ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
15 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
เถ้าแก่ชีกิมหยงและคุณละม้าย

เถ้าแก่ชีกิมหยงกับคุณละม้าย

หลายปีก่อนได้เดินกลับบ้านร่วมกับพี่สาวและพี่ชาย
หลังจากไปเรียนภาษาจีนกับครูจีนคนหนึ่ง
สมัยนั้นต้องแอบ ๆ เรียน
และเรียนแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ
เพราะรัฐบาลรังเกียจภาษาจีน
หาว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์
และโรงเรียนภาษาจีนในหาดใหญ่
ก็ถูกปิดกิจการไปแล้ว
ผ่านไปทางถนนดินลูกรังมีสภาพเป็นเนินเล็ก ๆ
มีการปลูกผักอยู่รอบ ๆ ทางเดินที่จะตัดออกไป
ถนนศรีภูวนารถ(แถว ๆ ไดอาน่า) ปัจจุบัน

ข้างทางเจอฮวงจุ๊ยขนาดใหญ่
มีสระบัวและลำคลองไหลผ่านข้างหน้าฮวงจุ๊ย
(คลองเตยสมัยก่อน น้ำจะสะอาดกว่า
ปัจจุบันเหมือนสภาพฝนตกใหม่ ๆ
ในตอนนี้ที่เป็นทางระบายน้ำฝนเป็นส่วนใหญ่)
พี่สาวกับพี่ชายเลยเล่าว่า
เคยไปว่ายน้ำแถวหน้าฮวงจุ๊ย
แต่มีจะมีคนหรือคนงานมาไล่ไม่ให้ว่ายน้ำแถวนั้น
ตอนนั้นยังเด็กมากและว่ายน้ำไม่เป็น
ก็เลยไม่สนใจมากนักเลยเดินผ่านกลับบ้านไป

หลายปีต่อมาจึงทราบว่าฮวงจุ๊ยนั้น
คือของเถ้าแก่ชีกิมหยง
แต่ภายหลังลูกหลานได้รื้อฮวงจุ๊ยออกมา
เพื่อเอาที่ดินบริเวณนั้นมาทำบ้านจัดสรรขาย
แล้วย้ายหลุมศพเถ้าแก่ชีกิมหยงไปฝังที่อื่นแทน
ทราบจากลูกสาวคนหนึ่งของแกว่า
มีการรื้อฮวงจุ๊ยออกมาแล้ว
ศพของเถ้าแก่ชีกิมหยงต้อง
วางตากแดดตากฝนอยู่เป็นอาทิตย์
(ภาคใต้สมัยก่อน-ปัจจุบัน ถ้าในหนึ่งอาทิตย์ฝนไม่ตกถือว่าแล้งแล้ว)
กว่าจะมีการย้ายและนำไปฝังที่อื่นแทน
(ธรรมเนียมจีนการย้าย/ฝังศพ ต้องมีการดูวันเวลา
เพื่อไม่ให้ชงหรือเซียะ ไม่ก่อผลดีกับลูกหลานคนอื่น)
นี่คือเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหาดใหญ่
ที่ทำให้คนเก่าคนแก่
มักสั่งลูกหลานไม่ให้ฝังศพตนเองไว้
ในที่ดินสวนยางพาราของตนเอง
เพราะกลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนเถ้าแก่ชีกิมหยง

