ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
 
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
16 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
กำนันวร ที่หาดใหญ่-ควายแลกไฟฟ้า


ในช่วงประมาณปี 2512
หลังจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เข้ามาบริหารจัดการไฟฟ้าทั้งหมด
แทนเอกชนเจ้าเดิมที่มีการรับสัมปทาน
ขายกระแสไฟฟ้าให้กับชาวบ้าน

โรงไฟฟ้าเดิมในหาดใหญ่เป็นของเอกชน
จะอยู่ที่บริเวณโรงแรมบีพีหาดใหญ่
(ใกล้ ๆ กับข้าวต้มนายยาว ร้านใหม่)
ถ้าสมัยก่อนเดินผ่านจะเสียงดังหนวกหูมาก
เพราะใช้น้ำมันไม่แน่ใจว่าดีเซล
หรือน้ำมันเตาในการเดินเครื่องปั่นไฟฟ้า

เมื่อมีการขยายเขตไฟฟ้าไปจนถึงบ้านพรุ ทุ่งลุง แล้ว
แต่หมู่บ้านคลองหวะยังไม่มีไฟฟ้าใช้เลย
แม้ว่าจะมีการตัดถนนหนทางเป็นดินลูกรัง
ตามแนวทางการพัฒนาของกำนันวร
ที่ขอทางชาวบ้านให้อุทิศที่ดินเป็นถนนหนทาง

การพัฒนาภายในหมู่บ้านคลองหวะ
น่าจะมาจากการที่กำนันวร
ชอบอยู่ในตัวเมืองหาดใหญ่
กับไปไปมามาที่บ้านคลองหวะ
แถวบ้านแกในหาดใหญ่
สมัยก่อนจะมีต้นขนุน(ต้นหนุน)
ตรงสามแยกเข้าซอยตรงข้ามกับเขียงหมู(เดิม)
ปัจจุบันเป็นบ้านไม้สองชั้นติดกับอาคารห้าชั้นหัวมุม
ที่ขายไม้ประเภทต่าง ๆ ข้างบนเป็นห้องให้เช่า
อยู่ใกล้ ๆ กับร้านลูกชิ้นหัวล้าน/ร้านข้าวหมูแดงซำเว้ง
ตรงไปจะเป็นทางเข้าโรงเรียนศรีนครที่ตรงข้ามสโมสรชาวจีน

การอยู่ในเมืองที่เจริญด้วยถนนหนทางและสาธารณูปโภค
ทำให้แกเห็นประโยชน์และข้อดีของถนนหนทาง
จึงริเริ่มมาตัดถนนในคลองหวะ
ด้วยการขอชาวบ้านให้ร่วมมือร่วมใจกันทำถนน
โดยการเกณฑ์แรงงานชาวบ้านในหมู่บ้านช่วยกันทำ
ทำกันคนละสองถึงสี่ตารางเมตรต่อสัปดาห์
ตามแต่จะนัดหมายกันว่าวันไหนบ้าง
ทำกันไปเรื่อย ๆ จนรอบหมู่บ้าน
ใครมาก่อนก็ได้พื้นที่สะดวกสบาย
ใครมาหลังก็จะได้ที่ลำบากแทบเลือดตากระเด็น
เพราะเจอตอไม้หรือต้องล้มไม้บางต้น
เป็นงานหนักหนาสาหัสกว่าคนอื่น
แม้จะมีคนมาช่วยก็ต้องออกแรงออกปากมากเช่นกัน

ที่ดินแปลงไหนที่ถนนตัดผ่านก็ใช้วิธีการขอ ๆ กัน
กอปรกับสมัยก่อนที่ดินราคาค่างวดไม่สูงมากนัก
ทำให้ถนนในบ้านคลองหวะค่อนข้างกว้างกว่า
ถนนในเขตอำเภอเมืองสงขลา
(ตำบลบ่อยางอำเภอเมืองสงขลา)

