เมื่อ “เจ้านาย” ถูกตัดสินประหารชีวิต ในสมัยประชาธิปไตย (ตอนที่ 2)
เมื่อ “สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” ทรงทราบ

“ทำไมรังแกฉันอย่างนี้ มันจะเอาชีวิตฉัน มาทำลูกชายฉัน เห็นได้เทียวว่า รังแกฉัน” (สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ : สมภพ จันทรประภา)

ข้อความดังกล่าวเป็นพระราชดำรัสของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทันทีที่หม่อมอลิซาเบท ในกรมขุนชัยนาทนเรนทร มากราบทูลเรื่อง “เสด็จในกรม” ทรงถูกจับที่ลำปางให้ทราบ ซึ่งทรงตกพระทัยและโทมนัสเป็นอันมาก เพราะทรงเป็นทั้ง “แม่เลี้ยง” ของกรมขุนชัยนาทฯ และ “พระกุลเชษฐ์” แห่งพระราชวงศ์

จากบันทึกของพระโอรส

หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทฯ ทรงเขียนถึงเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็น “เคราะห์กรรม” ของครอบครัวพระองค์ไว้ว่า

“...พ.ศ. 2482 ปีมหาอุบาทว์ ปีที่มี 9 เดือนเท่านั้น ใกล้เข้ามาแล้ว สองเดือนก่อนถึงวันที่ 1 เมษายน 2482 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแบบเก่าครั้งสุดท้าย เสด็จพ่อถูกตำรวจของรัฐบาลพลตรีหลวงพิบูลสงคราม จับในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา กับเจ้าพระยาพิชเยนทร์โยธิน สองผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ก็ลงชื่อในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษ... โดยพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้มีอำนาจตั้งผู้พิพากษาของศาลพิเศษ ทั้งอำนาจตั้งอัยการประจำศาลผู้ทำหน้าที่เป็นโจทก์ (แต่จำเลยไม่มีสิทธิ์ตั้งทนาย) ศาลพิเศษนี้ผู้พิพากษาเป็นนายพลเพื่อนนายกรัฐมนตรีส่วนใหญ่ ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีเดียวคือคดีที่เสด็จพ่อทรงติดร่างแหไปด้วย นักกฎหมายทุกคนเห็นว่าเป็นการผิดหลักนิติธรรมที่ประเทศซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีสภานิติบัญญัติ และอยู่ในภาวะปกติไม่มีสงครามหรือการจลาจลได้ออกกฎหมายพิเศษให้รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมผู้ที่มีอำนาจตั้งโจทก์ ตั้งผู้ว่าคดี และตั้งผู้พิพากษาเองทั้งหมด เป็นเรื่องซึ่งทำให้คนไทยผู้ไม่ได้กระทำผิด เพียงแต่อาจไม่เห็นด้วยกับนโยบายบางประการถูกประหารชีวิต 18 คน ถูกจับคุกหลายสิบคน รวมทั้งเสด็จพ่อด้วย ทีแรก “เชิญเสด็จ” ไปที่พระราชวัง(หมายถึงโรงพักพระราชวัง) แล้วลหุโทษ(เดี๋ยวนี้เรียกว่าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หรือคลองเปรม) แล้วในที่สุด “บางขวาง” เมื่อปลายปี พ.ศ. 2484 ปีที่พอ 1 มกราคม ก็เปลี่ยนเป็น 2483 ให้ตรงกับการขึ้นปีใหม่ฝรั่ง...” (เกิดวังไม้ : ม.จ. ปิยะรังสิต รังสิต)


ทำไม “กรมขุนชัยนาทฯ” ผู้ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการเมืองจึงถูกจับ

“...เรื่องมันเห็นได้ตามภูมิปัญญาของข้าพเจ้าว่า การถูกกยิงที่ท้องสนามหลวง และลอบวางยาพิษ(ถ้าเกิดขึ้นจริง) ได้ทำให้หลวงพิบูลสงครามหวั่นหวาด “ภัยมืด” มากขึ้น จนสุดที่จะทนทานได้ จึงจำเป็นต้องจัดการลงไปที่ตะเป็นการประกันความปลอดภัยอย่างเพียงพอ ... ความสงสัยได้รวมอยู่ที่ความเคลื่อนไหวของพระยาทรงสุรเดช การคิดตั้งโรงเรียนรบที่เชียงใหม่นั้น ถูกสงสัยว่าเป็นแผนการของพระยาทรงฯ ที่จะยึดอำนาจการปกครอง พวกสหายและสานุศิษย์ของพระยาทรงสุรเดช อาทิ พระสิทธิเรืองเดชพล หลวงชำนาญยุทธศิลป หลวงรณสิทธิพิชัย ขุนคลี่ ฯลฯ …