โครงการบ้านจัดสรรบนที่ดินของเถ้าแก่ชีกิมหยง
ก็มีปัญหามากมายตั้งแต่การจองบ้าน การขายบ้าน
และที่ร้ายที่สุดคือหุ้นส่วนคนหนึ่ง
มีการเบิกเงินก้อนหนึ่งกว่าสิบห้าล้านบาท
แล้วหนีหายไปที่อื่นเลย
ทำให้ติดหนี้ติดสินบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง
ทำขายใช้หนี้แต่อย่างเดียว
(ดอกเบี้ยตอนนั้นร้อยละสิบห้าต่อปี)
หรือเดือนละเกือบสองแสนบาท เรียกว่า
สร้างเสร็จช้าโอนช้าก็จ่ายแต่ดอกเบี้ยอย่างเดียว
สมัยนั้นขายบ้านหลังละห้าแสนถึงหกแสนบาทก็ถือว่าแพงแล้ว
สุดท้ายที่ดินแปลงใหญ่ของเถ้าแก่ชีก็หมดสภาพไป
เหลือแต่ชื่อภริยาเถ้าแก่ชีมกิมหยง (ถนนละม้ายสงเคราะห์)
เป็นชื่อถนนบนบริเวณที่ดินเดิมของเถ้าแก่ชีกิมหยง
ลูกสาวแกก็พยายามแก้ไขหนี้สินจนวาระสุดท้ายก็ถูกยิงตาย
โดยไม่ทราบสาเหตุและคนยิงแต่อย่างใด

เถ้าแก่ชีกิมหยงกับคุณละม้าย
เป็นคนที่มีที่ดินมากที่สุดในหาดใหญ่สมัยหนึ่ง
เพราะพ่อเถ้าแก่ชีเป็นผู้รับเหมาสร้างทางรถไฟสายใต้บางช่วง
ร่วมกับขุนนิพัทธ์จีนนคร
ที่เป็นหัวหน้างานในการหาคนงานจีน
โดยคนงานจีนเป็นกรรมกร
ที่มารับเหมาแรงงานสร้างทางรถไฟสายใต้ช่วงหนึ่ง
เมื่อเถ้าแก่ชีแต่งงานกับคุณละม้ายซึ่งเป็นคนไทย
ก็ซื้อที่ดินเก็บไว้จำนวนหนึ่ง
และบุกเบิกที่ดินไว้ส่วนหนึ่ง
เพราะมีคนงานคนเก่าคนแก่ช่วยบุกเบิกส่วนหนึ่ง
สมัยนั้นการจับจองที่ดินก็ไม่ยุ่งยากอะไรมาก
เพียงแต่ไปแจ้งอำเภอกับกำนันว่าจะจองที่ดินบริเวณไหน
ก็ปักหลักเขตและบอกเนื้อที่ดินจะทำประโยชน์โดยประมาณ
โดยที่ดินจับจองก็ต้องไม่ทับซ้อนที่คนอื่นหรือที่สาธารณะ
ใครสามารถครอบครองและทำประโยชน์ได้ครบสามปีขึ้นไป
ก็สามารถขอออกเอกสารสิทธิ์ได้เลย
เป็นตราจองรับรองว่าทำประโยชน์

ที่ไหว้ศาลเจ้าแป๊ะกง ที่ถนนเชื่อมรัฐหาดใหญ่
แกก็บริจาคให้ มีรูปถ่ายทั้งคู่ติดอยู่ในศาลเจ้า
โรงเรียนกุลบุตรและกุลธิดา
เครือซาเลเซียนในหาดใหญ่สองโรงเรียน
(โรงเรียนแสงทองวิทยาและโรงเรียนธิดานุเคราะห์)
เป็นที่ดินที่แกบริจาคให้ประมาณว่าก่อนปี 2500
ที่ดินในหาดใหญ่ยังไม่แพงมาก
และพลเมืองไทยยังน้อยอยู่มาก
และโรงเรียนศรีนคร
ตรงกันข้ามกับโรงเรียนกุลบุตรเครือซาเลเซียน
แกก็บริจาคให้เช่นกัน
(มีรูปปั้นทั้งสองคนประดิษฐานไว้)

