Group Blog
 
 
มิถุนายน 2552
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
17 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
ย้อนรอย เส้นทางสตรีผู้อยู่เหนือเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น ... พูนศุข พนมยงค์ (2)

พูนสุข เกิดเมื่อวันที่ 2 ม.ค 2455 ที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นลูกคนที่ 3 ของอำมาตย์ตรี พระยาขัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) และคุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิต (สุวรรณศร)
พออายุได้สี่เดือนเศษ บิดามารดาได้ข้อเข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อขอรับพระราชทานนามบุตรี ซึ่งได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนาม
"พูนศุข"

ปีนั้นบิดาย้ายเข้า กรงเทพฯ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ มีบ้านพักอยู่ย่านคลองสาน เมื่ออายุ 6 ขวบ เด็กหญิงพูนศุขก็ได้เขาเรียนที่เซ็นโญเซฟคอนแวนต์

"ดินฉันเข้าเรียน เมื่ออายุ 6 ขวบ คุณพ่อเลือกให้ดิฉันเรียนโรงเรียนฝรั่ง ย่านสีลม พ่อว่าเป็นโรงเรียนโก้มากและค่าเรียนแพง เพื่อนร่วมชั้นมีคุณหญิงแร่ม พรหมโมบล คุณหญิงละไม หงส์ยนต์
คุณเจริญ ชูพันธ์ โรงเรียนเน้นสอนภาษา อย่างดิฉันเรียนภาษาอังกฤษ แตการเรียนการสอนทุกวิชา หรือแม้แต่นอกห้องเรียนต้องพูดกันดวยภาษาอังกฤษตลอด โรงเรียนสอนให้ดิฉันซื่อสัตย์มีวินัย มีมารยาทในสังคม มีวิชาความรู้ ....ทำหน้าที่ภรรยาของนักการเมืองและแม่ของลูกอย่างอดทน เชื่อมั่น และไม่ท้อแท้...

ช่วงเวลาที่พูนศุขเล่าเรียนอยู่ในสถานศึกษาแห่งนี้ พ่อแม่ได้ย้ายบ้นมาอยู่ถนนสีลม พูนศุขเคยเล่าให้คนใกล้ชิดฟังว่า วัยเด็กท่านมีความเป็นอยู่แบบผู้มีอันจะกิน เป็นคุณหนู ใช้ชีวิตค่อนข้างหรูหรา มึคนรับใช้ใกล้ชิด เพราะมีพ่อเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ บ้านที่ถนนสีลมก็ได้ช่างชาวอิตาเลี่ยนมาออกแบบ เกิดมาจำความได้ก็มีส้วนแบบชักโครกใช้แล้ว ซึ่งสยามประเทศในห้วงเวลานั้นมีส้วมแบบนี้นับชิ้นได้

และในห้วงเวลา นั้นเอง เธอก็ได้พบกับชายคนหนึ่งที่ชื่อปรีดี พนมยงค์ เป็นลูกชาวนาจากอยุธยา พ่อชื่อนายเลียง แม่ชื่อนางลูกจันทน์ จนเมื่อเรียนจบสแตนดาร์ด 7 เธอก็ได้ลาออกมาแต่งงานกับชายผู้นี้------

พูนศุขเล่าถึงคู่สมรส

"เป็นญาติห่างๆ กัน นายปรีดีแก่กว่าฉัน 11 ปี พ่อของดิฉันกับพ่อนายปรีดีเป็นญาติกัน จึงฝากฝังลูกชายมาให้เรียนกฎหมายที่กรุงเทพฯ มาอยู่ที่บ้าน จึงรู้จักกันมาตั้งแต่ดิฉันอายุเก้าขวบ
พอเรียนจบได้เป็นเนติบัณฑิต แล้วได้ทุกไปเรียนต่อทางกฎหมายที่ฝรั่งเศสเป็นเวลาเจ็ดปี เขากลับมาตอนดิฉันอายุ 16 ปี เขากลับมาถึงเมืองไทยวันที่ 1 เม.ย 2470 กว่าจะแต่งงานก็
เดือน พ.ย 2471 ตอนที่เขาพาผู้ใหญจากอยุธยามาขอหมั้น ดิฉันยังไปเรียนหนังสือตามปกติ เมื่อเขามาสู่ขอ คุณพ่อดิฉันก็ยอม ไม่ได้เรียกร้องอะไร นอกจากแหวนเพชรวงหนึ่ง

