Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
3 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
ตรวจแถว “FIF” 2554 ทองคำนำลิ่ว

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ภาพรวมของการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ หรือเอฟไฟเอฟในรอบปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร กองชนิดไหนรุ่งหรือร่วง

ปี 2554 ที่ผ่านมานั้น ถือเป็นปีที่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นมาพอสมควร ทั้งการปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐ สึนามิในญี่ปุ่น ปัญหาการเมืองในตะวันออกกลาง ตลอดจนปัญหาหนี้ยุโรป เป็นต้น
เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่เข้ามากระทบบรรยากาศการลงทุนของโลกให้ผันผวนตามไปด้วย และถือเป็นปีที่อาจจะดูไม่สู้ดีนักสำหรับกลุ่ม “กองทุนที่ไปลงทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF)”
อย่างไรก็ตาม กองทุนที่มีผลงานดีสุดในปี 2554 ที่ผ่านมา ยังคงเป็น “กองทุนทองคำ” ที่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 24.38% เลยทีเดียว
โดยภาพรวมของกองทุน FIF ในไทยเองมีสินทรัพย์สุทธิลดลงเหลือ 329,834.82 ล้านบาท จากสิ้นปี 53 ที่ 429,117.48 ล้านบาท ลดลง 99,282.66 ล้านบาท หรือลดลง 23.14%
Fundamentals สัปดาห์นี้ จะสรุปภาพรวมของกองทุน FIF ตลอดจนผลงานของกองทุน FIF แต่ละประเภทในรอบปี 2554 มาฝากกัน
..........................................
@ FIF โตลดลง 23.14%
จากการสำรวจข้อมูลการเติบโตของกองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ในปี 2554 ที่ผ่านมา พบว่า กองทุน FIF มีสินทรัพย์สุทธิลดลงเหลือ 329,834.82 ล้านบาท จากสิ้นปี 2553 ที่ 429,117.48 ล้านบาท ลดลง 99,282.66 ล้านบาท หรือลดลง 23.14%
“ทั้งนี้ มีบลจ.อยู่ 9 แห่ง หรือคิดเป็นสัดส่วน 45% ที่มีการเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมโดยรวม ในขณะที่บลจ.อีก 11 แห่งที่เหลือ หรือคิดเป็น 55% มีการเติบโตน้อยกว่าอุตสาหกรรม ในจำนวนนี้มีเพียง 3 บลจ.เท่านั้น ที่ยังมีการเติบโตเป็นบวก”
โดยบลจ.ที่มีการเติบโตในส่วนของกองทุน FIF สูงที่สุด 5 อันดับแรก นำมาโดยอันดับ 1 “บลจ.ซีมิโก้” มีสินทรัพย์สุทธิ 8.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.29% 2) “บลจ.อเบอร์ดีน” มีสินทรัพย์สุทธิ 5,973.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.38%
3) “บลจ.ฟิลลิป” มีสินทรัพย์สุทธิ 198.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.28% 4) “บลจ.กสิกรไทย” มีสินทรัพย์สุทธิ 125,216.63 ล้านบาท ลดลง 1.30% และ 5) “บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)” มีสินทรัพย์สุทธิ 5,187.81 ล้านบาท ลดลง 10.41%
“อย่างไรก็ตาม ในแง่ของส่วนแบ่งการตลาดกองทุน FIF พบว่า 80.94% ยังคงอยู่กับ 5 บลจ.ที่มีแบงก์เป็นแม่ นำมาโดยอันดับ 1 บลจ.กสิกรไทย มีสินทรัพย์สุทธิ 125,216.63 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 37.96% อันดับ 2 บลจ.ไทยพาณิชย์ มีสินทรัพย์สุทธิ 59,554.11 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาด 18.06% อันดับ 3 บลจ.ทหารไทย มีสินทรัพย์สุทธิ 37,392.84 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาด 11.34% อันดับ 4 บลจ.กรุงไทย มีสินทรัพย์สุทธิ 31,112.97 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 9.43% และอันดับ 5 บลจ.ธนชาต มีสินทรัพย์สุทธิ 13,683.44 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 4.15% ”

