ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2563
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
14 พฤศจิกายน 2563
 
All Blogs
 

Gleno Dam เขื่อนพังในอิตาลี



เขื่อน Gleno ที่มีรูโหว่ตรงกลาง © Giacomo Feroldi / Shutterstock.com
ด้านล่างทำเป็นเขื่อนขนาดเล็กลง

.


ในหุบเขาเล็ก ๆ ท่ามกลางภูเขา เมือง  Bergamo
แคว้น Lombardy ทางตอนเหนือของอิตาลี
มีการสร้างเขื่อน Gleno แถวลำห้วย Gleno Creek
เพื่อกะว่าจะได้พลังงานไฟฟ้าแก่ภูมิภาคนี้
แต่เพราะการก่อสร้างที่มีปัญหา
และทำไม่ดีตรงช่วงกลางของเขื่อน
ทำให้เขื่อนแห่งนี้พังทลายลงมา
หลังจากที่กักเก็บน้ำเต็มเขื่อนแล้ว
ทำให้เกิดการทำลายล้างทรัพย์สินครั้งใหญ่
ตามหุบเขาจนถึงท้ายน้ำและมีคนตาย 356 คน
กลายเป็นโศกนาฏรรมระดับชาติ
ร่องน้ำกว้างในเขื่อนยังคงปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้

เขื่อนแห่งนี้สร้างโดยโดย บริษัท Viganò 
มีการยื่นแบบและขออนุญาตก่อสร้างในปี 1907
และได้รับอนุญาตกับเริ่มก่อสร้างในปี 1916

ในปี 1920  งานก่อสร้างเริ่มสร้างฐานราก
ในเดือนกันยายนของปีนั้น
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้เตือนผู้รับเหมาว่า 
มีการใช้ปูนซีเมนต์ไม่เหมาะสม/บ่มไม่นานพอ

ในปี 1921  เกิดขาดเงินทุนในการก่อสร้าง
ทางผู้รับเหมาก่อสร้างได้ขออนุมัติเปลี่ยนแบบจาก
เขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงนํ้าหนัก (gravity dam) หรือเรียกว่าแบบฐานแผ่ 
เป็น เขื่อนคอนกรีตแบบโค้ง (arch dam) 
การออกแบบเขื่อนที่แก้ไข ได้รับการอนุมัติ
เขื่อนคอนกรีตแบบโค้งจึงถูกสร้างขึ้นที่
ด้านบนของฐานรากเขื่อนแบบถ่วงน้ำหนัก

เดือนมกราคม  1923  เนื้องานเขื่อนเสร็จ 80%
และเมื่อถึงวันที่ 22 ตุลาคม เขื่อนก็เสร็จสมบูรณ์ 100%
และเริ่มเก็บกักน้ำในเขื่อนหลังจากฝนตกหนัก
ตัวเขื่อนมีความยาว 220 เมตรสูง 43 เมตร
โดยโรงไฟฟ้าของเขื่อนมีกำลังผลิต 3,728 กิโลวัตต์ (3.7 เมกะวัตต์)

ประมาณ 40 วันหลังจากน้ำเต็มเขื่อน
เมื่อเวลา 06.30 น. ของวันที่ 1 ธันวาคม 1923
ฐานรากที่ค้ำยันเขื่อนแตกและพังทะลายลงมาในเวลาต่อมา
ทำให้เขื่อนพังยาวถึง 80 เมตร
ภายในไม่กี่นาทีน้ำจากเขื่อนประมาณ 4,500,000 ลบ.ม
น้ำไหลทะลักจากเขื่อนที่ระดับความสูง 1,535 ม. (5,036 ฟุต)
วัดจากจุดสูงสุดของเขื่อนจนถึงจุดต่ำสุด

มวลน้ำได้ไหลบ่าไปท้ายน้ำถึง 21 กิโลเมตร
ทำลายหมู่บ้าน 3 แห่งและสถานีไฟฟ้า 5 แห่ง
สะพานจำนวนนับไม่ถ้วน อาคารและโรงงานจำนวนมาก
มวลน้ำไหลลงสู่หุบเขาด้านล่าง
ทำให้หมู่บ้าน Bueggio ถูกน้ำท่วมก่อน
ตามด้วยน้ำท่วมหมู่บ้าน Dezzo บางส่วน
ซึ่งเป็นพื้นที่ของเขตทัองถิ่น Azzone
น้ำได้ท่วม Dezzo  Frazione of Colere และ Corna di Darfo
น้ำท่วมได้หยุดลงเมื่อมาถึงทะเลสาบ Iseo 
ซึ่งอยู่ที่ระดับความสูง 186 ม. (610 ฟุต)
มีผู้เสียชีวิต 356 คนจากภัยพิบัติเขื่อนพังในครั้งนี้

