จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
12 กุมภาพันธ์ 2549
 
All Blogs
 

ประมวลรัฐฏากร

ประมวลกฏหมายรัษฏากร: หมวด 3 ภาษีเงินได้
ส่วน 1 ข้อความทั่วไป
...
มาตรา 39** ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
"เงินได้พึงประเมิน" หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี ในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือ ผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตาม มาตรา 40 และเครดิต ภาษีตาม มาตรา 47ทวิ ด้วย
"บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน" หมายความว่า บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไป ซึ่งมีความสัมพันธ์กันใน ลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้น หรือผู้ ผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวน ผู้ถือหุ้นเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
(2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในนิติ บุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมดถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วน ในอีกนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าหุ้นกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
(3) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่า ร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ
(4) บุคคลเกินกว่ากึ่งจำนวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจ จัดการในนิติบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการใน อีกนิติบุคคลหนึ่ง
"ปีภาษี" หมายความว่า ปีปฏิทิน
"บริษัทจดทะเบียน" หมายความว่า บริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่า ด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
"บริษัทจัดการกิจการลงทุน" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับ อนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้า ขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน
"กองทุนรวม" หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งเข้าร่วมในกองทุนซึ่งจัดตั้ง และดำเนินการโดยบริษัทจัดการกิจการลงทุนตามโครงการในการประกอบกิจ การจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม กิจการค้าขายอันกระทบ ถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน

"บริษัทเงินทุน" หมายความว่า บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัย หรือ ผาสุกแห่งสาธารณชน
"บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึง
(1) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาล ต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศหรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายของต่างประเทศ
(2) กิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทาง ค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติ บุคคลอื่น
(3) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึง มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม มาตรา 47 (7) (ข)
(4) นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
"ขาย" หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้โอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทน หรือไม่ แต่ไม่รวมถึง
(1) ขาย แลกเปลี่ยนให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและราคา หรือมูลค่าตามที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา
(2) การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาท ซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครอง ในอสังหาริมทรัพย์
"ราคาขาย" หมายความรวมถึง ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดตาม มาตรา 49ทวิ
"สิทธิครอบครอง" หมายความถึง สิทธิครอบครองในการถือครอง อสังหาริมทรัพย์

