...ความรู้สามารถเรียนทันกันได้...
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
22 กรกฏาคม 2559
 
All Blogs
 
พิชิตตลาดหมี



พิชิตตลาดหมี

 

เมื่อคุณนายทาร์ถามผมว่าผมทำอาชีพอะไร ผมบอกเธอว่าผมทำงานที่วอลสตรีท ปฏิกิริยาแรกของเธอคือความสงสาร

“โอ้ เธอคงลำบากมากสินะ” เธอพูด

ตลาดมันเลวร้ายมาก มันแย่มาหลายปีและมันก็จะแย่ต่อไป ดาวโจนส์ปิดตลาดที่ 800 จุดในปี 1964 และมันก็ยังอยู่ที่ 800 จุด ในปี 1982 โดยมีภาวะเงินเฟ้ออย่างเป็นประวัติการณ์ที่ยาวนานถึงสิบแปดปี ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น

“ไม่หรอกครับ ทุกอย่างไปได้สวย ผม short (ขายชอร์ต)”

ในเวลานั้นเฮดจ์ฟันด์มีอยู่น้อยมากและไม่ค่อยมีใครรู้จักการขายชอร์ตซึ่งเป็นวิธีการประกันความเสี่ยงของเฮดจ์ฟันด์วิธีหนึ่งในหลายๆ วิธี

คนส่วนมากซื้อหุ้นที่ประมาณ 10 และขายมันที่ประมาณ 25 ดอลลาร์ พวกเขาซื้อและขายเพื่อทำกำไร การขายชอร์ตเป็นกระบวนการย้อนกลับซึ่งกำไรถูกสร้างขึ้น คุณขายหุ้นที่ 25 แล้วค่อยซื้อคืนที่ 10 ดอลลาร์ ทีนี้คุณจะขายได้อย่างไรถ้าคุณไม่มีมันอยู่แต่แรก คุณต้องยืมหุ้นจากคนอื่นมาก่อน ผมไปที่เจ พี มอร์แกนและยืมหุ้นจากพวกเขามา 100 หุ้น และขายมันที่ 25 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นราคาตลาดในปัจจุบัน ผมขายมันเพราะผมคิดว่าราคามันจะลง ดังนั้นเมื่อราคามันมาอยู่ที่ 10 ดอลลาร์ ผมก็ซื้อหุ้นมา 100 หุ้นและเอาไปคืนให้เจ พี มอร์แกน ทางธนาคารก็ได้หุ้น 100 หุ้นคืน ผมก็ได้กำไร และโลกก็ดำเนินต่อไป

จริงๆ แล้วการขายชอร์ตเป็นส่วนที่ขาดเสียไม่ได้ในตลาด มันเพิ่มสภาพคล่องและเสถียรภาพให้ตลาด ตลาดต้องการทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ถ้าไม่มีผู้ขายราคาก็จะพุ่งทะลุเพดาน ถ้าไม่มีผู้ซื้อราคาก็ดิ่งเหว สมมติว่าทุกคนกำลังคลั่งกระแสดอทคอมและต่างต้องการซื้อหุ้นอย่างซิสโก ราคาหุ้นเพิ่มจาก 20 ไปเป็น 80 ดอลลาร์ พวกขายชอร์ตก็เริ่มเข้ามา หุ้นอาจจะขึ้นไปที่ 90 ดอลลาร์ แต่ถ้าไม่มีคนขายชอร์ตมันจะไปถึง 110 ดอลลาร์ ถ้าไม่มีคนขายชอร์ตอาจจะไม่มีคนขายหุ้นเลยก็ได้ สภาพคล่องก็จะไม่มี ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะวุ่นวายไปหมด คนขายชอร์ตเป็นคนลดความร้อนแรงของกระแสบ้าคลั่ง