การที่กำนันวร อยู่ที่หาดใหญ่เพราะส่วนหนึ่ง
แกสนิทสนมกับเถ้าแก่ชีกิมหยงและคุณละม้าย
เลยได้รับมอบหมายให้ดูแลตลาดและโรงหนังคิงส์
ให้ช่วยเป็นนายตลาดกับผู้จัดการผลประโยชน์
แทนเถ้าแก่ชีกิมหยงและคุณละม้าย
อย่างว่า เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ในทุกที่ทุกแห่ง
ต้องเป็นคนซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และไว้ใจได้
จึงจะมอบหมายให้ดูแลและจัดการ
กำนันจะมอบหมายให้ลูกน้องของแก
เดินเก็บค่าเช่าแผงในตลาดชีกิมหยงในสมัยนั้น
และดูแลความสงบเรียบร้อย
ภายในบริเวณตลาดชีกิมหยงกับโรงหนังคิงส์
ในพื้นที่ทำมาหากินของเถ้าแก่ชีกิมหยง

ทำให้ครั้งหนึ่งแกกับคุณละม้าย
ถูกตำรวจโรงพักหาดใหญ่
จับเข้าคุกที่โรงพักหาดใหญ่
โดยนายตำรวจชื่อ ทวีศักดิ์
จับกุมข้อหาอันธพาลหรือผู้มีอิทธิพล
นัยว่ามีคนร้องเรียนไปที่โรงพัก
กับตำรวจต้องการสร้างผลงานโชว์ส่วนกลาง
ซึ่งช่วงนั้นมีกฎหมายอันธพาล
ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

เรื่องของเรื่องคือ
คนเช่าแผงในตลาดรายหนึ่ง
มีปัญหาไม่พอใจในเรื่องทำเลที่ตั้งแผง
กับการจ่ายค่าเช่าตลาดที่แพงขึ้น
เลยร้องเรียนตำรวจ
แล้วกล่าวหาว่าแกกับคุณละม้าย
เป็นพวกอันธพาลมีอิทธิพล
นำไปสู่การสร้างผลงานในตอนนั้น
แต่ทั้งสองคนติดอยู่ไม่นาน
ก็ถูกปล่อยตัวออกมา
โดยไม่มีการตั้งข้อหาแต่อย่างใด
เพราะส่วนราชการในอำเภอกับจังหวัด
ต่างรู้จักประวัติของคนทั้งคู่เป็นอย่างดี
ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร
และมีส่วนช่วยเหลือราชการเป็นอย่างดี

เรื่องการบริหารจัดการตลาดกับโรงเรียน
เป็นหลักสูตรอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจ
กับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินว่า
ไม่จำเป็นอย่าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก
หรือรับเป็นหลักประกันในการปล่อยสินเชื่อ

เพราะถึงเวลาจริง ๆ แล้ว
เกิดตลาดติดขึ้นมา มีพ่อค้าแม่ขายจำนวนมาก
จะขอคืนพื้นที่เพื่อไปทำธุรกิจอย่างอื่นอีก
ก็แทบจะทำไม่ได้โดยง่าย ๆ เลย
จะมีปัญหามวลชนตามมาทันที
หรือการเก็บค่าเช่าแผงขึ้นค่าเช่าแผง ก็ลำบาก
มีเรื่องชวนปวดหัวชวนทะเลาะตลอดเวลา
ถ้านายตลาดไม่มีอิทธิพลหรือนักเลงเพียงพอ
ดังเห็น จากการมีข่าวว่ามีการรื้อตลาด
โดยการใช้นักเลงหรือบุคคลภายนอกเข้าจัดการในกรุงเทพฯ
ที่มีข่าวการรื้อบาร์เบียร์ ที่ตอนนี้กลายเป็นสวนสาธารณะ

