จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
7 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 

กฏหมายแรงงาน

พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
มาตรา 13* การเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการ จ้างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างหรือ ลูกจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ
ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง นายจ้างต้องระบุชื่อผู้เข้าร่วม ในการเจรจา โดยจะระบุชื่อตนเองเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา หรือจะตั้ง ผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาก็ได้ ถ้านายจ้างตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วม ในการเจรจาผู้แทนของนายจ้างต้องเป็น กรรมการ ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือลูกจ้างประจำของนายจ้างกรรมการของสมาคมนายจ้าง หรือกรรมการ ของสหพันธ์นายจ้างและต้องมีจำนวนไม่เกินเจ็ดคน
ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นต้องมีรายชื่อและ ลายมือชื่อของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของ ลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น ถ้าลูกจ้างได้เลือกตั้ง ผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาไว้แล้ว ให้ระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมในการ เจรจามีจำนวนไม่เกินเจ็ดคนพร้อมกับการแจ้งข้อเรียกร้องด้วย ถ้าลูกจ้างยัง มิได้เลือกตั้งผู้แทน เป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาให้ลูกจ้างเลือกตั้งผู้แทนเป็น ผู้เข้าร่วมในการเจรจาและระบุชื่อผู้แทนผู้เข้าร่วม ในการเจรจามีจำนวนไม่ เกินเจ็ดคนโดยมิชักช้า
การเลือกตั้งและการกำหนดระยะเวลาในการเป็นผู้แทนลูกจ้าง เพื่อ เป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา การดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้องและการ รับทราบคำชี้ขาดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 14 การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้าง ลูกจ้างจะจัดการเอง หรือจะ ร้องขอให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจัดการแทนก็ได้ จำนวนผู้แทน ลูกจ้างให้เป็นไปตามที่ผู้จัดการเลือกตั้งกำหนด แต่ต้องไม่เกินเจ็ดคน ผู้แทน ลูกจ้างต้องเป็นลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น หรือเป็นกรรมการของ สหภาพแรงงานหรือกรรมการของสหพันธ์แรงงาน ที่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อ เรียกร้องเป็นสมาชิกลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทุกคนมีสิทธิลงคะแนน เสียงเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้าง
มาตรา 15 สมาคมนายจ้าง หรือสหภาพแรงงานอาจแจ้งข้อเรียกร้อง ตาม มาตรา 13 ต่ออีกฝ่ายหนึ่งแทนนายจ้างหรือลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกได้ จำนวนสมาชิก ซึ่งเป็นลูกจ้างต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวน ลูกจ้างทั้งหมด
ในกรณีที่สหภาพแรงงานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ข้อเรียกร้องนั้นไม่ จำต้องมีรายชื่อ และลายมือชื่อลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง
ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่า สหภาพแรงงานนั้นจะมีลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับ ข้อเรียกร้องเป็นสมาชิกครบจำนวนที่ได้ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง หรือไม่นายจ้าง สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้อง อาจยื่นคำร้องโดยทำเป็น หนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตรวจรับรอง เมื่อพนักงาน ประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับคำร้องดังกล่าวแล้ว ให้ดำเนินการตรวจ หลักฐานทั้งปวงว่าสหภาพแรงงานนั้นมีลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเป็น สมาชิกหรือไม่ ถ้ามี ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานออกหนังสือรับรอง มอบให้ผู้ยื่นคำร้องเป็นหลักฐาน ถ้าไม่มี ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน แจ้งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ
ในกรณีที่สหภาพแรงงานเป็นผู้แจ้งข้อเรียกร้อง ถ้าความปรากฏแก่ พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตามคำร้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งว่า ลูกจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นบางส่วนเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอื่นด้วย ให้ พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จัดให้มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทน ลูกจ้างในการดำเนินการตาม มาตรา 13
มาตรา 16 เมื่อได้รับข้อเรียกร้องแล้ว ให้ฝ่ายที่รับข้อเรียกร้องแจ้งชื่อ ตนเองหรือผู้แทนเป็นหนังสือให้ฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องทราบโดยมิชักช้า และให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้อง
