Group Blog
 
 
มิถุนายน 2552
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
17 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
ย้อนรอย เส้นทางสตรีผู้อยู่เหนือเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น ... พูนศุข พนมยงค์ (4)

ชีวิตในต่างแดน

" ตลอดที่ผ่านมานั้น น้องได้ปฏิบัติเปนภรรยาที่ดียิ่ง พร้อมด้วยความอุทิศตนเสียสละทุกอย่างเพื่อพี่ และเพื่อราษฎรไทย แม้ว่าขณะนี้น้องจะลำบากเนื่องจากความอยุติธรรมของศัตรูที่ปองร้าย
แต่วันใดวันหนึ่งข้างหน้า คุณความดีของน้องจะต้องปรากฏขึ้นแก่มวลราษฎรไทย"

จดหมายจากปรีดีถึงพูนศุข เนื่อในสโอกาสครบรอบ 40 ปี ของการสมรส

พูน ศุขและลูก ๆ พำนักที่กรุงปารีสได้ไม่นาน อยู่มาวันหนึ่งเธอก็ได้รับจดหมายจากสามี ซึ่งขาดการติดต่อกันนานถึง 4 ปี ในเนื้อความจดหมาย นายปรีดีบอกให้ภรรยาเดินทางไปประเทศสวีเดน ติดต่อสำนักผู้แทนการทูตจีน เพื่อเดินทางเขาประเทศจีน

ในเวลานั้น ไม่เพียงพูนศุข คนอื่น ๆ ก็ไม่รู้ว่านายปรีดีลี้ถภัยอยู่ในประเทศจีน ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ เป็นที่หวั่นเกรงของประเทศตะวันตก เพราะการปลุกผีคอมมิวนิสต์ระบาดไปทั่วชาติตะวันตกและอเมริกา ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย การเดินทางไปประเทศจีนเป็นเรื่องอันตราย และเป็นไปได้ยาก พูนศุขทราบดีว่เพื่อความปลอดภัย การเดินทางไปเมืองจีนต้องถือเป็นความลับสุดยอด

พูนศุขพร้อมดวยดุษฎี และวาณีเดินทางไปยังกรุงสตอกโฮล์ม เพื่อพบทูตจีนผู้ได้มอบตั๋วเครื่องบินให้สามแม่ลูกเดินทางไปยังประเทศ ฟินแลนด์ จากที่นั่นเป็นหนทางที่จะข้ามไปสหภาพโซเวียต พอถึงกรุงมอสโก เจาหน้าที่ทูตจีนมารอรับ แล้วออกเดินทางโดยรถไฟที่ช้าที่สุดในโลก จากยุโรปตะวันออกสู่ทวีปเอเชียกินเวลา 7 วัน 7 คืน

พอข้ามพรหมแดนมา ถึงประเทศจีน นายปรีดีมายืนรอรับที่เมืองหม่านโจหลี่ ไม่ต้องพูดถึงอ้อมกอด เสียงร่ำให้ วงแขนที่กระชับแน่นระหว่างสามีภรรยา และลูกสาวสองคนที่พลัดพรากกันมานานเหมือนตายจาก และแทบจะสิ้นหวังจะได้พบหน้ากันและกันอีกครั้ง เป็นความรู้สึกที่เหมือนตายแล้วเกิดใหม่อย่างไร เสียน้ำตากันไปกี่หยด คนเข้มแข็ง คนที่เป็นยอดคน ไม่ต้องมาคร่ำครวญถึงสิ่งเหล่านี้

นาย ปรีดีพาครอบครัวไปอาศัยอยู่ที่กรุงปักกิ่ง นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ที่พ่อแม่ลุกได้อยู่ร่วมกันอีกครั้งหลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2490

ไม่นานหลังจากนั้น ประธานเหมาเจ๋อตุง ผู้นำจีน ได้มีโอกาสพบนายปรีดี ณ กรุงปักกิ่ง ประโยคแรกที่ประธานเหมาะเอ่ยทักทายขึ้นคือ

"รู้สึกยินดีที่ได้พบกับท่านปรีดี ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย ส่วนตัวผมเอง แต่เดิมมีอาชีพเพียงเป็นครูประชาบาลชั้นประถมเท่านั้น"