แต่เดิมโรงเรียนศรีนครนี้สอนภาษาจีน
แต่ถูกรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ สั่งปิดกิจการ
นักเรียนเลยต้องโยกย้ายไปเรียนที่อื่นอีกหลายแห่ง
มีช่วงหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดประมาณก่อนปี พ.ศ.2515 ก่อนหน้านี้ซักสองสามปี
ลูกหลานของเถ้าแก่ชีคนหนึ่ง
จะขอนำที่ดินโรงเรียนแห่งนี้คืน
เพื่อไปทำการจัดสรรค์ต่อ
เพราะถือว่าไม่มีการเรียนการสอนมากว่าสิบปีแล้ว
และอาคารเรียนก็เป็นที่พักของคนยากไร้ หาเช้ากินค่ำ
(ถีบสามล้อ) เก็บของเก่า
หรือ คนเป็นโรคร้าย(โรคเรื้อน)
หรือภาษาจีนไม่ทราบภาษาไหนเรียกว่า ปั้ดไท่ก่อ (ถ้าจำไม่ผิด)
สภาพสนามบอลก็เป็นปลักหรือหนองหญ้า
มีหญ้าคาขึ้นแน่นหนา
และบางครั้งก็มีคนไปจับปลา
หรือขุดดินหาปลา มักได้ปลาไหลจำนวนมาก
เพราะอยู่ใกล้กับที่ผมไปเรียนภาษาจีน
และไปยืนดูตอนเขาขุดหาปลากัน

เด็กนักเรียนโรงเรียนฝั่งตรงข้าม
มักจะนัดแนะกันไปชกต่อยกันที่นั่น
ช่วงสอบเสร็จประจำภาคหรือหลังเลิกเรียนประจำวัน
กรณีหาข้อยุติความขัดแย้ง
ผมก็เคยไปใช้บริการแถวนั้นในบางครั้ง
กลับบ้านก็มักจะถูกแม่ตีซ้ำ
เพราะหน้าตาบวมปูดกลับมา
หรือบางครั้งครูโรงเรียน
ก็ไปจับตัวมาทำภาคทัณฑ์ที่โรงเรียน
ทั้งนักมวยและนักเรียนที่ตามไปเป็นกองเชียร์

เมื่อลูกเถ้าแก่ชีคนหนึ่ง
จะขอนำที่ดินโรงเรียนศรีนคร
คืนกลับมาให้กองมรดกเถ้าแก่ชี
เพื่อนำไปจัดสรรค์ต่อ
ทางกลุ่มคนจีน ศิษย์เก่าโรงเรียนแห่งนี้
และบทบาทมากที่สุดคือ สมาคมคนจีนแต๊จิ๋ว
ก็ต้องแก้เกมส์
โดยรีบเร่งพัฒนาอาคารเรียนเป็นการใหญ่
หาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนใส่เข้าไปในอาคารเรียน
และไปซื้อกิจการโรงเรียนราษฏร์แห่งหนึ่งที่ทุ่งลุง
สภาพใกล้จะปิดกิจการแล้ว
มาทำการเรียนการสอนที่แห่งนี้
พร้อมให้มีรถประจำทางรับส่งเด็กนักเรียนจากหาดใหญ่ไปทุ่งลุง
ทำให้เงื่อนไขการไม่เป็นโรงเรียนหมดไป
พร้อมกับเริ่มรับสมัครนักเรียนชุดใหม่ ๆ เข้ามาสบทบการเรียน
โดยการเก็บค่าเล่าเรียนเล็กน้อยหรือให้เรียนฟรี
โดยสมาคมมูลนิธิของชาวจีนช่วยสนับสนุนค่าเล่าเรียน
จนมีการพัฒนาเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน

ประเมินกันคร่าว ๆ ว่า
สมบัติของเถ้าแก่ชีกิมหยงกับคุณละม้าย
ที่ได้บริจาคให้กับโรงเรียนทั้งสามแห่งในหาดใหญ่
ถ้ายังคงอยู่ปัจจุบันไม่น่าต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาท
เฉพาะราคาประเมินของสำนักงานที่ดินอย่างเดียว
ยังไม่รวมรายได้จากธุรกิจของครอบครัวคือ
โรงภาพยนต์คิงส์(ถ้าจำไม่ผิด)
ตลาดชีกิมหยง (โรงภาพยนต์เฉลิมไทยในอดีต)
ปัจจุบันเป็นร้านขายสินค้าข้างบน
ข้างล่างเป็นตลาดช่วงเช้า
ทั้งสองแห่งหลังนี้ได้ขายกิจการไปหมดแล้ว

