ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2562
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
3 มีนาคม 2562
 
All Blogs
 

Mangalitsa หมูขนแกะ






Mangalitsa Pig Looks Like Sheep and Yields Prized Meat

1.




Mangalitsa หรือ Mangalica มีสายพันธุ์กำเนิดที่ Hungarian
เพราะความเจริญเติบโตที่ผิดปกติของหมู
ทำให้พวกมันมีขนหยิกเต็มลำตัวคล้ายกับแกะ
ขนหมูมีทั้งสีดำ หรือ แดง แต่ส่วนมากมักเป็นสีบลอนต์
ทั้งนี้ยังมีหมูสายพันธุ์ขนยาวอีกประเภทหนึ่งคือ
Lincolnshire Curly Coat ของ England ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
Mangalica เกือบจะสูญพันธุ์ไปในครั้งหนึ่งแล้ว
เพราะคนไม่นิยมกินกันนอกจากเล่นกีฬาตัดขน หมูขนแกะ
ในปี ค.ศ.1990 เหลือหมูสายพันธุ์นี้น้อยกว่า 200 ตัวแล้ว


การผสมพันธุ์หมูสายพันธุ์ Mangalitsa
เริ่มขึ้นในยุค 1830 ในจักรวรรดิ Austro-Hungarian Empire
หลังจากที่ Archduke Joseph Anton Johann
พระราชโอรส Roman Emperor Leopold II
ได้รับหมูป่าจาก Sumadija จาก Miloš Obrenović เจ้าชาย Serbian
เป็นหมูป่าตัวผู้ 2 ตัว หมูป่าตัวเมีย 10 ตัว
ซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างหมูป่าเมือง Bakony กับ Szalonta
ทำให้หมูมีขนหยิกเป็นลอนและมีน้ำหนักมาก
ในช่วงแรกนั้น หมูสายพันธุ์นี้ถูกสงวนไว้สำหรับราชวงศ์ Habsburg Royalty
แต่เพราะรสชาติที่ยอดเยี่ยมของพวกมัน
จึงกลายเป็นที่นิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
พวกมันจึงเป็นสายพันธุ์หลัก/ยอดนิยมในยุโรป



Mangalitsa เป็นสายพันธู์หมูที่ไม่ต้องดูแลเป็นพิเศษมาก
และสามารถขุนด้วยการให้อาหารเพื่อเป็นหมูอ้วนพี
ทั้งนี้ น่าจะพวกมันมีอัตราแลกเนื้อที่ดีกว่าหมูเลี้ยงทั่วไป
(อาหารที่เลี้ยงให้พวกหมูกิน
แล้วได้ผลผลิตออกมาเป็นเนื้อหมูที่เติบโต
ฟาร์มหมูมักจะรีบขายหมูที่เลี้ยงดูให้โตเต็มวัย
แต่เดิมมักจะบอกว่าไม่เกินกว่า 180-200 วัน
เพราะเกินกว่านั้น เริ่มจะไม่คุ้มค่าใช้จ่ายแล้วที่จะเลี้ยงต่อ
เปลืองอาหาร ค่าแรงงาน และเนื้อก็ได้น้อยกว่าอาหารที่ให้กิน
เว้นแต่จะได้ราคาขายดีก็ยังพอเลี้ยงต่อได้)




โดยข้อเท็จจริงแล้ว Mangalitsa เป็นหนึ่งในหมูอ้วนที่สุดในโลก
พวกมันมีไขมันคิดเป็น 65% ถึง 70% ของน้ำหนักตัว
เนื้อของพวกมันเชื่อว่าเป็นหนึ่งในหมูที่อร่อยที่สุดในโลก
เพราะในยุคนั้นหายากและมีการผลิตจำนวนนัอย
เนื้อหมู Mangalica นั้นมีสีแดง มีลายหินอ่อนสีขาวมาก
มีกรดไขมันโอเมก้า -3 สูง
และมีสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติสูง
เพราะสาเหตุหลักคือ การกินอาหารธรรมชาติ
ประเภท ข้าวสาลี ข้าวโพดและข้าวบาร์เลย์
มันหมู/มันเปลว Mangalica lard นั้นเบากว่า
และละลายที่อุณหภูมิต่ำกว่าหมูทั่วไปชนิดอื่น
เพราะพวกมันมีไขมันไม่อิ่มตัวจำนวนมากกว่าหมูประเภทอื่น

ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 จนถึงปี 1950
Mangalitsa เป็นสายพันธุ์หมูที่ได้รับความนิยมมากที่สุดใน Hungary
ไขมัน เบคอนและซาลามี่ เป็นที่ต้องการในตลาดยุโรป
น้ำมันหมูจาก Mangalitsa ยังใช้เป็นไขมัน
ในการปรุงอาหารและในการผลิตเทียน สบู่ และเครื่องสำอาง
แม้แต่น้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรมและวัตถุระเบิดก็ผลิตจากไขมันที่มีค่านี้
เรื่องนี้เป็นเวลาก่อนที่จะมีการแนะนำให้ใช้น้ำมันพืช


ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20
ความนิยมเรื่องหมูสายพันธ์นี้เริ่มลดลงไปมาก
เมื่อผู้คนต่างรับรู้ข้อมูลจากนักวิจัยตามสถาบันต่าง ๆ
ระบุว่า ไขมันอิ่มตัวนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ทำให้หมูสายพันธุ์นี้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
แล้วถูกแทนที่ด้วยหมูที่ผอมกว่า
และสายพันธุ์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
เต็มไปด้วยเนื้อมากขึ้นและไขมันน้อยลง



ในทศวรรษ 1970
เกือบจะเป็นวาระสุดท้ายของหมู Mangalitsa
ใน Austria จะสามารถพบหมูสายพันธุ์นี้ได้
ในอุทยานแห่งชาติและสวนสัตว์เท่านั้น
และใน Hungary มีแม่หมูพร้อมผสมพันธุ์น้อยกว่า 200 ตัวแล้ว



แต่ในช่วงกลางทศวรรษ 1980
เกิดความนิยม/สนใจหมูสายพันธุ์ Mangalitsa อีกครั้ง
พวกมันจึงได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่



ในปี 1994 สมาคมผู้ผลิตพันธุ์หมู Mangalica แห่ง Hungary ได้ก่อตั้งขึ้น
Hungarian National Association of Mangalica Pig Breeders
เพื่อคุ้มครองปกป้องสายพันธุ์ Mangalica
ต่อมาอีก 20 ปี ได้มีการจำหน่วยไส้กรอก Mangalica แบบดั้งเดิม
ที่ผสมกับเครื่องเทศศีแดงอ่อนสูตรต้นตำรับ
ไส้กรอกเจ้าเก่าก็ได้มีการวางจำหน่ายในตลาด Hungary อีกครั้ง
ทุกวันนี้มีแม่หมูพันธุ์มากกว่า 8,000 ตัวใน Hungary
และผลิตหมูได้ถึงปีละ 60,000 ตัวต่อปี
Mangalica ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่พิเศษและมีจำนวนที่จำกัดมาก
แต่ตอนนี้ไม่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์แล้ว



ที่ Spain ผู้ผลิตแฮม Ham แบบดั้งเดิม
ก็ค้นพบว่าหมูสายพันธุ์ Mangalica เหมาะอย่างยิ่ง
สำหรับกระบวนการที่รักษา/ถนอมอาหารให้นาน
และทำให้แฮมของสเปนโด่งดังไปทั่วโลก
ขาหมู Mangalica เก็บได้นานถึง 3 ½ปี
โดยยังคงความชุ่มชื้น เนื้อสัมผัสที่นุ่มนวล
มีสีแดงเข้มและรสชาติที่ซับซ้อน
แต่เพราะจำนวนหมู Mangalica มีไม่มากนัก
จึงกลายเป็นงานศิลปอาหารที่มีราคาแพงกว่าหมูทั่ว ๆ ไป
เพราะคนกินจะเพลิดเพลินกับรสชาติที่เข้มข้นและไขมันที่อุดมสมบูรณ์



Chefs สหรัฐอเมริกาก็เริ่มปรุงอาหาร
จากเนื้อหมู/ผลิตภัณฑ์หมู Mangalica มากขึ้น
หากผู้คนกินเนื้อหมูพันธุ์นี้ต่อไปเรื่อย ๆ
นอกจากจะอ้วนท้วนสมบูรณ์เหมือน หมีพู
จะทำให้ไม่นานนักหมูสายพันธุ์ Mangalica
ก็จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม




ในปี 1972 มีเรื่องเศร้าเกี่ยวกับหมู
หมูสายพันธุ์ Lincolnshire Curly Coat
หมูสายพันธุ์ที่หายากของอังกฤษ
เมื่อหมูคู่สุดท้ายถูกส่งไปโรงเชือดหมู



