ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
9 ธันวาคม 2557
 
All Blogs
 
ชีวิตชาวบ้านคลองหวะ-เรื่องวงในยางพารา

ปัญหาเรื่องยางพาราราคาตกต่ำมาก
พอ ๆ กับยุคสมัยก่อนที่ราคาหุ้นต่ำมาก
ขนาดถูกกว่าลูกอม Halls 3 เม็ดบาท
หรือซื้อหุ้น 3 บริษัท(มหาชน)ราคาไม่ถึง 1 บาท
ยิ่งตอนนี้ราคายางพารา 3 โลร้อย
(3 กิโลกรัม 100 บาท)
บางวันราคาลงถึงกิโลกรัมละ 5 บาท
แต่เดิมราคายางวันหนึ่งลงอย่างมากไม่เกิน 0.25-0.50 บาท

จากการนั่งคุยกับปราขญ์ชาวบ้านคลองหวะ(ลุงลัภย์ หนูประดิษฐ์)
ได้สรุปบทเรียนอย่างไม่เป็นทางการ/เป็นวิชาการ
คือกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
พรรคคนใต้มีนโยบายหลักคือ
ให้โอนกิจกรรมของ สกย. สำนักงานส่งเสริมการยาง
ให้แต่ละตำบลมีโรงงานรมควันยางพาราชุมชน
ยางแผ่นแพงทำยางแผ่น น้ำยางแพงขายน้ำยาง
เรียกว่ารอจังหวะขายเมื่อราคายางสูงขึ้น
ทำให้ปริมาณยางพาราออกสู่ท้องตลาด
ไม่ประดังออกมาพร้อมกันจำนวนมาก
แต่ปัญหาที่พบตอนนี้คือ  ชาวบ้านขายน้ำยางสด

ยางกรีดเสร็จรอขายน้ำยางประมาณ 8 โมงเช้าก็ได้รับเงินสดแล้ว
แต่ยางแผ่นก่อนรมควันต้องทำการรีดยาง  ทำดอกยางแผ่น
ประมาณก่อนเที่ยงวันจึงจะเสร็จ
เก็บไว้ ตากแดด ผึ่งแดดในบ้าน/ชายคา
กว่าจะได้ขายต้องรออีกประมาณ 10 วันไม่ทันใจ
เผลอ ๆ ถูกลักขโมยอีก
ทำให้ตอนนี้ปริมาณน้ำยางสดออกมาสู่ตลาดมาก
หลักเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านที่รู้และเข้าใจกันคือ
ของมากราคาถูก  ของน้อยราคาแพง

การซื้อขายน้ำยางสดมีกลเม็ดเด็ดพรายชาวบ้าน
โดยการปลอมปนน้ำลงในน้ำยางสด
ตัวอย่างเช่น  น้ำหนัก  % ยางพาราทั่วไปที่ 35%
ใส่น้ำลงไปประมาณ 10 ลิตรก็จะได้เงินเพิ่มขึ้น
สมมุติว่ายางน้ำหนักรวม 50 ลิตร
แม้ว่าจะทำให้ % ยางพาราลดลงเหลือ 30%
คำนวณง่าย ๆ   30%*60=18.0 กิโลกรัม * 50.-บาท จะได้  900.-บาท
แต่ถ้าไม่ปนน้ำยางได้  35%*50=17.5 กิโลกรัม * 50.-บาท จะได้  875.-บาท
จะเห็นว่ามีส่วนต่างเพิ่มขึ้นประมาณ 25.-บาท
ทำให้ชาวบ้านบางคนปลอมปนน้ำลงไป

แต่ผู้ขายมีวิธีการแก้กลับ
คือตัววัด % น้ำยางเมโทรแล็ค
ถ้าถูกความร้อนจะวัด % น้ำยางพาราเพิ่มขึ้น
แต่ถ้าถูกความเย็นจะวัด % น้ำยางพาราลดลง
จึงมักจะแช่ในตู้เย็นก่อนออกมาวัด % น้ำยางพารา
หรือใช้น้ำเย็นผสม/ล้างตัววัดเมโทรแล็ค
ทำให้ตอนวัด % น้ำยางลดลงไปอีก

