What's in a name? That which we call a rose...
<<
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
10 พฤษภาคม 2550

Spirited Away


Spirited Away

ดูมาหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่เคยได้เขียนถึงซักที วันนี้ขอลองเขียนดู คงจะยาวหน่อย อั้นไว้หลายประเด็น


เนื้อเรื่อง

จิฮิโระ เด็กผู้หญิงวัยซัก 10 กว่าขวบ ต้องพลัดหลงเข้าไปในโลกวิญญาณระหว่างทางที่กำลังจะย้ายไปบ้านใหม่
พ่อแม่ของจิฮิโระที่พลัดหลงเข้ามาด้วยกันไปกินอาหารของโลกนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็เลยถูกสาปเป็นหมู
ส่วนจิฮิโระที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรก็ได้รับการช่วยเหลือจากเด็กชายแปลกหน้า (หน้าสวยมากก...) ที่ชื่อฮาคุ
โลกวิญญาณที่เธอหลงเข้าไปนั้นเป็นโรงอาบน้ำสำหรับบรรดาเทพล้านแปด โรงอาบน้ำนี้มีแม่มดยูบาบะเป็นเจ้าของ
ฮาคุบอกจิฮิโระว่า มาอยู่ในโลกนี้แล้วต้องทำงาน ถ้าไม่ทำงานก็อาจจะถูกสาปเป็นหมูเอามาทำอาหารเลี้ยงแขกที่มาอาบน้ำพร้อมกินดื่ม
ในที่สุดจิฮิโระก็ได้ทำงาน เซ็นสัญญากับยูบาบะ
มีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย จนในที่สุดจิฮิโระก็สามารถทำให้พ่อแม่คืนร่างกลับมาเป็นคน แล้วก็กลับมาสู่โลกมนุษย์อย่างปลอดภัย

การตีความต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว เข้าท่าไม่เข้าท่าก็ช่างๆ มันเหอะ


จิฮิโระ
แน่นอนว่าหลักใหญ่ใจความของเรื่องนี้ก็คือพัฒนาการของตัวเอกจิฮิโระ (เธอมีตัวตนอยู่จริง เป็นลูกสาวเพื่อนของอาจารย์มิยาซากิผู้กำกับ)
ในตอนต้นเรื่องเธอก็เป็นแค่เด็กผู้หญิงที่ไม่พอใจที่ต้องย้ายบ้านย้ายโรงเรียน (ตอนที่อิชั้นย้ายโรงเรียนตอนม.2 อิชั้นก็เศร้ามากๆ)
งอแงหงุงหงิงตามเรื่องตามประสา พอพลัดหลงเข้าไปก็เงอะงะงุ่มง่าม
แต่เหตุการณ์ต่างๆ ที่ประเดประดังกันเข้ามาก็ทำให้ตัวเอกของเราพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมี personality ที่หนักแน่นมั่นคงในที่สุด
ก็เหมือนกับคนเรานี่แหละ ประสบการณ์เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เราเติบโต
ในบางครั้งเราจึงแทบจะไม่สามารถบอกได้ว่า ใครโตกว่าใคร ใครเป็นผู้ใหญ่กว่ากัน
เพราะอายุเป็นเพียงตัวเลข "แค่สายลมผ่านพัดไป" ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกประสบการณ์ชีวิต
บางคนถึงได้แก่กะโหลกกะลา แต่บางคนถึงได้โตเกินวัย
จิฮิโระเจอเรื่องราวเกินบรรยายอัดๆ เข้ามาในช่วงเวลาสั้นๆ เธอจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเหลือเชื่อ


ผีไร้หน้า

ผีไร้หน้าเป็นตัวละครสำคัญอีกตัวหนึ่ง เค้าเป็น a nobody ที่ต้องการจะเป็น somebody
เค้าไม่มีรูปร่าง พูดไม่ได้ หายตัวได้ แต่บางทีก็เหมือนกับว่าเค้า "ไร้ตัวตน" ไม่มีใครมองเห็นไม่ว่าจะปรากฎตัวให้เห็นหรือไม่ก็ตาม
ในเรื่อง เจ้าผีไร้หน้านั้นสร้างทองขึ้นมาแล้วก็แจกจ่ายเพื่อแลกกับของกินอันโอชะ
เค้ากินทุกอย่างที่ขวางหน้า กินจนตัวเองบวมเบ่ง กินจนตัวใหญ่โตมโหฬาร แต่กินเท่าไหร่ก็ยังไม่อิ่มยังไม่พอใจ
ทำไมล่ะ?