"สมันนั้นมีดอกเตอร์อยู่ เพียงไม่กี่คน ผู้ที่มารดน้ำในงานแต่งบางท่านอวยพรว่า จะโชคดีมีโอกาสเป็นเสนาบดีแน่นอน ตอนนั้นนายปรีดีเพิ่งได้รับยศมีบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์เอก หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เราแต่งงานกันวันที่ 6 พ.ย 2471 เราหมั้นกันก่อนประณหกเดือน เรือนหอที่พ่อแม่สร้างให้เป็นของขวัญอยู่ในบ้านป้อมเพชร์ ถนนสีลม เวลานี้โดนรื้อกลายเป็นถนนนราธิวาสนครินทร์ ตรงหัวมุมถนนสีลมตัดกับถนนใหม่นั่นแหละ พอเรือนหอสร้างเสร็จก็แต่งงาน"


พิธี แต่งงานจัดขึ้นที่บ้านป้อมเพชร์ เจาสาวสวมเสื้อสีชานอ้อย นุ่งซิ่นสีเดียวกัน เจ้าบ่าวสวมชุดราชปะแตน นุ่งผ้าม่วงสีนำเงิน ยืนคอยต้อนรับแขกที่เข้ามาร่วมงาน มีเจ้าพระยายมราช
(ปั้น สุขุม) เป็นผู้สวมมงคล และเจิมหน้าผาก ร่วมกับท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ สุขุม สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร์) หลวงวิจิตรวาทการได้แต่โคลงมองเป็นของขวัญ

พูน เพิ่มเฉลิมเกียรติล้ำ ลือนาม
ศุข สบายภัยขาม คลาดพ้น
ปรี ดาอย่ารู้ทราม จิตต์เสน่ห์
ดี จักมียิ่งล้น หากรู้รักกัน

-------------------------------------

จากหนังสือผู้อภิวัฒน์


ชะตากรรม (Destiny) ของพูนสุขหลังสมรสแล้วนั้น จึงพลอยเป็นไปตามชะตากรรมของปรีดี ส่วนชะตากรรมของปรีดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผลของการงานทาง อภิวัฒน์ ที่รับใช้ประเทศชาติ
และราษฎร เพื่อที่จะก้าวนำไปตามแนวทางแห่งการกู้อิสรภาพของมนุษย์ ใหพ้นจากการถูกเบียดเบียน เพื่อให้ชาติไทยมีเอกราชและประชาธิปไตย์โดยสมบูรณ์


ภายหลังออก เรือนมาเป็นแม่บ้าน พูนศุขใช้เวลาว่างไปเรียนภาษาฝรั่งเศส และช่วยตรวจบรู๊ฟหนังสือในโรงพิมพ์นิติสาส์นของนายปรีดี พิมพ์ตำรากฎหมายเพื่อเป็นรายไดเสริมอีกทางหนึ่ง

พูนศุขกล่าวว่า "เราแต่งงานตั้งปีครึ่งถึงมีลูกคนแรก ฉันมีเวลาไปเรียนภาษาฝรั่งเศสที่สมาคมฝรั่งเศส ถนนสาทร เพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกันเทาที่จำได้มี คุณจำกัด พลางกูร คุณกนต์ธีร์ ศุภมงคล คุณป๋วย อึ้งภากรณ์ บางคนมาจากเทพศิรินทร์ บางคนมาจากอัศสัมชัญ"

จนกระทั่งก่อนหน้า 24 มิถุนายน 2475 นายปรีดีบอกกับภรรยาว่าจะไปอยุธยา แต่ความจริงตัวเขากำลังจะเข้าร่วมก่อการครั้งสำคัญ


ภาพถ่ายที่หัวหิน 2475 ปรีดีอุ้มลลิตา พูนศุขอุ้มปาล


2475 พูนศุข อายุ 20 ปี

"ไม่รู้เรื่องว่าจะเกิดอะไร ก่อนหน้านี้นายปรีดีเคยมาขออนุญาตว่าจะไปบวช ฉันก็ยินดีอนุโมทนา เขาบอกว่าวันที่ 23 จะไปหาแม่ที่อยุธยาเพื่อขอลาบวช วันนั้นเขากลับมาจากที่ทำงาน
มาถึงบ้าน จากนั้นฉันก็นั่งรถไปส่งพร้อมลูกตัวเล็ก ๆ ที่หัวลำโพง ไม่มีอะไรผิดสังเกต ขากลับยังแวะเยี่ยมเพื่อนที่จุฬา กลางคืนวันที่ 23 ลูกคนที่สองร้องไห้ ตอนนั้นมีลูกสองคน คือลลิตากับปาล ปาลร้องไห้ไม่หยุด คุณพ่อคุณแม่ที่อยู่บนตึกใหญ่ได้ยินก็ให้คนมาถามว่าเป็นอะไร ฉันก็ไม่ทราบว่าเป็นอะไร แต่ตลอดคืนใจคอไม่ดี เป็นห่วงว่านายปรีดีจะเป็นอันตราย...