ขณะเดียวกันชาวบ้านที่นกรู้บางคน
จะเอาน้ำร้อนใส่ผสมลงในถังน้ำยาง
คนรับซื้อยางที่เขึ้ยวกว่าจะจับถังดู
ถ้าถังน้ำยางสดยังอุ่น ๆ อยู่ก็บอกรอเดี๋ยวต๊ะ
ซื้อของคนอื่นก่อนเพราะเขารีบ
พอถังน้ำยางสดเย็นลงค่อยมารับซื้อ
เพราะวัดตอนนั้น % น้ำยางลดลงแล้ว

บางครั้งคนขายน้ำยางให้คนซื้อ
หรือลูกจ้างโรงงานรับซื้อน้ำยาง
จะแอบตักน้ำยางเจ้าที่มี % น้ำยางสูง
ใส่ลงในกระบอกวัด % น้ำยาง
ทำให้ได้ราคาน้ำยางสูงขึ้นเช่นกัน
รองลงมาแม้ว่าจะมีการทดลองทำเป็นยางแผ่นทดสอบ
มักใช้วิธีการแบบเดียวกันโดยการลอบใส่น้ำยางเจ้าอื่น
ที่มี % น้ำยางสูงให้แทน
เรื่องแบบนี้เรียกว่าเอากันตอนทีเผลอ
บางทีเป็นการสมคบคิดกัน 2 คน
เพราะลูกจ้างคือลูกจ้างไม่ใช่เถ้าแก่
พอ ๆ กับคนเลี้ยงช้างมักจะกินอ้อยช้างบ้าง
หรือสิบล้อบางคันแอบขายน้ำมัน
การผสมน้ำลงในน้ำยางพารา
จะทำได้กับต้นยางพาราที่มีอายุมากแล้ว
ส่วนต้นยางที่เพิ่งกรีดใหม่ ๆ ช่วง 6-7 ปีแรก
ยังวัยละอ่อนอยู่ % น้ำยางพารา
ยังไม่สามารถดีด % เกินกว่า 30 ได้
จะมี % น้ำยางประมาณ 25-26%
แล้วค่อย ๆ เขยิบเหมือนนักฟุตบอลเลื่อนชั้น
เลื่อนเกรดไปเตะดิวิชั่น/พรีเมียลีคที่สูงขึ้น

บางรายผสมน้ำลงในน้ำยางพารา
คนน้ำยางไม่ดีหรือกระบวนการผลิตแบบฉ้อ(โกง)ไม่ดี
จะเกิดฝ้ายางเป็นก้อน ๆ เล็ก ๆ
คนรับซื้อก็จะด่าว่า " เห้ ยังม่อกั๋น "
มีลูกปลาหมอในถังน้ำยาง(...ดัน)
ก็จะถูกหักราคารับซื้อไปตามระเบียบ

กติกาคนรับซื้อน้ำยางสด
มักจะกำหนดว่ารับซื้อเพียง 8 วัน
อีก 2 วันให้ต้นยางได้พักผ่อนบ้าง
จะทำให้ต้นยางไม่โทรมและมี % น้ำยางสูง
แต่เอาเข้าจริง 2 วันที่เหลือนั้น
ชาวสวนยางจะนำไปขายเจ้าอื่นก่อน
เช่น ขายประจำที่คลองหวะ 8 วัน
อีก 2 วันที่เหลือไปขายที่รัตภูมิ
แล้ววกกลับมาใหม่เป็นวัฏจักรวงจร

