We don't know future. What we don't know exactly always contains risk. When we take risk, we bet. Therefore, investment is a calculated bet. Just bet wisely.
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
7 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ลงทุนแบบไหนดีที่สุด

คราวก่อนๆเราเคยพูดถึงการลงทุนที่เราควรหลีกเลี่ยง จำได้มั้ยครับ หลังจากที่เราได้ตัดการลงทุนดังกล่าวออกไป เราก็เริ่มตั้งคำถามใหม่ว่า แล้วการลงทุนที่ดีดีที่เหลือ อันไหนล่ะดีที่สุด

คำตอบก็คือ ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้น บางช่วงควรลงทุนในหุ้น บางช่วงควรเป็นตราสารหนี้ บางช่วงเป็น commodity, derivatives หรือ อสังหาริมทรัพย์ ตอบยากครับ แล้วแต่ช่วงเศรษฐกิจนั้นๆ

แต่การจะเลือกลงทุนในรูปแบบต่างๆที่จะให้ผลดีที่สุด กลับใช้สูตรเดียวกันครับ !! ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ commodity บลา บลา บลา
ยังจำสูตร Expected return ได้มั้ยครับ และจำได้มั้ยครับที่คราวก่อนเราพูดถึง 3 วิธีในการลงทุนที่ดี ข้อที่สองเรื่อง หลักการหรือวิธีการลงทุนที่ถูกต้อง

ใช่ครับหลักการลงทุนที่คือยังคงเหมือนเดิมนั่นคือ การลงทุนที่ดีจะให้ผลการลงทุนเป็นบวกโดยเฉลี่ย ในระยะยาว หรือโดยความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น พูดในทางคณิตศาสตร์คือ positive expected return พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ต้องเป็นการลงทุนที่มี upside สูง downside ต่ำ มีความน่าจะเป็นที่สิ่งที่เราคาดไว้จะเกิดสูง

ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนสักสามตัวอย่างนะครับ

ตัวอย่างที่หนึ่ง
ในช่วงปี 1997 ค่าเงินบาทโดนโจมตี และได้ลอยตัวค่าเงิน ก่อนหน้านั้นหลายปี ค่าเงินปอนด์ก็โดนโจมตีเช่นกัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบก็คือการเก็งกำไร(โจมตี)ค่าเงินดังกล่าวเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด (ในที่นี้พูดถึงการลงทุนอย่างเดียว จริยธรรมไม่เกี่ยวนะครับ)
ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดตายตัวเช่น 25 ต่อ ดอลล่าห์ในขณะนั้น ในภาวะปกติมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เพราะรัฐบาลเข้าควบคุมไว้ นั่นคือ ถ้าคุณซื้อดอลล่าร์ที่ 25 บาท อย่างดีก็ขายได้กำไรที่ 25.10 หรือขายขาดทุนที่ 24.90 (โดยประมาณ)
แต่ในช่วงปี 1997 นั้นรัฐบาลไทยประสบปัญหาอย่างมากในการจัดการด้านเศรษฐกิจ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่โดยสรุปก็คือมีโอกาสที่ค่าเงินจะลอยตัว Hedgefund ต่างๆเริ่มเข้ามาซื้อดอลล่าร์เพื่อเก็งกำไร เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะว่า ถ้าค่าเงินลอยตัว มีโอกาสอย่างมากที่อัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นไปได้ถึง 50 บาท แต่ถ้ารัฐบาลปกป้องค่าเงินบาทได้สำเร็จ อัตราแลกเปลี่ยนจะอยู่ที่ 25 บาทเหมือนเดิม

ถ้าเราคำนวณตามสูตรที่ได้กล่าวไว้

กำไร = โอกาสที่จะลอยตัว x กำไรจากการลอยตัว - โอกาสที่ไม่ลอยตัว x ขาดทุนที่ไม่ลอยตัว

สมมติว่าถ้ามีโอกาสลอยตัวแค่ 50-50 , ถ้าลอยตัวปรับตัวขึ้นจาก 25 เป็น 50, ถ้าขาดทุนปรับตัวลงจาก 25 เป็น 24.50

กำไร = 0.5 x 25 - 0.5 x 0.5
= 12.25 บาทต่อ ดอลล่าร์

หมายความว่าโดยความเป็นไปได้ดังกล่าว คุณจะมีกำไรเฉลี่ย 12.25 บาท จากการเข้าซื้อที่ 25 บาทต่อ ดอลล่าร์ ซึ่งเกือบ 50% ทีเดียว

