ด้วยอำนาจแห่งรัก เราจึงมาพบกัน รักกัน และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันตลอดไป
ถ้าปราศจากความรักเสียแล้ว โลกนี้ก็ไม่มีอะไรสวยงามน่าชื่นตาชื่นใจอีกต่อไป

Rational Eagle
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เกิดมาจากความรัก ได้รับการอบรมเลี้ยงดูมา
ด้วยความรัก มีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อความรัก
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีความเมตตา มีความ
ปรารถนาดีต่อกัน ครอบครัวที่มีความรัก
คือ ครอบครัวที่อบอุ่นและมีความสุข

Group Blog
 
 
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
18 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Rational Eagle's blog to your web]
Links
 

 
เกี่ยวกับการรับมรดกเมื่อสามีชาวเยอรมันเสียชีวิต

เนื่องจากมีคนมาขอข้อมูลเกี่ยวกับการรับมรดก เมื่อสามีชาวเยอรมันเสียชีวิต
ผมก็เลยรวบรวมมาเก็บไว้ในบล็อก


ความคิดเห็นที่ 1

ถ้าคุณมีลูก แล้วสามีเสียชีวิต บ้านหลังนั้นจะตกเป็นของคุณกับลูกครับ
ญาติไม่เกี่่ยวครับ

ถ้าสามีภรรยาไม่มีบุตรด้วยกัน แล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตไปก่อน
พ่อแม่ของสามี มีสิทธิ์รับมรดก 25% ภรรยารับไป 75% ครับ
ถ้าพ่อแม่ของสามีเสียชีวิตไปแล้ว มรดก 25% นั้น ตกแก่พี่น้องสามีครับ

แต่ถ้าคุณมีลูกกับสามีเมื่อไร มรดกตกแก่ภรรยาและลูกเท่านั้น

จากคุณ : Rational Eagle - [ 17 ก.ย. 50 18:36:06 ]





ความคิดเห็นที่ 2

ดิฉันมีประสบการณ์โดยตรงเลยค่ะ เพื่อนสนิทกันมากอยู่เมืองเดียวกัน แต่งงานมา 7ปี สามีเสียชีวิตด้วยหัวใจล้มเหลว อายุแค่ 42ปีเอง ทั้งสองไม่มีลูกด้วยกัน มีรถ และบ้านที่ซื้อร่วมกัน พอสามีตายปุ๊บ ทางแม่สามี น้องสาวสามี หาทนายทันที เพื่อแบ่งแยกทรัพย์สิน สายเลือดเดียวกับผู้ตาย มีสิทธิ์ได้รับมรดกค่ะ เพื่อนดิฉันร้องไห้โฮเลย ทั้งๆที่เมื่อก่อน แม่กับน้องสาวสามีไม่เคยมาใยดี เค้าอยู่กับแบบตัวใครตัวมัน ปีนึงมาเยี่ยมกันแค่ครั้งเดียวสองครั้งได้มั๊ง
สู้กันอยู่นานเพราะเพื่อนดิฉันไม่อยากขายบ้านแบ่งและขายรถ เพราะเพื่อนดิฉันก็ทำงานออกเงินกับสามีเหมือนกันทางแม่กับน้องสาวไม่เคยมาออกเงินช่วยเลยแต่จะเอา จะเอาแม้กระทั้งคอม-โน๊ตบุ๊ค เช็คธนาคารย้อนหลังว่าเพื่อนดิฉันส่งเงินออกไปเมืองไทยเท่าไหร่ มีทรัพย์สินอะไรที่ซื้อไว้ที่เมืองไทยไหมในระหว่างอยู่กินกับลูกชายเค้า แม่สามีกับน้องสาวสามีร้ายมากๆ (ก่อนสามีเพื่อนตายแม่สามีดีมากน่ะ ไม่มายุ่งไร) ทางเพื่อนดิฉันก็มีทนาย สู้กันยืดเยื้อ เงินค่าทนายเพื่อนดิฉันก็หร่อยหรอแทบหมด วิ่งเต้นงานการแทบจะต้องออกกันทีเดียว เรื่องมันยาวมาก...... ขึ้นศาลหลายรอบ
ผลสุดท้ายเพื่อนก็ต้องยอมขายบ้าน รถ เพื่อแบ่งแม่สามีกับน้องสาวสามี เพื่อนบอกว่าเรื่องมันจะได้จบๆไปซะ เค้าเหนื่อยแล้ว.....

อันนี้ก็เป็นบทเรียนจริงๆ ที่ดิฉันประสบมา จะทำอะไรก็เลย ปรึษาทนายตลอดแม้แต่บ้าน ที่ดิน ที่เมืองไทยดิฉันก็ให้สามีเซ็นค่ะว่าดิฉันมีสิทธิ์เพียงผู้เดียว ไม่เฉพาะที่เยอรมันเท่านั้น ถ้ามีลูกก็ให้ลูก
ตอนนี้สามียังมีชีวิตแข็งแรงดีอยู่ปัญหาเรื่องพวกนี้เราจะไม่ค่อยนึกถึง เพราะแม่และญาติๆเค้าก็อยู่ห่างกันตัวใครตัวมัน แต่เรื่องเงินๆทองๆมันไม่เข้าใครออกใครนิ
กันไว้ดีกว่าแก้ จะเรียกว่างก เห็นแก่ตัวก็ยอมล่ะ ในเมื่อทรัพย์สินเหล่านี้เราก็ทำงานออกเงินเหมือนกันนิ อาจจะไม่มากเท่าฝ่ายชายแต่เราก็เป็นภรรยานะ อยู่ดูแลกันมาก็หลายปี จะให้มาขายบ้าน ขายรถ แบ่งญาติๆสามี ลืมไปได้เลย

จากคุณ : Padentin (Pedantin) - [ 17 ก.ย. 50 19:15:24 ]






ความคิดเห็นที่ 3

กรณีสามีมีลูกมาก่อน หากสามีเสียชีวิต ทรัพย์สินตกไปเป็นของใครบ้าง พ่อ แม่ พี่น้อง แล้วก็ ลูก ๆ เค้า หรือว่าเฉพาะลูก ๆเค้าอย่างเดียว

กรณีเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ ใครจะรับมอบแทนเพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับแม่เด็ก สามีไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน จดกับเราเป็นคนแรก

กรณีมีทรัพย์สินที่เมืองไทย เราเป็นคนส่งเงินไปซื้อด้วยน้ำพักน้ำแรง สามีไม่เคยช่วยหรือมีชื่อในโฉนด อยากทราบว่าถ้าต้องแบ่ง ลูก ๆสามีก็มีสิทธิรับทรัพย์สินที่เมืองไทยด้วยหรือไม่

ขอบคุณค่ะ

จากคุณ : อยากรู้ (bjartewife) - [ 17 ก.ย. 50 19:41:39 ]






ความคิดเห็นที่ 4

วอนผู้มีความรู้โปรดให้ความกรุณาตอบด้วย

กรณีสามีซื้อบ้านก่อนแยกทางกับภรรยาเก่า(ปัจจุบันหย่านานแล้ว)
โดยภรรยาเก่าทำสัญญาไม่รับบ้านหลังหย่า (เพราะไม่เคยช่วยผ่อน
ผ่อนแบงค์จำนวนมาก) จึงใส่ชื่อสามีคนเดียวเป็นเจ้าของบ้าน
สามี มีบุตรที่ยังไม่รู้นิติภาวะกับภรรยาเก่า
ปัจจุบัน ดิฉันทำงานช่วยผ่อนบ้านหลังนี้ และเป็นภรรยาถูกต้อง
ตามกฎหมาย แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อในการร่วมเป็นเจ้าของบ้าน
หากสามีเสียชีวิต (ไม่อยากให้เกิด) ดิฉันจะมีสิทธิ์อยู่ในบ้านได้หรือไม่
และต้องแบ่งทรัพย์ให้บุตรกับภรรยาเดิม หรือภรรยาเดิมหรือไม่
(พ่อแม่ ของสามี เสียชีวิตไปนานแล้วค่ะ)
กรุณาด้วย หากดิฉันไม่มีสิทธิ์ใดๆ จะได้เลิกผ่อน เพื่อเก็บเงินไว้ซื้อบ้าน
ที่เมืองไทยดีกว่า (ไม่ใช่เห็นแก่ตัว แต่เป็นห่วงไม่มีที่ซุกหัวนอนค่ะ)

จากคุณ : เตมีย์ - [ 17 ก.ย. 50 20:38:30 A:62.224.83.56 X: TicketID:019050 ]





ความคิดเห็นที่ 5

สิทธิตามกฏหมาย เมื่อมีสิทธิ์ ทุกคนก็ย่อมใช้สิทธิ์
จะไปโทษพ่อแม่พี่น้องเขาไม่ได้หรอกครับ ในเมื่อมันเป็นสิทธิ์ที่เขาพึงจะได้รับตามกฏหมาย
อย่างน้อยต้องคิดว่า พ่อแม่เลี้ยงเขามาตั้งแต่เกิดจนโต ภรรยามาทีหลังนะครับ
พ่อแม่พี่น้องได้แค่ 25% ภรรยาได้ถึง 75% ไม่คิดจะแบ่งเขาเลยหรือไร
สามียังไม่ทันตายเลย คิดเรื่องสมบัติสามีกันแล้ว นี่รักตัวเขา หรือหวังสมบัติเขาครับ
ก็มีหลายคนนะ ที่ภรรยาไทยตายก่อนสามีเยอรมันน่ะ ผมไปงานศพมาหลายงานแล้ว

ถ้าสามีมีลูกติด เมื่อเสียชีวิต ภรรยาได้ 75% ลูกติดได้ 25% ใครจะเป็นผู้จัดการมรดก
ก็ต้องให้ศาลตัดสินว่า คุณจะจัดการเอาไว้ให้เด็ก หรือแม่เด็กจะดูแลส่วน 25% ของเด็กเอง