-------

ในระหว่างใช้ชีวิตร่วมกันที่กรุงปักกิ่ง พูนศุขและปรีดีก็ไดทราบข่าวว่า ปาลถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี ซึ่งต่อมาได้รับการลดโทษลงเหลือ 13 ปี กับอีก 4 เดือน และถูกจำขังอยู่เกือบ 5 ปีเต็ม
ในปี 2500 ปาลกับผูต้องหาคดีกบฏสันติภาพก็ได้รับพระราชทานนิรโทษกรรม เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกึ่งพุทธกาล

ต่อ มาเมื่อนายปรีดีอายุมากขึ้น ประกอบกับปัญหาสุขภาพไม่สามารถทนความหนาวจัดในกรุงปักกิ่ที่อุณหภูมิคิดลบ 15 องศา ได้นานตลอดฤดูหนาว จึงทำเรื่องถึงทางการจีน และได้รับอนุญาตให้ย้ายบ้านพักไปอยู่ในเมืองกวางโจว มลฑลกวางตุ้งทางภาคใต้ซึ่งมีสภาพอากาศร้อนอบอ้าว

ในช่วงเวลานั้น ลูก ๆ ของพูนศุข-ปรีดี ต่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญากันทุกคน ปาลจบนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ สุดาจบปริญญาตรีจากฝรั่งเศส สุขปรีดาจบทางภาษาที่กวางโจว ดุษฎีจบทางด้านดนตรี วาณีจบปริญญาโททางด้านอักษรศาสตร์ที่กรุงปักกิ่ง ส่วยลลิตาลูกสาวคนโต มีปัญหาสมองไม่พัฒนามาตั้งแต่เด็ก

จนถึงปี 2513 นายปรีดีไดขออนุญาตทางการจีน ย้ายครอบครัวมาอยู่ในเมืองอองโตนี ชานกรุงปารีส เพราะรู้สึกเกรงใจทางการจีน ที่ให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างดีเยี่ยมมานานแล้ว ประกอบกับอยู่ที่เมืองจีน คิดต่อกับประเทสไทยลำบากมาก เพราะจียปกครองโดยระบอบสังคมนิยมเต็มรูปแบบ แม้แต่ญาติสนิทจากเมืองไทยจะมาเยี่ยมยังถูกทางการเพ่งเล็ง ฟังข่าวสารจากวิทยุหรือหนังสืพิมพ์ก็ไม่สะดวก ถึงเวลาทีต้องเลือกดำเนินชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ อยู่ในกรุงปารีสสามารถติดต่อกับโลกภายนอกไก้สะดวกกว่า

พูนศุขเคย กล่าวว่า "ฉันไม่ลืมบุญคุณรัฐบาลและราษฎรชาวจีน ฉันเป็นคนไม่ลืมบุญคุณคน ตอนที่ทางจีนเกิดอุทกภัยเมื่อหลายปีมาแล้ว ฉันก็ส่งเงินไปช่วยตามมีตามเกิด เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ส่งไปอีก"

ปรีดี-พูนศุข สนทนากับคนรุ่นใหม่ที่บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส




กรุงปารีสเป็นเมืองที่ยายปรีดีคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ 40 กว่าปีก่อนเขาเคยมาศึกษาวิชากฎหมายระดับปริญญาเอกนานถึง 8 ปี เป็นสถานที่บรรดาผู้อภิวัฒน์ 2475 เคยมาปรึกษาหาเรือกันเป็นประจำ เมื่อนายปรีดีอพยพครอบครัวมาอยู่ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง เขาก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับญาติสนิทมิตรสหาย ลูกศิษย์ลูกหา นักศึกษาที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนสม่ำเสมอ นายปรีดีใช้เวลาส่วนใหญ่เขียนสำนวนคดีฟ้องหมิ่นประมาทผู้ที่กล่าวหาว่าเขา พัวพันในกร
ณีสวรรคต ซึ่งทุกคดีที่เขาเป็นโจทก์ฟ้อง ศาลตัดสินให้ชนะทั้งหมด

