ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
6 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
ชีวิตชาวบ้านคลองหวะ-กล้ายางพารา

ชีวิตชาวบ้านคลองหวะ-กล้ายางพารา

สมัยก่อนการปลูกยางพาราเป็นเรื่องของการวัดดวง
คือ การหาลูกยางพาราจากใต้ต้นยางพารา
บางคนว่าต้องมีอายุประมาณสิบปีถึงสิบห้าปี
ก็จะได้กล้าต้นยางที่แข็งแรงและมีรากแก้วเดินได้ลึก
ต้นยางโตแล้วจะล้มได้ยากกว่าปกติ

แต่น้ำยางจากลูกยางใต้ต้นยางพารา
มักจะมีปัญหาคือ บางต้นให้น้ำยางมาก
บางต้นก็ให้น้ำยางน้อยเช่นกัน
เพราะมาจากพันธุกรรมหรือ
การผสมระหว่างสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกันเกินไป
ทำให้คุณภาพน้ำยางไม่ค่อยดี
เรียกว่าสมัยก่อนไร่หนึ่งได้หนึ่งกิโลกรัมก็ถือว่าดีมากแล้ว

ต่อมาก็มีการแนะนำให้ชาวสวนยางพารา
เริ่มเพาะกล้ายางพาราลงในแปลงที่จะปลูกจำนวน
หลุมละสามต้นเป็นอย่างต่ำก่อน
พอต้นโตประมาณขนาดนิ้วมือของชาวสวน
ก็จะเริ่มลงมือทำการติดตายางพาราในแปลงยางพารา

โดยจะมีการสอนและสาธิตการติดตาให้กับชาวบ้าน
ชาวบ้านบางคนก็ไปเรียนจนมาทำด้วยตนเองได้
บางคนก็มาประกอบอาชีพรับจ้างติดตายางในภายหลัง
โดยไปซื้อกิ่งตายางพันธุ์ดีจากสวนยางพาราชาวบ้าน
หรือของราชการ ศูนย์วิจัยการยางพาราที่คอหงส์ หาดใหญ่
ราคาสมัยนั้นขายกันเป็นมัด ๆ ละหกบาท
ก็จะได้ตายางพาราจำนวนหลายตาทีเดียว
ที่นิยมกันมากก็ RM600 หรือ GT

เมื่อพร้อมแล้วก็จะเข้าไปในที่แปลงสวนยางพารา
ทำการกรีดเป็นแผลรูปตัวทีขนาดไม่เกินหนึ่งนิ้ว
แล้วฝังตายางพาราลงไปในต้นยางพารา
ห่างจากยอดไม่ต่ำกว่าหนึ่งฟุตเป็นอย่างน้อย
ก่อนจะทำการปิดแผลที่ติดตา
สมัยก่อนจะใช้ผ้าขาวชุบขี้ผึ้งพันรอบตายาง
ตัดขนาดกว้างประมาณหนึ่งนิ้ว
พันรอบต้นเพื่อไม่ให้น้ำเข้าไปในจุดที่ติดตา

ทิ้งไว้ประมาณยี่สิบเอ็ดวันเป็นอย่างต่ำ
แล้วค่อย ๆ แกะผ้าที่พันไว้มาดูว่า
ถ้าตาขึ้นสีเขียวก็แสดงว่าติดตาผ่าน
แต่ถ้าเน่าหรือสีดำก็แสดงว่าไม่ผ่าน
ก็อาจจะติดตาใหม่หรือถอนทิ้งไปเลย
เพราะปลูกสำรองไว้แล้วสองต้น

ส่วนต้นที่ติดตาผ่านอีกต้นหรือสองต้น
ก็ขุดไปขายเป็นต้นสำรองสำหรับการปลูกซ่อมแซมในสวนอื่น
หรือสวนของตนเองที่เสียหาย
เพราะล้มตายหรือสาเหตุอื่น ๆ
หรือขายให้บางรายที่ต้องการปลูกเลย
แบบไม่ต้องการเพาะเม็ดยางในสวนให้รอจนต้นโตพอติดตาได้
ต้นที่ถูกขุดมาแบบนี้จะมีปัญหารากแก้ว
มักจะไม่สมบูรณ์หรือขาดง่าย
ส่วนมากจะดึงออกมาช่วงฝนตกหนัก ๆ แล้วตอนดินนุ่มทำให้ดึงได้ง่าย

ส่วนอีกวิธีในการติดตาสมัยก่อน
ก็จะใช้พวกเศษมะพร้าวหรือใยมะพร้าวมาห่อหุ้ม
ตามแบบการตอนกิ่งไม้สมัยก่อน ๆ
แล้วพันรอบตาให้แน่นไม่ให้น้ำเข้า
หรือพวกเทปพันแบบใสในปัจจุบัน
ใช้เวลารอคอยยี่สิบเอ็ดวันเหมือนกัน

การติดตาสมัยก่อนมีโอกาสผิดพลาดบ้าง
เรียกว่าประมาณร้อยต้น เสียประมาณสามสิบต้น
แต่คนเก่ง ๆ ก็จะสูญเสียประมาณสิบถึงยี่สิบต้น
ทั้งนี้ขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของกล้ายางพารา
ความชื้นในอากาศและแผลที่เปิดกรีด
การติดเชื้อโรคหรือเชื้อราในระหว่างติดตา
หรือการถูกน้ำฝนซะไหลเข้าไปในจุดที่ติดตา

