เสือปืนไว
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
30 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
อาหารที่เป็นอันตรายต่อตับ ของฝากจากบ้านรักสุขภาพสัตหีบ

อาหารและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตับ

วันนี้ชมรม "ล้างพิษตับ" กลุ่มบ้านรักสุขภาพสัตหีบ ขอแนะนำความรู้เกี่ยวกับตับ ซึ่งตับนั้นมีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน  ว่าล้วนแล้วแต่มีความต่อตับเป็นอย่างยิ่ง  หากเราทราบแล้วว่าตับมีความสำคัญต่อรางกายอย่างไรแล้ว ก็จะต้องทราบว่าควรที่จะบำรุงตับด้วยอาหารและสิ่งต่าง ๆ หรือที่เราเรียกกันว่า 6 อ. ด้วยกัน ที่จะทำให้ตับของเรามีสุขภาพดีอยู่เสมอ  ไม่มีสารพิษเขาไปสะสมในตับมากเกินไป จนถึงตับใช้งานไม่ได้ในที่สุด


1. อาหาร

สิ่งแรกที่ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในชีวิตที่คนเราทุกคนต้องบริโภคอาหารเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายดำรงอยู่ได้  และสามารถต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายได้  สำหรับผู้ที่เป็นโรคตับเพียงเล็กน้อย เช่น เป็นพาหะของเชื้อไวรัสบี ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลัน การรับประทานน้ำหวานมาก ๆ ไม่มีรายงานว่าทำให้การดำเนินของโรคดีขึ้นกว่าการไม่ได้รับประทานน้ำหวาน อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถบริโภคอาหารได้ เนื่องจากมีคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ในกรณีเช่นนี้การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรทพวกแป้ง และน้ำตาล เป็นหลักจะทำให้ย่อยอาหารได้ง่าย และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง สำหรับผู้ป่วย ซึ่งเริ่มมีอาการตับแข็งแล้ว อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารที่มีรสจัดทั้งหลาย  เช่นหวานจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด โดยเฉพาะเค็มจัดนั้นทำให้เกิดโรคได้หลายอย่างด้วยกัน เช่นความดันโลหิตสูง เป็นต้น เนื่องจากการรับประทานอาหารเค็มสามารถทำให้อาการบวม หรืออาการท้องมานเลวลงได้ โดยทั่วไปแล้วในผู้ป่วยที่มีอาการบวม หรือท้องมาน แพทย์จะแนะนำให้รับประทานเกลือได้ไม่เกินวันละ 2 กรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือป่นประมาณเศษหนึ่งส่วนสามช้อนชาต่อวันเท่านั้น ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งควรรับประทานอาหารที่สะอาดปรุงขึ้นใหม่ ไม่ควรรับประทานอาหารที่เก็บค้างคืน หรืออาหารที่ประกอบขึ้นสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น การลวก การย่าง เพราะบ่อยครั้งทีเดียวที่ผู้ป่วยโรคตับแข็งมาพบแพทย์ด้วยอาการติดเชื้อจากทางระบบทางเดินอาหาร ซึ่งบางครั้งสามารถเป็นรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยตับแข็งที่ไม่มีอาการซึม หรืออาการทางสมอง สามารถรับประทานโปรตีนได้ตามปกติเหมือนกับคนปกติทั่วไป ผู้ที่มีอาการทางสมองร่วมกับภาวะตับแข็ง ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจำกัดปริมาณโปรตีนที่ได้จากสัตว์ อย่างไรก็ตามสามารถเสริมโปรตีนได้ในรูปของโปรตีนได้ในรูปของโปรตีนจากพืช หรือถั่ว เป็นต้น ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่เป็นผัก และผลไม้ให้เพียงพอเพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการภาวะท้องผูก การรับประทานอาหารเสริมที่เป็นโปรตีนที่มีกิ่ง (Branch Chains Amino Acid) อาจทำให้ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามอาหารเสริมดังกล่าวยังมีราคาแพง และทดแทนได้ด้วยการรับประทานโปรตีนจากพืช ปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่า อาหารเสริมต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจะมีประโยชน์โดยแท้จริงกับผู้ป่วยโรคตับนอกจากการรับประทานอาหารที่ถูกต้องร่วมกับพืช ผัก และผลไม้ที่สะอาดในปริมาณที่พอเพียงจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย การรับประทานอาหารเผ็ด หรือเปรี้ยวไม่มีผลเสียโดยตรงอย่างไรต่อตับ 


2. แอลกอฮอล์

สำหรับแอบกอฮอล์ถือว่าเป็นตัวการที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่เราคนไทยจะต้องประสบพบเจออยู่เป็นประจำ ไม่ว่างานไหน ๆ พี่ไทยของเราก็ต้องเมาเป็นหลัก  แต่ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคตับก็ควรจะหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจจะพบรับประทานได้บ้าง แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบชนิดบีแบบเรื้อรัง มีหลักฐานชัดเจนพบว่าการรับประทานแอลกอฮอล์ มีส่วนสัมพันธ์โดยตรง ทำให้การดำเนินของโรคลุกลามเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะไม่มีผลโดยตรงกับโรคตับ แต่การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดมะเร็งในหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย นอกจากปอด ดังนั้น เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงควรจะงด และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ด้วย  



3. อัลฟาท๊อกซิน (Aflatoxin)