มาตรา 17* นายจ้างหรือลูกจ้างจะแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษา แนะนำแก่ผู้แทนของตนตาม มาตรา 13 หรือ มาตรา 16 ก็ได้แต่ต้องมีจำนวน ไม่เกินฝ่ายละสองคน
ที่ปรึกษาตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนดและต้องยื่น คำขอและได้รับการจดทะเบียนจากอธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายแล้วจึงจะ แต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาได้
ในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างแต่งตั้งที่ปรึกษา ให้นายจ้างหรือลูกจ้างแจ้ง ชื่อที่ปรึกษาฝ่ายตนให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ โดยแจ้งไว้ในข้อเรียกร้องตาม มาตรา 13 หรือในหนังสือแจ้งชื่อผู้แทน เมื่อแต่งตั้งขึ้นภายหลังและให้ที่ปรึกษามี สิทธิเข้าร่วมประชุมและเจรจาทำความตกลงได้
มาตรา 17ทวิ ผู้ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษานายจ้างหรือที่ ปรึกษาลูกจ้าง ตาม มาตรา 17 ให้มีระยะเวลาในการเป็นที่ปรึกษามีกำหนด สองปีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียน
ที่ปรึกษาอาจถูกสั่งให้พ้นจากการเป็นที่ปรึกษา ก่อนครบกำหนดเวลาตาม วรรคหนึ่งได้หากขาดคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่พ้นจากการเป็นที่ปรึกษาตามวรรคสอง ผู้นั้นจะขอจดทะเบียน เป็นที่ปรึกษานายจ้าง หรือที่ปรึกษาลูกจ้างได้อีกเมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ อธิบดีสั่งให้พ้นจากการเป็นที่ปรึกษา
มาตรา 18 ถ้านายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับลูกจ้างหรือสหภาพ แรงงานสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตาม มาตรา 13 ได้แล้ว ให้ทำ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น เป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายจ้างหรือผู้แทน นายจ้าง และผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน แล้วแต่กรณีและ ให้นายจ้างประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยเปิดเผยไว้ ณ สถานที่ ที่ลูกจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานอยู่เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน โดยเริ่มประกาศภายในสามวันนับแต่วันที่ได้ตกลงกัน
ให้นายจ้างนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามวรรคหนึ่งมาจดทะเบียน ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ตกลงกัน
มาตรา 19 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้าง และ ลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องนั้น ตลอดจนลูกจ้างซึ่งส่วนในการ เลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาทุกคน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่กระทำโดยนายจ้าง หรือสมาคม นายจ้างกับสภาพแรงงาน หรือลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน โดยมีลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันเป็นสมาชิก หรือร่วมในการ เรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกินกว่าสองในสามของลูกจ้างทั้งหมด ให้ ถือว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลผูกพันนายจ้าง และลูกจ้างซึ่ง ทำงานในกิจการประเภทเดียวกันนั้นทุกคน
มาตรา 20 เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมีให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัด หรือแย้งกับข้อ ตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณ แก่ลูกจ้างยิ่งกว่า
มาตรา 21 ในกรณีที่ไม่มีการเจรจากันภายในกำหนดตาม มาตรา 16 หรือมีการเจรจากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ถือว่าได้มีข้อ พิพาทแรงงานเกิดขึ้น และให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงาน ประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่พ้นกำหนด ตาม มาตรา 16 หรือนับแต่เวลาที่ตกลงกันไม่ได้ แล้วแต่กรณี
มาตรา 22 เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับแจ้งตาม มาตรา 21 แล้ว ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้อง และฝ่ายรับข้อเรียกร้องตกลงกันภายในกำหนดห้าวัน นับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง
ถ้าได้มีการตกลงกันภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้นำ มาตรา 18 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าข้อ พิพาทแรงงานนั้น เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตาม มาตรา 26 หรือนายจ้างจะปิดงานหรือลูกจ้างจะนัดหยุดงานโดยไม่ขัดต่อ มาตรา 34 ก็ได้ ทั้งนี้ ภายใต้บังคับ มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 หรือ มาตรา 36
มาตรา 23 เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ในกิจการ
(1) การรถไฟ
(2) การท่าเรือ
(3) การโทรศัพท์หรือการโทรคมนาคม
(4) การผลิตหรือการจำหน่ายพลังงาน หรือกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชน
(5) การประปา
(6) การผลิตหรือการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
(7) กิจการโรงพยาบาลหรือกิจการสถานพยาบาล
