We don't know future. What we don't know exactly always contains risk. When we take risk, we bet. Therefore, investment is a calculated bet. Just bet wisely.
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
24 มิถุนายน 2558
 
All Blogs
 
กทม.ฝนหยดน้ำยังท่วม ทำไมญี่ปุ่นฝนตกหนักแต่ไม่ท่วม?

กทม.ฝนหยดน้ำยังท่วม ทำไมญี่ปุ่นฝนตกหนักแต่ไม่ท่วม?
สถาบันวิจัยธรณีวิทยาและป้องกันภัยพิบัติของญี่ปุ่น ทดสอบระบบแจ้งเตือนฝนตกหนักให้ประชาชนรู้ล่วงหน้า เพื่อรับมือฤดูฝนที่กำลังมาถึง

       ระบบแจ้งเตือนฝนตกหนักล่วงหน้าที่สถาบันวิจัยธรณีวิทยาและป้องกันภัยพิบัติของญี่ปุ่นพัฒนาขึ้น จะใช้เรดาร์ความถี่สูงเพื่อจับตาการก่อตัวของกลุ่มเมฆฝนบนท้องฟ้าที่ระดับความสูง 4-5กิโลเมตร และเมื่อพบว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดฝนตกหนักมากกว่า 30 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ก็จะส่งสัญญาณกลับมายังศูนย์พยากรณ์อากาศ หลังจากนั้นทางศูนย์ฯจะส่งแจ้งเตือนประชาชนผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยประชาชนจะได้รับข้อความแจ้งเตือนล่วงหน้าอย่างน้อย 10 นาทีก่อนที่ฝนจะตกถึงพื้นดิน

       ระบบดังกล่าวอาศัยข้อมูลจากศูนย์ติดตามสภาพอากาศมากกว่า 1,000 แห่งกระจายอยู่ในภูมิภาคคันโต หรือพื้นที่โดยรอบกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น เพื่อแจ้งข่าวล่วงหน้าให้ประชาชนเตรียมรับมือฝนตกหนัก และยังจะแจ้งไปยังรัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้เตรียมมาตรการรับมือหรือสั่งอพยพประชาชน หากจะเกิดฝนตกหนักในระดับที่เป็นอุทกภัย

       ประชาชนที่สมัครรับบริการแจ้งเตือนฝนตกหนักผ่านทางโทรศัพท์มือถือ จะสามารถเลือกพื้นที่แจ้งเตือนได้ 2 สถานที่ ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือสถานที่ทำงาน นอกจากนี้ยังสามารถส่งต่อข้อความแจ้งเตือนไปให้บุคคลรอบข้างได้ด้วย

กทม.ฝนหยดน้ำยังท่วม ทำไมญี่ปุ่นฝนตกหนักแต่ไม่ท่วม?
ประชาชนจะได้รับแจ้งฝนตกหนักล่วงหน้าอย่างน้อย 10 นาที
        รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทดลองระบบพยากรณ์อากาศและแจ้งเตือนภัยล่วงหน้านานถึง 5 เดือนก่อนช่วงเดือนตุลาคม ที่จะมีฝนตกหนักเป็นประจำในกรุงโตเกียว โดยมุ่งหวังสร้างระบบแจ้งเตือนให้ประชาชนรู้ล่วงหน้าถึงฝนที่จะตกหนัก หลังจากเมื่อปีที่แล้วเกิดเหตุฝนตกหนักและโคลนถล่มที่จังหวัดฮิโรชิมะ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 74 คน

       ระบบแจ้งเตือนฝนตกล่วงหน้านี้ได้ทดลองในบริการในพื้นที่กรุงโตเกียว, จังหวัดคานากาวะ, ไซตามะ, ชิบะ และอิบารากิ ขณะที่บางพื้นที่ในจังหวัดกันมะ, โทชิกิ, ยามานาชิ และชิสุโอกะ ก็กำลังทดลองให้บริการในพื้นที่จำกัด โดยสัปดาห์ที่แล้วได้เกิดฝนตกหนักที่กรุงโตเกียวและจังหวัดไซตามะ ระบบแจ้งเตือนนี้ก็สามารถส่งอีเมล์แจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ

       ญี่ปุ่นนับเป็น “เมืองน้ำ” เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร เนื่องจากญี่ปุ่นมีปริมาณฝนตกในช่วงฤดูฝนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รองจากประเทศอังกฤษ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับข้อมูลพยากรณ์อากาศ และสร้างระบบระบายน้ำเพื่อรับมือเท่านั้น แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พื้นที่สำคัญของญี่ปุ่นไม่เคยมีน้ำท่วมเลยในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ก็คือ การเตรียมพร้อมล่วงหน้า เพราะถึงแม้ฟ้าฝนจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ทั้งหมด แต่ความตื่นตัวของเจ้าหน้าที่และประชาชน ทำให้พร้อมรับมือไม่ว่าฝนจะตกเมื่อไหร่ และผู้ว่าฯ จะอยู่หรือไม่ก็ตาม. 

นสพ กรุงเทพธุรกิจ



Create Date : 24 มิถุนายน 2558
Last Update : 24 มิถุนายน 2558 6:54:47 น. 1 comments
Counter : 763 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: peepoobakub วันที่: 14 มีนาคม 2560 เวลา:12:40:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rhythm of Love
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Flag Counter

New Comments
Friends' blogs
[Add Rhythm of Love's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.