LovelyTrip เที่ยวทุกที่ที่ใจอยากไป
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2561
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
25 สิงหาคม 2561
 
All Blogs
 
#เที่ยวชุมชนไทยพวน นครนายก




มาเที่ยว นครนายกทั้งทีบอกเลยว่า ต้องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมถึงจะขึ้นชื่อว่าได้มาที่นี่จริงๆ

วัฒนธรรมเด่นมากโดยเฉพาะเรื่องผ้าไทยพวน #คนรักผ้าทอมือ ต้องรีบมาดู อยู่ที่#ชุมชนบ้านท่าแดง ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี มีเวลาเที่ยวแค่วันเดียวก็มาได้


หรือที่เราเรียกชื่อกันเต็มๆ ว่า ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยพวนตำบลเกาะ  หวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก


ชาว #ชุมชนไทยพวน อาศัยอยู่ตามลำคลองตลอดแนวตั้งแต่ ต.หนองแสง ต.เกาะหวาย ต.เกาะโพธิ์ จนถึง ต.ท่าเรือ นับอายุชุมชนไทยพวนอยู่มามากกว่า 240 ปีแล้ว

ของดีทางวัฒนธรรมยังคงได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชมและช้อปกลับบ้านกัน

#เรื่องเล่าในตำนานของ #ชุมชนไทยพวน


เล่าขานสืบทอดต่อๆ กันมาว่า อพยพถิ่นฐานมาจากประเทศลาว หลังพระเจ้าตากสินได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ให้เจ้าพระยากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ และหัวเมืองต่างๆ คือเมืองซำเหนือ เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพสาลีและเมืองเชียงขวาง เมื่อชนะศึกได้กวาดต้อน เอาผู้คนมาจากลาว ทั้งลาวเวียงจันทร์ลาวพวน (ชาวพวนที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงขวาง) และลาวโซ่งมาไว้ที่ประเทศไทยประมาณปี พ.ศ.2321

#เรื่องเล่าในตำนานของ#ชุมชนท่าแดงชุมชนที่มีชาว ไทยพวนอาศัยอยู่มายาวนาน

เล่ากันว่าในการอพยพครั้งนั้น มีพระภิกษุชาวลาวชื่อ “หลวงพ่อภาระ”อพยพมาด้วย พร้อมกับนำพระศรีอาริย์ทองสำริด หน้าตักกว้าง 27 ซม. สูง 99 ซม. โดยบรรทุกบนหลังช้างมาและได้หยุดพักเหนื่อยในเวลาเย็นพวนพลบค่ำ ตะวันแดงและที่หยุดพักตรงนั้นเป็นดินแดงมีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านตลอดสาย จึงเรียกว่า “ท่าแดง”

หลวงพ่อภาระเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ดี ยิ่งเดินทางอพยพมานานจึงได้ปรึกษากับชาวบ้านผู้นำการอพยพในครั้งนั้นชื่อว่า “สุนันทา” และได้พร้อมใจกันลงหลักปักฐาน ตั้งถิ่นบ้านเรือนสร้างที่ทำมาหากินตามลำคลองและเรียกว่า “บ้านท่าแดง”

#เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน


#ภาษาพวน ใกล้เคียงกับลาวเวียง เช่น ภาษาไทยถ้าถามว่า จะไปไหนภาษาพวน จะพูดว่า จี่ไปกะเรอ

ภาษาไทยตอบว่า ไปบ้านใต้ ภาษาพวน จะพูดว่า ไปบ้านเต้อ ภาษาไทยถามว่า ไปทำอะไร ภาษาพวน จะพูดว่า ไปเอ็ดพีเรอ ภาษาไทยถามว่า ไปกับใคร ภาษาพวน จะพูดว่า ไปกับเผอ ฯลฯ

#การแต่งกายไทยพวน


เสื้อผ้ามาจากฝีมือการทอผ้าด้วยมือ โดยใช้กี่ทอผ้าของชาวไทยพวนในชุมชน มีลวดลายสวยงามที่มาจากภูมิปัญญาโบราณของชาวไทยพวนที่สืบสานจากเชียง    ขวางประเทศลาวสู่พวนดินแดนไทย มีคุณสมบัติซักได้ในน้ำธรรมดาสีไม่ตก ใส่ไม่ร้อน เก็บรักษาง่าย


#อาหารพื้นบ้าน

ตามแบบวิถีชาติพันธุ์ไท-พวนตามสูตรภูมิปัญญาบรรพบุรุษดั้งเดิม มีทั้ง แกงเลียง แกงจาน แกงบอน แกงขี้เหล็กแกงหน่อไม้ แจ่วปลาแดะ