การกินแสดงถึงความอยากอาหาร
ความอยากอาหารคือความต้องการของร่างกาย
ตามธรรมชาติแล้วถึงหิวมากแค่ไหน ก็มีวันอิ่ม แต่เจ้าผีไร้หน้าดูท่าจะไม่มีวันอิ่ม
นั่นก็เพราะว่าตอบสนองไม่ตรงตามความต้องการไงล่ะ
แสดงว่าสิ่งที่เค้าต้องการจริงๆ ไม่ใช่แค่เรื่อง physical แล้ว แต่น่าจะเป็นในด้าน mental หรือ spiritual มากกว่า
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะยัดอาหารเข้าไปมากมายขนาดไหน ก็ไม่สามารถจะ fullfill หรือ satisfyได้
นอกจากนี้ สิ่งเหล่านั้นยังเป็นสิ่งจอมปลอม ไม่ได้มาจากใจของคนให้จริงๆ มันก็แค่ธุรกิจ เอาตังค์มาเอาบริการไปก็เท่านั้นเอง
ในตอนจบของเรื่องจะเห็นว่า สุดท้ายผีไร้หน้าก็สงบลงและตัดสินใจใช้ชีวิตอย่างสงบสุขในบ้านหลังเล็กๆ
ที่บ้านนี้ไม่มีใครมาประเคนอะไรให้ แต่มีความรัก ความอบอุ่น ความจริงใจให้
เพียงแค่นี้เอง แค่มีตัวตน มีคุณค่า มีความหมาย เป็น somebody ของใครบางคน
และมี somewhere he belongs จริงๆ เท่านั้นเองก็สามารถเติมเต็มจิตใจได้แล้ว


ธรรมชาติ

การ์ตูนเกือบทุกเรื่องของจิบลิจะสอดแทรกเรื่องของธรรมชาติเอาไว้ไม่มากก็น้อย
ตัวอย่าง Nausicaa of the Valley of the Wind เรื่องนี้ได้รับการยกย่องจากสมาคมอะไรซักอย่างเกี่ยวกับธรรมชาติ เพราะว่ากล่าวถึงธรรมชาติล้วนๆ
"ใครกันหนอ ทำให้พื้นดินแปดเปื้อน" เรื่องนี้สนุกดี แต่ไม่มักตอนจบเท่าไหร่ (เป็นการ์ตูนสร้างชื่อของสตูดิโอนี้นะ)

Spirited Away ก็มีประเด็นเกี่ยวกับธรรมชาติอยู่เหมือนกัน
ในเรื่องนี้มีเทพแม่น้ำอยู่ถึง 2 องค์ด้วยกัน
องค์หนึ่งสกปรกโสโครกจนใครๆ พากันแหยงขยาดถึงกับเรียกว่าเทพเน่าเหม็น
ทั้งๆ ที่เป็นเทพแม่น้ำที่เก่าแก่ (หง่อมเชียว) และทรงอำนาจ แต่อะไรทำให้โสโครกขนาดนั้น
คำตอบก็คือคนเรานั่นเอง
ดูเอาเถิด สิ่งโสโครกพวกนั้นก็คือขยะของคนเราที่ทิ้งลงไปในแม่น้ำทั้งนั้น มีแม้กระทั่งจักรยาน (เคยอ่านเจอว่าฉากนี้เอามาจากประสบการณ์ตรงของอ.มิยาซากิ
คืออ.เคยไปขุดลอกคูคลอง แล้วก็เนี่ยแหละ เจอจักรยานจมอยู่)
จิฮิโระกับพรรคพวกต้องช่วยกันดึงเอาสิ่งโสโครกเหล่านั้นออกมาจากร่างของเทพ
ถึงได้เห็นว่าเทพองค์นั้นคือจริงๆ คือเทพแม่น้ำ เป็นมังกรน้ำตัวใหญ่ที่พอไม่มีขยะติดตัวแล้วก็สามารถเหินหาวได้อย่างสวยงาม (ขามาต้องเดินมา)
ส่วนเทพแม่น้ำอีกองค์หนึ่งต้องร่อนเร่ไร้ที่อยู่ เพราะแม่น้ำที่เป็นบ้านของตนถูกมนุษย์ถมเพื่อสร้างอพาร์ทเม้นท์!