ปัญหายางพาราที่สั่งสมมานานคือ
ยางพาราในปัจจุบันสายเลือดชิดเกินไป
สมัยก่อนพันธุ์ยางพื้นเมือง
จะให้ผลผลิต 100 ต้น 1 กิโลกรัม
แต่ยางพันธุ์ให้ผลผลิต 100 ต้น 3 กิโลกรัม
แน่นอน Supply ยิ่งมากราคายิ่งถูก
สมัยก่อนกรีดยางพาราได้น้อย
แต่ยางพื้นเมือง % น้ำยางสูงกว่ามาก

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าพิจารณาคือ
ตอนนี้การติดตา/เสียบยอดยางพารา
ใช้เมล็ดพันธุ์ 600 แล้วติดตา/เสียบยอด 600 หรือ gt235
ทำให้มีผลแบบเป็ดแบบไก่คือสายเลือดชิดเกินไป
เพราะแต่ก่อนยังหาเมล็ดพันธุ์พื้นเมือง
เพาะเป็นต้นอ่อนก่อนติดตา/เสียบยอดได้
น่าจะมีผลกับหน้ายางและโรคระบาดต้นยาง

ปัญหาในช่วงที่ผ่านมาคือ ยางพาราราคาสูง
ทำให้ชาวบ้าน/คนกรีดยางบางคนโลภจัด
ทำการอัดปุ๋ย ฉีดฮอร์โมน ใส่ยา อัดแก้ส
เพื่อเร่งปริมาณน้ำยางพาราออกมาให้มากที่สุด
บางรายจะได้ 6-7 กิโลกรัม/ไร่
หรือขยันกรีดยางพาราทุกวัน
แม้ว่าต้นยางควรจะหยุดพักบ้าง
เพื่อไม่ให้หน้ายางพาราเสียหาย/ต้นยางโทรม
แต่ผลสุดท้ายแล้วต้นยางก็โทรมอยู่ดี
หรือหน้ายางพาราตายกรีดไม่ได้อีก
คนที่เสียหายหนักคือเจ้าของสวนยาง
ส่วนคนกรีดยางก็เหมือนคาวบอยพเนจร
ที่ไหนมีเงินรางวัลหรือล่าเงินรางวัลได้ก็ไป
ปล่อยให้เจ้าของสวนยางพารานั่งซังกะตายไป

แม้ว่าการปลูกยางพาราจะมีโบนัสก้อนใหญ่
คือ การขายไม้ยางให้กับโรงงานผลิตไม้ยางพารา
แต่ราคาก็ลงมากแล้วในช่วง 2-3 ปีนี้
ราคายางท่อนที่ไปแปรรูปได้ช่วงนี้ตกกิโลกรัมละ 1.80 บาท
ถ้าเป็นไม้ฟืนราคาจะต่ำกว่า 1.00 บาท
แต่การขายเป็นไม้แปรรูปได้นั้น
จะต้องมีการพิจารณาจากความสูง/อ้วนของต้นยางพารา
และไส้ในไม่ดำ คือ ถ้ามีการฉีดยา อัดแก้สเร่งน้ำยางพารา
จะทำให้แกนในมีรอยเส้นสีดำแปรรูปแล้วไม่สวย
เพราะไม้ยางพาราต่างประเทศเรียกว่า ไม้สักขาว
ถ้าอบน้ำยา/กระบวนการผลิตดี ๆ จะอยู่ได้ถึง 20 ปี
ก่อนที่น้ำยาจะหมดสภาพแล้วเป็นอาหารมอด/ปลวก

ในการรับซื้อไม้ยางพาราต้องดูประวัติศาสตร์อดีตด้วย
ถ้าเคยเป็นเขตฐานที่มั่นหรือเคยมีการปะทะ
กับโจรจีนมาลายาหรือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
บางแห่งจะไม่รับซื้อเข้าโรงงานเลย
แต่จะรับซื้อแบบไม้ฟืนไปเลย
เพราะตอนเลื่อยเกิดเจอลูกกระสุนปืนฝังในต้นไม้
ปลิวใส่แรงพอ ๆ กับลูกปืนยิงใส่ไม่ตายก็เจ็บ
แต่ที่เจ็บยิ่งกว่าคือ ใบเลื่อยที่เสียหาย
ใบหนึ่งไม่ใช่ราคาถูก ๆ และการติดตั้งก็ไม่ใช่ง่ายด้วย

