มีนาคม 2553

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
คุณแม่มือใหม่ เขาตรวจอะไรกันบ้าง
การตรวจชนิดต่างๆ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณและลูกน้อย
สิ่งสำคัญที่สุดที่พึงจำไว้ก็คือ ประมาณ 9 ใน 10 ของการตั้งครรภ์และการคลอดสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี การตรวจชนิดต่างๆ ระหว่างการตั้งครรภ์มีไว้เพื่อช่วยทำให้แน่ใจว่าความผิดปกติต่างๆ เท่านั้น หากมีสิ่งผิดปกติใดๆ จะได้ถูกตรวจพบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อช่วยให้การดูแลรักษาคุณและลูกน้อยในครรภ์อย่างดีที่สุดระหว่างตั้งครรภ์ การตรวจบางอย่าง อาจฟังดูค่อนข้างซับซ้อน แต่นั่นเป็นการตรวจตามมาตรฐานสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน
การตรวจน้ำคร่ำ
โดยปกติ การตรวจน้ำคร่ำจะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 15-18 ของการตั้งครรภ์ การตรวจวินิจฉัยวิธีนี้เป็นการตรวจเพื่อดูว่าลูกน้อยของคุณมีกลุ่มอาการดาวน์หรือความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆ หรือไม่ คุณมีแนวโน้มที่จะต้องเข้ารับการตรวจน้ำคร่ำ หากคุณมีอายุเกินกว่า 35 ปี เคยคลอดลูกที่มีความผิดปกติบางอย่าง หรือเครือญาติของคุณหรือสามีมีประวัติของความผิดปกติทางพันธุกรรม
นอกจากนี้ หากผลการตรวจเลือดหรือการตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก ชี้ว่ามีโอกาสเสี่ยงสูง คุณอาจต้องรับการตรวจน้ำคร่ำด้วยเช่นกัน ก่อนเริ่มทำการตรวจน้ำคร่ำ แพทย์จะทำการตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อดูตำแหน่งของเด็กและรก และเพื่อคำนวณวันครบกำหนดที่แน่นอน จากนั้น แพทย์จะทำความสะอาดผิวหนังทั่วทั้งครรภ์และแทงเข็มขนาดเล็กเข้าไปในครรภ์ของคุณ จากนั้นแพทย์จะใช้กระบอกฉีดยาดูดตัวอย่างน้ำคร่ำรอบๆตัวทารกขึ้นมาเพื่อนำไปตรวจ ในระหว่างที่ทำการเจาะเพื่อดูดน้ำคร่ำ แพทย์จะคอยดูตำแหน่งของทารกและเข็มอย่างระมัดระวังผ่านเครื่องอัลตร้าซาวนด์
คุณแม่ส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่ารู้สึกอัดอัดมากกว่าเจ็บและรู้สึกปวดเหมือนปวดประจำเดือน การเจาะน้ำคร่ำจะใช้เวลาประมาณ 25 นาที และคาดว่าจะทราบผลภายใน 2 สัปดาห์
เป็นความคิดที่ดีที่คุณจะหาเวลาพักผ่อนสักสองสามวันหลังจากที่เข้ารับการเจาะน้ำคร่ำ และเตรียมหาคนช่วยดูแลลูกๆ ไว้ให้พร้อมในระหว่างนี้ ถ้าหากคุณมีลูกแล้ว
โดยปกติ การเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีการตรวจที่ค่อนข้างปลอดภัย และคุณแม่ส่วนใหญ่เห็นว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจนี้ (ซึ่งสามารถวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับลูกน้อยในครรภ์) มีมากกว่าอันตรายที่อาจเกิดจากผลแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม การเจาะน้ำคร่ำมีความเสี่ยงอยู่บ้างเช่นกัน โดยพบว่าหญิงมีครรภ์ที่ได้รับการเจาะน้ำคร่ำ 1 ใน 200 ราย จะมีผลแทรกซ้อนหลังจากเจาะน้ำคร่ำซึ่งอาจส่งผลให้แท้งบุตรได้ ดังนั้น ควรพูดคุยกับพยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์ของคุณให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน ก่อนที่จะลงชื่อในหนังสือแสดงความยินยอม