ต่อมา ด้วยความช่วยเหลือของ DEFRA Pig Paradise
และสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสายพันธุ์
จึงได้ร่วมมือกันสืบค้น DNA เพื่อฟื้นฟู
หมูสายพันธุ์ Lincolnshire Curly Coat ดั้งเดิม
แล้วพบว่าหมูสายพันธุ์นี้มี DNA ร่วมกับหมูจาก Hungary
ถิ่นกำเนิดที่หมู Mangalitsa ถูกส่งออกในช่วงปี 1900


จึงได้มีการส่งหมูจากอังกฤษจำนวนหนึ่งไปที่ Hungary
เพื่อทำการผสมพันธุ์ให้ได้สายพันธู์ใกล้เคียงจากของเดิม
ด้วยการพิสูจน์จากโครงสร้าง DNA ให้ใกล้เคียงมากที่สุด
จนได้หมูสองตัวที่ตั้งชื่อว่า Delia และ Ainsley
และนำมาแสดงที่สวนสาธารณะ Butterfly and Wildlife Park ใน Long Sutton


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2NxVves
https://bit.ly/2IGPPjB
https://bit.ly/2NCM2CM
https://bbc.in/2VtyL1N


2.



3.


4.


5.


6.


7.


8.


9.


10.


11.


12.

Sow, photograph from 1928

13.


Boar, photograph from 1928

14.






เรื่องเล่าไร้สาระ



ที่ซัง(เมืองตรัง) แบบคนท้องถิ่นเรียกกันแบบ
ราดรี เพ็ด ยุดยา กาน นคร ลุง ใย๋ ยะโส เป็นต้น
มักจะนิยมกินหมูย่างเป็นอาหารเช้า
จนทำให้ที่นี่มีปริมาณหมูย่างขายมากที่สุดในไทย
ความนิยมดังกล่าวมาจากความเชื่อดั้งเดิม
ที่คุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง (ปุ่มปุ้ย) เล่าให้ฟังว่า
คนซังเชื่อว่า หมูทำอะไรกินก็อร่อย
การกินหมูเป็นอาหารเช้า
จะทำให้ทุกเรื่องราวในวันนี้
กลายเป็นเรื่องหมู หมู


แต่ข้อเท็จจริงน่าจะเป็นว่า
พื้นที่ตรังอากาศส่วนใหญ่ค่อนข้างเย็นชื้น
เพราะมีป่าไม้และฝนตกมากในบางช่วง
คนสวน ชาวบ้าน แต่เดิมมักจะได้กินอาหารเช้าก็สายมากแล้ว
กว่าจะทำสวนยาง กรีดยาง/ทำยางแผ่นเสร็จ
หรือต้องไปขุดแร่ดีบุกในที่ต่าง ๆ
ชาวบ้านส่วนมากต้องกินอาหารให้อิ่มเต็มที่
จึงต้องการอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าปกติ
การกินเนื้อหมูย่างซึ่งมีไขมันมาก
จะช่วยให้พลังงานเพียงพอกับการทำงานได้
ก่อนที่จะได้กินอาหารในมื้อต่อไป


รวมทั้งหมูเป็นสัตว์ที่แพร่พันธุ์ได้เร็วมาก
จนทำให้มีคนบางคนประชดว่า
เสือเกิดปีละตัวสองตัว
หมูเกิดปีละสองสามครอก
ยังไง ๆ หมูก็เกิดมากกว่าเสืออยู่แล้ว
ทำให้คนในวงการต่าง ๆ ยังหากินกันได้




แถวบ้านในสมัยก่อนมีการเข้าหุ้นฆ่าหมูมากินกัน
เพราะแต่เดิมอาหารเนื้อหมูมักจะมีราคาแพง/ไม่มีตลาดสด
การฆ่าหมูแต่ละตัว ครอบครัวเดียวมักจะกินไม่หมด
และตู้เย็นในสมัยก่อนก็มีราคาแพง/หายาก
ทำให้ชาวบ้านมักจะลงขันเข้าหุ้นกัน
ในการฆ่าหมูมาแบ่งกันกินในกลุ่มเพื่อนฝูงกัน
โดยมีอัตราการจ่ายตามเนื้อแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน
เช่น เนื้อหมู เปลวหมู ไส้ หัวหมู สันใน ซึ่โครง ฯลฯ
แล้วแต่ใครจะถูกรัดดวง(ริดสีดวงทวาร)
เป็นคำเปรียบเปรยว่าชอบมาก/สะใจมาก
แบบเจ็บ ๆ มัน ๆ ของคนบางคน
จนพูดกันว่า รัดดวงใครรัดดวงมัน