แต่ การย้ายมาอยู่ฝรั่งเศส ครอบครัวพนมยงค์ต้องกินอยู่อย่างประหยัด เพราะอาศัยเพียงรายได้จากบำนาญของนายปรีดี ค่าเช่าบ้านที่กรุงเทพฯก็ไม่มาก ดุษฎี ผู้เป็นลูกสาวเคยเขียนถึงเรื่องนี้ว่า

"ชีวิตของคุณพ่อดำรง อยู่ด้วยเงินบำนาญเพียงเดือนละ 4000 กว่าบาท ทำให้ลูก ๆ ทุกคนต้องช่วยกันทำงานหารายได้ เพราะลำพังเงินเดือนของพ่อเราอยู่ไม่ได้แน่ ๆ เราต้องทำงานทุกอย่าง ไม่ว่าเป็นลูกจางในร้านอาหาร รับจ้างทำความสะอาดตามบ้าน และทำอาหารขายฯลฯ"

16 พฤศจิกายน 2521 อันเป็นวันครบรอบ 50 ปีแห่งการสมรสพูนศุข-ปรีดี ซึ่งเรียกกันว่า "การสมรสทองคำ" ทั้งคู่ได้ฉลองสมรสด้วยการบำเพ็ญกุศลสาธารณสงเคราะห์ โดยส่งผ่านสภากาชาดไทย ซึ่งนายปรีดีเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเวลานั้นเป็นเงิน 5000 บาท

ครบรอบวันเกิดปีที่ 80 ของปรีดี พนมยงค์ที่บ้านพักอองโตนี



กันยายน 2524 พูนศุข-ปรีดีประสบกับความเศร้าสะเทือนใจครั้งใหญ่ เมื่อปาลบุตรชายจากไปด้วยโรคมะเร็งในวัย 50 ปี พูนศุขเผยความในใจกับการสูญเสียในครั้งนี้ว่า

"ปาลเป็นลูกชายคนโตของ พ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่หวังจะฝากฝีฝากไข้กับลูกในบั้นปลายชีวิต แต่ลูกได้ด่วนจากพ่อแม่ไปก่อนตามกฎแห่งธรรมชาติ ซึ่งไม่มีอำนาจหรือสิ่งใดที่จะเหนี่ยวรั้งไว้ได้"

ก่อนจะส่งร่างลูก ชายสู่ตึกกายวิภาค คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานที่บริจาคร่างกายของปาล แม่พูนศุขได้จูบลาลูกชายเป็นครั้งสุดท้าย และบอกลูกด้วยหัวใจของเธอว่า

"ชาตินี้ลูกมีกรรม เกิดมาอาภัพและลำบาก ถ้าชาติหน้ามีจริง ขอให้ลูกเกิดมามีชีวิตที่สุขสบายกว่านี้"



บันทึกของพูนศุขเกี่ยวกับสามี

"เราได้อยู่ด้วยความเข้าใจและเห็นใจ ซึ่งกันและกัน แม้ว่าเหตุการณ์บ้านเมืองจะทำให้เราแยกจากกันในบางขณะ แต่ในที่สุด เราก็ได้มาอยู่ร่วมกันในปัจจุบันของชีวิต จนเธอได้จากไปตามกฏธรรมชาติ เธอเป็นคู่ชีวิตและมิตรที่ซื่อสัตย์ ไม่ว่าเราจะอยู่ใกล้หรือไกลกัน เธอเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่หยุดยั้ง เป็นตัวอย่างในความเป็นอยู่สมถะ เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ บำเพ็ญชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รับใช้ประเทศชาติด้วยความเสียสละ และมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถึงคราวมีเคราะห์กรรมก็ไม่เคยหวั่นไหว"

สองปีถัดมา หลังจากปาลลูกชายเสียชีวิต นายปรีดีคู่ชีวิตพูนศุขก็ไดละสังขารอย่างสงบในบ้านพักอองโตนี ด้วยวัย 83 ปี......