ส่วนโรงเรียนก็เช่นกัน
ถ้าเกิดกลายเป็นหนี้มีปัญหาขึ้นมา
ฟ้องร้องดำเนินคดีจนกระทั่งถึงขั้น
บังคับจำนองยึดที่ดินโรงเรียน
เพื่อนำมาขายทอดตลาดให้กับรายใหม่

ถ้าให้เลิกกิจการโรงเรียน
ถ้ามีเด็กนักเรียนอยู่จะไปไว้ที่ไหน
พ่อแม่เด็กจะทำอย่างไรกันต่อไป
เผลอ ๆ จะมีการเดินขบวนประท้วง
กันหน้าที่ทำการสำนักงานใหญ่ของธนาคาร
เรื่องการให้ปิดกิจการโรงเรียน
กับส่วนราชการต่าง ๆ ยื่นมาช่วยเหลือ
แบบเข้าข้างมวลชนและนักเรียน
ดังธนาคารไทยแห่งแรกเคยพบเจอ
เป็นประสบการณ์ที่ขมขื่น
บันทึกไว้เป็นบทเรียนสอนพนักงาน
เป็นเรื่องเจ็บตับน่าดูถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้นมา

สรุปว่าธุรกิจสองประเภทนี้
ถ้าคิดอยากปล่อยสินเชื่อ
ถ้าไม่มีหลักประกันอื่นทดแทนแล้ว
หรือไม่อยากมีปัญหาอย่าทำดีกว่า


เรื่องการขอไฟฟ้าใช้ในบ้านคลองหวะ
กำนันวร ได้ไปติดต่อกับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
และวิ่งเต้นกับส่วนราชการที่รู้จักด้วยส่วนหนึ่ง
จนได้ข้อสรุปว่าทางการไฟฟ้ายินยอมขยายเขตให้
แต่ทางหมู่บ้านต้องลงเสาไฟฟ้าให้การไฟฟ้า

แต่เสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะเป็นเสาปูน
ต้นละแปดร้อยบาทแต่ชาวบ้านไม่มีกำลังซื้อ
ต่อรองว่าขอเป็นเสาไม้ได้หรือไม่
ทางการไฟฟ้าก็ยินยอมให้ใช้เสาไม้ได้
ชาวบ้านจึงรวบรวมเงินคนละ350.-บาท
ไปจ้าง ครูเพ้ง รับเหมาตัดชักลากมาจากเขาวังชิง
ด้านทิศตะวันตกของตลาดทุ่งลุง
เป็นพวกไม้ตะเคียนไม้หลุมพอ
ขายส่งต้นละ 350.-บาท
ขนาดความยาว 8 เมตร 4 นิ้วปลาย

แล้วทยอยติดตั้งในหมู่บ้านไปเรื่อยๆ
โดยมี นายลัพท์ หนุประดิษฐ์กับเพื่อนอีกคน
เป็นคนเก็บเงินชาวบ้านผ่อนจ่ายบ้างเต็มจำนวนบ้าง
ลงบัญชีไว้ทุกรายและทุกเย็น
จะไปหากำนันวร ที่บ้านต้นหนุน
รายงานความคืบหน้าให้ทราบ

ส่วนกำนันก็แจ้งให้การไฟฟ้าทราบเช่นกัน
เวลาว่าง ๆกำนันก็จะขี่จักรยาน
เข้ามาในหมู่บ้านดูความคืบหน้าของงาน
กับดูแลผลไม้กับสวนดอกไม้ของกำนันเช่นกัน

เมื่อการไฟฟ้ามาลงสายไฟฟ้าให้
แต่เป็นแบบสายเปลือย
ปรากฏว่าทางทิศใต้ของหมุ่บ้าน
ไม่อยู่ในเขตขยายไฟฟ้าไปถึงได้
ทำให้ต้องมีการหารือกำนันวรว่าจะอย่างไรดี
เงินของชาวบ้านก็เก็บมาแล้ว
ถ้าไม่ขยายเขตไปถึงเป็นเรื่องแน่