(8) กิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานส่งข้อพิพาทแรงงาน ให้คณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์เพื่อพิจารณาวินิจฉัย และแจ้งให้ทั้งสองฝ่ายทราบภายในสาม สิบวันนับแต่วันที่รับข้อพิพาทแรงงาน
นายจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง ลูกจ้าง สหภาพแรงงานหรือ สหพันธ์แรงงาน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้คำวินิจฉัย ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งให้ทั้งสองฝ่ายทราบภายในสิบวันนับแต่วันที่ รับคำอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ที่มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนด และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่าย รับข้อเรียกร้องต้องปฏิบัติตาม
มาตรา 24 เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ในกิจการใดนอกจาก กิจการ ตาม มาตรา 23 ถ้ารัฐมนตรีเห็นว่าข้อพิพาทแรงงานทีตกลงกันไม่ได้ นั้นอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของประเทศหรือความสงบเรียบร้อย ของประชาชนรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อ พิพาทแรงงานนั้นได้ และให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดภายในสามสิบ วันนับแต่วันที่รับคำสั่ง
รัฐมนตรีมีอำนาจขยายระยะเวลาให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาด ได้ตามที่เห็นสมควร
คำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นที่สุด ฝ่ายแจ้งข้อ เรียกร้องฝ่ายเรียกร้องต้องปฏิบัติตาม
มาตรา 25 ในกรณีที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกตามกฎหมาย ว่าด้วยกฎอัยการศึก หรือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในกรณีที่ประเทศ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง ให้รัฐมนตรีอำนาจประกาศ ในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตาม มาตรา 22 วรรคสาม อันเกิดขึ้นในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง หรือกิจการประเภท ใดประเภทหนึ่งได้รับการพิจารณาชี้ขาดจากคณะบุคคลคณะใดคณะหนึ่ง ตามที่รัฐมนตรี จะได้กำหนดหรือแต่งตั้งก็ได้
คำชี้ขาดของคณะบุคคลนั้นให้เป็นที่สุด ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและ ฝ่ายรับข้อเรียกร้องต้องปฏิบัติตาม
ประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งจะยกเลิกเสีย เมื่อใดก็ได้โดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 26 เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตาม มาตรา 22 วรรคสามนายจ้าง และลูกจ้างอาจตกลงกันตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานคนหนึ่ง หรือหลายคนเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานนั้นได้
มาตรา 27 ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ทราบการตั้ง ให้ผู้ชี้ขาดข้อพิพาท แรงงานแจ้งเป็นหนังสือกำหนดวันส่งคำชี้แจงเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงาน และ วันเวลาและสถานที่ที่จะพิจารณาข้อพิพาทแรงงานให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและ ฝ่ายรับข้อเรียกร้องทราบ
มาตรา 28 ในการพิจารณาข้อพิพาทแรงงาน ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ต้องให้โอกาสฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องชี้แจ้งแถลงเหตุผล และนำพยานเข้าสืบ
มาตรา 29 เมื่อพิจารณาข้อพิพาทแรงงานเสร็จแล้ว ให้ผู้ชี้ขาดข้อพิพาท แรงงานทำคำชี้ขาดเป็นหนังสือ คำชี้ขาดอย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
(1) วันเดือนปีที่ทำคำชี้ขาด
(2) ประเด็นแห่งข้อพิพาทแรงงาน
(3) ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ
(4) เหตุผลแห่งคำชี้ขาด
(5) คำชี้ขาดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติ คำชี้ขาดของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ให้ถือเสียงข้างมากและต้องลง ลายมือชื่อผู้ที่ขาดข้อพิพาทแรงงาน
ให้ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ส่งคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานให้ฝ่ายแจ้งข้อ เรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องหรือผู้แทนตาม มาตรา 13 หรือ มาตรา 16 ทราบภายในสามวันนับแต่วันที่ทำคำชี้ขาด พร้อมทั้งปิดสำเนาคำชี้ขาดไว้ ณ สถานที่ที่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานอยู่
ให้ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน นำคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมาจดทะเบียน ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ชี้ขาด
มาตรา 30 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่มิได้อุทธรณ์ ภายในกำหนดและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีตาม มาตรา 23 คำชี้ขาดของ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตาม มาตรา 24 มาตรา 35 (4) หรือ มาตรา 41 (3) คำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตาม มาตรา 25 หรือ มาตรา 29 ให้มีผล ใช้บังคับได้เป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้วินิจฉัยหรือวันที่ได้ชี้ขาด