สมัยนี้มักจะนิยมเพาะกล้ายางพาราในถุงชำ
แล้วรอขนาดนิ้วมือชาวสวนยางพารา
ก่อนทำการติดตาในแปลงเพาะกล้ายางพาราในถุงชำ
เพราะการจัดการง่ายกว่าการไปเดินทำในสวนยางพารา
ทำได้จำนวนมากและรวดเร็ว
ข้อสำคัญคือไม่ร้อนและไม่ต้องเดินลุยสวนยางพารา

การขายก็ง่ายกว่า เพราะคนมาซื้อก็เห็นขนาดยางพาราเติบโตแล้ว
แทนการรอคอยให้ต้นยางพาราเติบโตได้ขนาดก่อนจะติดตาได้
เป็นการย่นระยะเวลาปลุกได้เร็วขึ้นอีกประมาณหนึ่งปีเป็นอย่างต่ำ
สำหรับชาวบ้านจังหวัดตรังจะมีความชำนาญมากในเรื่องนี้
เด็กบางคนต้นขนาดตะเกียบก็ยังติดตาได้ตามที่เล่ากันมา
เพราะทำกันมานานจนชำนาญและมีประสบการณ์ถ่ายทอดกันต่อ ๆ มา
จังหวัดตรังจึงเป็นแหล่งผลิตกล้ายางพาราพันธุ์ดี
ที่มีรายใหญ่และจำนวนมากสุดของภาคใต้ตอนนี้

สำหรับต้นยางพาราติดตาผ่านแล้ว
จะเริ่มทำการเด็ดยอดบนของต้นยางพาราเก่าออก
เพื่อให้ตายางพาราสายพันธุ์ดีงอกขึ้นมาแทน
หรือแทงจนกลายเป็นยอดแทนต้นตอเดิม

ชาวบ้านจากตรังมักจะบอกว่า
ถ้ายอดดำหรือสีเขียวเข้มจัด
มักจะให้น้ำยางดีกว่ายอดแบบอื่น
ในระหว่างนี้ต้องคอยเด็ดยอดของต้นยางพาราต้นเดิม
ที่ไม่ต้องการออกจนตายางพาราที่ติดใหม่
แทงยอดขึ้นมาแทนที่ต้นตอเดิมก็ถือว่าผ่านแล้ว
จะใช้เวลาประมาณไม่เกินหนึ่งปีเป็นอย่างต่ำ
กว่าจะได้ต้นยางพาราที่ใช้ตาของต้นยางพันธุ์ดีทดแทนของเดิม

การติดตาในแปลงยางพาราหรือในที่เพาะยางพาราในถุง
ไม่แตกต่างกันเพราะต้องมีการเด็ดยอดต้นเก่าทิ้ง
แต่ต้นยางพาราในถุงชำมักจะถูกตัดรากแก้วทิ้ง
หรือรากแก้วมักจะขาดก่อนนำไปปลูก
เพราะรากมักจะแทงทะลุถุงดำลงในพื้นดิน
รวมทั้งเกะกะเวลาขนส่งไปปลูกด้วย
ทำให้มีส่วนหนึ่งทำให้ต้นยางพาราล้มง่าย
เวลาถูกพายุพัดแรง ๆ ในช่วงฤดูมรสุม

การเด็ดยอดยางพาราต้นตอเดิมของภาคใต้
มักจะเด็ดกับมือทิ้งไปเลย
ไม่มีการป้ายปูนแดงกินหมากหรือทายากันเชื้อราแต่อย่างใด
เพราะเชื่อกันว่ายางเป็นพืชที่ทนทานและการจัดการหยาบ ๆ
ได้ง่ายกว่าพืชพันธุ์ชนิดอื่น ๆ

เขียนขึ้นจากความทรงจำร่วมกัน
ก่อนจะเลือนหายไปเหมือนการติดตายางในสวนยางพารา

ส่วน link ข้างล่างนี้เป็นการติดตายางของ องค์การสวนยาง

//www.reothai.co.th/Para2.htm


Create Date : 06 กรกฎาคม 2554
Last Update : 3 สิงหาคม 2554 15:52:46 น. 3 comments
Counter : 901 Pageviews.

 
อ่านขั้นตอนการติดตาก็เหมือนจะง่ายนะคะ
นึกย้อนตอนเรียนเกษตรแล้วครูให้ติดตา ปักชำ ส่ง
ตอนทำนี่ค่อนข้างหาวัสดุอย่างกาบมะพร้าวยากค่ะ
พอลงมือทำก็ผิดๆ ถูกๆ สุดท้ายต้นไม้นั้นก็ตายเพราะเน่า
มีเชื้อราแทนที่จะงอกต้นใหม่น่ะค่ะ


โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 6 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:17:03 น.  

 
เพิ่งทราบว่าเพาะกล้าแล้วต้องติดตาอีกทีค่ะ

เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีไปไกลจริง ๆ

ที่บ้านซื้อปูนแดงมา เอาไว้ทาเวลาตัดชวนชมแต่แอบคิคว่าทาหรือไม่ก็คล้าย ๆ กันค่ะ

ทันตการเกษตร


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 6 กรกฎาคม 2554 เวลา:23:42:53 น.  

 
คนคลองหวะ เข้ามาติดตามเรื่องราวค่ะ
เป็นประโยชน์มาก บางเรื่องลืมไปแล้ว
ก็หวนกลับมาในความทรงจำอีก




โดย: Anyamanee IP: 182.53.186.245 วันที่: 13 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:17:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.