สารอัลฟาท๊อกซินเป็นสารที่สร้างจากเชื้อรา Aspergillus ซึ่งเป็นเชื้อราตระกูลเดียวกัลที่พบตามขนมปังที่เก็บไว้นาน ๆ นั่นเอง เชื้อรา Aspergillus บางตระกูลสามารถสร้างสารพิษที่เรียกว่า อัลฟาท๊อกซินขึ้น ซึ่งสารพิษนี้สามารถชักนำให้เกิดมะเร็งตับได้ เชื้อราชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในอาหารบางอย่าง ซึ่งเก็บอย่างไม่ถูกวิธี และมีความชื้น เช่น ถั่ว พรกป่น ข้าวโพด ข้าวสารเป็นต้น การศึกษาจากประเทศจีนตอนใต้พบว่า อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบแบบบีเรื้อรัง ในหมู่บ้านที่มีสารอัลฟาท๊อกซินปนเปื้อนในอาหารสูงกว่ากลุ่มประชากรที่เป็นตับอักเสบบีแบบเรื้องรัง ที่บริโภคอาหารที่ไม่ได้ปนเปื้อนด้วยสารอัลฟาท๊อกซินอย่างชัดเจน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคตับจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารดังที่กล่าวมาแล้ว 



4. อารมณ์ และการพักผ่อน

อารมณ์และการพักผ่อน ถือว่าเป็นสิ่งที่คนเราทุกคนต้องให้ความสำคัญให้มาก ๆ เพราะว่าปัจจุบันพบว่าคนไทยมักจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์บ่อยครั้งทีเดียว  อันเนื่องมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านสิ่งแวดล้อม หรืออะไรอีกจิปาถะ  และบ่อยครั้งทีแพทย์พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบแบบเรื้อรัง หรือเป็นโรคตับแข็งที่มีอาการทั่วไปสบายดีมาตลอด แต่เมื่อผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือตรากตรำงานมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงมีส่วนชักนำให้ตับอักเสบเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการดีซ่าน หรือบางครั้งรุนแรงจนเกิดภาวะตับวายเกิดขึ้นได้ นอกจากการพักผ่อนที่เพียงพอแล้ว การมีจิตใจที่เบิกบานแจ่มใส ทำจิตใจให้สงบร่มเย็น ก็มีความสำคัญทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย 


5. ออกกำลัง

การออกกำลังถือว่าเป็นยาวิเศษที่หาซื้อตามห้างสรรพสินค้าไม่ได้เลย  ถ้าอยากได้ต้องลงมือทำเอง ก็จะได้สุขภาพดีโดยไม่ต้องเสียเงินเสียทองด้วยซ้ำไป  ซึ่งหากถึงขั้นป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง และมีอาการที่บ่งว่ามีสภาพการทำงานของตับเหลืออยู่น้อย เช่น ดีซ่าน ท้องมาน ผู้ป่วยเหล่านี้ควรงดออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการเดิน หรือนั่งนาน ๆ ผู้ป่วยที่มีประวัติเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร ไม่ควรออกกำลังที่จะต้องเบ่ง หรือเกร็งกล้ามเนื้อท้อง เช่น การยกน้ำหนัก เนื่องจากจะกระตุ้นให้ความดันเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารแตกได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นตับแข็งในระยะเริ่มต้นที่ไม่มีอาการผิดปกติสามารถออกกำลังได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หักโหม เช่น การวิ่งมาราธอน หรือกีฬาที่ต้องแข่งขัน การออกกำลัง เข่น การเดิน วิ่งเบา ๆ ดูจะเป็นการออกกำลังที่เหมาะสมทุก ๆ วัน วันละไม่น้อยกว่า 30 นาทีก็จะทำให้ร่่างกายของเราพัฒนา เพิ่มความแข็งแรงขึ้นทีละน้อย ๆ ตามลำดับ
6. อัลฟาฟีโตโปรตีน

(Alpha feto-protein) เป็นสารซึ่งสร้างขึ้นโดยเซลล์ตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่มีการแบ่งตัวของเซลล์ตับ เราพบสาร Alpa feto-protein สูงขึ้นในเด็กแรกเกิด อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยซึ่งเป็นมะเร็งตับอาจมีการเพิ่มขึ้นของ Alpha feto-protein ซึ่งใช้เป็นเครื่องแจ้งเตือนมะเร็งของตับได้ ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ตลอดจนผู้ที่เป็นตับแข็ง ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ถือว่าเป็นประชากรที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งของตับได้ทั้งสิ้น การตรวจพบมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น สามารถให้การรักษาที่เหมาะสม และมีโอกาสหายขาดได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคตับควรมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามแพย์นัด และตรวจ Alpha feto-protien ตามที่แพทย์เห็นสมควร 

ดังนั้นสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น 6 อ.  คือสิ่งที่ทำให้เราจำง่าย ๆ เพื่อให้เราได้เรียนรู้วิธีที่จะทำให้ร่างกายของเราปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  ซึ่งหากเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้ว เช่น โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต หรือว่าโรคอื่น ๆ แล้วก็จะทำให้เราต้องสูญเสียทุก ๆ อย่างที่เราเคยมี เช่น เงินทอง หน้าที่การงาน หรือบุคคลที่เรารัก อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปราถนา  เพราะฉะนั้นเราก็ควรที่จะดูแลสุขภาพของเราแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะสายไปทำให้เรามาเสียดายทีหลัง  แต่หากว่าเราพบว่าตับของเรามีปัญหาเราก็ควรที่จะดูแลด้วยการล้างพิษตับ ซึ่งการล้างพิษตับเป็นการที่จะช่วยฟื้นฟูตับของเราให้มีสภาพที่ปรกติ หรือว่าใกล้เคียงกับปรกติมากที่สุด


Create Date : 30 สิงหาคม 2556
Last Update : 30 สิงหาคม 2556 14:34:51 น. 0 comments
Counter : 3921 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Quick_Quick
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add Quick_Quick's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.