ส่วน 2 การเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา
มาตรา 40** เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอด ถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภท ต่าง ๆ ดังกล่าวไม่ว่าในทอดใด
(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่า จ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่ คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงิน ที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการ รับทำงานให้ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุน ในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้ จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้ จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้น จะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
(3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือ เงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่นหรือคำ พิพากษาของศาล
(4) เงินได้ที่เป็น
(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงิน กู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดง สิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและ จำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนอง เดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่น ใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มี กฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงิน เพื่อส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของ กำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบ ด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของ บิดามารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของ บิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือ ว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือของมารดา ผู้ใช้อำนาจปก ครองหรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน
ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้ มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม
(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วน ที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินทำกันไว้รวมกัน
(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจาก กำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน
(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่า เงินทุน
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกิน กว่าที่ลงทุน
(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน
(ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
(ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สิน ที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
ในกรณี (ก) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้มีเงินได้ แสดงเงินได้ต่ำไปไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจ ประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และ ให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้ ในกรณีนี้ จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณี (ข) และ (ค) ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วแต่วันทำ สัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้นเป็นเงินได้พึงประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น
(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรค ศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพ อิสระอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหา สัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
(8) เงินได้จาก การธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การ อุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว
เงินค่าภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใดหรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงิน ได้ประเภท และของปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น
มาตรา 40ทวิ ผู้ใดส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ หรือตามคำสั่ง ของสำนักงานใหญ่ สาขา ตัวการ ตัวแทน นายจ้างหรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการ ที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตาม ราคาตลาดในวันที่ส่งไป เป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ส่งไปนั้น
ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สินค้านั้น
(1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
(2) เป็นของผ่านแดน
(3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
(4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วส่งกลับคืนเข้ามา ให้ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราช อาณาจักร
มาตรา 41** ผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมา แล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการ ของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้อง เสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ
ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วง มาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศหรือเนื่องจากทรัพย์ สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้เมื่อนำเงินได้ พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย
ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะรวมเวลาทั้งหมด ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใดให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
มาตรา 41ทวิ ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหา ริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้ถือว่าผู้โอนเป็นผู้มีเงินได้ และต้องเสียภาษี ตามบทบัญญัติในส่วนนี้
มาตรา 42* เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้อง รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
(1) ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือ ตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะ ในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
(2) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
(3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะส่วนที่ลูกจ้าง ได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่น ในการเข้ารับงานเป็น ครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิ ให้รวมถึงค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงาน ของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้ สิ้นสุดลง
(4) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริต ก่อนใช้ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระ เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้าง เป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะ ได้ชำระภายหลังที่ใช้บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลา ก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้นไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้
(5) เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้าน ที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการ สถานทูตหรือสถานกงสุล ไทยในต่างประเทศ
(6) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ ไปรษณียากรของรัฐบาล
(7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบ ที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้
(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
(ก) ดอกเบี้ยสลากออกสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของ รัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออกทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืน
เมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าว ในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
(9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้ มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มี ระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไปหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ
(10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงิน ที่ได้รับจากการรับมรดกหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาส แห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
(11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการรางวัลสลาก กินแบ่งหรือสลากออมสินรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวด หรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัล ที่ทางราชการจ่ายให้ เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิด
(12) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จ ตกทอด
(13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดเงินที่ได้จากการประกันภัยหรือ การฌาปนกิจสงเคราะห์
(14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคลแต่มิใช่กองทุนรวม
(15) เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจากกสิกรรม ที่ตนและหรือครอบครัวได้ทำเอง
(16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตามความใน มาตรา 57ทวิ
(17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง
(18) รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทยเงินได้จากการขายหรือส่วน ลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย
(19) ดอกเบี้ยที่ได้รับตาม มาตรา 4ทศ
(20) (ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2525 มาตรา 5 ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2525 เป็น ต้นไป)
(21) (ยกเลิกโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับ ที่ 29) พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ใช้บังคับ 7 พฤศจิกายน 2534 เป็นต้นไป)
(22) (ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 8 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 เป็น ต้นไป)
(23) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
(24) เงินได้ของกองทุนรวม
(25) เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกัน สังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