หลังจากตกลงรับซื้อไมัยางพารากันแล้ว
จะต้องมีการสำรวจ/นับต้นกัน
ไร่หนึ่งจะปลูกต้นยางพาราได้ 70 ต้น
จะนับจำนวนต้นก่อนและรวมจำนวนต้นคิดเป็นไร่
ราคาซื้อขายจะคิดกันเป็นไร่
ช่วงไม้ยางราคาดี ๆ เคยมีคนขายได้ไร่ละแสนกว่า
แต่ต้องติดกับถนนใหญ่และชักลากได้ง่าย
ราคาไม้ยางพาราจะขายได้แพงในช่วงตุลาคม-มกราคม
เพราะเป็นช่วงหน้าฝนของภาคใต้
ความต้องการไม้ยางพาราของโรงงานมาก
ส่วนหน้าร้อนการตัดชักลากง่ายราคาจึงถูกลง

แต่ตอนนี้ตกอยู่ที่ราคาประมาณไร่ละ 4-6 หมื่นบาท
เรื่องการซื้อขายไม้ยางพาราในสมัยก่อน
จะมีลูกเล่นคือ ซื้อขายราคาสูงแล้วค่อยมาหักค่าดันค่าไถ
สมัยก่อนน้ำมันถูกไร่ละ  5 พันบาทตอนนี้ประมาณ 2 หมื่นบาท
การซื้อขายไม้ยางพาราจึงต้องตกลงให้ชัดเจน
ว่าขายสุทธิ  อย่ามาหักค่าดันค่าไถต้นยางพาราอีก

สมัยก่อนกิ่งเล็ก ๆ ต้นตอกับรากยางพาราไม่มีราคาเลย
ต้องดันกอง ๆ ไว้แล้วเผาทิ้งในช่วงฤดูแล้ง
ส่วนตอต้องราดยาฆ่าตอให้ตายซาก
แต่ตอนนี้มีราคาเพราะโรงงานรับซื้อนำไปเป็นเชื้อเพลิงได้
เรียกว่าขุด/ดึงขึ้นมาเท่าที่จะทำได้มากเท่าไรมีกำไรแฝงมากเท่านั้น
เป็นแรงจูงใจให้คนรับซื้อขยันเก็บ/ดัน/ขุดต้นยางพาราขึ้นมามากขึ้น

ถ้ามองในแง่บวก/โลกสวย
ถ้ามีการล้มยาง/ลดพื้นที่ปลูกยางพารามากขึ้น
จำนวนปริมาณน้ำยางที่จะออกสู่ท้องตลาดจะลดลง
ทำให้ราคายางพาราสูงขึ้นมาก
ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจากบริษัทผู้ผลิตยางพารารายใหญ่
ตอนนี้ในไทยมีจังหวัดที่ยังไม่มีการปลูกยางพาราเพียง 8 จังหวัดเท่านั้น
แสดงว่าอีกไม่นานปริมาณยางพาราจะออกสู่ท้องตลาดจำนวนมาก

คำถามว่าถ้าตอนนี้กลับไปทำยางแผ่นรมควันได้หรือไม่
คำตอบของลุงลัพธ์ คือ  เครื่องจักรรีดยางขายช้าดเหม็ดแล้ว
ขายไปหมดแล้วไม่เหลืออีกเลย
ถ้าจะซื้อกลับมาทำใหม่ก็ต้องลงทุนใหม่
รองลงมาคือ หาคนงานทำยางแผ่นยากแล้ว
เพราะขายน้ำยางสดได้เงินเร็วกว่า

