ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 มีนาคม 2561
 
All Blogs
 

กากส้ม 12,000 ตันพลิกฟื้นป่าไม้






Credit: Horia Bogdan/Shutterstock




เมื่อเกือบ 20 ปีก่อนพื้นที่ทุ่งหญ้าใน Costa Rica
เดิมเป็นพื้นที่แห้งแล้งใช้เลี้ยงปศุสัตว์มีแต่วัชชพืช
แต่ทุกวันนี้ เต็มไปด้วยพืชพรรณป่าไม้บุปฝาชาตินานาชนิด
สิ่งที่ส่งผลมหัศจรรย์ในป่าไม้แห่งนี้คือ กากส้ม

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990
Del Oro ผู้ผลิตน้ำส้มใน Costa Rica
กำลังมองหาวิธีที่จะกำจัดเปลือกส้มและเนื้อเยื่อของส้ม
ที่เหลือเป็นกากส้มจำนวนมากหลังจากการสกัด/คั้นน้ำส้มแล้ว
ในตอนแรก ทางบริษัทได้วางแผนที่จะสร้างโรงงานแปรรูปกากส้ม
ให้เป็นสินค้าที่ใช้ในครัวเรือนด้วยการสะกัดไขมันและสารเคมีออกจากกากส้ม

แต่ Daniel Janzen กับ Winnie Hallwachs นักนิเวศวิทยาจาก University of Pennsylvania
ที่ทำงานวิจัยและเป็นที่ปรึกษาป่าไม้ในพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ดินของโรงงาน
ได้เข้ามาพบกับผู้บริหารโรงงานพร้อมด้วยข้อเสนอแนะ
ที่มีแนวคิดที่แตกต่างออกไปจากเดิมที่จะตั้งโรงงานแปรรูปกากส้ม
โดยขอให้ทางบริษัทบริจาคที่ดินราว 3 เฮกตาร์(30,000 ตารางเมตร/18.75 ไร่)
ที่อยู่ติดกับป่าไม้แห่งชาติ Área de Conservación Guanacaste
ด้วยการทิ้งกากส้มซึ่งเป็นขยะอินทรีย์ทั้งหมดลงในที่ดินบริเวณที่เสื่อมโทรม
โครงการนำร่องดังกล่าวได้นำไปสู่ดินร่วนสีดำ
ที่ดินที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชนานาชนิด

ในปี 1998 ทางบริษัทได้ขนขยะอินทรีย์กากส้มของโรงงาน
ไปทิ้งและทับถมลงไปในพื้นที่เสื่อมโทรมเป็นจำนวนถึง 12,000 เมตริกตัน
แต่โครงการดังกล่าวถูกทำให้ยุติลงด้วยการยื่นฟ้องโดย TicoFruit บริษัทผลิตน้ำผลไม้ที่เป็นคู่แข่ง
และศาลสูงสุด Costa Rican Supreme Court เห็นพ้องด้วยกับข้อกล่าวหาที่ว่า
ขยะธรรมชาติที่โรงงานทิ้งไว้จะสร้างมลภาวะให้กับป่าไม้แห่งชาติ

แต่ทุกวันนี้ แผ่นดินที่ถูกยุติให้ดำเนินการทิ้งกากส้มเพราะผลของคำพิพากษาว่า
จะก่อให้เกิดความสกปรก/มีมลภาวะกับป่าไม้แห่งชาติ
กลับกลายเป็นผืนป่าไม้ที่เขียวชอุ่มอยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้าแห้งแล้งที่อยู่กระจัดกระจายโดยรอบ

ผลการศึกษาครั้งใหม่จากนักวิจัยจาก Princeton University และ University of Pennsylvania
ได้วิเคราะห์ถึงคุณภาพดินและองค์ประกอบของพื้นที่ดังกล่าว
พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของชีวมวลของป่าไม้เกือบ 200%
และสายพันธุ์พืชนานาชนิดคิดเป็นจำนวน 3 เท่าของพื้นที่เปรียบเทียบที่อยู่บริเวณถัดไป




พื้นที่ป่าไม้ที่ได้รับการฟื้นฟูอยู่ทางด้านขวาของถนนที่รกร้าง
พื้นที่ควบคุม/เปรียบเทียบอยู่ทางด้านซ้าย (Tim Treuer)