และนี่คือภาพถ่ายภาพเดียว ที่ครอบครัวพนมยงค์ พ่อ-แม่-ลูก ได้อยู่กันพร้อมหน้า





พูนสุขเล่าถึงการจากไปของนายปรีดี

"อยู่ดี ๆ ก็นั่งเขียนหนังสือนั่นแหละ เขียนเสร็จแล้วจะให้ลูกคนหนึ่งตรวจทาน ก็บอกให้ฉันออกไปตาม แต่ลูกไม่อยู่ออกไปทำงานเสียก่อน ฉันก็กลับเข้ามา นายปรีดีถอดแว่น พูดอะไรสองสามคำ ฉันจำไม่ได้ แล้วเอนตัวลงพิงพนักเก้าอี้ คอพับแล้วก็นิ่งไป ฉันรีบไปหยิบยาฉุกเฉินที่หมอให้ไว้ แล้วโทรศัพท์หาลูกอีกคนหนึ่งก็เช่าบ้านอยู่ข้าง ๆ เพราะบ้านเราหลังเล็ก เขามีครอบครัว ฉันให้คนไปตาม เผอิญมีหลายคนหนึ่งเรียนแพทย์จุฬาฯ ปี 4 มาพักอยู่ที่บ้าน ก็ให้เขาช่วยผายปอด แล้วโทรศัพท์เรียกแพทย์ฉุกเฉิน หมอสั่งไว้ให้เรียกรถแอมมูแลนซ์ก่อน เพราะว่ารถแบบนี้ของเขามีเครื่องเคราครบ เขาก็มาเปั๊มหัวใจ แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว นายปรีดีไม่ได้ทรมานเลย สิ้นใจอย่างสงบ หมอประจำตัวมาทีหลังบอกว่าตายอย่างงดงาม....

ร่างนอนอยู่ที่บ้าน ไม่ได้ใส่หีบตั้ง 5 วัน คนไทยจากที่ต่าง ๆ ในยุโรปในฝรั่งเศศมาเคารพศพ ท่านเสียวันจันทร์ วันศุกร์ถึงได้ลงหีบ นอนอยู่บนเตียงเฉย ๆ นี่เหมือนคนนอนหลับ เล็บ แก้ม ไม่ได้ซีดเลย ผม หนวด เล็บ ยังงอกยาวออกมาเหมือนคนยังมีชีวิตอยู่ เจาหน้าที่บอกไม่ให้เราถูกตัว แล้วมียาอะไรไม่รู้วางไว้ทำความสะอาด พอดีเป็นช่วงเดือนพฤษภาอากาศเย็น ความจริงถ้าเป็นโรคอื่นไม่ได้นะ เมืองฝรั่งไม่ให้ตั้งศพอยู่ที่บ้าน..."



พูนศุขเล่าถึงงานศพสามี

"ท่านทูตไทยมาส่วนตัว เพราะว่ารัฐบาลไทยในขณะนั้นไม่มีความเห็น ท่านไม่พูดก็เลยไม่ทำอะไร มีเพื่อนลูกที่อยู่ต่างประเทศโทรศัพท์มาถามว่า รัฐบาลไทยสั่งอะไรไหม ไม่มีอะไร รัฐบาลไม่สั่งอะไรเลย รัฐบาลใบ้ เห็นใจทูตนะ เราก็เลยขอความช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว พอดีท่านปัญญาฯ (หลวงพ่อปัญญาฯวัดชลประทานฯ) กำลังอยู่ที่อังกฤษ ท่านรู้ข่าวโทร.มาแสดงความเสียใจ เราจึงนิมนต์ท่านมาเป็นประธานประชุมเพลิง ยังมีพระจากประเทศอังกฤษอีกามรูปมาสวดให้ เอาผ้าไตรมาช่วย ท่านเดินทางมาเอง แล้วมีพระในฝรั่งเศสอีก ท่านปัญญาฯ เป็นประธาน ท่านก็กล่าวสดุดี มีคนไทยในฝรั่งเศสและยุโรปมาเผากันเยอะ นักบินและเจ้าหน้าที่จากการบินไทยเผอิญไปปารีสในขณะนั้น อุตส่าห์มาร่วมเผากันหมด คนรู้จัก คนไม่รู้จัก อุตส่าห์มากัน ก็เผากันเดี๋ยวนั้น เก็บกระดูกกันเดี๋ยวนั้น ละเอียดเชียว สั่งไว้นี่ บอกให้เป็นขี้เถ้า ไม่มีชิ้นเลย แล้วยังมีอดีตทูตฝรั่งเศสที่เคยมาประจำในประเทศไทย นยกรัฐมนตรีฝรั่งเศสก็ส่งพวงหรีดมาแสดงความเสียใจ"