ปัญหานี้กระทบกับโรงงานรมควันยางพาราชุมชนในบางพื้นที่
เพราะชาวบ้านหันมาขายน้ำยางสดแทน
ทำให้ปริมาณยางแผ่นขาดหายไปมาก
จนหลายโรงงานกลายเป็นโรงงานร้าง
ทิ้งให้วัวควายแมงมุมค้างคาวหมาแมวอาศัยแทน
การรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่ต้องแก้ไข
เรื่องแรงงานกับเรื่องเงินทุนที่รับซื้อยางแผ่น
แม้ว่าจะมีการปรึกษากันว่า
ให้นำเงินบางส่วนตั้งเป็นกองทุนหรือถือหุ้นก่อน
เช่นขายยางแผ่น 100 กิโลกรัมขอหัก 10 กิโลกรัม
ตั้งเป็นกองทุนหรือถือหุ้นเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนรับซื้อ
แต่ชาวบ้านมักจะไม่เห็นด้วย
เพราะอยากได้เงินเร็วและกลัวเจอปัญหาอื่น ๆ
เพราะราคายางผันผวนมาก  ขึ้นเร็ว ลงเร็ว
สมัยก่อนราคายางพารามี 4 ราคาในแต่ละวัน
เรียกว่าเข้าผิดจังหวะจะขาดทุนทันที
เข้าถูกจังหวะก็ร่ำรวยทันที  ไม่ต่างกับตลาดหุ้น
ทำให้โรงงานรมควันยางพาราชุมชนเจ๊งมานักต่อนักแล้ว

ปัญหาที่รองลงมาคือ ตอนนี้คนกรีดยางพาราส่วนมากเป็นพม่า
เวลากรีดยางพาราเจ้าของต้องตามใจคนกรีดยางพารา
เพราะหาคนกรีดยางพาราจากอีสานยากแล้ว
รวมทั้งคนพม่าไม่ค่อยกล้าเข้ามาในเมือง
เพราะมักจะเจอการรีดไถ/หาเรื่องจับรีดเงิน
ส่วนมากจะอยู่แต่ในสวนยางพารา
จึงมีเวลากรีดยางมากขึ้นแล้วมีโอกาสเป็นแบบคาวบอย
คือ สวนไหนหน้ายางเสียหายก็จรไปที่อื่น
แต่คนดีก็มี คนชั่วก็มาก  เรื่องแบบนี้พูดลำบาก
เรียกว่าโชควาสนาของเจ้าของสวนยางไม่เหมือนกัน

สมัยก่อนคนกรีดยางพม่า
มักจะนำเงินสดกลับเข้าพม่าทางระนอง
จึงมักถูกปล้นกลางกลางแดดทั้งทางฝั่งไทย
หรือเข้าไปในพม่าก็ถูกปล้นเช่นกัน
แต่ตอนนี้มีการโอนเงินโดยตรงไปได้
ปัญหาแบบนี้จึงหมดไปในระดับหนึ่ง

อีกปัญหาอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านไม่ชอบขายยางแผ่น
เพราะพ่อค้ามักจะท่องคาถาในใจสามคำ
คือ  ฉ้อ(โกง)  ขอ   หัก
ฉ้อ คือ ตั้งแต่การชั่งน้ำหนักไม่ครบหรือขาดหายไป
ชาวบ้านบางคนชั่งน้ำหนักยางแผ่นมาจากบ้านแล้ว
แต่เวลาชั่งที่ร้านรับซื้อยางพาราน้ำหนักยางมักจะหายไป
ทำให้ยื้อกับคนขายดึงลูกตุ้มชั่งน้ำหนักยางแผ่นไปมา
จนคนขายต้องใช้วิธีจ่ายเงินดันหลัง คือให้ก่อน 200-300 บาท
ให้ไปซื้อข้าวของ สูบบุหรี่ดื่มน้ำรอก่อน
อย่ามายุ่งในตอนชั่งน้ำหนักยางแผ่น