วัตถุนิยม

ที่เห็นชัดเจนก็คือแม่มดยูบาบะ
หล่อนสนใจแต่เรื่องเงินทอง จนเกือบจะต้องเสียคนสำคัญไป
ขนาดตอนจบฮาคุถามว่าของสำคัญของคุณอยู่ไหน หล่อนยังหันไปหากองทองคำ หยิบมาเช็คว่าของแท้หรือเปล่า
ลูกของตัว หล่อนกลับไม่เคยเช็ค แค่เห็นว่านั่งอยู่ตรงนั้นก็เป็นอันว่าใช้ได้

แต่มีคนอีกคู่หนึ่งที่อิชั้นรู้สึกรางๆ ว่าน่าจะเป็นตัวแทนของค่านิยมวัตถุนิยมเหมือนกัน นั่นก็คือ พ่อแม่ของจิฮิโระ
ตอนที่จะกินอาหาร จิฮิโระก็บอกแล้วว่าไม่มีคนอยู่เลย อย่ากินเลย
แต่พ่อของเธอตอบว่า ไม่เป็นไร พ่อมีบัตรเครดิต กินก่อนค่อยจ่ายก็ได้
การใช้บัตรเครดิตเดี๋ยวนี้แพร่หลาย ขนาดอิชั้นเบี้ยน้อยหอยน้อยยังพอจะมีกับเค้าบ้าง
และทุกวันนี้มีคนเป็นหนี้บัตรเครดิตหัวโตกันมากมาย
ก็เพราะว่าซื้อของไม่ดูตัว อยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากได้นู่น รูดปื๊ด รูดปื๊ด
"บัตรเครดิต desire visa สิคะ กิเลสหนาแค่ไหนก็สนองได้ในฉับพลัน"
ซื้อของได้ง่ายขึ้น คนเราก็ materialism กันมากขึ้นตามไปด้วย
ก็เลยกลายเป็นหมูที่ตะกละและสักแต่ว่ากิน


ชีวิตคือการเดินทาง

มีอยู่หนนึงที่จิฮิโระต้องนั่งรถไฟไปจนสุดสาย ช่วงนี้เป็นการใช้ image ที่หลายๆ คนเคยพูดไว้ "ชีวิตคือการเดินทาง"
รถไฟที่เธอนั่งนั้นแล่นบนรางก็จริง แต่รางรถไฟก็ถูกน้ำท่วมจนมองไม่เห็น และ 2 ข้างทางก็ถูกน้ำท่วมซะจนเวิ้งว้างไปหมด
จนดูเหมือนกับว่าเธอกำลังไปไหนก็ไม่รู้ หนทางข้างหน้าก็ไม่รู้ (มองไม่เห็นราง) อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ราวกับอยู่กลางมหาสมุทรอันเวิ้งว้างว่างเปล่า (น้ำท่วมข้างทาง)
ดูอย่างนี้รู้สึกว่า โอ้ ชีวิตช่างน่ากลัวเหลือเกิน เราเดินไปข้างหน้าทุกวันๆ แต่จะมีซักกี่คนหนอที่ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองนั้นอยู่ in the middle of nowhere

อิชั้นไม่สามารถตีความเกี่ยวกับชีวิตให้ดูดีสวยงามได้ เพราะความคิดส่วนตัวเกี่ยวกับในเรื่องนี้มันไม่บรรเจิดขนาดทำให้สามารถทำอย่างนั้นได้
(ในตอนเดินทางมีวิญญาณอื่นๆ ด้วย ซึ่งเป็นแค่รูปร่างคนสีดำๆ ที่มองดูเหมือนเงาเท่านั้น
ทำให้คิดถึงประโยคหนึ่งของเช็คสเปียร์ที่ว่า Life's nothing but a walking shadow ชีวิตก็ไม่เห็นจะมีอะไร ก็แค่เงาเดินได้ก็แค่นั้น)
ในแง่นี้สอนให้รู้ว่า คนเรารับสารและตีความสารนั้นๆ โดยใช้ experience และ point of view (and so on) ของตนเป็นหลัก
การวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ จึงไม่มีอะไรถูกอะไรผิด ตราบใดที่คุณยังมีเหตุผลมายืนยันความคิดของคุณ


ชื่อ

จิฮิโระนั้นถูกแม่มดยูบาบะเปลี่ยนชื่อ จนเธอเกือบจะลืมไปว่าจริงๆ แล้วเธอชื่ออะไร เป็นใคร มาที่นี่ทำไม มีจุดประสงค์อะไร และต้องทำอะไร
เคยอ่านเจอว่าอ.มิยาซากิชอบหนังสือชุดพ่อมดแห่งเอิร์ธซีของเออร์ซูล่า ในเรื่องนั้นกล่าวว่า การรู้จักชื่อที่แท้จริงของบางสิ่ง ก็เท่ากับกำชีวิตของสิ่งนั้นไว้ในมือ
เรื่องนี้ก็คงจะรับเอาความคิดนี้มา
ไม่ใช่แค่จิฮิโระคนเดียว แต่ฮาคุก็เหมือนกัน เค้าใช้ชื่อฮาคุจนลืมไปว่าตัวเองเป็นใคร ชื่ออะไร ลืมตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง
ชื่อ ในเรื่องนี้จึงมีความสำคัญมากทีเดียว เท่ากับว่าเป็นตัวตนของคนนั้นๆ ก็ว่าได้