ทรัพย์สินที่เมืองไทย กฏหมายไทยคุ้มครอง ชาวต่างชาติไม่มีสิทธิ์ครอบครองที่ดิน
กฏหมายเยอรมันคงตามไปบังคับใช้ที่เมืองไทยไม่ได้หรอกครับ นอกเสียจากว่า
ทนายเขาจะสืบได้ว่า เงินที่นำไปซื้อทรัพย์สินที่เมืองไทย เป็นเงินจากเยอรมัน
ก็คงต้องเอาทรัพย์สินออกขาย แล้วเอามาแบ่งให้ลูกเขาด้วย

เรื่องเพิ่มชื่อเป็นเจ้าของบ้านที่สามีซื้อไว้ก่อนแล้ว คงทำไม่ได้หรอกครับ
เพราะเสียภาษีมรดกอีก เท่ากับว่า คุณได้รับมรดกจากสามีตอนที่ยังไม่ตาย
ไม่มีใครเขาทำกัน บ้านก็ต้องเป็นชื่อสามีอยู่อย่างนั้น หากสามีเสียชีวิต
บ้านก็ตกเป็นของภรรยาและลูก ภรรยาเก่าไม่มีส่วนแบ่งครับ
ถ้ามีลูกแล้ว พ่อแม่พี่น้องก็ไม่มีส่วนรับมรดกครับ

บ้านที่คุณอยู่ สมมุติว่ามูลค่า หนึ่งล้าน
คุณต้องให้ลูกเขา สองแสนห้า แล้วคุณก็อยู่บ้านนั้นได้ ไม่ต้องขายบ้าน
แต่ถ้าคุณไม่มีสองแสนห้า คุณต้องขายบ้าน เอาเงินสองแสนห้าให้ลูกเขาไป
แล้วคุณได้เจ็ดแสนห้า

หากท่านใดมีความรู้ที่ถูกต้อง จะมาช่วยตอบแก้ไขให้ผมก็ได้นะครับ
เพราะกฏหมายครอบครัวนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
เรื่องอัตราเปอร์เซ็นต์ แต่เท่าที่ผมทราบมา ก็เป็นอย่างที่ตอบไปนั้นแหละครับ

จากคุณ : Rational Eagle - [ 17 ก.ย. 50 21:31:37 ]







ความคิดเห็นที่ 6

คุณเตมีย์ บ้านที่สามีคุณซื้อมันไม่ใช่สินสมรสนี่ค่ะ เค้าซื้อก่อนแต่งงานกับคุณ มันเป็นสินส่วนตัวสามีคุณค่ะ
เท่าที่เรารู้ถ้าสามีคุณเป็นอะไรไป ลูกแท้ๆของเค้ารับไปเต็มๆล่ะค่ะ แม้ว่าจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ลูกก็ได้รับมรดกจากพ่ออยู่ดี แต่ภรรยาเก่ามีสิทธิ์ไหม อันนี้เราไม่ทราบ
แต่ถ้าตอนนี้คุณก็ทำงาน และเงินคุณก็ออกส่งค่าบ้านหลังนี้ ทางที่ดีเราว่าปรึษาทนายดีไหม ลงเป็นลายลักษอักษรเลยดีกว่าไหมค่ะ เรียกง่ายๆว่าให้สามีทำพินัยกรรมไว้เลย ว่าให้ลูกเท่าไหร่ แล้วคุณซึ่งเป็นภรรยามีสิทธ์อะไรแค่ไหน
เกี่ยวกับกฏหมาย ครอบครัวถ้าให้สู้กันจริงๆเกี่ยวกับมรดกมันยุ่งยากมากจริงๆน่ะค่ะ คนนั้นจะเอาอันนี้คนนี้ไม่ยอมจะเอายังงั้น มันถึงได้มีการวางแผนฆ่ากันตายเพื่อแย่งมรดกเกิดขึ้นบ่อยๆไงค่ะ
ทางที่ดีให้สามีทำพินัยกรรมเลยดีกว่า เพราะเค้ามีลูกติดแล้วบ้านที่อยู่ปัจจุบันของคุณก็เป็นสินก่อนสมรส
เราก็ไม่ทราบมากหรอกเกี่ยวกับลูกติดสามี กับทรัพย์ก่อนแต่ง เพราะสามีเราโสดสนิท แล้วซื้อบ้านทั้งในไทย-นอก หลังจดทะเบียนสมรสแล้ว
ยังไงรอแม่บ้านต่างแดนที่มีประสบการณ์ล่ะกันน่ะค่ะ

จากคุณ : อยากตอบ (Pedantin) - [ 17 ก.ย. 50 21:37:08 ]





ความคิดเห็นที่ 7

ถ้าหย่ากันสิครับ ถึงจะเอาบ้านมาคิดเป็นสินส่วนตัวที่ไม่ต้องแบ่ง แบ่งเฉพาะในส่วนมูลค่า
ที่เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่วันที่แต่งงานกัน แต่ถ้าตาย ภรรยาก็ได้ทุกอย่างจากสามีอยู่แล้ว
ในฐานะทายาทอันดับแรก กับ ลูก ก็ได้ส่วนแบ่งคนละครึ่ง

ที่เยอรมัน ผมไม่เคยได้ยินคดีฆ่ากันตายเพราะแย่งมรดกนะครับ
คนเยอรมันพึ่งกฏหมายมากกว่าพึ่งอิทธิพล ถ้าจะมีคดีแบบนั้น คงมีน้อยมาก
เพราะผมไม่เคยได้ข่าวเลย

ถ้าไปเร่งรัด บีบคั้นให้สามีทำพินัยกรรม ถ้าคุณโชคไม่ดี สามีจะมองคุณไปในทางไม่ดี
แล้วเขาอาจจะระแวงคุณ ว่าเห็นแก่ทรัพย์สมบัติของเขา มากกว่ารักตัวเขา
ลูกของเขา เขาก็รักนะครับ ไม่ควรแสดงอาการอะไร ที่เหมือนจะไปเอารัดเอาเปรียบลูกเขา

ผมไม่อยากให้คนเยอรมันมองคนไทยว่าโลภอยากได้แต่ทรัพย์สมบัติ
ยังไงๆ สิทธิตามกฏหมาย คุณได้รับอย่างชอบธรรมอยู่แล้ว

จากคุณ : Rational Eagle - [ 17 ก.ย. 50 22:01:37 ]






ความคิดเห็นที่ 8

คืออยากทราบค่ะ ว่าถ้าสามีซื้อบ้านเป็นชื่อของสามีโดยผ่อนกับธนาคารเป็นรายเดือน ก่อนที่จะมาจดทะเบียนกับเรา ถ้าสามีเสียชีวิต (ไม่อยากให้เกิด แต่ถ้าเกิด) ก่อนที่จะผ่อนบ้านหมด ภรรยาต้องรับผิดชอบหนี้สินต่อไหมคะ กลัวค่ะ ไม่มีปัญญาแน่ๆ....ก็ภาวนา..ให้สามีอายุยืน..อยู่กันจนแก่จนเฒ่า...

ขอบคุณค่ะ

จากคุณ : NM-Kort - [ 17 ก.ย. 50 22:22:53 ]







ความคิดเห็นที่ 14

อ่านลิ้งค์นี้ดูค่ะ

//www.ard.de/ratgeber/finanzen/recht-im-alltag/erben-wil-gelernt-sein/-/id=355352/nid=355352/did=100154/bc941z/index.html

ประสบการณ์ส่วนตัว ซื้อบ้านมือสอง ลูกๆจากหญิงเจ้าของบ้านที่ตาย เค้ามีลูกจากการสมรส 2 ครั้ง 3 คน ลูกทั้ง 3 ได้ครึ่งหนึ่งคือได้คนละ 1 ใน 6 ส่วนพาร์ทเนอร์(ไม่ได้แต่งงาน)ที่ร่วมซื้อบ้านได้อีกครึ่งหนึ่ง ลูกคนหนึ่งอายุ 12 ปี ให้พ่อเป็นผู้ดูแลเงินที่ได้จนอายุ 18 ถ้าไม่มีใครศาลก็จะแต่งตั้งผู้แทนทาง กม. (Vormund)

//de.wikipedia.org/wiki/Vormund

ทรัพย์สินที่เมืองไทย กฏหมายไทยคุ้มครอง ชาวต่างชาติไม่มีสิทธิ์ครอบครองที่ดิน กฏหมายเยอรมันคงตามไปบังคับใช้ที่เมืองไทยไม่ได้หรอกครับ นอกเสียจากว่า ทนายเขาจะสืบได้ว่า เงินที่นำไปซื้อทรัพย์สินที่เมืองไทย เป็นเงินจากเยอรมัน ก็คงต้องเอาทรัพย์สินออกขาย แล้วเอามาแบ่งให้ลูกเขาด้วยตามที่คุณ Rational Eagle ว่าข้อมูลเหมือนที่เราเคยได้อ่านมา แต่ก่อนที่หญิงไทยที่มีสามีต่างชาติจะซื้อทรัพย์สินได้ สามีต้องเซ็นรับรองก่อนว่าเงินนั้นไม่ใช่เงินเค้าค่ะ เป็นเงินของหญิงไทยเพียงคนเดียว ตาม กม.ใครก็น่าจะทำอะไรไม่ได้แล้วค่ะ

คุณ ich habe kein Geld คะ ส่วนใหญ่ประกันก็ทำอยู่กันที่ทำงานอยู่แล้วอย่าเพิ่งตื่นตกใจค่ะ อยู่ที่นี่ต้องทำประกันหลายอย่าง คนที่เพิ่งแต่งงานยังไม่ได้ทำงานควรซื้อประกันเกษียณด้วย เพราะผู้หญิงอายุทำงานและเงินเดือนจะน้อยกว่าผู้ชาย แก่ตัวไปไม่มีเงินจะลำบากค่ะ

ถ้าสามีตาย ลูกก็จะได้ Halbwaisenrente ส่วนภรรยาก็จะได้ Witwerente ถึงไม่ได้มากมาย แต่ก็ช่วยบรรเทาความลำบากได้ก็พออุ่นใจไปได้นิดหน่อย(ไม่ได้อยากให้ใครตาย แต่ความตายไม่มีใครรู้ รู้ กม.ไว้บ้างก็ดีค่ะ)
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 50 04:52:36