มาตรา 42ทวิ เงินได้พึงประเมินตามความใน มาตรา 40 (1) และ (2) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามี ภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
มาตรานี้ ได้มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายรัษฎากร (ฉบับที่ 16)พ.ศ. 2534 โดยใน มาตรา 5 ใช้ในการบังคับสำหรับเงินได้พึงประเมิน ประจำปีพ.ศ. 2535สำหรับผู้มีเงินได้จะต้องยื่นปีพ.ศ. 2536เป็นต้นไป
มาตรา 42ตรี เงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (3) เฉพาะที่เป็นค่า แห่งลิขสิทธิ์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามี ภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
...
มาตรา 47 เงินได้พึงประเมินตามความใน มาตรา 40 เมื่อได้หักตาม มาตรา 42ทวิ ถึง มาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้หักลดหย่อน ได้อีกต่อไปนี้
(1) ลดหย่อนให้สำหรับ
(ก) ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
(ค) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้ง บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย
(1) ที่เกิดก่อนหรือใน พ.ศ. 2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญ ธรรมก่อน พ.ศ.2522 คนละ 15,000 บาท
(2) ที่เกิดหลัง พ.ศ. 2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรม ในหรือหลัง พ.ศ.2522 คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน
ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรทั้งตาม (1)และ(2) การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้นำบุตรตาม (1) ทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรตาม (2) มาหัก เว้น แต่ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรตาม (1) ที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้น ไป จะนำบุตรตาม (2) มาหักไม่ได้ แต่ถ้าบุตรตาม (1) มีจำนวนไม่ถึงสาม คนให้นำบุตรตาม (2) มาหักได้โดยเมื่อรวมกับบุตรตาม (1) แล้วต้องไม่เกิน สามคน
การนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยให้นับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย
การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาหรือซึ่งเป็นผู้เยาว์หรือศาลสั่ง ให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะ เลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษี ที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้า ลักษณะตาม มาตรา 42
การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะ หักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมนั้นให้หักลดหย่อน ในฐานะบุตรบุญธรรมได้แต่ฐานะเดียว
(ง) เบี้ยประกันภัยที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปในปีภาษีสำหรับการประกันชีวิต ของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะใน กรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และการประกันชีวิต ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิต และความเป็นสามี ภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วยสำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายสำหรับ การประกันชีวิตขอสามีภริยานั้นตามกฎเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
(จ) (ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 มาตรา 8)
(ฉ) บุตรของผู้มีเงินได้ ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนตามเงื่อนไขใน (ค) และยังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่า ด้วยสถาบันศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนราษฎร์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียน ราษฎร์ ให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท
(ช) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวงตาม มาตรา 65ตรี (2) ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ในกรณีสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรอง เลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลด หย่อนได้ด้วยสำหรับเงินสะสมของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยง ชีพนั้นตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
(ซ) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ผู้มีเงินได้จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบัน การเงินอื่นบริษัทประกันชีวิต สหกรณ์หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัยโดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกัน การกู้ยืมนั้นตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา อาคารดังกล่าวให้หมายความถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย
(ฌ) เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎ หมายว่าด้วยการประกันสังคม ตามจำนวนที่จ่ายจริง
ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนประกันสังคมตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปี ภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วย สำหรับเงินสมทบของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากอง ทุนประกันสังคมดังกล่าวตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
(2) ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ถ้าความเป็นสามีภริยามีอยู่ ตลอดปีภาษีการหักลดหย่อนตาม (1) (ก) และ (ข) ให้หักลดหย่อนรวมกัน ได้ 60,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่าย ต่างหักลดหย่อนได้ตาม (1) (ก) และสำหรับการหักลดหย่อนตาม (ค) (ฉ) และ (ซ) ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี
(3) ในกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อนตาม (1) (ข) (ค) และ (ฉ) ให้หักได้เฉพาะสามีหรือภริยาและบุตรที่อยู่ในประ เทศไทย
(4) ในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อน เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
(5) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดก ให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท
(6) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้หักลดหย่อนได้ตาม (1) (ก) สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคล แต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยแต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
(7) เมื่อได้หักลดหย่อนตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แล้วเหลือ เท่าใดให้หักลดหย่อนได้อีกสำหรับเงินบริจาคดังต่อไปนี้ โดยให้หักได้เท่า จำนวนที่บริจาค แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือนั้น
(ก) เงินที่บริจาคแก่สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราช การ
(ข) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์แก่องค์การ หรือสถาน สาธารณกุศล หรือแก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นนอกจากที่กล่าวใน (ก) ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 47ทวิ* ให้ผู้มีเงินได้ตาม มาตรา 40 (4) (ข) ซึ่งได้รับ จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้รับ เครดิตในการคำนวณภาษี โดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียหารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วย อัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นได้ผลลัพธ์เท่าใด ให้คูณด้วยจำนวน เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิต ในการคำนวณภาษี ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่าย เงินได้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้หลายอัตรา ผู้จ่ายเงินได้ ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินได้ที่ จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด
เครดิตภาษีที่คำนวณได้ตามความในวรรคหนึ่ง ให้นำมารวม คำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามเกณฑ์ใน มาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้นำเครดิตภาษีที่คำนวณได้ดังกล่าว หักออกจากภาษีที่ต้องเสีย ถ้ายังขาดหรือเหลือเท่าใด ให้ผู้มีเงินได้ เสียภาษีสำหรับจำนวนที่ขาด หรือมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เหลือนั้น
คืน
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่ผู้มีเงินได้ซึ่งมิ ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยและมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
ในกรณีที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้แสดง ข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามวรรคหนึ่งไม่ถูกต้องอันเป็นเหตุให้เครดิตภาษีที่คำนวณได้ มี จำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ให้ผู้จ่ายเงินได้รับผิดร่วมกับผู้มี เงินได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับคืนเกินไปหรือที่ชำระไว้ไม่ครบ และ ถ้าผู้จ่ายเงินได้หรือผู้มีเงินได้ไม่ชำระเงินดังกล่าว ภายในเจ็ดวันนับ แต่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานประเมิน ให้ถือว่าเงินจำนวนที่ เรียกให้ชำระเป็นภาษีอากรค้างในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจ สอบพบว่า เครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนน้อยกว่าที่ผู้มีเงินได้พึง ได้รับให้แจ้งผู้มีเงินได้ทราบถึงสิทธิที่จะได้รับเงินที่เหลือนั้นคืนตาม กฎหมาย
มาตรา 48 เงินได้พึงประเมินต้องเสียภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้
(1) เงินได้พึงประเมินเมื่อได้หักตาม มาตรา 42ทวิ ถึง มาตรา 47 หรือ มาตรา 57เบญจ แล้วเหลือเท่าใดเป็นเงินได้สุทธิ ต้องเสียภาษีในอัตรา ที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวดนี้
(2) สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป การคำ นวณภาษีตาม (1) ให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน
การนับจำนวนเงินได้พึงประเมินตาม (2) ไม่รวมถึงเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (1)
(3) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้โดย ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้สำหรับเงินได้ตาม มาตรา 40 (4) (ก) และ (ช) ดังต่อไปนี้
(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีโดย กฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงิน เพื่อส่งเสริม เกษตรกรรมพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม
(ข) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็น ผู้ออก