ครั้งหนึ่ง พื้นที่สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์
เต็มไปด้วยหญ้าแอฟริกัน African pasture grasses
ทำให้เกิดการรุกรานพื้นที่ของพืชพื้นเมืองให้ลดน้อยลงไปมาก
และเมื่อพื้นที่ดังกล่าวถูกทับถมด้วยกากส้ม
และแพร่กระจายไปด้วยกากส้มจนเป็นสีส้มในตอนแรก
พวกหญ้าแอฟริกันก็ถูกกากส้มถมทับจนตายลง
พร้อมกับการเกิดดินร่วนซุยที่ปนเปื้อนอุดมไปด้วยสารอาหารจากเปลือกส้ม
ซึ่งทำให้เกิดดินดำที่อุดมสมบูรณ์สำหรับพืชพื้นเมืองที่จะเจริญเติบโต
การกดทับของกองขยะกากส้มเหมาะสมสำหรับการปรับปรุงพื้นดินในครั้งนี้
เพราะการชะละลายจากน้ำมันหอมระเหยและกรดชนิดต่าง ๆ จากกากส้ม
ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช

แต่ในขณะเดียวกันการชะละลายของกากส้ม
ได้ปลดปล่อยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช
เช่น โพแทสเซียม ไนโตรเจน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัส (NPK)
ซึ่งมักจะพบน้อยมากในดิน บ่งบอกว่ามันถูกนำมาใช้เกือบหมดแล้วในดิน

ภูมิปัญญาชาวบ้านแถวบ้านมักจะพูดกันง่าย ๆ ว่า
N ทำให้ใบเขียวสวยสดเหมาะกับพืชอายุสั้นพวกผักต่าง ๆ
P บำรุงรากลำต้นกิ่งไม้ให้แพร่กระจายแข็งแรงเหมาะกับไม้ยืนต้น
K ทำให้ดอกผลแข็งแรงติดง่ายมีรสหวานหอมหรือผลผลิตมาก


ทั้งนี้ นับตั้งแต่การทิ้งกากส้มในพื้นที่นี้ตั้งแต่ครั้งแรก
นักวิจัยไม่ได้เข้าไปแทรกแซง/ยุ่งเกี่ยวใด ๆ ในพื้นที่
ทำให้ป่าไม้ทั้งหมดนี้เป็นผลงานของธรรมชาติ

ตัวอย่างของดินที่มีการตีพิมพ์เมื่อเดือนที่แล้ว
ในวารสารนิเวศวิทยาการฟื้นฟู Restoration Ecology
พบว่ามีระดับสารอาหารที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปลายปี 2014
เมื่อได้ทำการสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบกับพื้นที่รอบ ๆ ที่อยู่ข้างเคียง

มีต้นไม้อยู่ถึง 24 ชนิดในพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟู
และมีความสมดุลของพืชพันธุ์นานาชนิดมากขึ้น
เมื่อเทียบกับพื้นที่ควบคุมข้างเคียงที่มีต้นไม้อยู่เพียง 8 ชนิด

นักวิจัยยังระบุว่า ทั้งนี้ยังไม่ได้เริ่มนับพืชพันธุ์ชนิดอื่น ๆ
เช่น ไม้พุ่ม ไม้เถา และสายพันธุ์พืชชนิดอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า
ในช่วงระยะเวลาวิจัยสั้น ๆ นี้ดูเหมือนว่าพื้นที่นี้ได้เป็นป่าไม้อีกครั้ง

“ ผมรู้สึกแปลกใจมาก
พื้นที่ถูกกากส้มทับถมแปลกแยกจากพื้นที่ไม่มีกากส้มทับถม
จากแนวเขตถนนที่ตัดผ่าน ทั้งสองพื้นที่มีความแตกต่างกัน
อย่างเห็นได้ชัดเจนเลยทางระบบนิเวศวิทยา