จากคุณ : แมวต่างแดน - [ 18 ก.ย. 50 04:51:09 ]







ความคิดเห็นที่ 15

คุณคห. 8 การรับมรดกในเยอรมัน ต้องรับหนี้สินด้วยค่ะ
//www.anwaltseiten24.de/erbrecht/erbschaft-schulden.html

ส่วนสิทธิของคู่สมรสในการรับมรดกนั้น จาก //www.erbrecht-ratgeber.de/erbrecht/erbschaft/index.html หากผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ กฎหมายจะพิจารณาผู้สืบทอดมรดกชั้นที่ 1 ก่อน ซึ่งได้แก่ลูก ถ้าไม่มีลูก พ่อแม่ของผู้ตายถึงจะได้ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้น 1 ใน 4 ค่ะ เช่นในขณะนั้น ถ้าผู้ตายมีภรรยา ลูก และหลาน(ลูกของลูก)อยู่ ภรรยาจะได้ส่วนแบ่ง 1 ส่วน ลูกและหลานจะได้ 3 ส่วน

หากในขณะนั้นผู้ตายไม่มีลูกและหลาน แต่มีพ่อแม่อยู่ คู่สมรสจะได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งนั้น พ่อแม่และพี่น้องของผู้ตายก็ได้ไป หากในขณะนั้น ผู้ตายไม่มีลูก หลาน พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายายแล้ว คู่สมรสถึงจะมีสิทธิเต็ม ๆ ในมรดกของผู้ตายทั้งหมด อนึ่งคู่สมรสที่หย่าขาดไปแล้ว ไม่มีสิทธิในมรดกใด ๆ ทั้งสิ้นค่ะ

เท่าที่ทราบ มีหนังสือภาษาไทยแนะนำเรื่องสิทธิต่าง ๆ ของหญิงไทยในเยอรมันเมื่อแต่งงานกับคนเยอรมัน "สิทธิของฉันในเยอรมัน" แต่แพงจัง 118 หน้า 40 ยูโร สำหรับผู้รู้ภาษาเยอรมันอยู่แล้ว แนะนำว่า ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเน็ตมีเยอะทีเดียวค่ะ เราว่า ถ้าแต่งงานกับคนเยอรมันและมาอยู่ในเยอรมันแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำคือเรียนภาษาค่ะ เพื่อหางานทำ และหาข้อมูลสิทธิที่เราพึงได้ที่นี่ และย้ำอีกทีว่า หากคุณเป็นผู้ได้รับมรดกนั้น ก็อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะที่นี่ คุณต้องรับหนี้สินของสามีด้วยค่ะ
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 50 08:02:40

จากคุณ : Sonnenschein - [ 18 ก.ย. 50 08:01:26 ]







ความคิดเห็นที่ 18

ตอบคุณเตมีย์ค่ะ

ถ้าอดีตภรรยาทำข้อตกลงไม่เอาบ้านเป็นหนังสือสัญญา ก็ถือว่าพันธะต่างๆ จบกันไป
บ้านนี้ก็กลายเป็นสินเดิมของสามีคุณ คุณช่วยผ่อนบ้าน ดังนั้นคุณก็มีสิทธิ์ส่วนหนึ่ง
คิดง่ายๆ นะคะ มูลค่าของบ้านนับถึงวันที่แต่งงานเป็นสินเดิม
ส่วนต่างนับจากวันที่แต่งงานไปจนถึงวันที่สามีเสียชีวิต เป็นสินสมรส
ถึงจะเป็นชื่อสามีคนเดียวก็ตามค่ะ

สมมติว่าตอนคุณแต่งงาน ตีราคาบ้านตอนนั้น หนึ่งล้าน ปัจจุบันราคาล้านแปด
แปดแสนนี่ถือเป็นสินสมรสค่ะ คุณควรเก็บหลักฐานการจ่ายเงินในส่วนของคุณไว้ให้ดีนะคะ
เพราะอาจต้องใช้เวลาที่ต้องพิสูจน์ว่าเงินใคร

กรณีที่สามีคุณไม่มีพ่อแม่ แต่มีลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่เกิดกับอดีตภรรยา
เด็กมีส่วนในมรดกด้วยแต่แม่เด็กไม่เกี่ยวค่ะ

คำถามอื่นตอบให้หลังไมค์แล้วนะคะ และถ้ายังข้องใจก็ถามมาใหม่ได้ค่ะ

จากคุณ : Lawanwadee - [ 18 ก.ย. 50 13:03:23 ]






ความคิดเห็นที่ 19

คุณ : Sonnenschein

คุณมีอะไรที่เข้าใจไม่ละเอียดพอหรือเปล่าครับ ผมสงสัยว่า สามีภรรยานั้น
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตลง ทรัพย์สินทั้งหมดที่มี 100% ครึ่งหนึ่งคือสินสมรส
ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ไปแล้ว 50% ส่วนที่เหลืออีก 50% คือส่วนที่จะนำไปแบ่งให้
กับทายาทนะครับ

ฉะนั้น ที่บอกว่า ภรรยาได้รับ 1 ใน 4 หรือ 25% คิดจากยอดทรัพย์สินรวมทั้งหมด
ใช่หรือไม่ เพราะยังไงๆเสีย ภรรยาต้องได้รับในส่วนที่เป็นสินสมรส 50%
อยู่แล้ว ลูกได้ ครึ่งหนึ่งของส่วนที่เหลือ คือ 25%
รวมแล้ว ภรรยาได้ทั้งหมด คือ 50+25=75%

อยากให้คุณตีความกฏหมายอีกทีนะครับ แล้วช่วยชี้แจงอีกรอบนะครับ
ถ้าผมมีอะไรที่เข้าใจผิด

จากคุณ : Rational Eagle - [ 18 ก.ย. 50 14:41:15 ]






ความคิดเห็นที่ 20

คุณ NM-Kort ไม่ต้องกังวลหรอกค่ะ ถึงแม้เราจะต้องรับหนี้ต่อจากสามี แต่เราก็ยังสามารถขายบ้านนั้น เพื่อเอาเงินมาใช้หนี้ได้ ปรกติเวลาซื้อบ้าน เราจะต้องซื้อประกันตรงนี้ด้วย เผื่อว่า ในกรณีที่เราไม่สามารถผ่อนบ้านอีกต่อไป (ทุพลภาพ หรือเสียชีวต หรือตกงาน) ทางประกันเค้าจะcover การผ่อนบ้านในระยะหนึ่ง (ระยะเวลาขึ้นกับแบบประกันที่เราเลือก) ในระยะเวลานั้น เราสามารถบอกขายบ้านได้ค่ะ อันนี้คือพูดถึงในเคสที่โชคร้ายสุดๆแล้ว แต่อย่าไปคิดมากเลยค่ะ จะลงทุนอะไร ก็เสี่ยงอยู่ดี การลงทุนซื้อบ้านเนี่ย ดิฉันว่าเสี่ยงน้อยสุดแล้ว

จากคุณ : Bing - [ 18 ก.ย. 50 14:56:27 A:87.177.215.196 X: ]







ความคิดเห็นที่ 23

คุณ Rational Eagle - เอาใหม่ละกัน ไปค้นมาแล้วตะกี๊ค่ะ กว่าจะอ่านรู้เรื่อง หัวแทบแตก เพราะไม่ได้เรียนกฎหมาย แต่คนเยอรมันบางคนยังไม่รู้ก็มีค่ะ

ข้อมูลจาก //www.buergerliches-gesetzbuch.info
//www.famerb.de/erbrecht_uebersichten/gesetzliche_erbfolge.html

ลำดับชั้นของผู้รับมรดกตามกฎหมายเยอรมัน
ผู้รับมรดกลำดับ 1 (Gesetzliche Erben erster Ordnung) คือ ลูก -->  Paragraph 1924 ตาม BGB
ผู้รับมรดกลำดับ 2 (Gesetzliche Erben zweiter Ordnung) คือ พ่อแม่และพี่น้องของผู้ตาย
--> Paragraph 1925 ตาม BGB
ผู้รับมรดกลำดับ 3 (Gesetzliche Erben drittter Ordnung) คือปู่ย่าตายายและลูกของปู่ย่าตายาย --> Paragraph1926 ตาม BGB

โดยผู้รับมรดกลำดับ 1 นั้นจะได้รับการพิจารณาก่อน หากไม่มีผู้รับมรดกลำดับ 1 ลำดับ 2 ก็ได้ไป และหากไม่มีลำดับ 2 ลำดับ 3 ก็ได้ไป

จาก Buergerliches Gesetzbuch (BGB) การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายเยอรมันในกรณีหย่าและกรณีเสียชีวิตนั้นแตกต่างกันค่ะ

BGBParagraph 1371 Zugewinnausgleich im Todesfall การแบ่งสินสมรสกรณีเสียชีวิต

(1) Wird der Gueterstand durch den Tod eines Ehegatten beendet, so wird der Ausgleich des Zugewinns dadurch verwirklicht, dass sich der gesetzliche Erbteil des ueberlebenden Ehegatten um ein Viertel der Erbschaft erhoeht; hierbei ist unerheblich, ob die Ehegatten im einzelnen Falle einen Zugewinn erzielt haben.
--> การแบ่งสินสมรสกรณีนี้ทำได้โดย เพิ่มส่วนมรดกที่คู่สมรสจะได้ตามกฎหมายอีก 1 ใน 4 ของมรดกทั้งหมด

BGB Paragraph1931 Gesetzliches Erbrecht des Ehegatten สิทธิของคู่สมรสในการรับมรดก