การตรวจชิ้นเนื้อรก ( Chorionic villus sampling; CVS)
การตรวจชิ้นเนื้อรกเป็นวิธีการตรวจที่มักจะทำในช่วงไตรมาสแรก (ช่วงครรภ์ 1-3 เดือน) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่ใช้แทนการตรวจน้ำคร่ำ ข้อแตกต่างที่สำคัญของการตรวจชิ้นเนื้อรกก็คือ การตรวจวิธีนี้ไม่สามารถตรวจพบภาวะเยื่อหุ้มไขสันหลังปิดไม่สนิทที่เรียกว่า Spina Bifida ได้ โดยปกติ หญิงมีครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปและมีประวัติของสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือเคยคลอดลูกที่มีความผิดปกติบางอย่าง ควรจะต้องตรวจชิ้นเนื้อรก ซึ่ง การตรวจจะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง และเจ็บกว่าการเจาะน้ำคร่ำเล็กน้อย ซึ่งแพทย์จะทำการเก็บเซลล์เนื้อเยื่อรกบริเวณรกของคุณเพื่อนำไปตรวจ
ภายหลังการเจาะชิ้นเนื้อรกเสร็จแล้ว คุณจะต้องพักผ่อนเป็นเวลา 2 -3 วันการเจาะชิ้นเนื้อรก ( CVS) มีโอกาสเสี่ยงเล็กน้อยต่อการแท้งบุตรเช่นเดียวกับการเจาะน้ำคร่ำ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องซักถามข้อสงสัยและข้อวิตกกังวลใจต่างๆ กับสูติแพทย์ของคุณก่อนที่จะรับการตรวจ

การตรวจความทนทานของระดับน้ำตาลในเลือด ( Glucose tolerance tests)
ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ แพทย์อาจทำการตรวจคัดกรองเพื่อหาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจพบได้ประมาณ 2 - 3 คน จากว่าที่คุณแม่ทั้งหมด 100 คน ว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะมักจะมีอายุมากกว่า 35 ปี เป็นโรคอ้วน และเคยเกิดภาวะนี้ในการตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ และยังพบได้บ่อยในว่าที่คุณแม่ที่มีเชื้อสายชาวอินเดีย แอฟโฟร-คาริบเบียน หรือชาวตะวันออกกลาง วิธีการตรวจเลือดง่ายๆ นี้สามารถตรวจได้ว่าคุณมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ ว่าที่คุณแม่จำนวนมากสามารถควบคุมภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกาย และอาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลินในบางครั้ง

การตรวจเลือดโดยทั่วไป
ระหว่างตั้งครรภ์ คุณอาจได้รับการตรวจเลือดค่อนข้างบ่อย แต่ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะเป็นการตรวจเลือดทั่วไปสำหรับหญิงมีครรภ์ทุกคน ซึ่งจะตรวจสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
• ระดับธาตุเหล็ก: หากระดับของธาตุเหล็กในเลือดต่ำ คุณอาจรู้สึกเหนื่อยง่ายและเซื่องซึม คุณอาจลองเพิ่มเมนูอาหารที่มีส่วนผสมของผักใบเขียวและเนื้อแดงเพื่อช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย ถ้าหากการเปลี่ยนเมนูอาหารยังใช้ไม่ได้ผล คุณอาจต้องรับประทานธาตุเหล็กชนิดเม็ดเพื่อป้องกันเป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากระดับธาตุเหล็กอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงตั้งครรภ์ ดังนั้น คุณต้องตรวจหาระดับธาตุเหล็กในเลือดซ้ำอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ 28
• หมู่เลือดและหมู่เลือด Rh: แพทย์จำเป็นต้องทราบหมู่เลือดของคุณเพื่อบันทึกไว้เป็นข้อมูลทางการแพทย์ และยังต้องทราบด้วยว่าเลือดของคุณเป็นหมู่เลือด Rh บวก (RH+) หรือหมู่เลือด Rh ลบ (RH-) เนื่องจากหมู่เลือดทั้งสองชนิดนี้ไม่สามารถเข้ากันได้ หากหมู่เลือดของคุณคือ RH- และลูกน้อยในครรภ์ของคุณมีหมู่เลือด RH+ อาจมีโอกาสเป็นไปได้ที่ร่างกายของคุณจะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมา เพื่อต่อสู้กับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เป็น RH+ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยของคุณในระยะท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น การทราบหมู่เลือดของคุณล่วงหน้าจะช่วยให้แพทย์สามารถลดโอกาสการเกิดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
• หัดเยอรมัน ( German measles หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า rubella) คุณแม่อาจจะเคยได้รับวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันในขณะยังเด็กแต่อย่างไรก็ตาม หากผลการตรวจเลือดชี้ว่าคุณแม่ไม่มีภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน คุณต้องหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้คนที่กำลังเป็นหัดเยอรมัน เพราะว่าหัดเยอรมันอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณได้
• โรคอื่นๆ: แพทย์จะตรวจเลือดของคุณเพื่อหาโรคไวรัสตับอักเสบบีและซิฟิลิส เนื่องจากโรคสองชนิดนี้เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณ นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณตรวจหาเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการตรวจหรือไม่ แต่คุณแม่ก็ ไม่ต้องวิตกกังวลกับการตรวจต่างๆ เหล่านี้ เพราะผลการตรวจทั้งหมดจะถูกปกปิดเป็นความลับและนำไปใช้สำหรับดูแลสุขภาพของลูกน้อยของคุณเท่านั้น
• โรคสมองอักเสบจากเชื้อท็อกโซพลาสมา ( Toxoplasmosis): เชื้อท็อกโซพลาสมานี้เป็นปรสิตซึ่งติดมากับอุจจาระแมวและเนื้อที่ปรุงไม่สุก และอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณ การตรวจหาโรคสมองอักเสบจากเชื้อท็อกโซพลาสมาไม่รวมอยู่ในการตรวจทั่วไป แต่คุณสามารถปรึกษากับสูติแพทย์ของคุณได้ หากคุณคิดว่าลูกน้อยของคุณอาจมีโอกาสเสี่ยง

