มีนาคม 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
พรีไบโอติกส์ ( prebiotics ) คืออะไร ใครรู้บ้าง
 
หลายปีมานี้คงจะมีคนเคยได้ยินคำว่า พรีไบโอติกส์มาบ้างแล้ว ดูเหมือนเป็นสิ่งเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ในระบบทางเดินอาหารที่ซับซ้อนภายในร่างกายของมนุษย์เลยทีเดียว

พรีไบโอติกส์ ( prebiotics ) คือส่วนประกอบของพืชที่ไม่สามารถย่อยได้ แต่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยมีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นโดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกัน

พรีไบโอติกส์เป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ( แป้งและน้ำตาล ) ได้แก่ โอลิโกแซ็กคาร์ไรด์ ( oligosaccharide ) โพลีแซ็กคาร์ไรด์ ( polysaccharide ) และเส้นใยอาหาร ( dietary fiber ) แต่สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดไม่ได้จัดเป็นพรีไบโอติกส์ ด้วยโครงสร้างที่ซับซ้อนทำให้เอนไซม์ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กไม่สามารถย่อยสลาย จึงไม่ถูกดูดซึมในลำไส้เล็ก ทำให้สามารถผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียช่วยสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย อุ๊ยตาย !! ลำไส้ใหญ่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดนะเนี่ย

มีประโยชน์อย่างไร
1.พรีไบโอติกส์จะทำหน้าที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตเฉพาะแบคทีเรียชนิดดีที่มีประโยชน์ในลำไส้ใหญ่เท่านั้น ได้แก่ บิฟิโดแบคทีเรีย ( bifidobacteria ) และ แลคโตบาซิลลัส ( lactobacillus )
2.โอลิโกแซ็คคาร์ไรด์ ( oligosaccaride ) นอกจากพบในพืชธรรมชาติแล้ว ยังพบในน้ำนมของมนุษย์ เชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันของทารก

ค่อนข้างน่าทึ่งที่นมแม่จะช่วยให้ทารกแรกเกิดมีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดดีบางชนิดในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นโดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกัน เด็กทารกที่มีโอกาสได้ดื่มนมมารดาตั้งแต่แรกเกิดจะไม่ป่วยง่าย ไม่เป็นโรคภูมิแพ้จากคุณสมบัติของพรีไบโอติกส์ นั่นเอง

3.สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตทนต่อน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร จึงไม่ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก เมื่อเคลื่อนตัวมาถึงลำไส้ใหญ่จะกลายเป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ใหญ่ เมื่อแบคทีเรียหมักกับพรีไบโอติกส์ จะทำให้เกิดกรดไขมันชนิดสายสั้น ( short-chain fatty acid ) เช่น กรดแลคติก ( lactic acid ) กรดโพรพิโอนิก ( propionic acid )

กระบวนการหมักนี้จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของไบฟิโดแบคทีเรีย ( bifidobacteria ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีต่อสุขภาพ อีกทั้งในสภาวะที่เป็นกรดจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรค เช่น คลอสตริเดียม เพอร์ฟรินเจนส์ ( clostridium perfingens ) โดยแบคทีเรียกลุ่มนี้จะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้นจึงป้องกันและลดอาการท้องเสียจากเชื้อโรคได้ดีมาก อืม!! แลดูซับซ้อนซ่อนเงื่อนเสียจริง ลำไส้ใหญ่ไม่ได้มีหน้าที่ขับถ่ายอย่างเดียวนะเนี่ย

4.รักษาโรคลำไส้แปรปรวน

5.ป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดรวมถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

6.โดยปกติพรีไบโอติกส์จะจับตัวกับแร่ธาตุบางอย่าง แต่ด้วยโครงสร้างที่ซับซ้อน จึงไม่สามารถดูดซึมที่ลำไส้เล็ก เมื่อเคลื่อนมาถึงลำไส้ใหญ่ พรีไบโอติกส์จะปลดปล่อยแร่ธาตุที่จับตัวออกมา ในสภาวะที่เป็นกรดจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม เหล็ก และแมกนีเซียม