แต่เคยได้ยินมั้ย what's in a name that which we call a rose? อะไรอยู่ในชื่อที่เราเรียกว่ากุหลาบ
ถ้าคิดตามประโยคนี้ ชื่อก็ไม่ใช่อะไร ไม่ได้สำคัญอะไร ก็แค่คำๆ หนึ่งที่ใช้เรียกสิ่งๆ หนึ่ง
อย่างกุหลาบ แม้จะชื่อ rose หรือ กาบหลุ หรือ esor อะไรก็แล้วแต่ กุหลาบก็คือกุหลาบอยู่วันยังค่ำ
ไม่ว่าจะเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่าอะไร มันก็ยังคงคุณค่าในตัวเอง เป็นราชินีแห่งดอกไม้ทั้งปวงอยู่ดี
เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะชื่ออะไรมันก็ไม่สำคัญ เพราะคุณก็ยังเป็นคุณ
ฮาคุกับจิฮิโระก็เหมือนกัน แม้ว่าจะลืมว่าตัวเองเป็นใคร แต่ character หรือ personality ของพวกเค้าก็ยังเหมือนเดิม ฮาคุก็ยังคงใจดีเหมือนเดิม

แต่กระนั้นอิชั้นก็มี inner conflict ความขัดแย้งภายในเนื่องด้วยมีความยึดมั่นในเรื่องของชื่ออยู่ค่อนข้างแรงทีเดียว
อิชั้นไม่ชอบให้ใครมาแผลงชื่ออิชั้นเล่นหรือแม้แต่เปลี่ยนชื่ออิชั้นทั้งที่อิชั้นตั้งชื่อของตัวเองไว้แล้ว และอิชั้นไม่เคยคิดจะเอาชื่อใครมาล้อเล่นเหมือนกัน
เพราะนอกจากชื่อจะแยกเราออกจากคนอื่นๆ แล้ว ยังเป็นคำ 1 คำที่บรรจุทุกอย่างที่เป็นเราเข้าไป
พอคนนึกถึงชื่อเรา ตัวตนของเราก็ปรากฎในมโนภาพของเค้าทันที (ถ้าเค้านึกออก)

นอกจากนี้ ในความคิดเชิงวรรณคดีบางความคิด ยังเสนอว่า ชื่อ คือสิ่งที่ทำให้เราเป็นคน และการเรียกคนด้วยรหัส (เช่นเรียกเลขที่แทนชื่อ) ก็เป็นการ dehumanise อีกด้วย
ลองนึกดูว่าถ้าเป็นกุหลาบ เราอาจนับ กุหลาบดอกที่ 1 ติดแท็ก rose001 กุหลาบดอกที่ 2 ติดแท็ก rose002 อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็ได้ไม่ตะขิดตะขวงใจ
แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นคนล่ะ ให้ชื่อคนที่ 1 ว่า human000001 คนที่ 2 ว่า human000002 ไปเรื่อยๆ อย่างนี้รู้สึกยังไง
"ชั้นไม่ใช่สินค้าจากสายพานโรงผลิตนะยะ จะได้มีเลขรหัสลำดับการผลิต serial number แทนชื่อน่ะ"

อะไรแบบนี้



Create Date : 10 พฤษภาคม 2550
Last Update : 10 พฤษภาคม 2550 12:26:21 น. 2 comments
Counter : 631 Pageviews.  

 
อ่านแล้ว กลับไปดูหนังอีกรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ
เรื่องนี้มันเล่นกับความเป็นปัจเจกเยอะมากค่ะ เหมือนกำลังบอกว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ที่สุด นั่นคือมนุษย์เป็นสัตว์สังคม และต้องการความเป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นเราควรดูแลเอกลักษณ์ของกันและกัน และเคารพสิ่งเหล่านั้น รักษามันให้ดี เพราะไม่มีใครจะพรากสิ่งเหล่านั้นไปจากเราได้ หากเราไม่ยอม และเรื่องรักษาสิ่งแวดล้อม


โดย: เอาเข้าจริงแล้ว วันที่: 10 พฤษภาคม 2550 เวลา:13:39:19 น.  

 
I agree with u all!!!



โดย: Complicate วันที่: 10 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:18:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Red Rose Like Love
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Red Rose Like Love's blog to your web]