การตรวจปัสสาวะ
แพทย์จะตรวจปัสสาวะของคุณระหว่างตั้งครรภ์เพื่อดู
• โปรตีน ในปัสสาวะ โปรตีนในปัสสาวะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือการได้รับเชื้อ หรือหากพบโปรตีนในปัสสาวะร่วมกับอาการอื่นๆ อาจบ่งชี้ถึงภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ซึ่งภาวะครรภ์เป็นพิษนี้อาจเป็นอันตรายทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ สูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คุณได้ หรือสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษได้ที่นี่
• การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ อาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งคุณแม่บางท่านอาจไม่ทราบว่าติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจปัสสาวะและสามารถรักษาได้โดยง่ายด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ
• น้ำตาล ในปัสสาวะอาจบ่งบอกถึงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง หรืออาจเป็นเพียงเพราะว่าคุณเพิ่งรับประทานอาหารที่หวานจัด หากยังตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะซ้ำกันหลายครั้ง นี่อาจจะเป็นสัญญาณของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ( gestational diabetes) ซึ่งอาจเป็นปัญหาสำหรับคุณแม่และลูกน้อยได้ แต่สามารถรักษาได้โดยง่ายด้วยการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย



Create Date : 21 มีนาคม 2553
Last Update : 21 มีนาคม 2553 13:21:13 น.
Counter : 527 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pumekha
Location :
สมุทรสาคร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



รักการอ่านค่ีะ เลยเอาหนังสือที่มีอยู่มาแนะนำ ขอบคุณเว็บต่างๆที่ได้เอารูป และเรื่องย่อมาลงนะคะ เพราะไม่ค่อนถนัดถ่ายรูปนัก (คือดูไม่สวย คือฝีมือตัวเองค่ะ
เจตนาให้คนไทยอ่านหนังสือกันมากๆ การอ่านก็เปิดโลกได้นะค่ะ

แต่ความชอบคนเราก็มีหลากหลาย เหมือนกับปุ๋ม ชอบงานฝีมือด้วย ตอนนี้เป็นแม่คนแล้ว ก็เลยสนใจถักชุดสวยๆให้ลูก ก็เลยเริ่มหัดถักโครเชต์ แต่ยังเป็นพวกบ้าตำราอยู่ ปฏิบัติยังไม่ถึงไหนเลย ก็ได้พี่ๆที่ทำงานช่วยสอนให้ค่ะ

ยังมีงานผ้า ที่ตอนลาคลอด 1 ปี ได้ไปฝึกฝนมา จนเย็บชุดให้ต้นน้ำได้ เป็นภูมิใจที่สุดแล้ว แต่ยังต้องฝึกฝนกันต่อไป

ตอนแรกที่เริ่มตั้งครรภ์ ก็ศึกษาจากเว็บต่างๆผสมกับอ่านหนังสือ ถึงขั้นมีตำราอาหารลูกน้อบเมื่อวัย 6 เดือนแล้วด้วย จนตอนนี้ลูก 2 ขวบครึ่งแล้ว (31 ธค. 55) ก็จะมีหนังสือเลี้ยงลูก พัฒนาการต่างๆอีกเพียบ อิอิ เป็นคุณแม่มือใหม่ เลี้ยงตามตำรานิดนึง ก็เลยเอามาลงในบล็อกให้เพื่อนๆ ได้ศึกษาข้อมูลกันค่ะ จะทยอยลงมาให้เรื่อยๆนะคะ

ปุ๋มยังไม่ได้เก่งเรื่องอะไรเลย ทั้งงานถัก งานคุณแม่ เลยสอนใครเขาไม่เป็นหรอกค่ะ แต่ก็อยากแบ่งปันความรู้ต่างๆ จากหนังสือที่ตัวเองมี ก็เลยจะเอามาลงให้เพื่อนได้อ่าน ได้เอาไปทดลองทำด้วยตัวเองกัน ใครทำได้สำเร็จแล้ว ก็เอามาโชวกันบ้างนะคะ

สวัสดีวันดีๆทุกวันค่ะ
New Comments
MY VIP Friend