มาตรา 31* เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตาม มาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อ เรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจาการไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อ พิพาทแรงงานตาม มาตรา 13 ถึง มาตรา 29 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือ โยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือ สมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการหรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่ง เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำต้องว่ากล่าวและตักเตือน ทั้งนี้ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น ต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวาง มิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง
(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอัน สมควร
ห้ามมิให้ลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิก สหภาพแรงงาน หรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่ง เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องสนับสนุน หรือก่อเหตุการนัดหยุดงาน
มาตรา 32 ห้ามมิให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่นายจ้าง ลูกจ้าง กรรมการสมาคม นายจ้างกรรมการสหภาพแรงงาน กรรมการสหภาพนายจ้างกรรมการสหพันธ์ แรงงานผู้แทนหรือที่ปรึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเข้าไปดำเนินการหรือ ร่วมกระทำการใดๆ ในการเรียกร้อง การเจรจา การไกล่เกลี่ย การชี้ขาด พิพาทแรงงานการปิดงานหรือการชุมนุมในการนัดหยุดงาน
มาตรา 33 ในกรณีที่ประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง และได้มีการประกาศห้ามขึ้นราคาสินค้าและบริการ รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ห้ามมิให้ลูกจ้าง สหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน ยื่นข้อเรียกร้องให้นายจ้าง สมาคมนายจ้าง หรือสหพันธ์นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง แก่ลูกจ้างหรือห้ามมิให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างได้
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การเลื่อนอัตราค่าจ้าง เพื่อเป็น บำเหน็จแก่ลูกจ้างประจำปี ซึ่งนายจ้างได้กำหนดไว้แน่นอนแล้ว หรือการ เลื่อนอัตราค่าจ้างเนื่องจากลูกจ้างเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงาน
ประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งจะยกเลิกเสียเมื่อใด ก็ได้โดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 34 ห้ามมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในกรณี ดัง ต่อไปนี้
(1) เมื่อยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตาม มาตรา 13 หรือได้แจ้งข้อเรียกร้องแล้ว แต่ข้อพิพาทแรงงานนั้นยังไม่เป็นข้อพิพาท แรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตาม มาตรา 22 วรรคสาม
(2) เมื่อฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงตาม มาตรา 18 ได้ปฏิบัติ ตามข้อตกลง
(3) เมื่อฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ตามข้อตกลงที่พนักงานประนอมข้อ พิพาทแรงงงานได้ไกล่เกลี่ยตาม มาตรา 22 วรรคสอง ได้ปฏิบัติตามข้อตกลง
(4) เมื่อฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ตามคำชี้ขาดของผู้ชี้ขาดข้อพิพาท แรงงานซึ่งตั้งตาม มาตรา 25 หรือ มาตรา 26 ได้ปฏิบัติตามคำชี้ขาด
(5) เมื่ออยู่ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัย ของคณะกรรมการแรงงาน สัมพันธ์หรือมีคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ตาม มาตรา 23 หรือคำชี้ขาดของคณะ กรรมการแรงงานสัมพันธ์ตาม มาตรา 24
(6) เมื่ออยู่ในระหว่างการชี้ขาดของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานซึ่งตั้งตาม มาตรา 25 หรือ มาตรา 26
ไม่ว่ากรณีจะเป็นประกาศใด ห้ามมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัด หยุดงานโดยมิให้แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน และอีก ฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้ง
มาตรา 35 ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าการปิดงานหรือการนัดหยุดงานนั้น อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศหรืออาจก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ประชาชน หรืออาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรืออาจ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รัฐมนตรีมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้นายจ้างซึ่งปิดงานรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าจ้าง ตามอัตราที่เคยจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้น
(2) สั่งให้ลูกจ้างซึ่งนัดหยุดงานกลับเข้าทำงานตามปกติ
(3) จัดให้บุคคลเข้าทำงานแทนที่ลูกจ้าง ซึ่งมิได้ทำงานเพราะการ ปิดงานหรือการนัดหยุดงาน นายจ้างต้องยอมให้บุคคลเหล่านั้นเข้าทำงานและ ห้ามมิให้ลูกจ้างขัดขวาง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่บุคคลเหล่านั้นตามอัตราที่ เคยจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