@ หุ้นโลกผลตอบแทนสูงสุด 3.91%
สำหรับ “กองทุนหุ้นโลก” ในปี 2554 ที่ผ่านมา ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 6.13% โดยกองที่มีผลงานดีสุดให้ผลตอบแทน 3.91% ในขณะที่กองที่แย่สุดให้ผลตอบแทนติดลบ 29.66% หรือต่างกันอยู่ 33.57%
โดยกองทุนหุ้นโลกที่มีผลงานดีสุด 5 อันดับแรก นำมาโดย อันดับ 1 “กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส อิควิตี้ ฟันด์ (TISCOUS)” ของบลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทน 3.91% 2) “กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม โกลบอล ฟันด์ (SCBPGF)” ของ บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้ 2 ดาว ให้ผลตอบแทน 3.20%
3) “กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอสแอนด์พี 500 (ASP-S&P500)” ของบลจ.แอสเซท พลัส ให้ผลตอบแทน 2.40% 4) “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล 35 สตาร์ ฟันด์ (I-35 STAR)” ของบลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทน 2.34% และ 5) “กองทุนเปิด อเบอร์ดีน เวิลด์ ออพพอร์ทูนิตี้ส์ ฟันด์ (ABWOOF)” ของบลจ.อเบอร์ดีน ได้ 3 ดาว ให้ผลตอบแทน 1.67%

@ หุ้นเอเชียดีสุดลบ 5.53%
ส่วน “กองทุนหุ้นเอเชีย-ไม่รวมญี่ปุ่น” ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 15.34% โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุดให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 5.53% ในขณะที่กองที่มีผลงานแย่สุดให้ผลตอบแทนติดลบ 26.78% หรือต่างกันอยู่ 21.25%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุด 5 อันดับแรก ในปี 2554 ได้แก่ อันดับ1) “กองทุนเปิดกรุงศรีอาเซียนนิวมาร์เก็ต (KF-ASEAN)” ของบลจ.กรุงศรี ได้ 4 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 5.53% 2) “กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เดลี่ อาเซียน อิควิตี้ (CIMB-PRINCIPAL ASEAN)” ของบลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ให้ผลตอบแทนติดลบ 8.85%
3) “กองทุนเปิด อเบอร์ดีน เอเชีย แปซิฟิค เอคควิตี้ ฟันด์ (ABAPAC)” ของบลจ.อเบอร์ดีน ได้ 4 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 8.95% 4) “กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย คอนซูเมอร์ ชนิดไม่จ่ายเงินปันผล (UOBSAC-N)” ของบลจ.ยูโอบี (ไทย) ให้ผลตอบแทนติดลบ 9.02% และ 5) “กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย คอนซูเมอร์ ชนิดจ่ายเงินปันผล (UOBSAC-D)” ของบลจ.ยูโอบี (ไทย) ให้ผลตอบแทนติดลบ 9.13%

@ หุ้นตลาดเกิดใหม่ติดลบ 7.71%
ด้าน “กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่” เองนั้น ในปี 2554 ที่ผ่านมา ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 17.88% โดยกองที่มีผลงานดีสุดให้ผลตอบแทนติดลบ 7.71% ในขณะที่กองที่แย่สุดนั้นให้ผลตอบแทนติดลบ 27.34% หรือต่างกัน 19.63%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุด 5 อันดับแรก ในปี 2554 ได้แก่ อันดับ 1) “กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกลบอล อีเมอร์จิ้ง โกรท ฟันด์ (ABGEM)” ของบลจ.อเบอร์ดีน ได้ 4 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 7.71% 2) “กองทุนเปิดฟิลลิปเอช แชร์ส์ และ เรด ชิพ (PHR)” ของบลจ.ฟิลลิป ให้ผลตอบแทนติดลบ 14.51%
3) “กองทุนเปิดทหารไทย Emerging Markets Equity Index(TMBEMEQ)” ของบลจ.ทหารไทย ได้ 3 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 14.97% 4) “กองทุนเปิดวรรณเอเอ็ม โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต เอควิตี้ (1AM-GEM)” ของ บลจ.วรรณ ได้ 4 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 15.14% และ 5) “กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 (ING BRIC)” ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ได้ 3 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 15.20%