พื้นที่ด้านที่เป็นทุ่งหญ้ารกร้าง มีต้นไม้ขึ้นเพียงไม่กี่ต้น
แต่อีกด้านกลายเป็นป่าไม้ที่ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่
การจะเข้าไปต้องใช้มีดสปาร์ตาแหวกว่ายกรุยทางเข้าไป
และเมื่อตอนที่ผมเจาะดินขึ้นมาตรวจสอบ
ผมรู้ดีเลยว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่พิเศษจริง ๆ
ทำให้ผมต้องอึ้งไปเลย "
Timothy Treuer นักวิจัย Princeton University
และผู้นำทีมในการศึกษาที่เขียนบทความวิจัยลงในวารสาร Restoration Ecology

“ ป่าไม้เขตร้อนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ
ในขณะที่มนุษย์พยายามปกป้องพื้นที่ป่าไม้ที่ยังคงเหลืออยู่บนพื้นโลก
เราสามารถปลูกป่าไม้ที่ถูกทำลายด้วยวิธีการที่ประหยัดเงินได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น "
Jonathan Choi นักวิจัยอาวุโสสาขานิเวศวิทยาและวิวัฒนาการชีววิทยา Princeton University

" ในบริเวณรอบ ๆ ที่เปลือกส้ม/กากส้มถูกนำมาทิ้งไว้
มีต้นไม้เพียง 2-3 ต้นที่เราพบนั้น เป็นต้นไม้เพียง 2 ชนิดที่สัมพันธ์ทุ่งหญ้าโดยรอบ
ซึ่งมักจะไม่พบในป่าไม้ของคอสตาริกา

ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้
จะมีความหลากหลายของต้นไม้หลายชนิดมากขึ้น
ซึ่งมักจะพบเห็นโดยเฉพาะในป่าไม้ที่มีอายุมากกว่า
กากส้มไม่เพียงแต่สร้างการกลับคืนมาของป่าไม้
แต่ยังทำให้ป่าไม้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นกว่าเดิม "
Timothy Treuer นักศึกษาปริญญาเอกนิเวศวิทยาที่ Princeton University

ในขณะที่การใช้ประโยชน์จากขยะทางการเกษตร
เพื่อใช้ในพื้นดินที่รกร้างว่างเปล่า/แห้งแล้ง
จัดว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง
แต่ก็ไม่อาจสร้างผลลัพธ์ที่น่าอัศจรรย์เช่นนี้เสมอไป
กากส้มทำงานได้ผลในที่นี่และมีประสิทธิภาพในเขตร้อนชื้น
สามารถป้องกันพืชพันธุ์ชนิดที่รุกรานพืชพื้นเมือง
และผลิตชั้นดินอุดมสมบูรณ์ที่หนาขึ้น
สำหรับการเจริญเติบโตของพืชชนิดใหม่

ในที่สภาพแวดล้อมอื่น ๆ การทิ้งขยะอินทรีย์ อาจไม่ได้ประโยชน์เหมือนที่นี่
เพราะคอสตาริกายังมีความอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดทั้งปี

วิธีการ/กลยุทธ์ดังกล่าวที่คล้ายคลึงกันนี้
อาจจะไม่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในช่วงแต่ละปี
(เพราะการย่อยสลายของสารอินทรีย์ทำได้ยากและมีช่วงเวลาจำกัด)


" แน่นอนทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังไม่ได้สร้างมลพิษหรือศัตรูพืชใด ๆ ที่ต้องวิตกกังวล
และสามารถมองเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนมาก
ทั้งยังไม่มีแผนงานหรือโครงการใด ๆ ที่จะทำต่อไปอีกในตอนนี้
ผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การฟ้องร้องกล่าวโทษเมื่อหลายสิบปีก่อน
ทั้งนี้ยังมีผลการทดลองที่คล้ายคลึงกันในประเทศนี้
ที่เกี่ยวกับกากกาแฟ แม้ว่าจะยังไม่มีผลลัพธ์ชี้ชัดแต่อย่างใดในตอนนี้ "
Timothy Treuer

ในปี 2013 ตอนที่ Timothy Treuer กำลังหาหัวข้อวิจัยกับ Daniel Janzen
ทั้งคู่ได้พูดคุยเกี่ยวกับพื้นที่ใน Costa Rica ที่เคยทิ้งกากส้มไว้
และสงสัยว่าสภาพพื้นที่ดินในตอนนี้จะเป็นเช่นใดบ้าง
ทำให้ Timothy Treuer ตัดสินใจเดินทางไป Costa Rica