และในความเป็นจริงนั้น Hedgefund เข้าเก็งกำไรโดยการกู้เงินมาลงทุนหลายเท่า นั่นหมายความว่ากำไรที่น่าจะทำได้ มีเกิน 100% นอกจากนั้นโอกาสที่แบงค์ชาติจะปกป้องค่าเงินก็มีน้อยเต็มทีเพราะนอกจากเศรษฐกิจจะไม่เอื้อแล้ว เงินสำรองดอลล่าร์สามหมื่นล้านดอลล่าร์ ยังน้อยกว่าเงินเก็งกำไรรวมกันของ Hedgefund ทั้งหมด (เฉพาะ จอร์จ โซรอส เจ้าเดียวก็น่าจะเกิน หมื่นล้านดอลล่าร์) พูดให้ง่ายก็คือ หน้าตักของแบงค์ชาติเราน้อยกว่าของนักเก็งกำไร และเรากำลังโดนรุม โอกาสในการลอยตัวจึงมีมาก มากกว่า 50% เยอะเลยครับ ! เห็นมั้ยครับว่า ทำไมในกรณีนี้การเก็งกำไรค่าเงินจึงเป็นทางเลือกของเหล่า Hedgefund ในช่วงนั้น แต่ในสถานการณ์ปกติ การเก็งกำไรก็เป็นแค่ทางเลือกลงทุนธรรมดาช่องทางหนึ่งเท่านั้น

ตัวอย่างที่สอง

ขอนำเอาสถานการณ์สดๆร้อนๆในตลาดอสังหาริมทรัพย์อเมริกามาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้อินเทรน ฮา

อเมริกาได้นำเงินปล่อยกู้ซื้อบ้านของธนาคารต่างๆมาจัดตั้งเป็นตราสารชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ซื้อตราสารนี้ก็เปรียบเสมือนได้ปล่อยกู้บ้านนั่นเองครับ ลักษณะคล้ายตราสารหนี้ชนิดหนึ่ง ในกรณีที่ราคาหุ้นบูม ผู้ถือตราสารจะได้รับดอกเบี้ยเรื่อยๆ และเมื่อทุกคนคิดว่าตลาดอสังหาจะบูมต่อเนื่อง ตราสารดังกล่าวจึงมีความปลอดภัยสูง ถึงสูงมาก

อย่างไรก็ตาม มีนักลงทุนชาญฉลาดท่านหนึ่งชื่อ John Pualson ได้เล็งเห็นภาวะฟองสบู่และได้มองเห็นการลงทุนที่ดี่ที่สุดชนิดหนึ่ง นั่นก็คือการขาย short ตราสารดังกล่าว ทำไมจึงเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดในช่วงนั้น ขออธิบายดังนี้ครับ

ถ้าสมมติว่า ตราสารหนี้ภาครัฐอเมริกาให้ดอกเบี้ย 5% ขณะที่ตราสารดังกล่าวให้ดอกเบี้ยที่ 6% หมายความว่านักลงทุนที่ถือตราสารดังกล่าวจะได้ดอกเบี้ย 6% ทุกปี ถ้าหลักทรัพย์ของตราสารนี้ไม่ล้มละลายไปซะก่อน แต่ Pualson คิดว่าถ้าฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก ราคาบ้านจะตกมาก เศรษฐกิจเริ่มถดถอย คนกู้บ้านจะไม่มีปัญญาจ่ายค่าผ่อนบ้าน และบ้านจะถูกยึดเป็น NPL ซ้ำร้ายบ้านที่ถูกยึดจะขายในราคาที่ต่ำกว่าเงินกู้มาก ทำให้ผู้ถือตราสารขาดทุน แถมตราสารบางตัวก็ปล่อยกู้เฉพาะบ้านที่เสี่ยงสูงมากๆซะด้วย

ดังนั้น Pualson จึงได้ short ตราสารดังกล่าว โดยคิดว่าถ้าฟองสบู่ไม่แตก Pualson จะนำเงินที่ได้จากการ short ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลโดยได้ดอกเบี้ย 5% แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือตราสาร 6% ทำให้ขาดทุน 1% ทุกปี ถ้าฟองสบู่ ในขณะเดียวกันถ้าฟองสบู่แตก ราคาตราสารอาจตกลงไปเกิน 50% อันที่จริงบางตัวตกลงไปถึง 80% ทีเดียว