นี่ก็เป็นสัจจธรรมข้อหนึ่ง
คือ สมบัติผลัดกันชม
หรือ สม+วิบัติ คือ สะสมไว้รอวันวิบัติ
แตกสลายไปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
โจทย์ดังกล่าวก็น่าจะตอบปัญหาที่ว่า
ทำไมบิดามารดาทำบุญไว้มากมาย
แต่สุดท้ายเหลือแต่รูปถ่ายและอนุสาวรีย์
แล้วทรัพย์สมบัติที่มากมายทำไมถึงหายไปไหน
ก็น่าจะพิสูจน์ได้ว่า
กรรมใดใครก่อคนนั้นรับไป
ไม่ได้ตกทอดสืบสายให้กับทายาทหรือลูกหลานมากนัก
เพราะต่อให้พ่อแม่สร้างสมบัติไว้มากมาย
แต่ลูกหลานไม่มีปัญญารักษาก็เท่านั้นเอง
เป็นธรรมชาติ ธรรมดา
เฉกดังท่านพุทธทาสกล่าวไว้
สมัยไปนั่งฟังท่านเทศน์ที่สวนโมกข์

เขียนไว้เป็นความทรงจำก่อนที่จะเลือนหายไป
ถึงบุคคลในตำนานของบ้านเกิด

เพิ่มเติมครับ
ยังมีอีกศพหนึ่งที่ถูกย้ายไปฝังที่แห่งใหม่คือ
ศพของพ่อขุนนิพัทธ์จีนนคร(เจียกีซี)
ผู้วางผังเมืองหาดใหญแรก ๆ และสร้างถนน
ชื่อถนนเจียกีซี คือ สาย 1, 2, 3 เดิม
ก่อนที่จะมีรัถนิยมสมัยจอมพลแปลก (ป.พิบูลย์สงคราม)
ให้เปลี่ยนเป็น ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1, 2, 3

แต่เดิมอยู่สุดสายสาม (ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3)
แล้วต้องเดินข้ามคลองเล็ก ๆ ไป
ด้านข้างปัจจุบันคือ โรงแรมฟลอลิดากับตึกแถว
แต่เดิม มีสะพานไม้เล็ก ๆ
ข้ามคลองที่ต่อเนื่องมาจากคลองเตย
ตอนนี้เป็นสะพานปูนกับลานกีฬาบางส่วนแล้ว
เิดิมเป็นสวนยางพารา
ชาวบ้านเรียกว่า เต๊อะหยาง
มาจากชื่อเรียก พี่ชายของเจียกีซี
สภาพเป็นสวนยางพารารุ่นเก่า
ที่ไม่ได้รับทุนจากกองสงเคราะห์ยางพารา
แต่มีทางเดินเท้า/รถยนต์วิ่ง
ผ่านไปมาได้เข้าออกหมู่บ้านคลองหวะได้
ต่อมาลูกหลานได้ตัดขายสวนยางพารา
จนหมดสภาพสวนยางพาราไป
เลยมีการย้ายหลุมศพไปฝังที่ใหม่

ตอนนี้ มีการปลูกสร้างบ้านเต็มไปหมดแล้ว
หรือเรียกกันว่า จันทร์นิเวศน์
หาร่องรอยหลุมศพเก่าไม่เจอแล้ว
ถ้าจำไม่ผิดศพบิดาของขุนนิพัทธ์จีนนคร
จะอยู่ด้านซ้ายมือ ถ้ามาจากสายสาม
อยู่เกือบเลียบสะพานเหล็กรางรถไฟ
หน้าหลุมศพเยื้องไปทางทิศตะวันตก
ชาวบ้านคลองหวะ มักจะเรียกว่า หน้าหลุม
ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นลานจอดรถยนต์
ที่ติดกับร้านรับซื้อของเก่าสุดสายนี้