กำนันเลยไปคุยกับการไฟฟ้าอีกครั้ง
ทางการไฟฟ้าบอกว่า
ทำให้ได้แต่ต้องจ่ายสายไฟฟ้าเอง
ค่าสายไฟฟ้าแบบเปลือย
สั่งซื้อจากโรงงานในกรุงเทพ
ถ้าพอขยายเขตไฟฟ้าจะเป็นเงินรวม 7,000.-บาท




(ภาพประกอบจาก Internet)

ตกลงงานนี้เข้าเนื้อกำนันวรคือ
กำนันวรตัดสินใจขายควายไปสองตัว
ราคารวมทั้งสองตัว7,000.-บาท
แกต้องจำใจขายควายไปสองตัว
(จริง ๆ แล้วคือ กำนันใจนักเลง)
หรือขายไปตัวละ 3,500.-บาท
เพื่อช่วยให้ชาวบ้านเขตที่ตกหล่น
ได้มีไฟฟ้าใช้กันเหมือนชาวบ้านคนอื่น ๆ ต่อไป

กำนันวร ขายให้กับเถ้าแก่รับซื้อวัวกับควาย
โดยเถ้าแก่รับซื้อวัวกับควายสมัยก่อน
น่าจะเป็นแขกสะดาหยีโพกหัว
บ้านอยู่ใกล้กับสุเหร่าปากีสถาน
แต่แกทำบุญตักบาตรทุกเช้า
วิธีตักบาตรของแกไม่เหมือนคนไทย
คือกอบเอาข้าวหรืออาหารใส่บาตรพระ
แบบคนอินเดียหรือลังกาทำบุญกัน

ควายสมัยก่อนจะแพงกว่าวัวมาก
วัวสมัยนั้นอย่างแพงสุดตัวละ 700.-บาท
ทองบาทละไม่เกิน 800.-บาท
ว่ากันกว่า จอบตราจระเข้ทอง
ราคาอันละพอ ๆ กับวัวตัวหนึ่งทีเดียว
จอบนี้เป็นของเยอรมันนี
เหล็กเหนียวคมและแข็งมาก
หาดใหญ่สมัยก่อนมี ร้านวูตุงปั๊ก ขายอยู่เจ้าหนึ่ง
ตรงข้ามกับสมาคมจีนไหหลำ
(ปิดร้านไปนานหลายปีแล้ว)

สินค้าของร้านนี้แต่ละชิ้นราคาจับจิต
คือแพงมากในสมัยนั้น
ที่จำได้เพราะสมัยเด็กนักเรียนเดินผ่านอยู่ทุกวัน
เห็นราคาขายและราคาปิดแล้วเดินผ่านเลย
เพราะเงินค่าขนมไปโรงเรียนอย่างมาก
วันละไม่เกินหนึ่งบาท

ควายมักจะซื้อมาจากสุราษฏธานีหรือพัทลุง
มาลงที่ด่านกักกันสัตว์ที่ใกล้อุโมงค์รถไฟหาดใหญ่
เวลามาถึงจะมีลูกเด็กเล็กแดงหรือชาวบ้าน
มาจองขอเลี้ยงควายกำนันตัวละสองบาทต่อวัน
โดยพาไปกินหญ้าหรือให้น้ำให้ท่าแถวใกล้ ๆ
ก่อนจะขุนขายส่งขายให้กับมาเลเซียต่อไป
โดยส่งไปที่ด่านปาดังเบซาร์เข้าปัตเตอร์เวอธ์-ปีนังต่อไป