(1) Der ueberlebende Ehegatte des Erblassers ist neben Verwandten der ersten Ordnung zu einem Viertel, neben Verwandten der zweiten Ordnung oder neben Grosseltern zur Haelfte der Erbschaft als gesetzlicher Erbe berufen. Treffen mit Grosseltern Abkoemmlinge von Grosseltern zusammen, so erhaelt der Ehegatte auch von der anderen Haelfte den Anteil, der nach Paragraph 1926 den Abkoemmlingen zufallen wuerde.
--> กรณีที่มีผู้สิทธิในการรับมรดกลำดับ 1 อยู่ คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่จะได้ 1/4 ของมรดก (อีก3/4ให้ผู้รับมรดกลำดับ 1 ไป) กรณีมีผู้มีสิทธิรับมรดกลำดับ 2 อยู่ คู่สมรสจะได้ 1/2 ของมรดก (อีก1/2ให้ผู้มีสิทธิลำดับ 2 ) กรณีผู้รับมรดกลำดับ 3 นั้น ลูกของปู่ย่าตายายไม่มีสิทธิแบ่งมรดกกับคู่สมรส ในกรณีนี้คู่สมรสจะได้ส่วนของลูกปู่ย่าตายายผู้ตายด้วย

(2) Sind weder Verwandte der ersten oder der zweiten Ordnung noch Grosseltern vorhanden, so erhaelt der ueberlebende Ehegatte die ganze Erbschaft.
--> หากไม่มีญาติลำดับที่ 1 ลำดับที่ 2 หรือไม่มีปู่ย่าตายายแล้ว คู่สมรสได้ไปเต็ม ๆ

(3) Die Vorschrift des Paragraphs 1371 bleibt unberuehrt.
--> แสดงว่าพารากราฟ 1371 ที่เรายกมาข้างต้นยัง guetig หรือใช้ได้อยู่ เพราะฉะนั้น คู่สมรสที่ยังมีชีวิตจึงมีสิทธิได้รับ 1/4 ของมรดก (กรณีมีผู้รับมรดกลำดับ 1 ) + 1/4 ของมรดก ตามการแบ่งสินสมรสกรณีเสียชีวิค ดังนั้นผู้รับมรดกลำดับ 1 ได้ 1/2 ของมรดกที่เหลือ

คู่สมรสมีสิทธิได้รับ 1/2 ของมรดก (กรณีมีผู้รับมรดกลำดับ 2 ) + 1/4 ของมรดก ตามการแบ่งสินสมรสกรณีเสียชีวิต ดังนั้นผู้รับมรดกลำดับ 2 ได้ 1/4 ของมรดกที่เหลือ

(4) Bestand beim Erbfall Gีuetertrennung und sind als gesetzliche Erben neben dem ueberlebenden Ehegatten ein oder zwei Kinder des Erblassers berufen, so erben der ueberlebende Ehegatte und jedes Kind zu gleichen Teilen;  1924 Abs. 3 gilt auch in diesem Fall.
--> หากได้ทำการแยกทรัพย์สินของใครของมันไว้ใน Ehevertrag แล้ว และหากมีลูกของผู้ตายอีก 1 หรือ 2 คน คู่สมรสก็ได้ส่วนแบ่งเท่ากับลูกแต่ละคน เช่นถ้ามีลูก 1 คน ลูกกับคู่สมรสก็เอาไปแบ่งกันคนละครึ่ง ถ้ามีลูก 2 คน ลูกกับคู่สมรสเอาไปแบ่งกันคนละ 1/3

ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายค่ะ ผู้ที่สนใจก็หาอ่านได้ที่เว็บข้างต้นที่เรายกมา
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 50 20:44:11

แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 50 20:42:27

แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 50 20:39:38

จากคุณ : Sonnenschein - [ 18 ก.ย. 50 20:33:19 ]







ความคิดเห็นที่ 24

ประทับใจในความพยายามของคุณ Sonnenschein ที่จะช่วยให้ความกระจ่างแก่เพ่ือนๆ
ในเรื่องของ สิทธิในการรับมรดก

แต่คนที่ไม่ใช่นักกฏหมาย อ่านข้อกฏหมายของเยอรมันแล้ว บางที การตีความอาจคลาดเคลื่อน

ขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆดังนี้นะครับ และขอยืนยันว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง:

1. ภรรยามีสิทธิรับมรดกจากสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว (ในกรณีไม่มีพินัยกรรม
และไม่มีสัญญาคู่สมรส (Ehevertrag) จำนวน 1/2 ของทรัพย์สินทั้งหมด (50%)
ส่วนอีก 1/2 เป็นของลูกๆ ซึ่งต้องแบ่งให้เท่าๆกัน ถ้ามีลูกสองคน ลูกก็ได้คนละ 1/4 (25%)

2. หากผู้ตายและภรรยาไม่มีลูกด้วยกัน ภรรยาจะได้รับ 3/4 (75%) และทายาทลำดับที่ 2 คือ
พ่อแม่ของผู้ตาย (หรือถ้าพ่อแม่ตายแล้ว ก็เป็นพี่น้องของผู้ตาย) ได้รับ 1/4 ส่วน

3. หากพ่อแม่พี่น้องของผู้ตายไม่มี ปู่ย่าตายายของผู้ตาย หรือลุงป้าน้าอาที่เกิดจากปู่ย่าตายาย
ก็จะได้รับ 1/4 (25%) ภรรยาได้รับ 3/4 (75%)

4. ถ้าไม่มีลูกด้วยกัน ไม่มีพ่อแม่พี่น้อง ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา ภรรยาก็ได้รับมรดกไปคนเดียว

5. ถ้ามีการทำพินัยกรรม โดยไม่ให้อะไรภรรยาเลย ภรรยายังมีสิทธิ ได้รับ Pflichtteil จำนวน
1/8 ของทรัพย์สินทั้งหมด บวกกับ Zugewinnausgleich คือดอกผลของทรัพย์สินใน
ระหว่างจำนวนปีที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เช่น มีบ้าน ณ วันที่แต่งงาน มูลค่า 1 ล้าน
พอถึงวันตาย บ้านราคา 1.5 ล้าน ภรรยาก็มีสิทธิ์ได้ ในส่วน 1.5-1.0= 5 แสนนี้

6. หากสามีทำหนี้ไว้ นำทรัพย์สินออกขายจนหมดแล้ว ยังมีหนี้เหลืออีก ทายาททุกคนต้อง
ร่วมใช้หนี้ ตามสิทธิ์ที่รับมรดกด้วย เช่น มีหนี้ 1 ล้าน ตามสิทธิ์ข้อ 1. ภรรยาต้องร่วมใช้หนี้
5 แสน หรือตามสิทธิ์ข้อ 2. ภรรยาต้องร่วมใช้หนี้ 750,000 ทายาทคนอื่นร่วมใช้หนี้
250,000

7. ถ้าไม่ประสงค์จะใช้หนี้ ต้องสละสิทธิ์ไม่รับมรดกด้วย (Erbausschlag) โดยไปยื่นความจำนง
ไม่ขอรับมรดกทั้งหมดได้ที่ Nachlassgericht หรือ Amtsgericht ในเขตที่ผู้ตายมีถิ่นฐานอยู่
ภายใน 6 สัปดาห์นับแต่วันที่ทราบข่าวการตาย หรือขอทำการตรวจสอบทรัพย์สินก่อน
การตัดสินใจว่า มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้หรือไม่ (Nachlassinsolvenz) เพื่อขอคำแนะนำ
จากศาลว่า ควรจะรับมรดกหรือสละสิทธิ์

8. นอกเหนือจากทรัพย์สินแล้ว ภรรยามีสิทธิ์รับบำนาญของผู้ตาย เรียกว่า Witwerente
ทั้งนี้ ผู้ตายต้องเคยทำงานเสียภาษีมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี ส่วนลูกผู้ตายได้รับ Halbwaisenrente
แต่ภรรยาต้องแต่งงานกับสามีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีก่อนที่เขาจะตายไป
ถ้าภรรยาอายุ 45 ปีขึ้นไป ได้รับ grosse Witwerente จำนวน 55% ของบำนาญสามี
หรือมีบุตรด้วยกัน จะได้รับบำนาญนี้ไปตลอดชีวิตหลังจากที่สามีเสียชีวิตไปแล้ว
ถ้าภรรยาอายุน้อยกว่า 45 ปี และไม่มีบุตรด้วยกัน จะได้รับ kleine Witwerente
จำนวน 25% ของเงินบำนาญสามี เป็นเวลา 2 ปี

จากคุณ : Rational Eagle - [ 18 ก.ย. 50 22:22:40 ]



ความคิดเห็นที่ 26

ขอบคุณ จขกท.นะคะ กระทู้นี้มีประโยชน์มากๆ ขอบคุณผู้รู้หลายๆท่านที่มาช่วยตอบ และคุณ Rational Eagle ที่ไปตามมาอ่าน แต่ดิฉันไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ได้แต่ถามคุณสามีว่าเค้าคิดยังไง(สามีไม่ใช่นัก กม.นะคะ)

กรณี เพื่อนคุณ คคห. 2 เจอนั้น สามีเราบอกว่าเป็นสิทธิที่พึงได้ของแม่เขาตาม กม. แต่เค้าก็ว่ามาขนของในบ้านด้วยนี่มันเกินไปจริงๆ

ส่วนกรณี คุณเตมีย์ สามีว่าน่าจะคุยกับสามีให้ทำพินัยกรรมจะได้ไม่มีปัญหาค่ะ

ดิฉันมองว่า กม.เยอรมันคุ้มครองคู่สมรสต่างชาติดีกว่ากม.ไทยเพราะถ้าสามีไปซื้อบ้านอยู่กับเราที่เมืองไทยเค้าก็เป็นได้แค่ผู้อาศัยไม่มีสิทธิครอบครองใดๆ ขึ้นอยู่ความเชื่อใจกันเท่านั้น