ผลการตรวจสอบเขื่อนพัง 
พบว่าคอนกรีตที่ใช้ในส่วนโค้งนั้นมีคุณภาพไม่ดี
และเสริมด้วยตาข่ายป้องกันเศษระเบิด
ซึ่งถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 

นอกจากนี้ยังมีข้อบ่งชี้ว่า
ตัวเขื่อนเชื่อมต่อกับฐานรากไม่ดี
และคอนกรีตไม่ได้รับการบ่มอย่างสมบูรณ์แล้ว
โดยมีรายงานว่า  
คนงานที่ร้องเรียนเกี่ยวกับเทคนิคการก่อสร้างถูกไล่ออก

ความล้มเหลวของเขื่อนลูกนี้
มีผลต่อการพัฒนาการออกแบบเขื่อนของอิตาลี
และการประเมินความเสี่ยงที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต
เพราะเหตุร้ายจากอุบัติเหตุจากเขื่อนแห่งนี้พัง
ทำให้เขื่อนโค้งหลายแห่งไม่ได้รับความนิยม
ในการก่อสร้างในเวลาต่อมาในอิตาลี

ในปี 2019 
มีการสร้างเขื่อนแห่งใหม่ที่มีขนาดเล็กกว่า
เชื่อมช่องว่างที่เหลือจากการพังทลาย
และยังคงใช้งานจนถึงทุกวันนี้
 
เขื่อนส่วนที่เหลือจากการถล่มยังคงตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นที่
เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจถึงโศกนาฏกรรมระดับชาติ



เรียบเรียง/ที่มา



https://bit.ly/3hytgKF
https://bit.ly/32z7XCu
https://bit.ly/3loyN9i
 
 


เขื่อนคอนกรีตเป็นเขื่อนเก็บกักนํ้าก่อสร้างด้วยวัสดุคอนกรีต 
จำเป็นต้องมีชั้นหินฐานรากที่แข็งแรงมาก รับนํ้าหนักได้ดี 
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 
เขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงนํ้าหนัก (gravity dam) หรือเรียกว่าแบบฐานแผ่ 
อาศัยการถ่ายนํ้าหนักของตัวเขื่อนลงชั้นฐานรากรูปตัดของตัวเขื่อน
มักเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นแนวตรงตลอดความยาวเนื่องจากตัวเขื่อนมีขนาดใหญ่มาก 
ตัวอย่างของเขื่อนประเภทนี้ในประเทศไทย คือ เขื่อนแม่มาว และ เขื่อนกิ่วลม 



Willow Creek Dam in Oregon, a roller-compacted concrete gravity dam



อีกประเภทหนึ่ง คือ เขื่อนคอนกรีตแบบโค้ง (arch dam) 
มีคุณสมบัติต้านแรงดันของนํ้าและแรงภายนอกอื่น ๆ
โดยความโค้งของตัวเขื่อนเหมาะกับบริเวณหุบเขา
ที่มีลักษณะเป็นรูปตัว U และมีหินฐานรากที่แข็งแรง
 




The Katse Dam, a 185m high concrete arch dam in Lesotho.



เมื่อเปรียบเทียบกับเขื่อนแบบถ่วงนํ้าหนักเขื่อนแบบนี้
มีรูปร่างแบบบางกว่ามาก  ทำให้ราคาค่าก่อสร้างถูกกว่า
แต่ข้อเสียของเขื่อนแบบนี้ คือ การออกแบบและการดำเนินการก่อสร้างค่อนข้างยุ่งมาก
ต้องมีขั้นตอนปรับปรุงฐานรากให้มีความแข็งแรงมากขึ้นด้วย
เขื่อนภูมิพลซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย
มีลักษณะผสมระหว่างแบบถ่วงนํ้าหนักและแบบโค้งซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและประหยัด
© เขื่อน...แหล่งกักเก็บพลังงานน้ำ
 
 