บรรจุศพปรีดี พนมยงค์ ณ สุสาน Pere Lachaise


เมื่อจัดการศพของสามีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หญิงชราผู้จากแผ่นดินเกิดไปนานถึง 34 ปี ไม่มีภาระอะไรที่ต้องห่วงใยที่ปารีส แผ่นดินที่ซึ่งจากมาเรียกหาเธอ แม้คู่คิด คู่ชีวิตตายจากไป
แต่คุณความดีของเขายังอยู่คู่แผ่นดิน และฝังอยู่ในหัวใจของเธออย่างแนบแน่น ทุกก้าวที่เหลืออยู่ในชีวิตบั้นปลายของเธอ สามีไม่เคยห่างหายไปไหน แฝงอยู่ในทุกคุณความดีที่เธอได้กระทำลงไป ทั้งต่อบุตรหลาน ต่อตัวเธอเอง และประเทศชาติบ้านเมือง

พูนสุขตัดสินใจย้ายกลับมาอยู่ที่เมืองไทย เป็นการถาวรในปี 2530 ใชชีวิตอย่างสงบและสมถะในย้านพักย่านวอยสวยพลู ช่วยงานสังคมเป็นระยะ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวของกับนายปรีดี พนมยงค์ อาทิจัดงาน เฉลิมฉลอง 100 ปี ชาตกาล รัฐบุระอาวุโสปรีดี ในปี 2543

พูนศุขเล่าถึงชีวิตประจำวันอันเรียบง่ายว่า

"ตี 3 ตี 4 ก็ตื่นแล้ว เปิดวิทยุฟังข่าวบ้าง ดูรายการโทรทัศน์บ้าง ยังไม่ถึง 6 โมงเช้าก็ลงมาข้างล่างเตรียมอาหารเช้าสำหรับตัวเอง อ่านหนังสือพิมพ์รายวัน ฟังวิทยุ อ่านหนังสือธรรมะบ้าง แล้วเดินเล่นในบริเวณบ้าน พอสาย ๆ มีญาติมาเยี่ยมเสมอ บางวันอาจมีงานเกี่ยวกับนายปรีดีที่ต้องไปร่วม ถ้าเป็นวันศุกร์มีตลาดนัดที่จุฬาฯ ก็จะไปจ่ายตลาดซื้อของกิน หลังอาหารกลางวันเป็นเวลาพักผ่อนก็จะไม่รับแขก จนถึงเวลาบ่ายสี่โมง ถ้าวันไหนมีงานศพของผู้ที่รู้จักคุ้นเคยก็จะไปลาและขออโหสิกรรมกันเป็นครั้ง สุดท้าย ตอนเย็น ๆ เดินเล่นอีกรอบหนึ่ง ถึงเวลาอาหารค่ำ ก็จะรับประทานอาหารเบา ๆ หรืออาหารที่เหลือตังแต่มื้อกลางวัน เช่นนำพริกมะม่วงกับปลาสลิด สลับกับสลัด ดูข่าวภาคค่ำเสร็จประมาณสามทุ่มก็สวดมนต์เข้านอน"

ในวัย 90 ปี พูนศุขมีความทรงจำแม่นยำและดีเยี่ยมอย่างไม่น่าเชื่อ ได้เขียนบันทึกในช่วงวัยขนาดนี้ไว้ว่า

" ข้าพเจ้าทบทวนเหตุหนหลังดวยใจอันสงบ มิได้โกรธแค้น หรือคิดอาฆาตมาดร้ายต่อผู้ใด ขณะเดียวกัน ข้าพเจ้ารำลึกถึงทุกท่านที่เสี่ยงภยันตรายช่วยเหลือนายปรีดีให้พ้นภัยใน ครั้งกระนั้น ด้วยความขอบคุณ"