(ค) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็น ผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจะเลือกเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ ได้สำหรับเงินได้ตาม มาตรา 40 (4) (ข) ที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย โดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงิน เพื่อส่งเสริมเกษตร กรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม"
(4) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้เฉพาะเงินได้ตาม มาตรา 40 (8) ที่ได้รับจากการขาย อสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการ ค้าหรือหากำไร ดังต่อไปนี้
(ก) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหา ริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์ เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำ นวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย
(ข) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น นอก จาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เหลือเท่าใด ถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครองได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครองผล ลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย
ในกรณีที่เสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) เมื่อ คำนวณภาษีแล้วต้องเสียไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย
ในกรณีที่เสียภาษีโดยนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ให้หัก ค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ตาม (ก) หรือตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษ ฎีกาตาม (ข) แล้วแต่กรณี เหลือเท่าใดนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่าง อื่น
คำว่า "จำนวนปีที่ถือครอง" ใน (ก) หรือ (ข) หมายถึงจำนวนปีนับ ตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรม สิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกินสิบปีให้นับเพียงสิบปี และเศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี 5) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (1) และ (2) ซึ่งเป็น เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่าย จากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ อธิบดีกำหนด โดยให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวน เงินเท่ากับ 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแต่ไม่เกินเงินได้พึงประเมิน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือนั้นแล้วคำนวณ ภาษีตามอัตราภาษีเงินได้
ในกรณีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวจ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่ง และเงินบำนาญอีกจำนวนหนึ่งให้ถือว่าเฉพาะเงินที่จ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จ เป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานและให้ลดค่าใช้ จ่ายจำนวน 7,000 บาท ลงเหลือ 3,500 บาท
จำนวนปีที่ทำงานตามวรรคหนึ่ง ในกรณีเงินบำเหน็จหรือเงินอื่นใดใน ลักษณะเดียวกัน ที่ทางราชการจ่าย ให้ถือจำนวนปีที่ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณเงิน บำเหน็จหรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกันนั้นตามกฎหมายระเบียบหรือข้อบังคับของ ทางราชการ
ในการคำนวณจำนวนปีที่ทำงาน นอกจากกรณีตามวรรคสาม เศษของปี ถ้าถึงหนึ่งร้อยแปดสิบสามวันให้ถือเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบสามวัน ให้ปัดทิ้ง
ถ้าภาษีเงินได้ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินแล้วมีจำนวนต่ำกว่า 5 บาท เป็นอันไม่ต้องเรียกเก็บ
มาตรา 48ทวิ ให้องค์การของรัฐบาลเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้า ทอดหนึ่งทอดใดหรือทุกทอดที่ซื้อสินค้าขององค์การของรัฐบาล ตามวิธีการ อัตราและประเภทสินค้าตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับ เงินได้จากการขายสินค้านั้น
ภาษีที่เสียแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นเครดิตของผู้เสียภาษีในการ คำนวณภาษี
มาตรา 49 ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้ หรือเจ้าพนัก งานประเมินพิจารณาเห็นว่าผู้มีเงินได้ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควร ต้องยื่น ให้เจ้าพนักงานประเมิน โดยอนุมัติอธิบดี มีอำนาจที่จะกำหนดจำนวน เงินได้สุทธิขึ้น ทั้งนี้ โดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามา อยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้ หรือรายจ่ายของผู้มีเงินได้ หรือฐานะความ เป็นอยู่ หรือพฤติการณ์ของผู้มีเงินได้หรือสถิติเงินได้ของผู้มีเงินได้เองหรือของ ผู้อื่นที่กระทำกิจการทำนองเดียวกับผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณา แล้วทำ การประเมินแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ ให้นำบท บัญญัติ มาตรา 19 ถึง มาตรา 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 49ทวิ ในกรณีที่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนไม่ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้อง ตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอย่างไรก็ตามให้เจ้าพนักงานประเมินกำ หนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียก เก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น
มาตรา 50* ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่าย เงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึง ประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (1) และ (2)ให้ คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวน เงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ใน มาตรา 48 เป็น เงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงิน เท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะ ต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวน ภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี
ในกรณีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่ นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะ เวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดให้ คำนวณภาษีตามเกณฑ์ใน มาตรา 48 (5) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หักเป็น เงินภาษีไว้เท่านั้น
ในกรณีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (2) นอกจากที่ระบุไว้ในวรรค สามที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
(2) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (3) และ (4)ให้ คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ เว้นแต่
(ก) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (3) และ (4) นอกจากที่ระบุไว้ใน (ข) (ค) (ง) และ (จ) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับ ซึ่งมิได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทยให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
(ข) ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุใน มาตรา 48 (3) (ก) และ (ค) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
(ค) ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุใน มาตรา 48 (3) (ข) ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือนิติบุคคลผู้โอนตั๋ว เงินหรือตราสารดังกล่าว ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามส่วนนี้เป็นผู้จ่าย เงินได้พึงประเมิน และให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีเงินได้ในอัตราร้อย ละ 15.0 ของเงินได้และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้
(ง) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ก) ที่ มิได้ระบุใน (ข) และ (ค) แห่ง มาตรานี้ ถ้าผู้จ่ายเงินได้มิใช่เป็นนิติบุคคล และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ไม่ต้องหักภาษีตาม มาตรานี้
(จ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ข)ให้ คำนวณหักในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้
(3) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (5) และ (6)
ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
(4) นอกจากกรณีตาม (5) ในกรณีผู้จ่ายเงินตาม มาตรานี้ เป็น
รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาลหรือองค์การบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (5) (6) (7)หรือ (8) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตรให้กับผู้รับรายหนึ่ง ๆ มี จำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่าย ครั้งหนึ่งๆไม่ถึง 10,000 บาท ก็ดี ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 1 ของยอด เงินได้พึงประเมิน แต่เฉพาะเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขันให้คำนวณหัก ตามอัตราภาษีเงินได้
(5) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่าย ให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหักดังต่อไปนี้
(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ใน มาตรา 48 (4) (ก) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น นอกจาก(ก) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แล้วคำนวณ ภาษีตามเกณฑ์ใน มาตรา 48 (4) (ข) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงิน ภาษีไว้เท่านั้น
(6) ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้ผู้โอนหักภาษีตามเกณฑ์ใน (5) โดยถือว่าผู้โอนเป็นผู้จ่าย เงินได้
มาตรา 50ทวิ ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษี ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายสองฉบับ มีข้อความตรงกัน ในกรณีและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีตาม มาตรา 3เตรส ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย
(2) ในกรณีตาม มาตรา 50 (1) ให้ออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดจากปีภาษีหรือภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ณที่จ่ายออกจาก งานในระหว่างปีภาษี
(3) ในกรณีตาม มาตรา 50 (2) (3) หรือ (4) ให้ออกในทันที ทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ใช้ตาม แบบที่อธิบดีกำหนด
อธิบดีมีอำนาจยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ใน กรณีที่เห็นสมควร