เมื่อได้จำนวนเงินครบแล้วก็จะไปจ่ายค่าหมู
เพื่อฆ่าหมูแล้วนำมาแบ่งกันตามจำนวนหุ้น
และข้อตกลงเบื้องต้นก่อนเข้าหุ้น
จนมีคำด่าคนที่ไม่เต็มเต็งหรือไม่ครบบาทว่า
พวก ขาดหุ้น ซึ่งคำนี้สันนิษฐานว่า
มีที่มาจากการที่ชาวบ้านบางคน
ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย
เพราะทำตัวไม่ดี/เห็นแก่ตัว
จนไม่มีคนยอมเข้าหุ้นซื้อหมูมาฆ่าแบ่งกันกิน
จนถูกพูดในนัยเหยียดหยามว่า คนขาดหุ้น



แถวบัานสมัยเด็ก ๆ ยังพอเห็นบ้าง
เลี้ยงหมูตัวดำๆขาสั้นๆท้องอ้วนลากพื้น
ชาวบ้านเรียกว่า หมูขี้พร้า
เลี้ยงกับเศษอาหารที่ชาวบ้านกินเหลือ
คนเลี้ยงมักจะขอจากชาวบ้านตามร้านค้าในตลาด
แลัวไปรวม ๆ กันต้มอีกครั้ง ผสมกับรำและหยวกกล้วยก่อนให้หมูกิน
คุณภาพซากชั้นไขมันมากกว่าเนื้อ


ถ้าคิดต้นทุนการเลี้ยง เวลา ค่าเสียโอกาส
ไม่น่าจะคุ้มการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์
เพราะหมูอาจตาย ติดโรค ถูกลักขโมย
แต่คิดแบบชาวบ้านคือ รายได้เสริม
ได้เงินเป็นก้อนจากการขายหมู
เหมือนทุบกระปุกออมสินเอาเงินมาใช้จ่าย


แถวบ้านสมัยเด็กยังทันเห็น
คนจับหมูใส่ตะกร้าหวาย
แล้วบรรทุกหลังรถจักรยานสองล้อ
ที่ทำเป็นตะแกรงหนามาก
มักจะใช้บรรทุกยางแผ่นร่วม 100 กิโลกรัม
และบรรทุกหมูไปขาย/ไปฆ่าได้สบาย ๆ
รวมทั้งเป็นจักรยานครอบครัว/เอนกประสงค์

ขี้หมู คือ ชื่อเจ้าพ่อปาดังเบซาร์
ที่เป็นตำนานว่า แกกับลูกน้องเคยยิงกับโจรจีนมลายา
ทำให้โจรจีนตายไปหนึ่งศพ
เพราะไม่ยอมจ่ายค่าคุ้มครอง
ก่อนที่จะถูกโจรจีนแก้แค้น
ยิงแกตายในงานศพ
ที่ศาลเจ้าแป๊ะกง/ศาลเจ้าเอนกประสงค์ที่ปาดังเบซาร์
จัดได้ทั้งงานแต่งงานกับงานศพ
เพราะจริง ๆ ฤกษ์แต่งงานกับฤกษ์ออกศพไปฝังของคนจีน
มักจะเป็นวันเดียวกันอาจจะมีแตกต่างกันบ้าง
ตรงเวลาทำการตามฤกษ์ยามที่พอเหมาะ


ผมเขียนเรื่องนี้ไว้นานแล้วใน Bloggang
เรื่อง ชีวิตชายแดนปาดังเบซาร์ เป็นตอน ๆ สั้น ๆ




 

Create Date : 03 มีนาคม 2562
1 comments
Last Update : 3 มีนาคม 2562 22:14:04 น.
Counter : 2337 Pageviews.

 

Hi there,

I wanted to introduce myself in a way that shows I_m interesting, witty and clever. Alas, I wrote this email instead.

I come bearing just what you_ve always wanted, another request! I_ll get this over as quickly as possible.

Are you accepting link insertions in old blog posts on your website?

If yes, how much would you charge for this?

If not, will you be interested in a 3-way link exchange that can help boost your website traffic?

Consider my fingers, toes and all appendages crossed!

Cheers,
Mia Luna
Craigs 9

 

โดย: Mia Luna IP: 180.194.144.245 3 พฤษภาคม 2565 20:43:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.