ที่จำได้ดี เพราะสมัยเด็ก ๆ
จะเดินเข้าไปเก็บลูกยางกับเพื่อน
หรือบางครั้งก็เดินเข้าไปเก็บลูกยางพาราคนเดียวก็มี
เพราะลูกยางพารารุ่นเก่า ๆ พันธ์พื้นเมือง
จะมีเปลือกหนากว่ายางพันธุ์ไม่แตกง่าย
ไม่เหมือนกับพวกรุ่นใหม่ ๆ พวก 600 หรือ จีที
ที่ปัจจุบันปลูกกันมากเพราะน้ำยางมาก
สมัยเด็ก ๆ จะนำมาตอกกัน
(ประกบแล้วทุบให้อีกฝ่ายแตกไปเลย)
หรือนำมาทอยกองกัน โดยวางเรียงเป็นแถวยาว
ทอยถูกหัวขบวนได้หมดแถว
ถ้าไม่ถูกหัวขบวน
ก็จะได้เฉพาะที่ตัดกลางแถว ปลายแถว
หรือ ไม่ก็แห้ว หรือไม่ได้เลย
ถ้าโยนไม่ถูกแถวลูกยางหรือ
ออกนอกลู่นอกทางไป

สมัยนั้นที่กล้าไปคนเดียว
ยังไม่ค่อยกลัวงูเท่าไร
แต่กลัวผีมากกว่า
จะไปเก็บช่วงกลางวันทุกครั้งครับ


Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 17 เมษายน 2555 21:30:33 น. 7 comments
Counter : 2156 Pageviews.

 
写 好


โดย: หมุยจุ๋ย วันที่: 15 มีนาคม 2552 เวลา:21:48:48 น.  

 


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 9 สิงหาคม 2552 เวลา:13:06:59 น.  

 
การจะมีสมบัตินั้นไม่ยากเพราะผมเคยมี ทั้งสรพงษ์และมิตร ชัยบรรชา 5555 ล้อเล่น
สมบัติได้มาง่ายการที่รักษาไว้กับเรานานนานอย่าไปหวังเพราะเป็นของนอกกายเสียไปหาใหม่ ถึงตายก็ไปเอาไปไม่ได้เช่นกัน จากคนขายเครื่องกรอง 081-8984177www.goldstarfilter.com


โดย: เทวกร ทองแกมแก้ว IP: 114.128.78.20 วันที่: 7 ธันวาคม 2552 เวลา:15:56:57 น.  

 
สวัสดีครับ อยากรู้จักครับ ตอนเด็กๆผมก็ไปเล่นแถวฮวงซุ้ยของขุนจีนบ่อยครับ ตอนนี้ย้ายมาอยู่กรุงเทพหลายสิบปีแล้ว คิดถึงชีวิตวัยเด็กมากครับ


โดย: วิจิตร; IP: 203.156.167.12 วันที่: 8 ตุลาคม 2553 เวลา:17:15:22 น.  

 
เข้ามาอ่านต่อค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 เมษายน 2555 เวลา:20:42:02 น.  

 
ขอให้คนที่โกงเจ้านายซีกิมหยง
และยิงคุณเกวลี
ขอให้ลูกหลานของท่านอยู่สุขสบายแบะแก่ตายโดยสวัสดีครับ


โดย: แอด IP: 171.7.248.123 วันที่: 4 ตุลาคม 2565 เวลา:18:12:07 น.  

 
ขอให้คนที่โกงเจ้านายซีกิมหยง
และยิงคุณเกวลี
ขอให้ลูกหลานของท่านอยู่สุขสบายแบะแก่ตายโดยสวัสดีครับ


โดย: แอด IP: 171.7.248.123 วันที่: 4 ตุลาคม 2565 เวลา:18:12:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.