แม้ถูกไล่ล่า ถูกกลั่นแกล้งและอำนาจมืดเพียรพยายามจะทำลายให้ย่อยยับ และแม้ครอบครัวพนมยงค์จะไม่ได้อยู่ร่วมกันในช่วงเวลาหลายปี บำนาญถูกตัด พูนศุขจำต้องยอมทำแม้แต่เป็นคนขายขนม ลูก ๆ เป็นลูกจ้างตมที่ต่าง ๆ แต่ลูก ๆ ของพูนศุข-ปรีดี ได้รับการศึกษาอย่างดีเยี่ยม (ยกเว้นเพียงลลิตาคนโตซึ่งๆไม่มีพัฒนาการด้านสมอง) และมีการงานที่ดีทุกคนในเวลาต่อมา
ทั้ง 5 คนไม่เคยทำเรื่องเสื่อมเสียใด ๆ นอกจากอุทิศตนทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติ

ปาล จบนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 50 ปี

สุดา (ปัจจะบันอายุใกล้จะ 80) จบปริญญาโท อักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาและวรรณคดี จากประเทสฝรั่งเศส

ศุขปรีดา (อายุในปัจจุบันเจ็ดสิบกว่า) จบปริยยาตรีทางด้านภาอังกฤษ จาก ม.ซุยยัดเซ็น กวางโจ

ดุษฎี (อายุใกล้ ๆ 70 ) จบปริญญาโททางด้านดนตรีศาสตร์ (ขับร้องและเปียโน) จากกรุงปักกิ่ง

วาณี (อ่อนกว่าดุษฎี 2ปี) จบปริญญาโท อักษรศาสตร์ วาขาวิชาภาษาและวรรณคดี จากกรุงปักกิ่ง


ภาพ นี้อยู่กันพร้อม (ขาดไปเพียงลลิตา) แต่ไม่ได้อยู่ร่วม เป็นการเดินทางไปเยี่ยม ลูกสาวและลูกชายสุขปรีดายืนอยู่ข้างหลัง ปาลนั่งอยู่ด้านซ้ายสุด ภาพนี้ถ่ายที่กรุงปักกิ่ง


หญิงชราที่ผ่านวิกฤตในชีวิตมามากมาย กลับคืนสู่ประเทศบ้านเกิด ดำรงชีวิตอย่างสงบ ดวงตาของเธอไม่เพียงมองผ่านอดีตด้วยความเข้าใจ หากถ่องแท้กับกาลข้างหน้าที่จะเป็นไปตามกฎธรรมชาติ เธอรอบคอบและเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับทุกสิ่ง เท่านั้นยังไม่พอ ลูก ๆ ต้องจัดการกับสิ่งที่จะมาถึงได้ง่าย พูนศุขจึงร่างคำสั่งเสียถึงลูก ๆ ด้วยลายเมือของตัวเอง


คำสั่งถึงลูกทุกคน

เมื่อแม่เสียชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแล้ว

2.ไม่ขอรับเกียรติใดๆ ทั้งสิ้น

3.ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจงข่าวให้ญาติมิตรทราบ

4.ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องการมาร่วมงาน

5. มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือมาแสดงธรรม (ตามที่เคยจัดให้ปาล) และทำบัตรสำหรับหนังสือที่ระลึก

6.ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือเงินช่วยทำบุญ

7.เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย

8.ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่ปากน้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสถานที่แม่เกิด

9. หากมีเงินบ้างก็ขอให้บริจาคเป็นทานแก่มูลนิธิต่าง ๆ ที่ทำสาธารณะกุศล

10. ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามแม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นของใคร ลูก ๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งแม่ จงมีความสุข ความเจริญ

เขียนไว้ที่บ้านเลขที่ 172 สาธร 3 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541 แม่มีอายุครบ 86 ปี 9 วัน








- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สามารถอ่านต้นฉบับ โดยคุณเหยี่ยวเหินฟ้า ได้ที่
//www.sameskybooks.org/board/index.php?s=ecfa7bbefefd776d1f06182817bd6372&showtopic=25885&st=0


Create Date : 17 มิถุนายน 2552
Last Update : 17 มิถุนายน 2552 21:24:25 น. 1 comments
Counter : 2396 Pageviews.

 
แวะมาอ่านครับ
ได้รู้ข้อมูลอะไรมากมาย


โดย: peeradol33189 วันที่: 17 มิถุนายน 2552 เวลา:21:26:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แค่ก้อนหินที่อยากบินได้
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอมี Blog กับเค้าด้วยคนนะคะ ^ ^

Friends' blogs
[Add แค่ก้อนหินที่อยากบินได้'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.