ขอแจมถามนิดนึงนะคะว่ากรณีสามีมีลูก 2 คน กับภรรยาเก่า กับภรรยาเก่าเค้าทำสัญญาแต่งงานว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวสมบัติของกันและกัน หลังหย่าลูกๆก็อยู่กับภรรยา สามีส่งเงินค่าเลี้ยงดูให้รายเดือนตามกม. (จริงๆฝ่ายภรรยาเก่าและลูกๆฐานะดีกว่าสามีจากมรดกตายายเค้า) ส่วนเราสามีแต่งโดยไม่ได้ทำสัญญาใดๆเพราะเค้าบอกว่าเค้าเชื่อใจเรา แสดงว่าสินสมรสไม่ได้แยกจากสินส่วนตัวใช่ไหมคะ ถ้าสมมุติ (สมมุติเฉยๆนะคะ ไม่อยากให้เกิดเลย) สามีจากไปก่อน เราก็ต้องแบ่งสมบัติให้ลูกๆเค้าครึ่งนึงใช่ไหมคะ แต่ถ้าเรามีลูกกับเค้าก็จะเป็น สามส่วนคือ เรากับลูกสองส่วน ลูกของภรรยาเก่า หนึ่งส่วน อย่างนี้เข้าใจถูกไหมคะ

ในคคห. 24 ข้อ 1 ลูกๆหมายถึงลูกเราหรือลูกสามีคะ

อยากให้กระทู้นี้อยู่นานๆจังค่ะ จะลองโหวตดูนะคะ

จากคุณ : น้องหมาตากลม - [ 19 ก.ย. 50 17:32:36 ]




ความคิดเห็นที่ 27

ลูกนี่น่าจะหมายถึงลูกที่มีสามีคุณเป็นพ่อรึเปล่าคะ โดยไม่สำคัญว่าแม่จะเป็นใคร เพราะยังไงก็ถือว่าเป็นลูกเค้า ตามที่เราเข้าใจ คุณได้ครึ่งหนึ่ง และลูกของเค้าได้อีกครึ่งหนึ่งเอาไปแบ่งกันให้เท่า ๆ กันคือ ลูกได้คนละ1/6ของมรดกทั้งหมด ยังไงรอคุณ Rational Eagel มาตอบอีกทีละกันนะคะ เพราะเราก็อยากรู้เหมือนกันค่ะ

จากคุณ : Sonnenschein - [ 19 ก.ย. 50 18:45:12 ]





ความคิดเห็นที่ 30

กรณีสามีมีลูก 2 คน กับภรรยาเก่า
คุณแต่งงานกับสามีโดยไม่มี Ehevertrag
แล้วถ้าคุณมีลูกกับสามีอีก 1 คน จะแบ่งมรดกกันเมื่อสามีเสียชีวิตดังนี้:

1. คุณได้ส่วนแบ่งทั้งหมด 1/2 (50%) จากทรัพย์สินทั้งหมด
2. ลูกของคุณได้ 1/6 เท่าๆกับที่ลูกของภรรยาเก่าแต่ละคน

3. ส่วนเรื่องเงินบำนาญของสามี ต้องดูรายละเอียดอีกทีว่า คุณจะได้หรือไม่
ถ้าสามีประกอบอาชีพทำธุรกิจส่วนตัว ก็อาจไม่มีบำนาญจากรัฐ
ต้องดูรายละเอียดอื่นๆเช่น ทำประกันเรื่องบำนาญไว้หรือไม่
ถ้าสามีทำงานเป็นลูกจ้างบริษัท หรือเป็นข้าราชการ
คุณก็จะมีสิทธิ์รับเงินบำนาญตามส่วน

แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 01:52:35

จากคุณ : Rational Eagle - [ 20 ก.ย. 50 03:55:12 ]




ความคิดเห็นที่ 31

อย่างนี้นี่เอง ป้าคนหนึ่งที่รู้จักกันถึงบ่นว่า สามีเสียไปแล้วป้าต้องแบ่งเงินบำนาญกับภรรยาเก่าสามีด้วย กม.เยอรมันนี่คุ้มครองทั้งคนเก่าคนใหม่เลยนะคะเนี่ย

แต่ เอ ถามต่ออีกนิดค่ะ จำได้เลาๆ ป้าบอกว่าที่ต้องแบ่งเพราะสามีป้าไม่ได้ทำสัญญาสมรสกับภรรยาเก่า พอหย่ากันภรรยาเก่าเค้าไปมีสามีใหม่แต่ไม่ได้จดทะเบียนแถมมีลูกอีก ภรรยาเก่ายังใช้นามสกุลสามีป้าต่อไปเพราะนามสกุลนี้ดังในแวดวงธุรกิจเค้า ผลประโยชน์ในบำนาญของสามีป้าเลยยังมีผลใช้กับเค้าอยู่ อย่างนี้ถ้าภรรยาเก่าเค้าจดทะเบียนกับสามีใหม่ไป ภาระทุกอย่างก็หยุดโดยอัตโนมัติ อย่างนี้ถูกไหมคะ

จากคุณ : น้องหมาตากลม - [ 20 ก.ย. 50 16:52:07





ความคิดเห็นที่ 33


ภรรยาเก่าที่หย่าก่อน 01.07.1977 จะยังมีสิทธิ์ได้รับบำนาญของสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว
แต่ต้องห้ามแต่งงานใหม่ และต้องได้รับเงินค่าเลี้ยงดูในปีที่ผ่านมาด้วย
โดยที่สามีที่เสียชีวิตไปแล้วยังไม่ได้แต่งงานใหม่

โดยทั่วไป ภรรยาที่หย่าร้างจากสามีแล้ว ต่อมาสามีได้เสียชีวิตลง
ภรรยาเก่าไม่มีสิทธิจะได้เงินบำนาญสำหรับแม่หม้าย (Witwenrente)
เพราะตอนที่หย่ากันนั้นได้มีการแบ่งเบี้ยบำนาญกันไปแล้ว (Versorgungsausgleich)
เบี้ยบำนาญที่แบ่งให้ในตอนนั้นจะกลายมาเป็นบำนาญเพิ่มเติม
จ่ายให้กับอดึตภรรยาเมื่อเธอถึงเกณฑ์อายุที่จะได้รับบำนาญ

ผู้ที่มีสิทธิได้รับ Witwenrente คือภรรยาที่ถูกต้องตามกฏหมายของผู้ตายเท่านั้น
ซึ่งจะได้รับเงิน Witwenrente นี้ไปจนกว่า จะแต่งงานใหม่ หรือจนกว่าจะหมดอายุขัย
ถ้าแต่งงานใหม่ จะได้รับเงินบำนาญเพียง 24 เดือนเท่านั้น
และถ้าการแต่งงานใหม่นั้นสิ้นสุดลงแล้ว สามารถยื่นขอกลับไปรับบำนาญเดิมได้
แต่ถ้าแต่งงานใหม่อีกเป็นหนที่สอง จะไม่สามารถขอรับบำนาญนั้นได้อีก
แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 15:12:19

จากคุณ : Rational Eagle - [ 21 ก.ย. 50 02:08:45 ]



ความคิดเห็นที่ 36

ขออีกนิดหนึ่ง
ผมอ่านแล้วสงสัยคำว่า หลาน อยู่นาน จนไปเจอ ว่า หลาน คือ (ลูกของลูก) ที่คุณ : Sonnenschein บอกไว้
คุณ : Rational Eagle
บอกไว้ในข้อ 3.
หากพ่อแม่พี่น้องของผู้ตายไม่มี ปู่ย่าตายายของผู้ตาย หรือลุงป้าน้าอาที่เกิดจากปู่ย่าตายาย ก็จะได้รับ 1/4 (25%) ภรรยาได้รับ 3/4 (75%)
ถ้าเกิดลุงป้าน้าอาตายเกลี้ยงแล้ว ลูกเขามีสิทธิ ต่ออีกหรือเปล่า ครับ
ปวดหัวแทน

จากคุณ : อิสวาสุ - [ 25 ก.ย. 50 16:05:26 A:71.114.49.48 X: TicketID:146114 ]




ความคิดเห็นที่ 44

ความคิดเห็นที่ 36 คุณ : อิสวาสุ
คำถามเพิ่มเติมจากความคิดเห็นที่ 24
ขยายความเพิ่มเติมจากความคิดเห็นที่ 24 ดังนี้:

- ผู้ที่มีสิทธิรับมรดก อันดับแรก (ทายาทอันดับที่หนึ่ง) ได้แก่บุตรของผู้ตาย
(รวมทั้งบุตรบุญธรรมด้วย แต่ไม่รวมถึงลูกเลี้ยง) ถ้าบุตรนั้นได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว
แต่มีลูก (หลานของผู้ตาย) ลูกของบุตรนั้น (หลานของผู้ตาย) ก็เป็นผู้รับมรดก
และถ้าหลานได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว และหลานมีลูก (เหลนของผู้ตาย) เหลนก็จะเป็นผู้รับมรดก

- ทายาทอันดับที่สอง ได้แก่ พ่อแม่ของผู้ตาย ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีบุตร
พ่อแม่ก็จะเป็นผู้รับมรดก ถ้าพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้ว ลูกของพ่อแม่ (พี่น้องของผู้ตาย)
จะเป็นผู้รับมรดก แต่ถ้าพี่น้องของผู้ตายเสียชีวิตไปแล้ว
ลูกของพี่น้องผู้ตายไม่มีสิทธิได้รับมรดก

- ทายาทอันดับที่สาม ได้แก่ ปู่ย่าตายายของผู้ตาย ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีบุตร พ่อแม่พี่น้องตายหมด ปู่ย่าตายายมีสิทธิได้รับมรดก ถ้าปู่ย่าตายายเสียชีวิตไปแล้ว
ลูกของปู่ย่าตายาย (ลุงป้าน้าอาของผู้ตาย) มีสิทธิได้รับมรดกตามส่วนแบ่ง
ถ้าลุงป้าน้าอาเสียชีวิตไปหมดแล้ว ลูกของลุงป้าน้าอา ไม่มีสิทธิได้รับมรดก