มาตรา 51 เจ้าพนักงานประเมินอาจส่งหนังสือแจ้งความแก่บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคลให้ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (1) (2) (3) (4) หรือ (7) หรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่ เรื่องเพื่อตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ตามที่เห็นสมควรและผู้ได้รับหนัง สือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ
มาตรา 52 บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลซึ่งมีหน้า ที่หักภาษีตาม มาตรา 50 (1) (2) (3) และ (4) ต้องนำเงินภาษีที่ตนมี หน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่จ่ายเงิน ไม่ว่า ตนจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่
ภาษีที่คำนวณหักไว้ตาม มาตรา 50 (5) และ (6) ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี นำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ในขณะที่มีการจด ทะเบียนและห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามรับรู้ยอมให้ทำ หรือบันทึกไว้จนกว่า จะได้รับเงินภาษีที่นำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว และในกรณีที่ไม่มีการจด ทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้นำส่งตามวรรคหนึ่ง
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามวรรคสองให้ส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบที่ รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 52ทวิ ก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามความใน มาตรา 56 ผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ถ้ามีเงินได้พึงประ เมินตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป จะนำภาษีตามเกณฑ์ใน มาตรา 48 ไปชำระ ต่ออำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอพร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดก็ได้
ภาษีที่ชำระตามความในวรรคก่อน ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษี ในการคำนวณภาษี
มาตรา 53 ในกรณีรัฐบาล หรือองค์การของรัฐบาล เป็นผู้จ่ายเงินได้ พึงประเมินตาม มาตรา 40 ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินที่จะตรวจ สอบให้แน่ว่าจำนวนเงินภาษีที่จะต้องหักตาม มาตรา 50 นั้น ได้คำนวณและจด ไว้ในฎีกาเบิกเงินแล้ว และให้เป็นหน้าที่ที่จะหักเงินจำนวนนั้นก่อนจ่าย แต่ถ้า มิได้มีการตั้งฎีกาเบิกเงินก็ให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินปฏิบัติตาม มาตรา 50 มาตรา 52 และ มาตรา 59 โดยอนุโลม
มาตรา 54 ถ้าผู้จ่ายเงินตาม มาตรา 50 และ มาตรา 53 มิได้หักและ นำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้อง รับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้ หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้ตาม มาตรา 50 หรือ มาตรา 53 แล้วให้ ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้ จ่ายได้หักไว้แล้วนั้น และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระเงินภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่าย เดียว
มาตรา 55 อำนาจการเก็บเงินภาษีโดยวิธีหักไว้ตาม มาตรา 50 และ มาตรา 53 มิให้เป็นเหตุเสื่อมสิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการที่จะเรียก เก็บเงินภาษีนั้นโดยวิธีอื่น
มาตรา 56* ให้บุคคลทุกคนเว้นแต่ผู้เยาว์หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประ เมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งข้อความอื่น ๆ ภายใน เดือนมีนาคมทุก ๆ ปีตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ถ้าบุคคลนั้น
(1) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษี ที่ล่วงมา แล้วเกิน 30,000 บาท
(2) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมา แล้วเฉพาะตาม มาตรา 40 (1) ประเภทเดียวเกิน 50,000 บาท
(3) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษี ล่วงมาแล้ว เกิน 60,000 บาท หรือ
(4) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เฉพาะตาม มาตรา 40 (1) ประเภทเดียวเกิน 100,000 บาท
ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประ เมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้น ที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียว กับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการรับผิด เสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมิน ทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลคนเดียวไม่มีการแบ่งแยกทั้งนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคล บุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินได้ พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษี ค้างชำระ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษี ที่ค้างชำระนั้นด้วย
มาตรา 56ทวิ* เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลา ตาม มาตรา 56 ให้ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการตาม มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 57ทวิ และ มาตรา 57ตรี ยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดแสดงรายการ
เงินได้เฉพาะตาม มาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) ไม่ว่าจะมีเงินได้ ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี เงินได้ตาม มาตรา 40 (5) ตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงเงินกินเปล่าเงิน ช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม ค่าแห่งอาคาร หรือโรงเรือนที่ได้รับกรรม สิทธิ์
การยื่นรายการตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณภาษีตาม มาตรา 48 โดยหักลด หย่อนตาม มาตรา 47 ให้กึ่งหนึ่งและชำระภาษีถ้ามีพร้อมกับการยื่นรายการนั้น ต่อเจ้าพนักงานตาม มาตรา 56
ภาษีที่ชำระตามวรรคสามให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระ ตาม มาตรา 57จัตวา
มาตรา 57* ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 56 วรรค 1 เป็นผู้ เยาว์ ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ เป็นผู้อยู่ในต่างประเทศให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรมผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ หรือผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินนั้นแล้วแต่กรณี ต้องปฏิบัติ ตาม มาตรา 56 วรรค 1 และเป็นตัวแทนในการชำระภาษี
มาตรา 57ทวิ* ถ้าผู้มีเงินได้พึงปรเมินตาม มาตรา 56 วรรค 1 ถึง แก่ความตายเสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตาม มาตรา 56 วรรค 1 หรือ ก่อนที่ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ได้ปฏิบัติตาม มาตรา 57 ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี ปฏิบัติแทนและโดยเฉพาะในการยื่นรายการ เงินได้พึงประเมินของผู้ตายนั้น ให้รวมเงินได้พึงประเมินของผู้ตาย และของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตายเป็น ยอดเงินได้พึงประเมินที่จะต้องยื่นทั้งสิ้น
สำหรับในปีต่อไป ถ้ากองมรดกของผู้ตายยังมิได้แบ่ง และมีเงิน ได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม มาตรา 56 (1) ผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีมี หน้าที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในส่วนนี้ในชื่อกองมรดกของผู้ตาย
มาตรา 57ตรี* ในการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้าสามี และภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของ ภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่น รายการและเสียภาษี แต่ถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อย กว่า 7 วันแล้ว ให้ภริยาร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
ถ้าสามีหรือภริยามีความประสงค์จะยื่นรายการแยกกันก็ให้ทำได้โดยแจ้ง ให้เจ้าพนักงานประเมินทราบภายในเวลาซึ่งกำหนดให้ยื่นรายการแต่การแยก กันยื่นรายการนั้น ไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลงอย่างใด
ถ้าเห็นสมควร เจ้าพนักงานประเมินอาจแบ่งภาษีออกตามส่วนของเงิน ได้พึงประเมินที่สามีและภริยาแต่ละฝ่ายได้รับ และแจ้งให้สามีและภริยาเสีย ภาษีเป็นคนละส่วนก็ได้ แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระและอีกฝ่ายหนึ่งได้ รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันแล้ว ให้อีกฝ่ายหนึ่งนั้นร่วมรับผิดในการเสีย ภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
การที่สามีภริยาอยู่ต่างที่กัน หรือต่างคนต่างอยู่เป็นครั้งคราวยังคงถือว่า อยู่ร่วมกัน
มาตรา 57จัตวา ภายใต้บังคับ มาตรา 64 การยื่นรายการตาม มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 57ทวิ มาตรา 57ตรี หรือ มาตรา 57เบญจ ถ้ามี ภาษีต้องเสีย ให้ชำระต่ออำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายในกำหนดเวลา พร้อมกับการยื่นรายการ
มาตรา 57เบญจ* ถ้าภริยามีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (1)ใน ปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินอื่นด้วยหรือไม่ภริยาจะแยกยื่น รายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (1) โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตาม มาตรา 57ตรี ก็ได้
ในกรณีที่ภริยาแยกยื่นรายการตามวรรคหนึ่ง ให้สามีและภริยาต่างฝ่าย ต่างหักลดหย่อนได้ดังนี้
(1) สำหรับผู้มีเงินได้ตาม มาตรา 47 (1) (ก)
(2) สำหรับบุตรที่หักลดหย่อนได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ใน มาตรา 47 (1) (ค) และ (ฉ) คนละกึ่งหนึ่ง
(3) สำหรับเบี้ยประกันภัยตาม มาตรา 47 (1) (ง) วรรคหนึ่ง
(4) สำหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตน จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตาม มาตรา 47 (1) (ฌ)
(พระราชราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 มาตรา 20 ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำ พ.ศ.2535 ที่จะต้อง ยื่นรายการใน พ.ศ.2536 เป็นต้นไป)
(5) สำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม มาตรา 47 (1) (ช)
(6) สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม มาตรา 47 (1) (ซ) กึ่งหนึ่ง
(7) สำหรับเงินบริจาคส่วนของตนตาม มาตรา 47 (7)
ในกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยการหักลดหย่อนตาม (2) ให้หักได้เฉพาะบุตรที่อยู่ในประเทศไทย
ถ้าสามีและภริยามีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เฉพาะตาม มาตรา 40 (1) ประเภทเดียวรวมกันไม่เกินจำนวนตาม มาตรา 56 (4) ไม่ว่าแต่ละฝ่ายจะมีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด สามีและภริยาไม่ต้องยื่นราย
การเงินได้พึงประเมิน
...