ขอ คือ เวลาชั่งน้ำหนักเสร็จแล้ว
ยางแผ่นที่มาขาย 100 กิโลกรัมขอซัก 1 กิโลกรัม
หรือซักครึ่งกิโลกรัม  หลาย ๆ คนก็ได้ฟรีมาจำนวนมากเช่นกัน

หัก คือ หัก % น้ำในแผ่นยางแผ่น
แม้ว่าจะตากยางแผ่นแห้งขนาดไหนแล้ว
เวลารมควันยางแผ่นจะมีอัตราน้ำที่หายไปในเตารมควัน
เฉลี่ยถึง 20% ทีเดียวโดยประมาณ
ยางแผ่นตอนเข้ารมควัน 100 กิโลกรัม
จะมีน้ำหนักหายไปเกือบ 2 กิโลกรัม
ดังนั้นคนตีน้ำ(น้ำในยางแผ่น) เก่ง ๆ จะค่าตัวสูงมาก
หรือ หักค่ายางแผ่นสกปรกอ้างว่าต้องตัดออกก่อนรมควัน
หรือ หาข้อตำหนิว่ายางพารามีใบไม้ เศษดินปน  เป็นต้น
ส่วนที่หักได้คือ กำไรแฝงพ่อค้า

ส่วนชาวสวนบางคนสมัยก่อนเวลาขายขี้ยาง
จะต้องปั้นขี้ยางเป็นก้อนกลม ๆ ก่อนไปขาย
บางรายจะปนก้อนซีเมนต์ที่กระเทาะจากฝาบ้าน
หรือไปหาจากบ้านร้างใส่เข้าไปข้างใน
ทำให้ได้น้ำหนักก้อนขึ้ยางเพิ่มขึ้น
โรงงานยางจิ้นฮงสมัยก่อนเจอเรื่องนี้
เครื่องจักรดังโคร่ง ๆ พังไปเลยหนึ่งตัว
เลยดัดลำด้วยการโยนก้อนขี้ยางให้แตกกระจาย
หรือเอามีดที่ทำจากแหนบรถยนต์ผ่าดูกันเลย

ปัญหาว่าเอายางพาราไปราดถนนร่วมกับยางมะตอย
เป็นเรื่องที่พูดคุยมาหลายปีแล้ว
แต่การพัฒนาสูตรใช้ได้จริง
ใช้ทน ใช้นาน ใช้จนรำคาญ ต้องใช้เวลา
รวมทั้งเงินทุนในการรับซื้อยางไปผลิต
การขนส่งน้ำยาง/ยางแผ่นรมควันไปผลิต
กับปัญหาความนิ่งของยางพารา
ที่เข้ากระบวนการผลิต
เรื่องเหล่านี้ภาษาชาวบ้านมักจะพูดว่า
ทำกับปากง่ายเพ  ลองทำจริงหืดขึ้นคอ
ทำเกษตรกับกระดาษ ทำกับปาก รวยเพ
ทำจริงได้เป็นแสน (แสนสาหัส)

ส่วนต้นยางพันธุ์ที่ให้น้ำยางมาก ๆ
เท่าที่ทราบจากการพูดคุยของชาวบ้านตอนนี้มี
ของถ้ำพรรณนรา ที่พัทลุง กับของบ้านฉาง  นาทวี
แต่ข้อมูลนี้ยังไม่ยืนยันว่าจริงหรือไม่
เพราะพืชผลทุกอย่างขึ้นกับ ดิน น้ำ ลม ไฟ(แสงแดด)

เขียนขึ้นจากความทรงจำร่วมกัน
ก่อนที่จะปลิดปลิวหายไปเหมือนใบยางพาราที่ร่วงหล่น


Create Date : 09 ธันวาคม 2557
Last Update : 24 มกราคม 2558 22:49:44 น. 0 comments
Counter : 1042 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.