ครั้นพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
มาดูสถานที่ติดตั้งเสาไฟฟ้าในหมุ่บ้านเื่พื่อขยายเขต
เห็นว่าชาวบ้านทำกันจริงและมีความตั้งใจจริง
มีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งแนะว่ามีเงินคงคลังอีก 20,000.-บาท
ที่การไฟฟ้าเขตยะลา ให้ลองไปขอดูก่อนโอนคืนเข้าส่วนกลาง
ลุงลัพท์ กับเพื่อนเลยตีรถยนต์ฝ่าทางลูกรังในหมู่บ้าน
ไปออกสายคลองแงะนาทวี(ถนนเกาหลี)
เข้าโคกโพธิ์ผ่านนาประดู่ เข้าตัวเมืองยะลา
ทำเรื่องขอเงินดังกล่าวมาพัฒนาไฟฟ้าในหมู่บ้าน
โดยทางการไฟฟ้าที่หาดใหญ่วิทยุไปแจ้งล่วงหน้าก่อนแล้ว
ทางการเงินของการไฟฟ้าเขตก็ทำเรื่องอนุมัติ
และให้เงินมา20,000.-บาท เพื่อใช้ในการขยายเขตไฟฟ้าได้

การไฟฟ้าเลยบอกว่าเงินจำนวนนี้เหลือเฟือขยายเขต
และให้ใช้สายหุ้มแทนสายเปลือยก็แล้วกัน
ลุงลัพย์เลยถามกำนันวรว่า
แล้วสายเปลือยทำยังไง
กำนันวรบอกขายคืนไปเลยยอมขาดทุน
ทางผู้ขายรับซื้อคืนในราคา3,500.-บาท
เรียกว่าขาดทุนครึ่งต่อครึ่ง

แต่กำนันวรไม่ยอมรับเงินคืน
บอกให้สมทบกับการก่อสร้างขยายเขตไฟฟ้า
ต่อมาการไฟฟ้าบอกว่า
น่าเกลียดที่ใช้เสาไม้แบบนี้
อายชาวบ้านว่าการไฟฟ้าทำอะไรสะเหร่อ ๆ
ขอซื้อคืนจากชาวบ้านเสาไม้ต้นละ 700.-บาท
โดยแลกเปลี่ยนกับเสาปูนต้นละ 800.-บาท
หรือมีส่วนต่างที่ต้นละ100.-บาท
ทางชาวบ้านและกำนันก็ตกลงโอเคเลย

โดยการนำเงินค่าขายควายกำนัน
และเงินสดอีก 20,000.-บาทมาชดในการนี้
จึงมีการเปลี่ยนเป็นเสาปูนจนถึงทุกวันนี้

เขียนขึ้นจากความทรงจำลุงลัพย์ หนูประดิษฐ์
ก่อนที่จะเลือนหายไปเหมือนเสาไฟฟ้าไม้




Create Date : 16 กันยายน 2555
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2557 16:14:43 น. 4 comments
Counter : 1043 Pageviews.

 
เรามีรูปเสาไฟไม้ด้วยละ

เดี๋ยวหาก่อนนะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 กันยายน 2555 เวลา:13:28:33 น.  

 
สวัสดีค่ะ อากาศเปลี่ยนบ่อยรักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ


โดย: หนูซายูริ วันที่: 18 กันยายน 2555 เวลา:9:01:14 น.  

 


ประทับใจในความเป็นผู้นำ ความเสียสละ และน้ำใจของกำนับวรค่ะคุณ ravio
เพิ่งทราบว่าเสาไฟฟ้า ชาวบ้านต้องลงขันกันถึงจะได้มา
แต่ก็ได้รับการซื้อคืนในภายหลังนะคะ
เรื่องสินเชื่อ ตลาด และโีรงเรียนที่เกี่ยวข้องกัน
อ่านแล้วก็เข้าใจเหตุผลและเห็นถึงปัญหาที่น่าจะเกิดจริงๆค่ะ

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวที่นำมาฝาก
มีความสุขตลอดวันค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 18 กันยายน 2555 เวลา:11:08:20 น.  

 
ร้านอาหารหาดใหญ่ ของกินหาดใหญ่ เมนูอาหารหาดใหญ่


โดย: kinaddhatyai IP: 110.171.180.153 วันที่: 31 ตุลาคม 2555 เวลา:23:28:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.