(4) สั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาท แรงงาน
มาตรา 36 ในกรณีที่มีประกาศใช้กฎอัยการศึกตามกฎหมายว่าด้วยกฎ อัยการศึก หรือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจา- นุเบกษาห้ามีให้นายจ้างปิดงาน หรือลูกจ้างนัดหยุดงาน ในเขตท้องที่ที่ได้ ประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมดหรือบางส่วนได้
ในกรณีที่มีการปิดงาน หรือการนัดงานอยู่ก่อนมีประกาศของรัฐมนตรี ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา สั่งให้นาย จ้างที่ปิดงาน รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือสั่งให้ลูกจ้างซึ่งนัดหยุดงานกลับ เข้าทำงานตามปกติภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
ประกาศของคณะรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งจะยกเลิกเสียเมื่อใดก็ได้ โดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 120 สหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานไม่น้อยกว่าสิบห้าแห่ง อาจจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างเพื่อส่งเสริมการศึกษาและส่งเสริมการแรงงาน สัมพันธ์ได้
สภาองค์การลูกจ้างต้องมีข้อบังคับและต้องจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้วให้สภาองค์การลูกจ้างเป็นนิติบุคคล
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสหภาพแรงงานในหมวด 7 และสหพันธ์แรงงานใน หมวด 8 มาใช้บังคับแก่สภาองค์การลูกจ้างโดยอนุโลม
มาตรา 120ทวิ กรรมการสมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้างและสภา องค์การนายจ้างซึ่งนายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการกระทำ การฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จะดำรงตำแหน่ง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้างและสภาองค์การนายจ้างคราวต่อไปได้เมื่อ พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
กรรมการสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้าง ซึ่งนายทะเบียน สั่งให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัตินี้จะดำรงตำแหน่งกรรมการสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้าง คราวต่อไปได้เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียน สั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 121 ห้ามมิให้นายจ้าง
(1) เลิกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้าง ผู้แทน ลูกจ้างกรรมการสหภาพแรงงาน หรือกรรมการสหพันธ์แรงงาน ไม่สามารถ ทนทำงานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงานได้นัดชุมนุม ทำ คำร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดำเนินการฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน
หรือให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือนายทะเบียนพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อศาลแรงงาน หรือ เพราะเหตุที่ลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงานกำลังจะกระทำการดังกล่าว
(2) เลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถ ทนทำงานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน
(3) ขัดขวางในการที่ลูกจ้างนั้น เป็นสมาชิกหรือให้ลูกจ้างออกจากการ เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน หรือให้ หรือตกลงจะให้เงิน หรือทรัพย์สินแก่ ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงานเพื่อมิให้สมัครหรือรับสมัครลูกจ้าง เป็นสมาชิกหรือเพื่อให้ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน
(4) ขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน หรือขัดขวางการใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ
(5) เข้าแทรกแซงในการดำเนินการ ของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์ แรงงานโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 122 ห้ามมิให้ผู้ใด
(1) บังคับ หรือขู่เข็ญโดยทางตรง หรือทางอ้อม ให้ลูกจ้างต้องเป็น สมาชิกสหภาพแรงงาน หรือต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ
(2) กระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้นายจ้างฝ่าฝืน มาตรา 121
มาตรา 123 ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือคำชี้ขาด มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการหรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการ หรืออนุกรรมการ สหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของ นายจ้างโดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ ร้ายแรง นายจ้างไม่จำต้องว่ากล่าวและตักเตือน ทั้งนี้ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น ต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับ ข้อเรียกร้อง หรือ
(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอัน สมควร
(5) กระทำการใดๆ เป็นการยุยง สนับสนุน หรือชักชวนให้มีการฝ่าฝืน ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาด

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 10 ภายใต้บังคับ มาตรา 51 วรรคสอง ห้ามมิให้ นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความ เสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของ งานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สิน ของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้าง ได้ ตลอดจนจำนวนเงินและวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลัก เกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกัน หรือทำสัญญา ประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกัน สิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้าง ลาออกหรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี
มาตรา 20 การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้าง มีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่า นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใด และการจ้างแต่ละช่วงมี ระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตาม ให้นับระยะเวลาการทำงานทุก ช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น
มาตรา 30 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมี สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้ นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือ กำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้
ในายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อน วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้
สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนด วันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้
มาตรา 33 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิลา เนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง กำหนดและออกใบรับรอง
มาตรา 34 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
มาตรา 35 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารในการ เรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความ พรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
มาตรา 43 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะ เหตุมีครรภ์
มาตรา 47 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำ กว่าสิบแปดปีทำงานในระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึงเวลา 06.00 นาฬิกา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีหรือผู้ ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ให้นายจ้างอาจให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีและเป็น ผู้แสดงภาพยนต์ ละครหรือการแสดงอย่างอื่นที่คล้ายคลึงกันทำงาน ในระหว่างเวลาดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก นั้นได้พักผ่อนตามสมควร
มาตรา 61 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างอัตราไม่ น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตรา ค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา 62 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ตาม มาตรา 28 มาตรา 29 หรือ มาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำ งานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา ดังต่อไปนี้
(1) สำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่าย เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของ อัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่าย ไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตาม จำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อ หน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้ รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา 63 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างใน อัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้าง ต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา 65 ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตาม มาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตาม มาตรา 63 แต่ลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างให้ทำงานตาม (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงใน วันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
(1) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับ กรณีการจ้าง การให้บำเหน็จการลดค่าจ้าง หรือการเลิกจ้าง
มาตรา 75 ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุด กิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวโดยเหตุหนึ่งเหตุใด ที่มิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้าง หยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน
ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบ ล่วงหน้าก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 116 ในกรณีที่นายจ้างทำการสอบสวนลูกจ้าง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดห้ามมิให้นายจ้างสั่งพักงา ลูกจ้างในระหว่างสอบสวนดังกล่าว เว้นแต่จะมีข้อบังคับเกี่ยว กับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้อำนาจ นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างได้ ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องมีคำสั่งพัก งานเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนดระยะเวลาพักงาน ได้ไม่เกินเจ็ดวันโดยต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนการพักงาน ในระหว่างการพักงานตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายเงิน ให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานหรือตามที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกันไว้ในข้อ ตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนถูก สั่งพักงาน
มาตรา 117 เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ปรากฎว่า ลูกจ้างไม่มีความผิด ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่า กับค่าจ้างในวันทำงานนับแต่วันที่ลูกจ้างถูกสั่งพักงานเป็น ต้นไป โดยให้คำนวณเงินที่นายจ้างจ่ายตาม มาตรา 116 เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตาม มาตรา นี้พร้อมด้วยดอกเบี้ย ร้อยละสิบห้าต่อปี
มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่ง เลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบ หนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่ น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่า ค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปีให้ จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่ น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อย กว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ การทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
การเลิกจ้างตาม มาตรา นี้ หมายความว่า การกระทำใดที่ นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะ เป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความ รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะ เวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของ งานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนด การสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตาม ฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็น ต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวัน หยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา 120 ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตาม ปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่ น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตาม มาตรา 118
ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถาน ประกอบกิจการล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย พิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ด้วย
ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำขอให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน พิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบ กิจการว่า เป็นกรณีที่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือลูกจ้าง มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม วรรคหนึ่งหรือไม่
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ในกรณีที่นายจ้างเป็น ฝ่ายดำเนินคดีไปสู่ศาลนายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างที่ยื่นคำขอตามวรรคสาม จึงจะฟ้องคดีได้
การบอกเลิกสัญญาจ้างตาม มาตรา นี้ ลูกจ้างต้องใช้สิทธิภาย ในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ หรือ นับแต่วันที่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานหรือ คำพิพากษาของศาลเป็นที่สุด
มาตรา 121 ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือ การบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้าม มิให้นำ มาตรา 17 วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่ จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงาน ตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า หกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอก จากจะได้รับค่าชดเชยตาม มาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่า ชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย หกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย
ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย
มาตรา 122 ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตาม มาตรา 121 และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตาม มาตรา 118 ไม่ น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการ ทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย คำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตาม มาตรา นี้รวมแล้วต้องไม่ เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้าง ของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะ เวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมาก กว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี

พระราชบัญญัติ เงินทดแทน พ.ศ. 2537
มาตรา 13 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตราย หรือความ เจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความ จำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า เมื่อฝ่าย ลูกจ้างแจ้งให้นายจ้างทราบ
มาตรา 14 ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด ชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
มาตรา 15 กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำ งานภายหลังการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟู สมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 16 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้างเป็นจำนวนหนึ่ง ร้อยเท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมาย ว่าด้วยการ คุ้มครองแรงงาน
มาตรา 17 ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความ ตายโดยไม่มีผู้จัดการศพ ให้นายจ้างจัดการศพของลูกจ้างไปพลางก่อนจนกว่า ผู้มีสิทธิตาม มาตรา 20 จะมาขอเป็นผู้จัดการศพ แต่นายจ้างจะใช้ค่าทำศพ เกินหนึ่งในสามค่าทำศพตาม มาตรา 16 ไม่ได้ ถ้าลูกจ้างถึงแก่ความตายครบ เจ็ดสิบสองชั่วโมง แล้วยังไม่มีผู้มีสิทธิตาม มาตรา 20 มาขอเป็นผู้จัดการศพ ให้นายจ้างจัดการศพนั้นตามประเพณีทางศาสนาของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย หรือตามประเพณีแห่งท้องถิ่นโดยคำนึงถึงฐานะทางสังคมของลูกจ้าง ในการนี้ ให้นายจ้างใช้ค่าทำศพส่วนที่เหลือได้
มาตรา 18 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายให้นาย จ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตาม มาตรา 20 แล้ว แต่กรณี ดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถ ทำงานติดต่อกันได้เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วย หรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอด ระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี
(2) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างต้องสูญเสีย อวัยวะบางส่วนของร่างกาย โดยจ่ายตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะและ ตามระยะเวลาที่ต้องจ่ายให้ตามที่กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ประกาศกำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบปี
(3) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพ โดยจ่ายตามประเภทของการทุพพลภาพ และตามระยะเวลาที่จะต้องจ่ายตาม ที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด แต่ต้องไม่สิบเกินห้าปี
(4) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความ ตายหรือสูญหายมีกำหนดแปดปี
การประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของ ร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ใน การคิดค่าทดแทน ให้เทียบอัตราส่วนร้อยละจากจำนวนระยะเวลาที่กำหนดไว้ สำหรับการสูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะ ประเภทนั้น ๆ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด
หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือนให้เป็นไปตามที่กระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด
ค่าทดแทนตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสองต้องไม่น้อยกว่าค่าทดแทนราย เดือนต่ำสุด และไม่มากกว่าค่าทดแทนรายเดือนสูงสุดตามที่กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด
มาตรา 20 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง
(1) บิดามารดา
(2) สามีหรือภรรยา
(3) บุตรมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี เว้นแต่เมื่อมีอายุครบสิบแปดปีและยัง ศึกษาอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าปริญญาตรีให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลา ที่ศึกษาอยู่
(4) บุตรมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีและทุพพลภาพ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สม ประกอบซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหาย
ให้บุตรของลูกจ้าง ซึ่งเกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่ลูกจ้างถึงแก่ ความตายหรือวันที่เกิดเหตุสูญหายมีสิทธิได้รับเงินทดแทนนับแต่วันคลอด
ในกรณีที่ไม่มีผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนแก่ผู้ซึ่ง อยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหาย แต่ผู้ที่อยู่ใน อุปการะดังกล่าว จะต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากลูกจ้าง ที่ตายหรือสูญหาย
มาตรา 22 นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยของลูกจ้างเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างเสพของมึนเมา หรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้
(2) ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตราย หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตน ประสบอันตราย