@ ตราสารหนี้โลกได้ 7.87%
สำหรับ “กองทุนตราสารหนี้โลก” ในปี 2554 ที่ผ่านมา ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.46% โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุดให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7.87% ในขณะที่กองที่มีผลงานแย่สุดให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 1.03% หรือต่างกันอยู่ 8.90%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุด 5 อันดับแรก ในปี 2554 ได้แก่ อันดับ1) “กองทุนเปิดวรรณเอเอ็ม โกลบอล บอนด์ 2 (1AMGBF2)” ของบลจ.วรรณ ได้ 4 ดาว ให้ผลตอบแทน 7.87% 2) “กองทุนรวมบัวหลวงโกลบอลฟิกซ์อินคัม (B-FIF2)” ของบลจ.บัวหลวง ได้ 4 ดาว ให้ผลตอบแทน 6.09%
3) “กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรสหราชอาณาจักร (TISCOUK)” ของบลจ.ทิสโก้ ได้ 2 ดาว ให้ผลตอบแทน 4.04% 4) “กองทุนเปิดกรุงศรีโทเทิลรีเทิร์นบอนด์ (KF-TRB)” ของบลจ.กรุงศรี ให้ผลตอบแทน 3.96% และ 5) “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ บอนด์ ฟันด์ (MGB)” ของบลจ.เอ็มเอฟซี ได้ 3 ดาว ให้ผลตอบแทน 3.89%

@ กองทุนทองคำแชมป์ 24.38%
ในส่วนของ “กองทุนทองคำ” ในปี 2554 เป็นกลุ่มกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในกลุ่มกองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11.51% โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุดให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 24.38% ในขณะที่กองที่แย่สุดให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 21.50% หรือต่างกันอยู่ 45.88%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุด 5 อันดับแรก นำมาโดย อันดับ1) “กองทุนเปิดกรุงศรีโกลด์ (KF-GOLD)” ของบลจ.กรุงศรี ด้วยผลตอบแทน 24.38% 2) “กองทุนเปิดเคแทม โกลด์ ฟันด์ (KT-GOLD)” ของบลจ.กรุงไทย ให้ผลตอบแทน 22.03%
3) “กองทุนเปิดแอสเซทพลัสโกลด์ (ASP-GOLD)” ของบลจ.แอสเซท พลัส ให้ผลตอบแทน 18.46% 4) “กองทุนเปิดทหารไทย โกลด์ ฟันด์ (TMBGOLD)” ของบลจ.ทหารไทย ให้ผลตอบแทน 14.24% และ 5) “กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท โกลด์ ชนิดไม่จ่ายเงินปันผล (UOBSG-N)” ของบลจ.ยูโอบี (ไทย) ให้ผลตอบแทน 13.89%

@ กองทุนน้ำมันผลตอบแทนสูงสุด 8.34%
ด้าน “กองทุนพลังงาน” ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในปี 2554 ที่ผ่านมา 3.54% โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุดให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8.34% ในขณะที่กองที่มีผลงานแย่สุดให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 4.09% หรือต่างกันอยู่ 12.43%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ1) “กองทุนเปิดทหารไทยออยล์ฟันด์ (TMBOIL)” ของบลจ.ทหารไทย ให้ผลตอบแทน 8.34% 2) “กองทุนเปิดซีมิโก้ ออยล์ แทรคกิ้ง ฟันด์ (S-OIL)” ของบลจ.ซีมิโก้ ให้ผลตอบแทน 6.76%
3) “กองทุนเปิดเค ออยล์ (K-OIL)” ของบลจ.กสิกรไทย ให้ผลตอบแทน 6.74% 4) “กองทุนเปิดแอสเซทพลัสออยล์( (ASP-OIL)” ของบลจ.แอสเซท พลัส ให้ผลตอบแทน 3.71% และ 5) “กองทุนเปิดกรุงศรี ออยล์ (KF-OIL)” ของบลจ.กรุงศรี ให้ผลตอบแทน 3.38%