ส่วนคนที่มีเวลาน้อยแต่อยากรู้จักวัฒนธรรมและประเพณีของ ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยพวนให้มากที่สุดแนะนำให้แวะมาที่ #พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลอง(ไทยพวน) ได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มชนไทยพวนบ้านฝั่งคลอง อำเภอปากพลี


มีจัดแสดงถึง วิถีชีวิตไทยพวนดั้งเดิมทำการเกษตรกรรมไร่นาสวนผสม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และโคกระบือไว้ทำนา


ลักษณะการปลูกบ้านเรือนจะทำกันเป็นคุ้มๆในเครือญาติที่ใกล้ชิดกันทุกหมู่บ้านที่มีวัดวาอารามเป็นศูนย์กลางพบปะทำบุญตามประเพณีเป็นบ้านยกพื้นสูงส่วนประกอบทุกอย่างทำจากวัสดุธรรมชาติฝาและพื้นบ้านทำด้วยไม้ไผ่สับฟากโครงสร้างเสาไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงด้วยหญ้าคา ส่วนใหญ่ทำจากไม้และไม้ไผ่


ขาดไม่ได้ของการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์เลยคือ #ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน“พวน” ได้แก่ ลำพวน ลำตัดพวน รำโทน รำชุดสาวเชียงขวาง การฟ้อนชุดบุญข้าวจี่และการแสดงชุดไทยพวนม่วนชื่นยิ่งได้มาช่วงเทศกาลจัดงานท่องเที่ยวจะมีโอกาสได้ชมอย่างใกล้ชิด

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีได้นำนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ชั้นปีที่ 4 มาศึกษาวิถีวัฒนธรรมของชาวไทยพวนอำเภอปากพลีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2550 ทำให้คนไทยเชื้อสายพวนเริ่มสนใจและสร้างเครือข่ายสารข้อมูลกันมากขึ้น

นอกจากนี้การทำความรู้จัก #ประเพณีวัฒนธรรมที่เมื่อได้มาเที่ยวที่นี่ จะได้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่ได้สืบทอดเป็นแนวปฏิบัติในจารีตของชาติพันธุ์พวนจากดินแดนเชียงขวางในประเทศลาว นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง เช่น

#การบายศรีสู่ขวัญพวน


#ประเพณีวันสารทพวน จัดในวันแรม 14ค่ำ เดือน 9 เพื่อสั่งสอนลูกหลานด้วยความเลื่อมใสศรัทธา อาจจะเปลี่ยนแปลงบ้างตามยุคสมัย 


โดยแสดงให้เห็นถึงความพิถีพิถันในการทํางานเริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์สําหรับการทํากระยาสารทการแสดงความมีน้ำใจ ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกัน มีการช่วยเหลือกันผู้ที่ทําเสร็จแล้ว ก็ช่วยผู้ที่ยังทําไม่เสร็จ 


การแสดงความกตัญญูต่อพื้นดินทํากินโดยมีการนํา สํารับคาวหวาน และทําห่อ

ข้าว ไปใส่ในนาและทําหาบผียี่ผีเจียงไปส่งไว้นอกบ้านด้วย เพื่อส่งผลให้พืชผล

ในไร่ นาอุดมสมบูรณ์ได้ผลผลิตมีกินตลอดปี


นอกจากนี้ชาวบ้านในชุมชนที่เป็นเชื้อสายไทยพวนยังมีการจัดประเพณีสารทพวนโดยสภาวัฒนธรรมอําเภอปากพลี ศูนย์วัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน วัดฝั่งคลอง ต.เกาะหวาย อ.ปากพลีเป็นเจ้าภาพจัด และเชิญชวนชุมชนอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดมีการเชิญชวนสถานศึกษาในเขตตําบลเกาะหวาย ตําบลปากพลี ได้เข้ามา ศึกษามีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามขั้นตอนของประเพณีด้วย

#ประเพณีตักบาตรพระร้อย(ตักบาตรเทโวรหณะ) #ประเพณีบุญข้าวจี่ #ศรัทธาธรรมเทศน์มหาชาติ และ #ประเพณี 12 เดือน (ฮีต 12 คอง14)

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยพวน ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี จ.นครนายก ได้ที่ : ว่าที่ร้อยตรีชาติชาย ยอดมิ่ง โทรศัพท์ 092-757-9377




Create Date : 25 สิงหาคม 2561
Last Update : 25 สิงหาคม 2561 12:12:58 น. 0 comments
Counter : 4169 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Lovelytrip
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




จำนวนผู้ชม 5140140 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 970 ครั้ง

เที่ยวทุกที่ที่ใจอยากไป
New Comments
Friends' blogs
[Add Lovelytrip's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.