ถ้าเราคำนวณตามสูตรจะได้ดังนี้
เนื่องจากในช่วงนั้น ฟองสบู่ใกล้แตกเราจะสมมติว่าโอกาสที่ฟองสบู่จะแตกเท่ากับ 50-50 (เพื่อความง่ายในการเข้าใจ)

กำไร = โอกาสที่ฟองสบู่จะแตก x กำไรที่ได้ - โอกาสที่ฟองสบู่ไม่แตก x ขาดทุนจากการ short ตราสาร
= 0.5 x 80% - 0.5 x 1%
= 39.5%

หมายความว่าโดยเฉลี่ยกำไรที่ได้จารการ short ตราสารดังกล่าวเท่ากับ 39.5% นั่นคือ ถ้ากำไรจะกำไร 80% ถ้าขาดทุนจะเท่ากับ 1% และเช่นกัน Pualson ได้ใช้การกู้เงินมาลงทุน ทำให้ในปีถัดมา(แม่นมาก) เขาได้กำไรจากการลงทุนประมาณ 650% !! เท่านั้นเอง

ตัวอย่างที่สาม

ขอยกตัวอย่างที่เข้าใจง่ายและใกล้ตัวดีกว่าครับ ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเอง เนื่องจากหุ้นได้ปรับตัวลงไปมาก (หลังจากที่ฟองสบู่แตก และ Pualson กำไรไปแล้ว) หุ้นบางตัวได้ปรับตัวลงไปมากจากการตกใจแห่ขาย

ทำให้หุ้นเดินเรือตัวหนึ่ง ซึ่งมีมูลค่าทางบัญชีประมาณ 30 บาท ได้ปรับตัวลงจาก 50 เหลือ 12 บาท มูลค่าทางบัญชีที่ 30 บาทนี้มีเงินสดอยู่เท่ากับ 15 บาทต่อหุ้น
นั่นหมายความว่าถ้าคุณสามารถซื้อหุ้นทั้งหมดได้ที่ 12 บาท คุณจะได้บริษัทนี้ไปซึ่งมีเงินสดเท่ากับ 15 บาทต่อหุ้น และนี่ยังไม่นับรวมที่ดิน และเรือขนส่งอีกต่างหาก และถ้าคุณซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทนี้แล้วได้ทำการจ่ายปันผล 12 บาทต่อหุ้น จะทำให้คุณได้เงินลงทุนคืนทั้งหมด พร้อมทั้งยังมีเงินสดในบริษัท 3 บาทต่อหุ้น และที่ดิน และเรือ ทั้งหมดนี้ได้มาฟรี !!!!

ผมคงไม่ต้องคำนวณสูตรดังกล่าวให้เห็นเป็นตัวเลขนะครับ และภายหลังจากนั้นประมาณ 6 เดือน ตลาดหุ้นได้เริ่มปรับตัวขึ้นประมาณ 70% แต่หุ้นดังกล่าวปรับขึ้นไปที่ 30 บาท (ยังไม่นับปันผล และหุ้นปันผล) ซึ่งรวมแล้วคร่าวๆประมาณ 35 บาท ซึ่งก็เกินมูลค่าทางบัญชีเล็กน้อย เท่ากับหุ้นปรับขึ้น 200%

อันที่จริงยังมีตัวอย่างทำนองนี้อีกมาก แต่ผมขอเล่าให้เห็นภาพเพียงแค่นี้

จากตัวอย่างทั้งสามจะเห็นได้ว่า เรามีการลงทุนที่ดีที่สุดใน อัตราแลกเปลี่ยน ในตราสารอสังหาริมทรัพย์ ในหุ้น ซึ่งแต่ละรูปแบบล้วนมีความเสี่ยงในการขาดทุนต่ำ ในขณะที่โอกาสกำไรมีมา ซึ่งขึ้นกับแต่ละสถานการณ์ ดังนั้นผมจึงได้บอกว่า การลงทุนทีดีที่สุดนั้นไม่แน่นอน ขึ้นกับแต่ละช่วงเวลา สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้จักสิ่งที่เราจะลงทุน รู้หลักการการลงทุนที่ถูกต้อง(การประเมินความเสี่ยงกับผลกำไรที่จะได้) และเราต้องมีความหนักแน่นในการวิเคราะห์ จิตใจไม่ว่อกแว่ก อิอิ (ยังไม่ลืมหลัก 3 ข้อในการลงทุนที่ดีใช่มั้ยครับ




Create Date : 07 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2552 0:14:15 น. 0 comments
Counter : 970 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rhythm of Love
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Flag Counter

New Comments
Friends' blogs
[Add Rhythm of Love's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.