@ กองธุรกิจสุขภาพได้ 7.15%
ขณะที่กลุ่ม “กองทุนหุ้นสุขภาพ” ที่ปัจจุบันมีเพียง 2 กองทุนเท่านั้น ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.44% นำมาโดย “กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE)” ของบลจ.บัวหลวง ให้ผลตอบแทน 7.15% และ “กองทุนเปิดเคเค โกลบอล เฮลธ์แคร์ (KK GHC)” ของบลจ.เกียรตินาคิน ให้ผลตอบแทน 5.73%

@ กองแบรนด์เนมดีสุดติดลบ 5.85%
สำหรับกอง FIF ในกลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในปี 2554 ติดลบ 6.21% โดย “กองทุนเปิดธนชาตพรีเมียมแบรนดส์ฟันด์ (T-PREMIUM BRAND)” ของบลจ.ธนชาต ได้ 5 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 5.85% และ “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ชิค ฟันด์ (I-CHIC)” ของบลจ.เอ็มเอฟซี ได้ 4 ดาว ให้ผลตอบแทน ติดลบ 6.57%

@ กองธุรกิจน้ำดีสุดติดลบ 4.45%
ส่วนกองทุนในกลุ่มธุรกิจน้ำนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 8.57% นำมาโดย “กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย โกลบอล วอเตอร์ (ING GW)” ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ให้ผลตอบแทนติดลบ 4.45% และ “กองทุนเปิดกรุงศรีเวิร์ลวอเตอร์ (KF-Water)” ของบลจ.กรุงศรี ให้ผลตอบแทนติดลบ 12.68%

@ กองโครงสร้างพื้นฐานติดลบ 12.69%
ด้านกลุ่มกองทุนที่ลงทุนใน “ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน” ในปี 2554 ที่ผ่านมา ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 14.44% นำมาโดย “กองทุนเปิดธนชาตอินฟราสตรัคเจอร์ แอนด์ แน็ชเชอรัล รีซอร์ส ฟันด์ ออฟ ฟันด์ (T-INFRA)” ของบลจ.ธนชาต ให้ผลตอบแทนติดลบ 12.69% และ “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชีย อินฟราสทรัคเจอร์ ฟันด์ (I-ASIA INFRA)” ของบลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทนติดลบ 16.20%

@ กองหุ้นจีนดีสุดติดลบ 10.32%
ในกลุ่มของ “กองทุนหุ้นจีน” นั้นให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 16.48% โดยกองที่มีผลงานดีสุดให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 10.32% และกองที่แย่ที่สุดให้ผลตอบแทนติดลบ 24.90% หรือต่างกัน 14.58%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุด 5 อันดับแรกในปี 2554 ได้แก่ อันดับ1) “กองทุนเปิดอเบอร์ดีน ไชน่า เกทเวย์ ฟันด์ (ABCG)” ของบลจ.อเบอร์ดีน ให้ผลตอบแทน ติดลบ 10.32% 2) “กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index (TMBCHEQ)” ของบลจ.ทหารไทย ได้ 1 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 13.66%
3) “กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เกรทเทอร์ ไชน่า (ING GC)” ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ให้ผลตอบแทนติดลบ 14.48% 4) “กองทุนเปิดเคเค ไชน่า ฟันด์ (KK CH)” ของบลจ.เกียรตินาคิน ให้ผลตอบแทนติดลบ 16.21% และ 5) “ กองทุนเปิดกรุงศรีไชน่าอิควิตี้ (KF-CHINA)” ของบลจ.กรุงศรี ให้ผลตอบแทนติดลบ 16.24%