การบ่มคอนกรีต


 
คอนกรีตจำเป็นต้องได้รับการบ่มทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการเท  
และควรบ่มต่อไปจนกระทั่งคอนกรีตมีกำลังอัดตามต้องการ
หลักการทั่วไปของการบ่มที่ดีจะต้องสามารถป้องกันคอนกรีต
ไม่ให้เกิดการสูญเสียความชื้นไม่ว่าจะด้วยความร้อนหรือลม
ไม่ให้คอนกรีตร้อนหรือเย็นมากเกินไป
ไม่ให้สัมผัสกับสารเคมีที่จะเป็นอันตรายต่อคอนกรีต
และไม่ถูกชะล้างโดยน้ำฝนหลังจากเทคอนกรีตเสร็จใหม่ ๆ  เป็นต้น
               
การบ่มเปียก

ในกรณีทั่วไปคอนกรีตต้องได้รับการป้องกันจากการสูญเสียความชื้นจากแสงแดดและลม
หลังจากเสร็จสิ้นการเทจนกระทั่งคอนกรีตเริ่มแข็งแรง และหลังจากคอนกรีตเริ่มแข็งแรงแล้ว
ผิวหน้าของคอนกรีตที่สัมผัสกับบรรยากาศยังต้องคงความเปียกชื้นอยู่
ซึ่งอาจทำได้โดยการปกคลุมด้วยกระสอบเปียกน้ำ ผ้าเปียกน้ำ หรือฉีดน้ำให้ชุ่ม เป็นต้น
    -  คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ควรบ่มเปียกติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน
    -  คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3 ควรบ่มอย่างน้อย 3 วัน
    -  ในกรณีคอนกรีตที่มีวัสดุปอซโซลานผสม  ควรบ่มมากกว่า 7 วัน 
       ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัสดุปอซโซลานที่ใช้
 
ข้อแนะนำ 

คอนกรีตที่ไม่ได้รับการบ่มอย่างถูกต้องจะไม่มีการพัฒนากำลังเท่าที่ควร
เนื่องจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นต้องการน้ำ  นอกจากนั้น  การสูญเสียความชื้นจากผิวหน้าของคอนกรีต
ที่ไม่ได้รับการบ่มจะทำให้เกิดการแตกร้าวด้วย กรณีใช้กระสอบหรือผ้าในการบ่มคอนกรีต  
กระสอบหรือผ้าที่ใช้ควรเป็นวัสดุที่มีความหนาพอสมควรเพื่อไม่ให้แห้งเร็วเกินไป  
และต้องรดน้ำให้เปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลาการบ่มด้วย
โดยปกติ ควรบ่มคอนกรีตที่ใช้วัสดุปอซโซลานผสมแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนให้นานกว่าคอนกรีตธรรมดา  
เนื่องจากปฏิกิริยาปอซโซลานเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังปฏิกิริยาไฮเดรชั่น  
แต่ถ้าใช้วัสดุปอซโซลานปริมาณน้อย  เช่น  ไม่เกินร้อยละ 10-15
ของปริมาณวัสดุประสานทั้งหมด ก็อาจบ่มเช่นเดียวกับคอนกรีตธรรมดาก็ได้
  
ข้อควรระวังสำหรับการบ่ม 

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้คอนกรีตได้รับความเสียหายในขณะที่บ่มอยู่มีดังต่อไปนี้
การสั่นสะเทือน การกระแทก การรับน้ำหนักมากเกินไป การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมากในเวลาสั้นๆ เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุต้นๆ ของคอนกรีต
 





Sun god/Shutterstock.com



© Sergio/Flickr


 
© https://bit.ly/3b2GBIX



Gleno Dam ในปี 1923 ก่อนพัง


Gleno Dam หลังพัง



ต้นน้ำลำห้วย Gleno Creek https://bit.ly/3jkl3dQ


 

เรื่องเดิม

เราจะฝ่าข้ามไป Rinascerò Rinascera



Roby Facchinetti - Rinascerò, Rinascerai 
(I’ll be reborn, you’ll be reborn)

ชีวิตแม่น้ำหลังพังเขื่อน



After Largest Dam Removal in U.S. History, This River Is Thriving
 

การทิ้งระเบิดใต้น้ำพังเขื่อน Eder/Edersee Dam เยอรมันนี
จัดว่าเป็นการพังเขื่อนครั้งประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มา https://goo.gl/5bVPdG



การทิ้งระเบิดพังเขื่อนจากเครื่องบิน
 


สภาพหลังถูกระเบิด
 



Bouncing Bomb ระเบิดใต้น้ำ



Secret german film of destroyed eder dam 1943

 




 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2563
0 comments
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2563 18:30:02 น.
Counter : 1319 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.