7.ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ จากกระบวนการหมักบ่ม ( fermentation ) ของแบคทีเรียชนิดดีกับพรีไบโอติกส์ ทำให้เพิ่มจำนวนแบคทีเรียชนิดดีต่อสุขภาพ ระบบทางเดินอาหารมีความสมดุล จึงกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายบีบตัว เกิดการขับถ่ายเกิดขึ้น ช่วยลดอาการท้องผูกและลดระยะเวลาการสะสมสารพิษหรือสารก่อมะเร็ง ส่งผลช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกทางหนึ่ง

8.ลดไขมันโคเลสเตอรอล พบในสัตว์ทดลอง เมื่อแบคทีเรียชนิดดีหมักกับพรีไบโอติกส์ จะทำให้เกิดกรดไขมันชนิดสายสั้น ( short-chain fatty acid ) เช่น กรดโพรพิโอนิก ( propionic acid ) สามารถยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันคอเลสเตอรอลและช่วยลดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวจากไขมันคอเลสเตอรอลอีกด้วย

แม้ว่าพรีไบโอติกส์จะเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย หากได้รับปริมาณมากเกินไป อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร จุกเสียด แน่นท้องเนื่องจากแก๊สในระบบทางเดินอาหาร

พรีไบโอติกส์ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ ( fructo-oligosaccharides ) อินนูลิน ( inulin )

อาหารที่มีพรีไบโอติกส์สูง เช่น รากชิโครี่ ( พืชเมืองหนาว ) อาร์ติโชก กล้วย ข้าวบาร์เล่ย์ หัวหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง รำข้าวสาลี ข้าวสาลี และอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่วางจำหน่ายทั่วโลก

จะเห็นได้ว่า ความเสื่อมของร่างกายเกิดขึ้นทุกขณะที่มีลมหายใจ การที่จะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพดี ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยาก ไม่ใช่การที่จะขับถ่ายของเสียออกมาได้ทุกวัน แต่เราจะต้องรู้เท่าทันกระบวนการต่างๆภายในร่างกายเป็นอย่างดีอีกด้วย

พรีไบโอติกส์ต้องกินต่อเนื่องไปตลอด หากหยุดกินเมื่อไหร่ กระบวนการหมักของแบคทีเรียชนิดดีกับพรีไบโอติกส์จะไม่เกิดขึ้นเหมือนกับการกินวิตามินเช่นเดียวกัน ทุกอย่างจะกลับสภาพเดิมเหมือนก่อนกินนะคะ



ที่มา
Gourmet cuisine / food for life/ดร.ฉัตรกา หัตถโกศล




Create Date : 13 มีนาคม 2558
Last Update : 13 มีนาคม 2558 15:44:51 น.
Counter : 2594 Pageviews.

0 comments

แป้งปังปอนด์
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 878 คน [?]



เริ่มเขียนblog 20ก.ค55
ปัจจุบัน ( 3 มี.ค 57 ) แป้งได้มีเพจแป้งปังปอนด์ สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์แชร์ข้อมูลจาก blog ให้ท่านที่สนใจได้ติดตามอ่านอย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโหลดเนื้อหาจาก blog ดังนั้นขออนุญาตงดตอบคำถามใดๆทางเพจและ facebook ค่ะ






หากท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการกินวิตามินเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและบำรุงผิวพรรณ รบกวนส่งคำถามไปยัง blog แป้งปังปอนด์ นานาสารพันปัญหา volume 5 อย่างเดียวเท่านั้นค่ะ


ขออนุญาตฝากกด like เพจแป้งปังปอนด์ เพื่อเป็นกำลังใจในการสรรค์สร้างผลงานด้วยมันสมองและสองมือพยาบาลสาวภูไท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จบการศึกษา ปี พ.ศ 2539 จากที่ราบสูงคนนี้ด้วยนะคะ


สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการนำชื่อ " แป้งปังปอนด์ " ไปใช้เพื่ออ้างอิงหรือติดป้ายสินค้าในเวปไซด์หรือที่ใดๆหรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน " Blog แป้งปังปอนด์ " แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยการเผยแพร่เพื่อการอ้างอิงหรือนำรูปภาพไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด




New Comments
MY VIP Friend