@ กองบริคดีสุดติดลบ 15.20%
สำหรับ “กลุ่มกองทุนหุ้นบริค (BRIC) ที่ลงทุนใน 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล-รัสเซีย-อินเดีย-จีน” นั้นในปี 2554 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 21.82%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุดนำมาโดย อันดับ1) “กองทุนเปิดไอเอ็นจี ไทย บริค 40 (ING BRIC)” ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ได้ 3 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 15.20% 2) “กองทุนเปิดกรุงศรีบริคสตาร์ (KF-BRIC)” ของบลจ.กรุงศรี ได้ 3 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 24.69% และ 3) “กองทุนเปิดแอสเซทพลัสบริค (ASP-BRIC)” ของบลจ.แอสเซท พลัส ได้ 2 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 25.57
@ กองยุโรปติดลบ 5.78%
ด้านกลุ่ม “กองทุนหุ้นยุโรป” ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 15.25%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุดในปี 2554 นำมาโดยอันดับ1) “กองทุนเปิดอเบอร์ดีน ยูโรเปี้ยน โกรท ฟันด์ (ABEG)” ของบลจ.อเบอ์ดีน ได้ 2 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 5.78% 2) “กองทุนเปิดไอเอ็นจี ไทย ยูโร ไฮดิวิเดนด์ (ING EHD)” ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ได้ 1 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 15.56% และ 3) “กองทุนเปิดแมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ (MS-EE EURO)” ของบลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) ได้ 2 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 24.40%

@ หุ้นสหรัฐสูงสุด 3.91%
สำหรับกลุ่ม “กองทุนหุ้นสหรัฐ” นั้นในปี 2554 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3.16%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุด นำมาโดย “กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส อิควิตี้ ฟันด์ (TISCOUS)” ของบลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทน 3.91% และ “กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอสแอนด์พี 500 (ASP-S&P500)” ของบลจ.แอสเซท พลัส ให้ผลตอบแทน 2.40%

@ กองญี่ปุ่นติดลบ 12.92%
ปัจจุบันมีเพียง 1 กองทุนที่ลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น ได้แก่ “กองทุนเปิดแอสเซทพลัสนิปปอนโกรท (ASP-NGF)” ของบลจ.แอสเซท พลัส ได้ 2 ดาว ให้ผลตอบแทนติดลบ 12.92%

@ ละตินอเมริกาติดลบ 17.80%
ปัจจุบันมีเพียง 1 กอง ได้แก่ “กองทุนเปิดกรุงศรีละตินอเมริกาอิควิตี้ (KF-LATAM)” ของบลจ.กรุงศรี ให้ผลตอบแทนติดลบ 17.80%

@ ตะวันออกกลางติดลบ 18.49%
ปัจจุบันมีเพียง 1 กองทุน ได้แก่ “กองทุนเปิดเค มีน่า หุ้นทุน (K-MENA)” ของบลจ.กสิกรไทย ให้ผลตอบแทนติดลบ 18.49%

@ สินค้าเกษตรติดลบ 9.11%
ในกลุ่ม “กองทุนสินค้าเกษตร” นั้นในปี 2554 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ 11.24%
โดยกองทุนที่มีผลงานดีสุดในกลุ่มนี้ นำมาโดยอันดับ1) “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ โกลบอล อะกริบิซซิเนส ฟันด์ (I-AGRI)” ของบลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทนติดลบ 9.11% 2) “กองทุนเปิดเค อะกริคัลเจอร์ (K-AGRI)” ของบลจ.กสิกรไทย ให้ผลตอบแทนติดลบ 11.69% และ 3) “กองทุนเปิด ทิสโก้ อากริคัลเจอร์ ยูโร ฟันด์ (TISCOAEF)” ของบลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทนติดลบ 12.92%
ทั้งหมดนี้เป็นภาพสรุปของผลการดำเนินงานของ “กองทุน FIF” ที่ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลกในรอบปี 2554 ที่ผ่านมา หากมองโอกาสการลงทุนในต่างประเทศเป็นเรื่องของการกระจายความเสี่ยงก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจจะมาเติมเต็มไว้ในพอร์ตได้เช่นเดียวกัน



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2555 7:45:32 น. 0 comments
Counter : 1256 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

iT_member
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add iT_member's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.