- ทายาทอันดับที่สี่ ได้แก่ ปู่ทวดย่าทวดตาทวดยายทวดของผู้ตาย ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีบุตร
พ่อแม่พี่น้องตายหมด ปู่ย่าตายายเสียชีวิตไปหมดแล้ว ลุงป้าน้าอาเสียชีวิตไปหมดแล้ว
ทวดก็มีสิทธิรับมรดกตามส่วน ถ้าทวดเสียชีวิตไปหมดแล้ว ลูกของทวด คือ
พี่น้องของปู่ย่าตายายของผู้ตาย (หรือลุงป้าน้าอาของพ่อแม่ผู้ตาย) เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกตามส่วน
ถ้าลุงป้าน้าอาของพ่อแม่ผู้ตายเสียชีวิตไปหมดแล้ว ลูกหลานของพวกเขาไม่มีสิทธิรับมรดก
ของผู้ตาย

ภรรยาก็ได้รับมรดกไปคนเดียวเต็มๆ (ถ้ามีลูก ลูกๆได้ครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีลูก ญาติอื่นๆได้ 25%
แบ่งกันตามส่วนใน 25% นั้น ภรรยาได้ 75%)

จากคุณ : Rational Eagle - [ 26 ก.ย. 50 03:03:07 ]




ความคิดเห็นที่ 38

ถามมั่งค่ะ
กรณีของเราอยู่เดนมาร์ก
ซื้อบ้านหลังจากแต่งงานได้หนึ่งอาทิตย์ (พึ่งแต่งเมื่อ 07-07-07)
สามีตั้งใจว่าจะใส่ชื่อเป็นของเค้าคนเดียว ซึ่งเราก็ไม่ขัดข้อง เพราะไม่ได้มีส่วนร่วมในการจ่ายดาวน์ และคงยังต้องเกาะเค้ากินไปอีกซักพัก

แต่ทนายบอกว่าไม่ได้ เพราะแต่งงานแล้ว จะต้องมีชื่อเราร่วมด้วย

สามีจึงจะให้มีสัญญาว่า ถ้าเราหย่ากัน (ซึ่งหวังว่าคงไม่เกิดขึ้น) เราจะไม่มีสิทธิ์ในบ้านนี้ แต่ถ้าเค้าเป็นอะไรไป เราก็จะได้ ตามปรกติ

ถามว่า ถ้าเราเซ็นต์สัญญานี้ไป จะส่งผลอะไรมั๊ย แล้วต่อไป ถึงเราทำงานมีรายได้แล้ว เราก็ไม่ควรช่วยเค้าในการผ่อนส่งอะไรเลยหรอคะ

จากคุณ : Oh!_Bo_BaBy - [ 25 ก.ย. 50 16:51:50 ]




ความคิดเห็นที่ 42

ความคิดเห็นที่ 38 คุณ : Oh!_Bo_BaBy

เท่าที่ผมรู้นะ สินสมรส ยังไงก็เป็นสินสมรส ถ้าหย่ากัน คุณก็มีสิทธิ์ครึ่งหนึ่งในบ้านหลังนั้น
ไม่ควรจะเซ็นต์สัญญานั้น เพราะไม่ยุติธรรม แต่ถึงแม้คุณจะเซ็นต์ไป
ถ้าหย่ากันจริงๆขึ้นมา กฏหมายอาจให้สัญญานี้เป็นโมฆะก็ได้
เพราะกฏหมายเรื่องสินสมรสอาจถูกนำมาใช้ลบล้างสัญญา

ถ้าคุณมีรายได้ ก็ควรช่วยเขาบ้าง เท่าที่คุณพอจะช่วยไหว ควรแสดงน้ำใจบ้าง
สามีภรรยากัน น่าจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันนะ อย่าไปคิดเรื่องได้เปรียบเสียเปรียบกันเลย
รักกันไว้ดีกว่า ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน แต่งงานกันน่าจะไว้ใจกันนะ
สามีภรรยาก็เหมือนบุคคลคนเดียวกัน สามัคคีกลมเกลียวกันไว้ดีกว่า
แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 50 02:25:49

จากคุณ : Rational Eagle - [ 26 ก.ย. 50 02:14:42 ]



ความคิดเห็นที่ 40

เข้ามาอีกทีเป็นกระทู้แนะนำไปแล้ว โหวดให้อีกคนนึงละกันค่ะ และก็มีข่าวมาบอกสำหรับผู้ที่แต่งงานกับคนเยอรมันในประเทศไทย แล้วต้องการขอวีซ่าเพื่อไปใช้ชีวิตอยู่กับสามีที่โน่น กฎใหม่ของทางการเยอรมันนั้น ผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ได้ ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 50 ต้องมีใบแสดงว่าสอบผ่านภาษาเยอรมัน Start Deutsch 1 ด้วย //www.bangkok.diplo.de/Vertretung/bangkok/de/04/Merkblatt/visabestimmungen__Ehegattennachzug__downloaddatei,property=Daten.pdf

จากคุณ : Sonnenschein - [ 25 ก.ย. 50 19:59:46 ]









Create Date : 18 กันยายน 2550
Last Update : 26 กันยายน 2550 3:09:48 น. 32 comments
Counter : 18734 Pageviews.

 
อ่านแล้วได้ความรู้เยอะเลยค่ะ แล้วจะตามมาอ่านบ่อยๆ นะคะ...เอ้อ อยากทราบว่าอยู่เมืองอะไรคะ...


โดย: Suessapple วันที่: 19 กันยายน 2550 เวลา:5:12:07 น.  

 
มือโปรจริงๆ


โดย: หลั่มหมั่นเหม่ง วันที่: 19 กันยายน 2550 เวลา:9:43:17 น.  

 
กว่าจะอ่านเกือบหมด ปรากฎว่ามึนสะก่อน

แล้วจะกลับมาอ่านให้จบนะครับ ฮี่ๆๆๆ


โดย: Grasik IP: 124.121.178.103 วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:5:42:02 น.  

 
สวัสดีค่ะ ดิฉันแต่งงานกับคนเยอรมันคะ แต่ไม่ได้จดทะเบียนที่เยอรมัน จด
แต่ที่เมืองไทย มีลูกสองคนค่ะ อายุ 4 กับ 3 ขวบ ตอนนี้ลูกยังไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับใบสูจิบัตร จากทางเยอรมันเลยค่ะ เด็กเกิดที่เมืองไทยค่ะ ทำเรืองขอไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับเลยค่ะ นี่ก็ปาไปปีกว่าแล้ว ตอนนี้สามีก็อายุ 60 ปีแล้วค่ะ สุขภาพก็ไม่ค่อยดี ถ้าเกิดสามีเป็นอะไรไปตอนนี้ ดิฉันจะมีสิทธ์ ได้รับบำนาญจากสามีหรือเปล่าค่ะ
ส่วนเรื่องทรัพสมบัติทางโน้น ดิฉันไม่หวังค่ะ เพราะ ควรเป็นสิทธิของลูกและภรรยาทางโน้น หวังเพียงอย่างเดียวคือ เรืองบำนาญนี่แหละค่ะ ไม่กล้าถามสามีกลัวแกคิดมาก แต่ยอมรับค่ะว่าปวดหัวมาก ตอนนี้ดิฉันไม่ได้ทำงานค่ะ และส่วนตัวก็ไม่มีเงินเก็บเลย สามีให้ใช้ไปแต่ละวันค่ะ ทุกอย่างแกจัดการหมด อยากทราบว่าถ้าสมมุติแกเป็นอะไรไป เรื่องบำนาญลูกจะมีสิทธ์ไหมค่ะ ถ้ากรณีที่เราอยู่เมืองไทย และ กรณีจดทะเบียนแค่ที่เมืองไทย ดิฉันมีสิทธ์ไหม ลูกสองคนมีแต่พาสพอร์ตเยอรมันค่ะ หลักฐานอื่นไม่มีคะ ส่วนใบทะเบียนสมรสของไทยสถานฑูตเยอรมันประทับตรารับรองด้านหลังค่ะ ว่าเอกสารไม่ปลอมแปลง ช่วยแนะนำเรื่องนี้ด้วยค่ะ


โดย: wenst IP: 219.93.152.11 วันที่: 22 มีนาคม 2551 เวลา:1:09:53 น.  

 
ลืมบอกไปค่ะ ว่าแกหย่ากับภรรยาเก่าไปเมื่อ2002 ค่ะ แล้วมายื่นเรื่องขอจดทะเบียนใหม่กับดิฉันปี 2003 ค่ะ ตอนแรกแกบอกมีผลทางเยอรมันแล้วแต่ดิฉันมาทราบตอนหลังที่ไปขอพาสพอตลูกค่ะว่าแกยังไม่
ได้ยื่นเรืองไปทางเยอรมัน อย่างนี้ถือว่าทะเบียนที่จดที่นี่มีผลหรือเปล่าค่ะ ดิฉันโดนสามีหลอกหรือเปล่าค่ะ แกบอกว่าจดที่ไหนก็เหมือนกัน มีสิทธ์เหมือนกัน ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ


โดย: west IP: 219.93.152.11 วันที่: 22 มีนาคม 2551 เวลา:1:18:40 น.  

 
ลืมบอกไปค่ะ ว่าแกหย่ากับภรรยาเก่าไปเมื่อ2002 ค่ะ แล้วมายื่นเรื่องขอจดทะเบียนใหม่กับดิฉันปี 2003 ค่ะ ตอนแรกแกบอกมีผลทางเยอรมันแล้วแต่ดิฉันมาทราบตอนหลังที่ไปขอพาสพอตลูกค่ะว่าแกยังไม่
ได้ยื่นเรืองไปทางเยอรมัน อย่างนี้ถือว่าทะเบียนที่จดที่นี่มีผลหรือเปล่าค่ะ ดิฉันโดนสามีหลอกหรือเปล่าค่ะ แกบอกว่าจดที่ไหนก็เหมือนกัน มีสิทธ์เหมือนกัน ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ จาก beonanne@hotmail.com


โดย: west IP: 219.93.152.11 วันที่: 22 มีนาคม 2551 เวลา:1:24:26 น.  

 
อยากทราบคำตอบของคุณbeonanne@hotmail.com


โดย: paksuda IP: 125.26.174.74 วันที่: 13 กันยายน 2551 เวลา:20:28:55 น.  