"จนรุ่งเช้าวันที่ 24 มิถุนายน จำได้ว่าท้องฟ้ามืดครึ้มมีฝนตกปรอย ๆ ตามปกติจะถ่ายรูปลูก ๆ เป็นระยะ ลูกปาลอายุครบหกเดือน ต้องคลุมตัวด้วยผ้าชุดใหม่ อุ้มลงไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึกที่ตึกใหญ่ของคุณพ่อ พออีกสักครู่ท่านเจ้าพระยายามราช บ้านท่านอยู่ศาลาแดงที่เป็นดุสิตธานีในเวลานี้ ท่านเป็นญาติผุ้ใหญ่ เป็นน้าของคุณแม่ ฉันเรียกท่านว่าคุณตาก็มาที่บ้านป้อมเพชร์
ท่านถามว่ารู้เรื่องไหม เกิดเรื่องใหญ่ คนเรือของท่านรายงานมาว่า ที่วังบางขุนพรหมมีมีทหารมาจับทูลกระหม่อมชาย..."

ย่ำ รุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร์ซึ่งประกอบด้วยทหารและพลเรือน 115 นาย มากกว่าครึ่งอายุน้อยกว่า 30 ปี โดยมี พ.อ.พหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ มีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำฝ่ายพลเรือน ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากระบอบราชาธิไปไตย์มาเป็นประชาธิไปไตย์ แบบสายฟ้า
แลบ ด้วยการลวงทหารจากกรมกองต่าง ๆ ให้มาชุมนุมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า แล้วก็ประกาศเปลียนแปลงการปกครองทันที และกำลังอีกส่วนหนึ่งไปเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์มาเป็น ตัวประกัน รวมทั้งทูลกระหม่อมชาย หรือสมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเวลานั้นทำหน้าที่เป็นผู้รักษาพระนครแทนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัว ที่เสด็จไปประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


เช้า วันนั้นนายปรีดีต้องพูดปดกับภรรยา เพื่อรักษาความลับ เขาไม่ได้ไปอยุธยา หากไปลอยเรืออยู่ในคลองโอ่งอ่าง แจกแถลงการณ์ของคณะราษฎร ที่พิมพ์จากโรงพิมพ์นิติศาส์นของตัวเขาเอง แต่งานชิ้นนี้ พูนศุขไม่ได้เป็นคนตรวจบรู๊ฟ....

พูนศุขเล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น

"มีรถทหารและทหารหลายคนมาอยู่ที่ หน้าโรงพิมพ์ ฉันชักจะกลัว พอสักครู่คนที่โรงพิมพ์ก็วิ่งมาบอกว่า ทหารมาให้พิมพ์ใบปลิว จึงสั่งให้พิมพ์อะไรก็ทำให้หมด ตอนหลังจึงรู้ว่ามีการเรียงพิมพ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว เพราะทหารมาถึงก็พิมพ์เลย ตอนบ่ายคุณพ่อและท่านเจ้าคุณไปสืบเรื่อง เพื่อกลัวว่าหัวหน้าชื่อพระยาพหลจะจับเจานาย แล้วเปลี่ยนแปลงอะไรต่ออะไร

คืน นั้น นายปรีดีให้คนมาส่งข่าวว่า ตอนนี้อยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม กองบัญชาการคณะราษฎร ไม่ได้กลับบ้านเลย ขอให้ส่งอาหารไปให้หน่อย ฉันต้องทำอาหารจัดส่งไปให้ที่พระที่นั่นอนันตฯ จนถึงวันที่ 3 ก.ค เขาถึงส่งจดหมายมาถึงฉัน ขอโทษที่ไม่ได้เล่าให้ฟัง เพราะถ้าเล่าให้ฟังก่อนเดี๋ยวจะทำการไม่สำเร็จ ฉันอายุยังน้อยกลัวจะไม่รักษาความลับ และอีกอย่างหนึ่งที่บ้านก็คุ้นเคยกับเจ้านายวัง"