เหล่านี้ถูกสงสัยว่าพยายามที่รวบรวมพวกพ้อง และตลอดจนลอบฆ่าหลวงพิบูลฯ แต่พระยาทรงสุรเดชและพวกพ้องต้องได้เงินมาใช้เตรียมการจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ความสงสัยจึงฉวัดเฉวียนไปทางพระราชวงศ์ชั้นสูง อาทิ พระปกเกล้าฯ และกรมพระนครสวรรค์ แต่โดยที่ใครๆ ก็ทราบว่า ... พระยาทรงฯ ไม่เคยมีโอกาสได้เฝ้าเจ้านายชั้นสูงเช่นที่ออกพระนามแล้ว แต่มีเจ้านายชั้นสูงอีกพระองค์หนึ่งที่โปรดเสด็จประพาสในที่ต่างๆ ทั้งในสยามและต่างประเทศ นั่นคือกรมขุนชัยนาทฯ ซึ่งมีโอกาสที่ใครจะพบได้ง่าย ทั้งปรากฏด้วยว่าพระองค์เสด็จประพาสเชียงใหม่ จึงน่าจะเป็นโอกาสให้พระยาทรงฯ ได้เข้าเฝ้า กรมขุนชัยนาทฯ จึงถูกสงสัยว่าได้ประทานอุปการะแก่การคิดกบฏของพระยาทรงฯ...” จากบันทึกของ ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน์ ที่เขียนไว้ในเรื่องชีวิตของการกบฏ และการตั้งศาลพิเศษ

แล้ว “กรมขุนชัยนาทฯ” เสด็จไปทำอะไรที่เชียงใหม่ จริงหรือ ? ที่ทรงสนับสนุนกบฏ เพราะอยากได้อำนาจคืน

หลวงอายุรกิจโกศล เขียนเล่าไว้ว่า “... ในปี ๒๔๘๑ ระหว่างเดือนสิงหาคม หรือกันยายน จำไม่ได้แน่ เสด็จในกรมได้เสด็จไปจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนเสด็จได้มีลายพระหัตถ์ถึงข้าหลวงประจำจังหวัด แจ้งพระประสงค์ว่า เพื่อทรงศึกษาลู่ทาง ที่จะให้หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต พระโอรสพระองค์เล็กซึ่งทรงศึกษาวิชามนุษย์ไปสอบสวน และศึกษาเรื่องชาวละว้าซึ่งทางเหนือเรียกว่าลัวะเพื่อนำไปทำวิทยานิพนธ์เสนอมหาวิทยาลัยซูริคในประเทศสวิสเซอร์แลนในสิ้นปีหน้า และส่งลายพระหัตถ์ฉบับเดียวกันถึงผู้เขียนด้วยข้อความเดียวกัน กับสั่งให้จองโรงแรมรถไฟให้ด้วยสองห้องสำหรับเป็นที่ประทับ

เมื่อเสด็จถึง ได้ทรงปรารภเรื่องนี้พร้อมกับข้าหลวงประจำจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง ... รับสั่งว่า ... จะให้ท่านชายเล็กไปพบ ม.ร. ฮัทจิสัน เพื่อขอทราบเรื่องเหล่านี้บ้าง (เรื่องการศึกษาเผ่าละว้า - ผู้เขียน) รับสั่งว่าจะเสด็จกลับกรุงเทพฯ แต่เพียงพระองค์เดียว เพื่อให้ท่านชายได้เดินทางไปบ่อหลวงเพื่อดูลาดเลาเสียครั้งหนึ่งก่อนสักสองสามวัน แล้วจึงกลับไปเตรียมตัวเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการนี้ให้พร้อมแล้ว จึงกลับมาทำการสอบสวนให้เต็มรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง ... เมื่อได้ตกลงเรื่องของท่านชายเล็กเสร็จเรียบร้อยแล้ว เสด็จในกรมก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์และคณะเดินทางไปฮอด และบ้านบ่อหลวง บ้านบ่อสะหลี เป็นเวลาเกือบ ๒ อาทิตย์จึงกลับเชียงใหม่แล้วกลับกรุงเทพฯ...” (สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ : สมภพ จันทรประภา)

จากนั้นอีกประมาณ 2 อาทิตย์ ก็เสด็จกลับไปเชียงใหม่อีกครั้ง เพื่อส่งหม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต และเสด็จประพาสที่เชียงใหม่อยู่ระยะหนึ่ง จึงได้เสด็จไปประทับกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ลำปาง ซึ่งก็ทรงไปประทับด้วยอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งถูกจับ โดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้ประกาศในคืนวันนั้นว่า “เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลได้ควบคุมพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ที่สถานีรถไฟลำปางเพื่อนำส่งกรุงเทพฯ”



Create Date : 25 กันยายน 2548
Last Update : 27 กันยายน 2548 16:16:54 น.
Counter : 8579 Pageviews.

7 comments
  
เป็นอีกมุมมองที่น่าสนใจคับ
โดย: nobody know IP: 203.151.140.119 วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:22:25:29 น.
  
รออ่านตอนต่อไปนะคับ
โดย: เกนหลง (เกนหลงหนึ่งหรัด ) วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:13:48:20 น.
  
great article

โดย: Nicky from Australia IP: 58.105.59.181 วันที่: 9 มกราคม 2549 เวลา:3:21:35 น.
  
อ่านด้วยความสนใจค่ะ
โดย: คนที่พอฯ IP: 66.56.79.25 วันที่: 4 มีนาคม 2549 เวลา:1:07:37 น.
  
รออ่านอยู่นะค่ะ น่าสนใจมากค่ะ
โดย: ปู IP: 117.47.100.72 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:12:07:31 น.
  
เทิดทุนเจ้านายทุกพะอง
โดย: น นคอน IP: 182.93.169.230 วันที่: 30 มิถุนายน 2553 เวลา:1:35:28 น.
  
เยี่ยมค่ะ
โดย: เด็กดี IP: 171.7.249.142 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2557 เวลา:13:36:17 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รอยใบลาน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]



สโมสรของอัศวินแห่งอินทรนคร
กันยายน 2548

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
29
30
 
 
All Blog