 
ดิฉันก็ มีคำถามที่ จะถามเหมือนกับพี่เหมือนกันค๊ะ รบกวนพี่ช่วยบอกกด้วยนะค๊ะ แฟนดิฉันแยกกัน อยู่กับ ภรรยา 1 ปี จะฟ้องอย่าเร็วๆนี้ แต่แฟนและภรรยเก่าซื้อบ้านร่วมกัน แต่ภรรยาของเขาไม่เคยออกเงินเลย ลักษณะนี้จะอย่ากันจะยากหรืองายค๊ะ และแฟนจะต้องแบ่งทรัพย์สินส่วนนั้นให้ภรรยาเก่าหรือป่าวค๊ะ อย่ากันแล้วปัญหาจะตามมาเยอะหรือป่าวค๊ะ พี่ท่านไหนพอทราบมั๊ยค๊ะ ช่วยบอกหน่อยค่ะ


โดย: เต่าทอง IP: 125.24.35.185 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:5:09:36 น.  

 
สวัสดีคะ ดิฉันมีคำถามที่จขะถาม รบกวนตอบด้วยนะคะ คือดิฉันแต่งงานจดทะเบียนสมรสกับสามีมา 6 ปีแล้ว ดิฉันก็อเอาลูกมาอยู่ด้วยที่เยอรมัน เราอยู่กันแบบระหองระแหงกันมาตลอด แล้วดิฉันก็อยากจะแยกกันอยู่กับเขาอยากจะทราบว่าถ้าดิฉันกับลูกแยกกันอยู่กับเขา เขาจะต้องรับผิดชอบค่าเลี้ยงดูหรือค่าใช้จ่ายให้กับดิฉันกับลูกไหม ลูกเป็นลูกของดิฉัน ไม่ใช้ลูกของเขา ช่วยตอบคำถามด้วยนะค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูง


โดย: ฟฟฟ IP: 217.225.238.154 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:15:45:55 น.  

 
สวัสดีค่ะ ดิฉันแต่งงานกับชาวเยอรมันและจดทะเบียนสมรสในเยอรมันและอาศัยอยู่ในเยอรมัน
อยากทราบว่าดิฉันจะได้สิทธิทุกอย่างเช่นเดียวกับภรรยาที่เป็นชาวเยอรมันรึเปล่าคะ
กฎหมายที่นี่จะให้ความคุ้มครองและสิทธิในการรับมรดกเหมือนกับชาวเยอรมันรึเปล่าคะหากว่าดิฉันยังคงใช้พาสปอร์ตไทย
ปล.ในกรณีนี้ สามีไม่เคยสมรสหรือมีบุตรมาก่อน
ช่วยตอบคำถามด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ


โดย: sukwan IP: 80.128.232.62 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:18:39:02 น.  

 
กฎหมายมรดกตอนนี้เป็นยังไง บ้างค่ะ มีเรื่องอยู่ว่าสามีเสียชีวิต แต่งงาน แต่ไม่มีลูก พ่อแม่เสียไปนานแล้ว มีพีน้องต่างมารดา 2 คน เสียชีวิตแล้ว ทรัพย์มรดก จะตกเป็น ของภรรยา 75เปอร์เซ็นต์ แล้ว 25เปอร์เซ็นต์ จะตกเป็น ของลูกๆ ของพี่สาวที่ตายหรือเปล่าค่ะ

ช่วยตอบคำถามด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ


โดย: เอ๋ IP: 94.23.252.21 วันที่: 26 มีนาคม 2558 เวลา:21:39:08 น.  

 
สวัสดีค่ะ ดิฉันจะขอรบกวนถามคุณพี่ค่ะ เกี่ยวกับคู่สมรสแล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนี้สินสร้างไว้แล้วคู่สมรสจะต้องจ่ายหรือชดใช้ด้วยหรือเปล่าค่ะและถ้าเสียชีวิตจะเป็นหนี้ตามมาถึงคู่สมรสไหมค่ะ...และถ้าหย่าร้างกันแล้วคู่สมรสจะต้องชดใช้หนี้สินนั้นด้วยไหมค่ะ...
ขอบคุณมากค่ะ...ที่กรุณณาตอบคำถาม


โดย: สาย IP: 94.23.252.21 วันที่: 30 เมษายน 2558 เวลา:20:00:10 น.  

 
หลังจากที่ภรรยาได้รับไปแล้ว75%. ค่าใช้จ่ายสำหรับทนายก็มาก ไหนจะต้องจ่ายค่าศาล. ค่าภาษีมรดก และอื่นๆอีกมากมายตามมา และเมื่อได้มาก็ต้องมีบางส่วนที่ต้องเสียไป


โดย: แมวน้อย IP: 94.23.252.21 วันที่: 10 ตุลาคม 2558 เวลา:13:42:16 น.  

 
อ่านแล้วได้ความรู้ดีจัง
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: คนอยากรู้ IP: 182.232.68.65 วันที่: 3 พฤษภาคม 2559 เวลา:18:32:00 น.  

 
ขอรบกวนถามหน่อยนะคะ ถ้าเกิดว่าเราจดทะเบียนสมรสกับแฟนชาวเยอรมันแต่ไม่ได้ใช่ชีวิตอยู่เยอรมันเราจะได้มรดกของเขาไหมคะแต่เขามีลูกชายคนหนึ่งกับภรรยาเก่าแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาเก่าคะพึ่งจดกับเราเป็นคนแรกคะ


โดย: Nisachon IP: 182.232.50.181 วันที่: 1 มิถุนายน 2559 เวลา:23:34:31 น.  

 
ขอรบกวนถามหน่อยนะคะ ถ้าเกิดว่าเราจดทะเบียนสมรสกับแฟนชาวเยอรมันแต่ไม่ได้ใช่ชีวิตอยู่เยอรมันเราจะได้มรดกของเขาไหมคะแต่เขามีลูกชายคนหนึ่งกับภรรยาเก่าแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาเก่าคะพึ่งจดกับเราเป็นคนแรกคะ


โดย: Nisachon IP: 182.232.50.181 วันที่: 1 มิถุนายน 2559 เวลา:23:36:27 น.  

 
ขอทราบข้อมูลและขอแบ่งปันความรู้กันนะคะ....
แต่งงานมา 16 ปีคะ และมี ehevertrag คะ อายุ 48 คะ แต่งที่ประเทศเยอรมันคะ ไม่มีบุตรด้วยกัน สามีมีบุตรจากภรรยาเก่า (หย่าจากภรรยาเก่านานแล้ว) 1 คน อายุ 50 ปีคะ พี่ชาย พี่สาว ของสามี ยังแข็งแรงสุขภาพดีคะ ปู่ ย่า ตา ยาย เสียหมดแล้วคะ..... ปัจจุบันเราย้ายมาอยู่เมืองไทยได้ 7 ปีแล้วคะ....... ทรัพย์สินที่เป็นชื่อของธรรณ์ มีเพียงที่ดินคะ ส่วนบ้าน รถ และบัญชีเงินในธนาคารเป็นชื่อสามีทั้งหมดคะ...... สามีได้ทำพินัยกรรมด้วยลายมือของเขาเอง และเก็บอยู่ที่บ้านคะ ไม่ได้ผ่านกระบวนการทางศาล ทนาย อำเภอ หรือสถานทูตคะ...... ในพินัยกรรมระบุว่า บ้านให้ขายให้เร็วที่สุด และนำเงินมาแบ่งคนละครึ่งกับลูกชายของสามี แต่หากยังขายไม่ได้ ธรรณ์มีสิทธิ์ได้อยู่อาศัยแต่งเพียงผู้เดียว จนกว่าบ้านจะขายได้ รถยนต์ เงินในบัญชี ข้าวของเครื่องใช้ ที่ประเทศไทย และในบ้านเป็นของธรรณ์ ส่วนข้าว ทีเยอรมันเป็นของลูกชายทั้งหมด...... ข้อความใน ehevertrag ประมาณว่า "ถ้าเราไม่หย่าร้างแบบรุนแรง สัญญานี้จะไม่มีความหมายกับเราเลย" เชื่อใจคะ.... ถ้าหากสามีเสียชีวิต ธรรณ์จะได้มรดก อย่างที่สามีเขียนไว้ใพินัยกรรมไหมคะ ธรรณ์จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสที่เมืองไทยอีกไหมคะ แต่ว่าธรรณ์ได้จดทะเบียนแห่งครอบครัวไว้ที่อำเภอที่กรุงเทพคะ รบกวนทุก ๆ ท่านแสดงความคิดเห็นได้เลยนะคะ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง ..... ขอบคุณมากคะ ..... ธรรณ์


โดย: ธรรณ์ IP: 183.89.198.128 วันที่: 14 มิถุนายน 2559 เวลา:22:19:54 น.  

 
สอบถามคะ สามีถูกรถชนเสียชีวิตได้เงินมา 1,000,000 บาท ดิฉันจดทะเบียนสมรสกับสามีถูกต้อง มีลูกด้วยกัน1คน มีแม่สามี เงินจำนวนนี้จะต้องแบ่งอย่างไรคะ


โดย: ทับทิม IP: 110.170.204.18 วันที่: 9 กรกฎาคม 2559 เวลา:12:01:38 น.  

 
ไปรัับเงินมรดกได้อย่างไรครับบอกผมที


โดย: ทัสกร มั่นชัย IP: 171.100.56.14 วันที่: 13 กันยายน 2559 เวลา:17:31:57 น.  

 
ปรณาน 200ล้านตวัจริง


โดย: ทัสกร มั่นชัย IP: 171.100.56.14 วันที่: 13 กันยายน 2559 เวลา:17:35:41 น.  

 
ปรณาน 200ล้านตวัจริง


โดย: ทัสกร มั่นชัย IP: 171.100.56.14 วันที่: 13 กันยายน 2559 เวลา:17:36:06 น.  

