space
space
space
<<
ธันวาคม 2564
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
11 ธันวาคม 2564
space
space
space

คิดจะปลูกถ่ายไต ต้องรู้! Part 1: เตรียมตัวอย่างไร


#ปลูกถ่ายไตต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง
#ทำไมจึงควรปลูกถ่ายไต
#ข้อห้ามของการปลูกถ่ายไต ถ้าคุณคิดจะปลูกถ่ายไต ไม่ควรพลาด

เมื่อภาวะไตวายดำเนินเข้าสู่ระยะสุดท้าย ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการฟอกหน้าท้อง แต่การรักษาดังกล่าวเป็นการช่วยกำจัดของเสียแทนไตภายนอกเท่านั้น น่าจะดีกว่าถ้าเรามีโอกาสปลูกถ่ายไตใหม่และทำงานทดแทนไตเดิมซึ่งจะกำจัดของเสียด้วยกลไกร่างกายมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการฟอกภายนอกอย่างชัดเจน

#ทำไมจึงควรปลูกถ่ายไต?
จากผลงานวิจัยเมื่อเทียบการรักษาด้วยปลูกถ่ายไต กับการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมหรือฟอกหน้าท้องพบว่าคนที่ปลูกถ่ายไตมีชีวิตยืนยาวกว่าอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ จำกัดอาหารน้อยกว่าเนื่องจากไตใหม่กำจัดของเสียส่วนเกินได้ดีกว่า มีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้นเพราะไม่ต้องเสียเวลาไปกับการฟอกเลือดหรือฟอกหน้าท้อง และยังสามารถกลับมามีบุตรได้ปกติ

ในข้อดีก็มีข้อเสีย…#ข้อเสียของการปลูกถ่ายไต
• มีความเสี่ยงในการผ่าตัด เช่น เสียเลือด
• ติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ เพราะต้องทานยากดภูมิ
• อาจเกิดภาวะปฏิเสธไตใหม่ได้
• ต้องทานยากดภูมิสม่ำเสมอ ตรงเวลาไปตลอด

#การปลูกถ่ายไตรับไตจากใครได้บ้าง
1️⃣ ไตผู้บริจาคเสียชีวิต คือได้รับการบริจาคจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย และยังมีการทำงานของไตที่ดี ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่รอรับการบริจาคไตอยู่ประมาณ 6,000 ราย และมีผู้ได้รับการปลูกถ่ายไตจากไตบริจาคประมาณ 700-800 รายต่อปี ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการปลูกถ่ายไตเมื่อไหร่ ส่วนการทำงานของไตดีหรือไม่หลังปลูกถ่ายในระยะแรกนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพไตเดิมของผู้บริจาค

2️⃣ ไตจากผู้บริจาคไตที่มีชีวิต โดยผู้ที่สามารถบริจาคไตได้คือ
• ผู้บริจาคไตที่มีชีวิต มีความสัมพันธุ์ทางสายเลือดกับผู้รับบริจาค เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติใกล้ชิด
• ผู้บริจาคไตที่มีชีวิต มีความสัมพันธ์เป็นสามีหรือภรรยากับผู้รับบริจาค โดยจะต้องแต่งงานหรืออยู่ด้วยกันเกิน 3 ปี หรือมีลูกด้วยกันไม่จำเป็นต้องรอครบ 3 ปี
การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคไตที่มีชีวิต จะมีค่าการทำงานของไตที่ดีกว่า การเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อดีกว่าเพราะมีความสัมพันธ์ทางสายเลือด โอกาสเกิดไตวายจนต้องฟอกไตหลังปลูกถ่ายในระยะแรกน้อยกว่า

#ใครบ้างห้ามปลูกถ่ายไต?
1️⃣ ไตวายเฉียบพลันที่สามารถฟื้นตัวได้
2️⃣ ภาวะติดเชื้อที่ยังไม่สงบ (Active infection)
3️⃣ โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ได้ (Active Malignancy)
4️⃣ ผู้ที่ใช้สารเสพติด
5️⃣ โรคทางจิตเวชที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้
6️⃣ ผู้ป่วยที่คาดว่าจะเสียชีวิตภายใน 1 ปี

ดังนั้นผู้ที่ไม่เข้าข่ายดังกล่าวสามารถลงทะเบียนขอรับการปลูกถ่ายไตได้หมดค่ะ แจ้งความจำนงได้กับแพทย์โรคไตที่ดูแลคุณประจำได้เลย ให้ส่งรายชื่อเพื่อลงทะเบียนค่ะ

#สิทธิการรักษาอะไรปลูกกถ่ายไตได้บ้าง?
ได้ทุกสิทธิค่ะ

#ต้องตรวจอะไรบ้างหลังลงทะเบียนปลูกถ่ายไตแล้ว
1️⃣ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด และเช็คสาเหตุของโรคไต ประเมินการเกิดไตวายซ้ำหลังผ่าตัด
2️⃣ ตรวจเลือด ดูการทำงานของไต - ตับ ความเข้มข้นของเลือด ตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ,ซี, HIV, ซิฟิลิส, CMV
3️⃣ ตรวจปัสสาวะ ถ้ายังมีปัสสาวะ
4️⃣ เอกซเรย์ปอด เพื่อดูลักษณะของหัวใจและปอด
5️⃣ ตรวจหัวใจ เริ่มแรกจะมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากพบความผิดปกติอาจมีการตรวจecho และ/หรือวิ่งสายพานเพื่อดูความพร้อมของหัวใจ
6️⃣ ตรวจเลือด เพื่อเปรียบเทียบเนื้อเยื่อ
7️⃣ อัลตราซาวนด์ช่องท้อง
8️⃣ ตรวจภายใน และคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
9️⃣ ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้
1️⃣0️⃣ ตรวจเต้านม และทำแมมโมแกรม
1️⃣1️⃣ ผู้ป่วยเบาหวานอาจพิจารณาทำอัลตร้าซ่วนด์เส้นเลือด หรือตรวจดูการย้อนกลับของปัสสาวะ
1️⃣2️⃣ ตรวจสุขภาพฟัน เพื่อรักษาฟันผุ

รายละเอียดปลีกย่อยยังมีอีกมาก ขึ้นกับแต่ละสถาบันและสภาวะโรคส่วนบุคคล แนะนำปฏิบัติตามสถาบันที่ได้ลงทะเบียนไว้

วันนี้แค่ part1 ยังมีข้อมูลดีๆรออยู่อีก ไว้มาต่อคราวหน้านะคะ

ติดตามสาระเรื่องไตดีๆได้ที่นี่ : https://bit.ly/3wSb2KY
ฝากกด like กดแชร์ เพื่อแบ่งปันข้อมูลให้คนที่คุณรักกันนะคะ

#ปลูกถ่ายไตเตรียมตัวยังไง #ปลูกถ่ายไตต้องตรวจอะไรบ้าง #ปลูกถ่ายไต #เปลี่ยนไตทำยังไง #เปลี่ยนไต #renalcare #renalcareth




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2564
0 comments
Last Update : 11 ธันวาคม 2564 17:35:25 น.
Counter : 550 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6748192
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่ะ กระทู้ของ renalcareth ตั้งใจแชร์ความรู้โรคไต เมนูอาหาร การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต
โดย พญ.จิรารัตน์ เอี่ยมเจริญยิ่ง อายุรแพทย์เฉพาะทางไต ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยโรคไตทั้งที่ยังไม่ฟอกไต หรือฟอกไตแล้ว รวมทั้งผู้ที่รับการปลูกถ่ายไตด้วยค่ะ

ฝากด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6748192's blog to your web]
space
space
space
space
space