╮╰☆◕()◕

ข้อมูลสุขภาพการควบคุมอาหารการออกกำลังกายและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


✿◠‿◠)•(ˆ‿ˆ)•(◕‿◕✿)
ปรึกษาด้านโภชนาการเพื่อสุขภาพ-ผิวพรรณ
ลดพุง + ลดน้ำหนัก = ลดโรค + สุขภาพดี



ดูแลสุขภาพปรับสมดุลย์น้ำหนักและสัดส่วน
ช่วยให้คุณดูดีอย่างสุขภาพดีจากที่บ้าน




ღ´¨) ด้วยรักและห่วงใยจาก
¸.•´¸.•*´¨) ¸.•*¨)
(¸.•´ (¸.•` www.fitmomok.com รุ่งตะวัน  ⋰⋱⋰⋱⋰
˚. ★ *˛ ˚.* ✰。˚ ˚. ★ *˛ ˚.* ✰。˚´¸.☆´ ☆


P.S. ข้อผิดพลาด 1ข้อที่ทำให้...ลดน้ำหนัก ไม่ได้ผล...คุณต้องรู้ รายละอียด //bit.ly/1LjJWOL




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2558
0 comments
Last Update : 14 ตุลาคม 2558 10:52:42 น.
Counter : 415 Pageviews.


สมาชิกหมายเลข 2720218
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2720218's blog to your web]
space
space
space
space
space