 
สอบถามเรื่องกรณีฝ่ายชายไม่มีพ่อ-แม่ พี่น้อง มีแต่ป้ากับน้าและได้เซ็นต์มอบพินัยกรรมให้กับภรรยา ไม่ทราบว่าแต่งงานต้องมีระยะเวลานานเท่าไหร่ภรรยาถึงจะได้สมบัติจากสามี และป้ากับน้ามีส่วนได้สมบัตินั้นหรือไม่


โดย: Müller IP: 188.165.201.164 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:15:49:01 น.  

 
ถ้าสามีเสียชีวิต และเขามีภรรยาที่จดทะเบียนกับผู้หญฺิงไทยและเขามีลูกด้วยกันกับผู้หญิงไทย ผู้หญิงไทยคนไหม่ที่ดูแลจะได้อะไรคะ


โดย: พรรษา IP: 223.205.4.143 วันที่: 28 พฤษภาคม 2560 เวลา:18:45:00 น.  

 
สามีออสเตรเลียเสียชีวิตที่ประเทศออสเตรเลียเราจดทะเบียนสมรสกันที่ไทยประเด็นคือดิฉันต้องการคืนสถานภาพเป็นหม้ายหรือโสดค่ะปัญหาคือลูกของสามีทางออสเตรเลียไม่ส่งหลักฐานการตายของสามีมาหั้ยดิฉันต้องทำอย่างไรค่ะ


โดย: ทยิดา ชูเชิด IP: 171.7.238.216 วันที่: 22 มิถุนายน 2560 เวลา:3:04:09 น.  

 
พอดีคุณแม่แต่งงานกับคนอเมริกันที่อยู่เยอรมันสี่สิบกว่าปีค่ะแต่เขามาแต่งจดทะเบียนกับแม่ที่ไทยแล้วเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเขามีเงินชดเชยจากบริษัทเรมอลบราเธอร์ที่เขาทำเรื่องให้คืนเงินเพื่อมารักษามะเร็งและใช้จ่ายระหว่างรักษาตัวเพราะเขายกเลิกประกันที่เยอรมันทั้งหมดกะมาตายที่ไทยแต่เรมอลส่งมาแต่ล่าช้าเขาตายก่อนแล้วบริษัทเรมอลก็ไม่ส่งมาอีกเพราะเจ้าทรัพย์ตายแล้วต้องฟ้องศาลเอาแม่ดิฉันจบป.4ภาษาอังกฤษยังไม่ได้เลยจะไปฟ้องถึงเยอรมันก็กลัวค่าใช้จ่ายทั้งทนายและการเดินทางไม่คุ้มเพราะเงินเหลือแค่700,000บาทที่ยังไม่ส่งมาดิฉันจึงขอความช่วยเหลือว่าใครพอจะให้คำแนะนำได้บ้างว่าทำยังไงจะได้เงินคืนก้อนนี้และค่าใช้จ่ายทนายเท่าไหร่ฟ้องเเล้วคุ้มมั้ยกับค่าทนายหรือเราจะได้เงินคืนพร้อมค่าเสียเวลาเสียเงินทนายทางเรมอลต้องจ่ายให้เราหรือเราต้องออกเอง
เสียดายเงินมากค่ะเพราะค่าใช้จ่ายรักษามะเร็งในไทยออกเองหมดค่ะแพงมากทั้งค่าหมอค่ายาแต่สึดท้ายเงินที่คาอยู่ก็ไม่ได้คืนจนตายทำไงดีวอนผู้รู้ช่วยแนะแนวทางด้วยค่ะ


โดย: ประณีต IP: 223.24.117.219 วันที่: 22 กันยายน 2560 เวลา:9:26:27 น.  

 
พอดีคุณแม่แต่งงานกับคนอเมริกันที่อยู่เยอรมันสี่สิบกว่าปีค่ะแต่เขามาแต่งจดทะเบียนกับแม่ที่ไทยแล้วเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเขามีเงินชดเชยจากบริษัทเรมอลบราเธอร์ที่เขาทำเรื่องให้คืนเงินเพื่อมารักษามะเร็งและใช้จ่ายระหว่างรักษาตัวเพราะเขายกเลิกประกันที่เยอรมันทั้งหมดกะมาตายที่ไทยแต่เรมอลส่งมาแต่ล่าช้าเขาตายก่อนแล้วบริษัทเรมอลก็ไม่ส่งมาอีกเพราะเจ้าทรัพย์ตายแล้วต้องฟ้องศาลเอาแม่ดิฉันจบป.4ภาษาอังกฤษยังไม่ได้เลยจะไปฟ้องถึงเยอรมันก็กลัวค่าใช้จ่ายทั้งทนายและการเดินทางไม่คุ้มเพราะเงินเหลือแค่700,000บาทที่ยังไม่ส่งมาดิฉันจึงขอความช่วยเหลือว่าใครพอจะให้คำแนะนำได้บ้างว่าทำยังไงจะได้เงินคืนก้อนนี้และค่าใช้จ่ายทนายเท่าไหร่ฟ้องเเล้วคุ้มมั้ยกับค่าทนายหรือเราจะได้เงินคืนพร้อมค่าเสียเวลาเสียเงินทนายทางเรมอลต้องจ่ายให้เราหรือเราต้องออกเอง
เสียดายเงินมากค่ะเพราะค่าใช้จ่ายรักษามะเร็งในไทยออกเองหมดค่ะแพงมากทั้งค่าหมอค่ายาแต่สึดท้ายเงินที่คาอยู่ก็ไม่ได้คืนจนตายทำไงดีวอนผู้รู้ช่วยแนะแนวทางด้วยค่ะ


โดย: ประณีต IP: 223.24.117.219 วันที่: 22 กันยายน 2560 เวลา:9:40:20 น.  

 
ขอบคุณความรู้เรื่องกฏหมายมากๆคะ.อ่านแล้วทั้งตลก.ทั้งรู้อะไรใหม่ๆ.แต่สิ่งสสำคัญที่สุดคือการอยากมีความมั่นคงว่าถ้าเราต้องอยู่โดยที่ไม่มีสามีเราก็ต้องเผื่อความกลัว,ความล้มเหลว,การมีที่ืี่ปลอดภัยคือสิ่งที่คนทุกคนอยากได้..


โดย: ยิ้มๆ IP: 163.172.136.205 วันที่: 16 เมษายน 2561 เวลา:15:24:08 น.  

 
ขอบคุณความรู้เรื่องกฏหมายมากๆคะ.อ่านแล้วทั้งตลก.ทั้งรู้อะไรใหม่ๆ.แต่สิ่งสสำคัญที่สุดคือการอยากมีความมั่นคงว่าถ้าเราต้องอยู่โดยที่ไม่มีสามีเราก็ต้องเผื่อความกลัว,ความล้มเหลว,การมีที่ืี่ปลอดภัยคือสิ่งที่คนทุกคนอยากได้..


โดย: ยิ้มๆ IP: 163.172.136.205 วันที่: 16 เมษายน 2561 เวลา:15:24:46 น.  

 
ถามหน่อยค่ะ...คือมีสามีเป็นชาวต่างชาติ เค้าเคยมีภรรยาเป็นคนไทยและมีลูกด้วยดัน 1 คน..เค้าได้ทำประกันชีวิตให้ลูกเค้า..แต่ตอนนี้เค้าหย่ากันแล้ว..เค้าเลยไปเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์เป็นดิฉัน แต่ดิฉันกับเค้ายังไม่ได้จดทะเบียนกัน มีแพลนว่าจะจดค่ะ....
"ผู้รับผลประโยชน์สามารถเปลี่ยนกันได้มั๊ยค่ะ" แกบอกเปลี่ยนชื่อให้เรารับผลประโยชน์ 100%


โดย: เกศณภัทร IP: 184.22.38.50 วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:21:20:26 น.  

 
กรณีภรรยาไทยสมรสกันแต่ไม่มีลูกด้วยกัน สามีเคยหย่ามีบุตรกับภรรยาคนเก่า พ่อแม่สามีตายหมด ภรรยาคนเก่ามีลูกด้วยกันและมีหลาน ญาติของสามียังมี พี่น้องยังอยู่ สามีมีอายุ 65ปี สามีทำพินัยกดรมยกมรดกให้ภรรยาคู่สมรสปัจจุบันทั้งหมด ภรรยาจะได้รับคนเดียวไหมคะหรือยังไงก็ต้อง แบ่งให้ลูกสามี หลานสามี ญาติพี่น้องสามีอยู่ดี คะ ขอบคุณคะ


โดย: ปณิดา IP: 157.7.52.183 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:4:54:04 น.  

 
กรณีภรรยาไทยสมรสกันแต่ไม่มีลูกด้วยกัน สามีเคยหย่ามีบุตรกับภรรยาคนเก่า พ่อแม่สามีตายหมด ภรรยาคนเก่ามีลูกด้วยกันและมีหลาน ญาติของสามียังมี พี่น้องยังอยู่ สามีมีอายุ 65ปี สามีทำพินัยกดรมยกมรดกให้ภรรยาคู่สมรสปัจจุบันทั้งหมด ภรรยาจะได้รับคนเดียวไหมคะหรือยังไงก็ต้อง แบ่งให้ลูกสามี หลานสามี ญาติพี่น้องสามีอยู่ดี คะ ขอบคุณคะ


โดย: ปณิดา IP: 157.7.52.183 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:4:54:10 น.  

 
กรณีภรรยาไทยสมรสกันแต่ไม่มีลูกด้วยกัน สามีเคยหย่ามีบุตรกับภรรยาคนเก่า พ่อแม่สามีตายหมด ภรรยาคนเก่ามีลูกด้วยกันและมีหลาน ญาติของสามียังมี พี่น้องยังอยู่ สามีมีอายุ 65ปี สามีทำพินัยกดรมยกมรดกให้ภรรยาคู่สมรสปัจจุบันทั้งหมด ภรรยาจะได้รับคนเดียวไหมคะหรือยังไงก็ต้อง แบ่งให้ลูกสามี หลานสามี ญาติพี่น้องสามีอยู่ดี คะ ขอบคุณคะ


โดย: ปณิดา IP: 157.7.52.183 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:4:54:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.