“ ผมต้องเดินทางไปถึง 2 ครั้งเพื่อค้นหาว่ามันอยู่ที่ไหนกันแน่
ป้ายเดิมที่มีอักษรสีเหลืองสดใสยาวหกฟุตบอกสถานที่ตั้ง
ถูกเถาวัลย์ปกคลุมไปหมดแล้ว เราหาไม่พบเลยตั้งหลายครั้ง
จนกระทั่งปลายปีหลังจากการเข้าไปค้นหาจำนวนหลายสิบครั้งจึงพบ

ทีมวิจัยได้เก็บตัวอย่างดินจำนวน 2 ชุด
เพื่อตรวจสอบว่ากากส้มได้ทำหน้าที่
ในการเพิ่มคุณค่าสารอาหารกับดินหรือไม่

" เรานำเทปวัดออกมาวัดระยะทาง 100 เมตร
และตรวจนับกับระบุต้นไม้ทุกต้นภายในพื้นที่ทุกระยะ 3 เมตร
เราทำแบบนี้ถึง 3 ครั้งในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์
และวางเทปวัดในแนวขนานห่างออกไปอีก 25 เมตร
และทำอีก 3 ครั้งในพื้นที่ที่ไม่มีการทิ้งกากส้ม/ไม่อุดมสมบูรณ์
ในอีกด้านหนึ่งของถนนสายที่รกร้าง "

พวกนักวิจัยเห็นการเปลี่ยนแปลง/การเจริญเติบโตของต้นไม้
และสารอาหารในพื้นดินที่เปรียบเทียบกันระหว่าง
พื้นที่ที่ถูกทิ้งกากส้มและทุ่งหญ้าที่ถูกทอดทิ้งซึ่งห่างออกไป 100 หลา
นักวิจัยพบความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากระหว่างพื้นที่ศึกษาทั้ง 2 แห่ง
ที่ดินที่เคยมีกากส้มทิ้งไว้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
มีชีวมวลมากขึ้น ทำให้ต้นไม้มีความหลากหลายนานาชนิดมากขึ้น
และปกคลุมด้วยหลังคาของป่าไม้ขนาดใหญ่


เรียบเรียง/ที่มา


https://goo.gl/xQ32AZ
https://goo.gl/XZLk9X
https://goo.gl/cHmC2v




หมายเหตุ


การฟ้องร้องเรื่องการทิ้งกากส้มของโรงงาน Del Oro
สาเหตุน่าจะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า TicoFruit คู่แข่งมากส่วนหนึ่ง
เพราะ Del Oro ไม่ต้องเสียเวลานำกากส้มไปทำการบำบัดก่อน
หรือต้องขนส่ง/ว่าจ้างคนนำไปทิ้งภายนอกโรงงาน
ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่อต้นทุนและรายได้ของโรงงานได้
รวมทั้งการฟ้องร้องดำเนินคดีของ TicoFruit คู่แข่งทางธุรกิจ
เป็นการสะกัดดาวรุ่งและทำให้โรงงาน Del Oro มีค่าใช้จ่าย
และเสียเวลาในการแก้ต่างคดีนี้และมีผลกระทบกับภาพลักษณ์ของธุรกิจ
ในกรณีที่เกิดแพ้คดีขึ้นมาตามคำพิพากษา

เถาจูกง เทพเจ้าแห่งการค้าชาวจีนเคยกล่าวไว้ว่า
การค้าก็เหมือนกับการรบ  การรบต้องใช้กลยุทธ์















Credit : Daniel Janzen & Winnie Hallwachs




 

Create Date : 04 มีนาคม 2561
2 comments
Last Update : 4 มีนาคม 2561 19:55:19 น.
Counter : 1367 Pageviews.

 

สวัสดียามเช้าครับ
กากส้มมีประโยชน์จริงๆ

 

โดย: สองแผ่นดิน 6 มีนาคม 2561 7:56:42 น.  

 

Many thanks for writing this post. I appreciate it.

 

โดย: <a href="https://lennyfacecopy.com">Lenny Face</a> IP: 139.99.104.95 24 พฤษภาคม 2561 15:42:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.