ในทางกลับกันสมมติว่าคนขายชอร์ตคาดผิด เขาก็ต้องรับผิดชอบกับการขายชอร์ตนั้น พวกเขาก็จะถูกขับออกจากตลาดไปเอง และหุ้นก็จะขึ้นไปจุดที่มันจะไปอยู่ดี แต่สมมติว่าคนขายชอร์ตคาดถูก หุ้นก็จะดิ่งลงสู่หายนะ ทุกคนก็จะแตกตื่นและแย่งกันหนีตาย ทุกคนจะรีบขายให้เร็วที่สุด เมื่อหุ้นมันดิ่งพสุธามันก็ย่อมไม่มีคนซื้อ แต่ก็จะมีคนซื้อกลุ่มหนึ่งแสดงตัวออกมา นั่นคือพวกขายชอร์ต พวกเขาต้องซื้อหุ้นกลับ พวกเขาต้องหาหุ้นมาคืนตามที่ยืมเอาไว้ พวกเขาต้องปิดสถานะชอร์ตนั้น ดังนั้นหุ้นจึงไม่ดิ่งลงไปจนถึงจุดที่มันควรจะเป็น หุ้นตัวที่น่าจะลงไปเหลือ 3 ดอลลาร์ก็อาจจะลงไปถึงแค่ 8 ดอลลาร์

การขายชอร์ตมีมายาวนานกว่าสี่ร้อยปีแล้วครับ แต่การขายชอร์ตไม่เหมาะกับผู้เล่นทั่วไปในวอลสตรีทหรือตลาดหุ้นไหนๆ เพราะมันต้องใช้ความรู้ที่มากขึ้น ต้องทำการบ้านอย่างหนักและจริงจัง คนที่มีข้อมูลมากพอถึงควรเล่น เพราะหุ้นที่คุณซื้อที่ 10 ดอลลาร์สามารถลงไปได้ต่ำสุดที่ศูนย์เท่านั้น คุณขาดทุนได้มากที่สุดแค่ 100 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ถ้าคุณขายชอร์ตที่ 10 ดอลลาร์ ความสูญเสียของคุณโดยทฤษฎีแล้วไม่มีขีดจำกัด หุ้นอาจจะขึ้นไปที่ 20, 30, 40, 50 หรืออาจจะไปถึง 1,000 ดอลลาร์ การขายชอร์ตจะทำร้ายคุณได้อย่างสาหัสและอย่างรวดเร็วถ้าคุณพลาด!

ดังนั้น พวกคุณที่อยากประสบความสำเร็จในการลงทุน คุณควรลงมือและศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง ให้รู้ลึก รู้จริง ก่อนการลงทุนทุกครั้ง และเคล็ดที่ผมให้คุณไป เป็นเพียงเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในภาวะตลาดหมี ซึ่งคุณสามารถหาอ่านความรู้ดีๆ แบบนี้เพิ่มเติมได้ในหนังสือ "หนังสือ รู้จริง รวยจริง อย่างเซียนหุ้น การผจญภัยบนเส้นทางชีวิตและตลาดการเงิน" นอกจากนี้ยังมีคลังความรู้ด้านการเงิน และการลงทุนขนาดใหญ่ ซึ่งมีหนังสือกว่า 20,000 เล่ม รอคุณอยู่ที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยคุณสามารถไปใช้บริการได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:30-21:00 น. เดินทางสะดวกโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน ลงสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ทางออก 3 นะครับ

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ที่มา : หนังสือ รู้จริง รวยจริง อย่างซียนหุ้น การผจญภัยบนเส้นทางชีวิตและตลาดการเงิน
เขียนโดย : จิม โรเจอร์ส ; แปลและเรียบเรียงโดย : คุณวิรัตน์ รัตนเวชสิทธิ
ขอบคุณภาพประกอบจาก : garykaltbaum.com




Create Date : 22 กรกฎาคม 2559
Last Update : 22 กรกฎาคม 2559 9:26:37 น. 0 comments
Counter : 836 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Querist
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add Querist's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.