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2549
3 comments
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2549 0:47:13 น.
Counter : 1867 Pageviews.

 

ส่วน 3 การเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
มาตรา 65* เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือกำไรสุทธิซึ่ง คำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ที่กระทำในรอบระยะ เวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65ทวิ และ มาตรา 65ตรี และรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวให้มีกำหนดสิบสองเดือน เว้นแต่ใน กรณีดังต่อไปนี้จะน้อยกว่าสิบสองเดือนก็ได้ คือ
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่ม ตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกก็ได้
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องต่ออธิบดีขอ เปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีเช่นว่านี้ ให้อธิบดีมีอำนาจสั่ง อนุญาตหรือไม่อนุญาตสุดแต่จะเห็นสมควร คำสั่งเช่นว่านั้น ต้องแจ้งให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ยื่นคำร้องทราบภายในเวลาอันสมควร และในกรณีที่ อธิบดีสั่งอนุญาต ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นถือปฏิบัติตั้งแต่ระยะ เวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนด
การคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำ รายได้ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะ เวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำ รายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ในกรณีจำเป็น ผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดีเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิ และวิธีการทางบัญชีเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคสองก็ได้ และ เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดี กำหนดเป็นต้นไป
มาตรา 65ทวิ การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิในส่วนนี้ให้เป็นไป ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) รายการที่ระบุไว้ใน มาตรา 65ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
(2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ให้หักได้ตามหลัก เกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าวให้คำนวณหักตามส่วนเฉลี่ย แห่งระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
(3) ราคาทรัพย์สินอื่นนอกจาก (6)ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติและในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ห้ามมิให้นำราคาที่ ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ส่วนทรัพย์สินรายการ ใดมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และ อัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลา และมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น
(4) ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่า ตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทนค่าบริการหรือดอกเบี้ยต่ำ กว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้นตามราคาตลาดในวันที่โอนให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน
(5) เงินตรา ทรัพย์สินหรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตรา ต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณค่า หรือ ราคาเป็นเงินตราไทย ดังนี้
(ก) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (ข)ให้คำนวณ ค่าหรือราคาของเงินตรา หรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ย ที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้และให้คำ นวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
(ข) กรณีธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรี กำหนดให้คำนวณ ค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สินหรือหนี้สินเป็นเงินตรา ไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อ และอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประ เทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณค่าหรือราคา เป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น
(6) ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า และให้ถือราคา นี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย
การคำนวณราคาทุนตามวรรคก่อน เมื่อได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ใดตาม วิชาการบัญชี ให้ใช้หลักเกณฑ์นั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีจึง จะเปลี่ยนหลักเกณฑ์ได้
(7) การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศนั้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยเทียบเคียงกับราคาทุนของสินค้า ประเภทและชนิดเดียวกับที่ส่งเข้าไปในประเทศอื่นได้
(8) ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศให้คำนวณเป็น เงินไทย ตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้สินค้านั้นมาเว้นแต่เงิน ตราต่างประเทศนั้นจะแลกได้ในอัตราทางราชการก็ให้คำนวณเป็นเงินตราไทย ตามอัตราทางราชการนั้น
(9) การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็น ไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่ถ้าได้รับ ชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะ
เวลาบัญชีนั้น
หนี้สูญรายใดได้นำมาคำนวณเป็นรายได้แล้ว หากได้รับชำระในภายหลัง ก็มิให้นำมาคำนวณเป็นรายได้อีก
(10) สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยให้นำเงินปันผล ที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่ มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จาก กิจการร่วมค้ามารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้ เว้นแต่ บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้จากบริษัท จำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดย เฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า มารวมคำนวณเป็นรายได้
(ก) บริษัทจดทะเบียน
(ข) บริษัทจำกัดนอกจาก (ก) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่าย เงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัด ผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผล ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด ผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียน มีเงินได้ที่เป็นเงินปันผล และเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวโดยถือหุ้นหรือหน่วย ลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรนั้นไว้ไม่ถึงสามเดือนนับแต่ วันที่ได้หุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือได้โอนหุ้นหรือ หน่วยลงทุนนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้
เงินปันผลที่ได้จากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม มาตรา 65ตรี (2) ไม่ให้ถือเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรตามความในวรรคสอง
(11) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตาม กฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่า ที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
(12) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ที่อยู่ในบังคับต้องถูก หักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมให้นำมารวม- คำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายดัง กล่าวและผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและ ไม่เข้าลักษณะตาม มาตรา 75 ให้นำบทบัญญัติของ(10) มาใช้บังคับโดย อนุโลม
(13) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการ ซึ่งมีรายได้ไม่ต้องนำ เงินค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิกหรือเงิน หรือทรัพย์สินที่ ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา แล้วแต่กรณีมารวมคำนวณ เป็นรายได้
(14) ภาษีขายซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เป็นผู้ประกอบ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับหรือพึงได้รับ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิใช่ภาษี ตาม มาตรา 82/16 ซึ่งได้รับคืนเนื่องจากการขอคืนตามหมวด 4 ไม่ต้องนำ มารวมคำนวณเป็นรายได้
มาตรา 65ตรี** รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิ
(1) เงินสำรองต่าง ๆ นอกจาก
(ก) เงินสำรองจากเบี้ยประกันเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กันไว้ก่อน คำนวณกำไรเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับ ในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว
ในกรณีต้องใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกัน ชีวิตรายใดไม่ว่าเต็มจำนวนหรือบางส่วน เงินที่ใช้ไปเฉพาะส่วนที่ไม่เกินเงิน สำรองตามวรรคก่อนสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายนั้น จะถือเป็นรายจ่าย ไม่ได้
ในกรณีเลิกสัญญาตามกรมธรรม์ประกันชีวิตรายใด ให้นำเงินสำรองตาม วรรคแรกจำนวนที่มีอยู่สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายนั้น กลับมารวมคำนวณ เป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เลิกสัญญา
(ข)เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ ก่อนคำนวณทำการเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันต่อออกแล้ว และเงินสำรอง ที่กันไว้นี้จะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะ เวลาบัญชีปีถัดไป
(ค) เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับ หนี้จากการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์หรือ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ได้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจ เครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรอง ประเภทดังกล่าวที่ปรากฎในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน
เงินสำรองส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นตามวรรคหนึ่ง และได้นำมาถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใด ต่อ มาหากมีการตั้งเงินสำรองดังกล่าวลดลงซึ่งได้ถือเป็นรายจ่ายไปแล้วนั้น มา รวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลงนั้น
(2) เงินกองทุน เว้นแต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
(3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการ
กุศลเว้นแต่รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ตาม ที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไร สุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามที่อธิบดีกำหนดโดย อนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
(4) ค่ารับรองหรือค่าบริการส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดย กฎกระทรวง
(5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือรายจ่ายในการต่อเติมเปลี่ยน แปลงขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คง สภาพเดิม
(6) เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (6ทวิ) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ และภาษีซื้อของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่มและ ภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียตาม มาตรา 82/16 ภาษีซื้อที่ ต้องห้ามนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 82/5 (4) หรือ ภาษีซื้ออื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
(7) การถอนเงินปราศจากค่าตอบแทน ของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล
(8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควร
(9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่ง ควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่าย ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็อาจลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถัดไปได้
(10) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้า ของเองและใช้เอง
(11) ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกอง ทุนของตนเอง
(12) ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้ม กันใดๆ หรือผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุน สุทธิ ยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน
(13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
(14) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ
(15) ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อ หรือขายทรัพย์สินใน ส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(16) ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำ
(17) ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง ทั้งนี้ ภายใต้บังคับ มาตรา 65ทวิ
(18) รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ
(19) รายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะ เวลาบัญชีแล้ว
(20) รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (19) ตาม ที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 65จัตวา ให้องค์การของรัฐบาลเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้า ทอดหนึ่งทอดใดหรือทุกทอดซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้อ สินค้าจากองค์การของรัฐบาลตามวิธีการ อัตรา และประเภทสินค้าที่ กำหนดในกฏกระทรวง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับเงินได้จากการขายสินค้านั้น
ภาษีที่เสียแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นเครดิตของผู้เสียภาษีในการ คำนวณภาษี
มาตรา 66* บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยต้อง เสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และ กระทำกิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย ให้เสียภาษีในกำไรสุทธิจาก กิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชี และการคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ มาตรา 65 และ มาตรา 65ทวิ แต่ถ้าไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวแล้วได้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการ ประเมินภาษีตาม มาตรา 71 (1) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 67* การเสียภาษีตามความในส่วนนี้ให้เสียตามอัตราที่กำหนดไว้ ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวดนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคล ตาม มาตรา 66 วรรคสอง กระทำกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ ให้เสียภาษีเฉพาะกิจการขนส่งตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีรับขนคนโดยสารให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าโดย สาร ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักราย จ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น
(2) ในกรณีรับขนของ ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทย ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น
มาตรา 67ทวิ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาตาม มาตรา 68 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการตามแบบที่อธิบดี กำหนดพร้อมกับชำระภาษีต่ออำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายในสองเดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลา บัญชี ดังนี้
(1) ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากที่กล่าวใน (2) ให้ จัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แล้วให้คำนวณ และชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลา บัญชีนั้น
(2) ในกรณีบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการ ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจ เครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์วิธีการและ เงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดให้คำนวณ และชำระภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะ เวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65ทวิ และ มาตรา 65ตรี
ภาษีที่ชำระตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระ ตาม มาตรา 68
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบ ระยะเวลาบัญชีแรกหรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายน้อยกว่าสิบสองเดือน
มาตรา 67ตรี ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการ และชำระภาษีตาม มาตรา 67ทวิ (1) หรือยื่นรายการและชำระภาษีตาม มาตรา 67ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไร สุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี นั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตาม มาตรา 67ทวิ (1)หรือของ กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือของภาษีที่ ชำระขาด แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตาม มาตรา 67ทวิ (2) หรือยื่นรายการและชำระภาษีตาม มาตรา 67ทวิ (2)ไว้ ไม่ถูกต้องโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชำระขาดไป บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงิน- ภาษีที่ต้องชำระตาม มาตรา 67ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี
เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
มาตรา 68 ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะ เวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้อง ใช้ในการคำนวณภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกำหนดพร้อม กับชำระภาษีต่ออำเภอ
มาตรา 68ทวิ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนในรอบระยะ เวลาบัญชีตาม มาตรา 65
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งกระทำกิจ การขนส่งผ่านประเทศต่างๆให้ทำบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายเกี่ยวกับค่า โดยสาร ค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดต้องเสียภาษีแทนบัญชี งบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชีเฉพาะกิจการ ขนส่งดังกล่าวแล้ว
มาตรา 69 ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา บัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการ คำนวณภาษีตาม มาตรา 65 มาตรา 65ทวิ มาตรา 66 และ มาตรา 67 เกี่ยว กับรายรับ รายจ่าย กำไรสุทธิและรายการอื่นๆต่อเจ้าพนักงานประเมินตาม แบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมด้วยบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่ายหรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตาม มาตรา 3สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว แล้วแต่กรณี
มาตรา 69ทวิ ภายในบังคับ มาตรา 70 ถ้ารัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาลหรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเป็นผู้จ่ายเงิน ได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 ให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดให้คำนวณ หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ภาษีที่หักไว้นี้ให้ถือเป็นเครดิต ในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามรอบระยะ เวลาบัญชีที่หักไว้นั้นในการนี้ให้นำ มาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 58 และ มาตรา 59 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 69ตรี ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคลผู้จ่าย เงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 1 แล้วนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะ ที่มีการจดทะเบียน และให้นำความใน มาตรา 52 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ภาษีที่หักไว้ และนำส่งตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษี เงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ถูกหักภาษีตามรอบระยะเวลาที่หัก ไว้นั้น
มาตรา 70* บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่าง ประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (2) (3)(4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทยให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประ เมินที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนำ ส่งอำเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่ วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ให้นำ มาตรา 54 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยจาก รัฐบาลหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย โดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
มาตรา 70ทวิ* บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดจำหน่ายเงินกำไรหรือ เงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจาก ประเทศไทย ให้เสียภาษีเงินได้โดยหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่ายนั้นตาม อัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันจำหน่าย
การจำหน่ายเงินกำไรตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึง
(1) การจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรจากบัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชีอื่นใด ไปชำระหนี้ หรือหักกลบลบหนี้ หรือไปตั้งเป็นยอดเจ้าหนี้ในบัญชีของบุคคลใด ๆ ในต่าง ประเทศ หรือ
(2) ในกรณีที่มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวใน (1) แต่ได้มีการขอ อนุญาตซื้อและโอนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่น ใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปต่างประเทศ หรือ
(3) การปฏิบัติอย่างอื่นซึ่งก่อให้เกิดผลตาม (1) หรือ (2)
มาตรา 70ตรี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ส่งสินค้าออกไปต่าง ประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลในเครือเดียวกัน ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง หรือลูกจ้างให้ถือว่าการ ที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตาม ราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น
ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สินค้านั้น
(1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
(2) เป็นของผ่านแดน
(3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
(4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วส่งกลับคืนเข้ามา ให้ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราช อาณาจักร
มาตรา 71 ในกรณีที่
(1)* บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ย่นรายการซึ่งจำเป็นต้อง ใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้หรือมิได้ทำบัญชี หรือทำไม่ครบ ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 17 และ มาตรา 68ทวิ หรือไม่นำบัญชีเอกสารหรือ หลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตาม มาตรา 19 หรือ มาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของ ยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบ ระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือ ยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฏเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน โดยอาศัยเทียบเคียงกับยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป ถ้ายอด ในรอบระยะบัญชีก่อนไม่ปรากฏ ให้ประเมินได้ตามที่เห็นสมควร
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดมิได้ลงรายการ หรือลงราย การไม่ครบถ้วนหรือไม่ตรงตามความจริงในบัญชีตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 17 และ มาตรา 68ทวิ เป็นเหตุให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง เจ้าพนัก งานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีที่ขาดตามอัตราภาษีใน มาตรา 67 และอาจ สั่งให้ผู้ต้องเสียภาษีเสียเงินเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีที่ขาดก็ได้
(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของ อธิบดีซึ่งสั่งตาม มาตรา 17 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจสั่งให้บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีให้เสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่ ได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินหรือสั่งให้จัดบุคคลมาปฏิบัติตามคำสั่งของ อธิบดี ณ สำนักงานของเจ้าพนักงานประเมินให้เสร็จภายในกำหนดเวลาดัง กล่าวแล้วก็ได้ ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามหรือ ปฏิบัติไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราและวิธี การดังที่กล่าวใน (1)
บทบัญญัติ มาตรานี้ ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมิน ให้เสียภาษีตามบทบัญญัติใน มาตรา อื่น
การประเมินตามความใน มาตรานี้ จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้
มาตรา 72 ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกันให้ผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการมีหน้าที่ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบการเลิกของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจด ทะเบียนเลิก ถ้าบุคคลดังกล่าวแล้วไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมินอาจสั่ง ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียเงินภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของจำนวน ภาษีที่ต้องเสียเงินนี้ให้ถือเป็นค่าภาษี
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกันดังกล่าวแล้วเพื่อประโยชน์ ในการคำนวณภาษี ให้ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้าย ของรอบระยะเวลาบัญชีให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการมีหน้าที่และความรับผิดร่วม กันในการยื่นรายการ และเสียภาษีตามแบบ และภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ใน มาตรา 68 และ มาตรา 69 โดยอนุโลม
ถ้าผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการ และเสียภาษีภายใน กำหนดเวลาตามความในวรรคก่อนได้ และได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายในสาม สิบวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก เมื่ออธิบดีพิจารณาเห็นสมควร จะสั่งให้ขยายระยะเวลาออกไปอีกก็ได้ เฉพาะกรณีที่มีการชำระบัญชีอธิบดีจะ สั่งให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชี ออกไปอีกด้วยก็ได้
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ให้ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่และความรับผิดเช่นเดียวกับผู้ชำระบัญชี ร่วมกับ ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการตามที่บัญญัติไว้ในสามวรรคก่อน
มาตรา 73 ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันกับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี ให้ถือว่า แต่ละ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งควบเข้ากันนั้นได้เลิกกัน และให้บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่อันได้ควบกันมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีแทนแต่ละบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งให้ถือว่าเลิกกันนั้น ในกรณีดังกล่าวนี้ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 72 มาใช้บังคับโดยอนุโลมและสำหรับ กรณีบริษัทนิติบุคคล ให้กรรมการของบริษัทนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่มีหน้าที่และ ความรับผิด เช่นเดียวกับผู้ชำระบัญชีตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 72
มาตรา 74 ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกันหรือควบเข้า กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษีให้ เป็นตามวิธีการใน มาตรา 65 มาตรา 65ทวิ และ มาตรา 66 เว้นแต่
(1) การตีราคาทรัพย์สิน
(ก) ในกรณีที่เลิกบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้ตีตามราคาตลาด ในวันเลิก
(ข) ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันให้ตีตามรา คาตลาดในวันที่ควบเข้ากัน แต่ไม่ให้ถือว่าราคาดังกล่าวเป็นรายได้หรือราย จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เดิมอันได้ควบเข้ากันนั้น และให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่อันได้ควบ เข้ากันถือราคาของทรัพย์สินนั้นตามราคาที่ปรากฏในบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลเดิมในวันที่ควบเข้ากันเพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือ ขาดทุนสุทธิจนกว่าจะได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไป ทรัพย์สินรายการใดมี สิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาก็ให้หักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคา ใน การคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และ อัตราที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมใช้อยู่เพียงเท่าที่ระยะเวลา และมูล ค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น และห้ามมิให้นำผลขาดทุนสุทธิ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร สุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ
(ค) ในกรณีที่มีการโอนกิจการระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลด้วยกันโดยที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้โอนกิจการต้องจดทะเบียน เลิกและมีการชำระบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีที่โอนกิจการนั้นให้ตีตามราคา ตลาดในวันที่จดทะเบียนเลิกและให้นำความใน (ข) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) เงินสำรองหรือเงินกำไรยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เฉพาะ ส่วนที่ยังมิได้เสียภาษีเงินได้ ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้รอบระยะเวลา บัญชีสุดท้ายด้วย
(3) ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประกอบกิจการประกันภัยให้ นำเงินสำรองซึ่งได้กันไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ ตาม มาตรา 65ตรี (1) เฉพาะส่วนที่ยังมิได้นำมาเป็นรายได้มารวมคำนวณเป็นรายได้ด้วย
บทบัญญัติ มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม มาตรา 66 วรรคสองเฉพาะที่กระทำกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ
...
มาตรา 76ทวิ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ต่างประเทศ มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจ การในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและ ให้ถือว่าบุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่ เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่กล่าวแล้ว
ในกรณีที่กล่าวในวรรคแรก ถ้าบุคคลผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่น รายการและเสียภาษีไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามบทบัญญัติ ในส่วนนี้ได้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตาม มาตรา 71 (1) มาใช้ บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีการประเมินตามความใน มาตรานี้ จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้
...

 

โดย: ไร้นาม 12 กุมภาพันธ์ 2549 0:59:01 น.  

 

ขอบคุณมาครับ ที่มีประมวลรัฐฏากร มาให้ศึกษา

 

โดย: เด็กดี IP: 202.41.187.247 3 พฤศจิกายน 2550 12:39:39 น.  

 

แล้วกฏกระทรวง ฉบับที่ 126 พ.ศ.2509 ออกตามความในประมวลรฐฏากร ว่าด้วยการยกเว้นรัฐฏากร ข้อ 2 ล่ะครับ ถ้ามีแล้วจะขอบคุณมากเลยครับ เพราะผมไม่มีครับ แต่ต้องใช้ศึกษา ประกอบครับ ขอบคุณครับ

 

โดย: เด็กดี IP: 202.41.187.247 3 พฤศจิกายน 2550 13:27:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.