 

Create Date : 07 ตุลาคม 2549
7 comments
Last Update : 7 ตุลาคม 2549 21:44:56 น.
Counter : 1737 Pageviews.

 

^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้าเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

:)

 

โดย: ไร้นาม 7 ตุลาคม 2549 21:07:47 น.  

 

โอ้ ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ

 

โดย: tanoy~ตะนอย 7 ตุลาคม 2549 21:16:46 น.  

 

--- คุณ tanoy~ตะนอย ---

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะคะ

 

โดย: ไร้นาม 7 ตุลาคม 2549 21:22:01 น.  

 

อ่านแล้วมีข้อสงสัยว่า ถ้าต้องการลากิจจะลาได้กี่วัน ใน 1 ปี โดยไม่หักเงิน เพราะที่บริษัทให้ลากิจได้แต่โดนหักเงินเดือนค่ะตอบมาที่ nibhaphorn-2005@hotmail.com ขอบคุณค่ะ

 

โดย: แก้ว IP: 124.120.137.209 28 สิงหาคม 2550 16:52:13 น.  

 

รบกวนหน่อยน๊า
เรามีคำถามถามเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องการย้ายสถานประกอบการ
กรณี บริษัท มีสาขาหลายที่ เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี หาดใหญ่ ฯ
และยุบ บริษัท จากกรุงเทพ ไปรวมกับชลบุรี โดยบริษัท แจ้งให้
พนักงานทราบล่วงหน้า แต่พนักงานบางส่วนไม่สามารถไปทำงาน
ที่ใหม่ได้ อยากทราบว่าจะมีวิธีการใดบ้างที่จะได้รับค่าชดเชย
และ ที่บอกว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 120 ไม่เข้าข่ายอย่างไร
รบกวนตอบด่วนด้วยจ้า ที่ li.yimyim@hotmail.com
เพราะตอนนี้ กุ้ม..ใจ..จัง

 

โดย: L IP: 58.136.126.49 8 พฤษภาคม 2551 13:11:41 น.  

 

อยากทราบว่า มาตรากฏหมายแรงงานทั้งหมดนี้ เป็นกฏหมายแพ่งรึเปล่าคะ
ช่วยตอบหน่อยที่ AmphaC@sahaviriya.com
ขอบคุณค่ะ

 

โดย: ิbum IP: 203.153.166.60 19 พฤษภาคม 2551 15:43:00 น.  

 

เราติดต่อรับลูกปัดมาร้อยให้ แล้วโอนเงินให้เขาครั้งแรกเป้นค่ามัดจำ ของ 1000 บาท แล้วเขาก็ส่งของให้เรา แต่พองานเสร็จก็ส่งกลับก็กลายเป้นว่าเราซื้อของเขามา แบบนี้จะทำอย่างไรดี

 

โดย: ความรู้น้อย IP: 117.47.88.68 13 มิถุนายน 2551 12:25:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.