ข้อความบางตอนในจดหมามีว่า

" การที่ได้กระทำอะไรไปในครั้งนี้ก็เพื่อเห็นแก่ชาติและราษฎรเป็นส่วนมาก เห็นว่าเกิดครั้งเดียว เมื่อมีโอกาสทำได้ก็ควรทำ ขอให้คิดถึงชาติและราษฎรใหมาก ๆ การทั้งหลายฉันได้เริ่มมาตั้งแต่ปารีส เมื่อมุ่งทางนี้อยู่แล้วจะสละเกียรติยศทิ้งเสียอย่างไรได้ การเมืองก็การเมือง เรื่องส่วนตัวก็เรื่องส่วนตัว"

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) อธิบดีศาลอุธรณ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของสยาม นายปรีดี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างเค้าโครงเศรษฐกินแห่งชาติ หรือที่เรียกกันว่า สมุดปกเหลือง ถือเป็นนโยบายก้าวหน้ามากในสมัยนั้น ได้ร่างเค้าโครงสหกรณ์เต็มรูปแบบ แต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของเอกชน โดยรัฐซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมด้วยพันธบัตร เพื่อให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังมีนโยบายเก็บภาษีมรดก และหลักประกันสังคม

"ราษฎรที่เกิดมาย่อมได้รับประกันจากรัฐบาล ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสิ้นชีพ ซึ่งในระหว่างนั้นจะเป็นเด็กหรือเจ็บป่วย หรือพิการ หรือชรา หลักประกันนี้จะทำให้ราษฎรมีอาหาร เครื่องนุ่งห่มและสถานที่อยู่อาศัย"


มีกระแสต่อต้านนโยบาย เศรษฐกิจแบบก้าวหน้าฉบับนี้ในหมู่ชนชั้นสูง เกรงว่ารัฐบาลจะไปยึดทรัพย์คนรวย และไม่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งบรรดาเจ้าและขุนนางยังกุมอำนาจอยู่ จนกระทั่ง 1 เมษายน 2476 พระมโนปกรณ์ฯ ได้ร่วมมือกับนักการเมืองบางกลุ่มสั่งปิดสภาผู้แทนราษฎร งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และได้ออก พรบ. คอมมิวนิสต์
พ.ศ 2476 จากนั้นก็กล่าวหานายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ และบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศทันที

พูนศุขบันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ว่า

" นี่เป็นการเดินทางไกลครั้งแรกในชีวิต ไม่อาจคาดการณ์ได้ว่า เมื่อใดถึงจะได้กลับมาอยู่กันพร้อมหน้า ข้าพเจ้าฝากลลิตา (อายุ 3 ปี) ปาล (อายุขวบเศษ) ให้อยู่ในความดูแลของคุณแม่
หัวใจของข้าพเจ้าแทบสลายด้วยความเป็นห่วงลูก ข้าพเจ้าจูบลาลูกทั้งสองที่หนาตึกบ้านป้อมเพชร์"

หกสิบปีต่อมา พ.ร.บ ประกันสังคมถึงได้เกอดขึ้นในประเทศไทย ขณะกฎหมายมรดกและปฏิรูปที่ดินยังห่างไกลจากความเป็นจริง

หลาย สิบปีต่อมา ปรีดี พนมยงค์ ได้ปรารภถึงเค้าโครงเศรษฐกิจแก่ผุ้สื่อข่าวรอยเตอร์ว่า "ข้าพเจ้าไม่มีความมุ่งมาดจะทำลายลัทธิคนมีเงิน แต่สิ่งที่ขาพเจ้าพึงปรารถนาคือ เพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพของราษฎร ลัทธิคอมมิวนิวต์ในรัฐสยามมีอิทธิพลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะกล่าวตามความจริงใจของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้ามีจุดมุ่งไปในทางเดียวกับพรรคเลเบอร์ (พรรคกรรมกร) ในอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง"

ลูก ๆ ทั้งหกในอีกหลายปีต่อมา


เมื่อฝ่ายอำมาตย์และชนชั้นสูงพยายามกำราบ ฝ่ายคณะราษฎรย่อมต้องต่อสู้ 20 มิถุนายน 2476 พันเอกพระยายุพหลฯ เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลของนายก้อน และเชิญ
นายปรีดีกลับ ประเทศ ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายปกระทรวง ทั้งต่างประเทศ มหาดไทย คลัง และเป็นผูประศาสน์การมหาวิยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อ 27 มิถุนายน 2477

พูนศุข ในวัย 28 ปี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท่านผู้หญิง รัชการที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องราชฯ ทุติยาจุลจอมเกล้าวิเศษ ในวัยเฉลิมพระชนมพรรษา 20
กันยายน 2482 พร้อม ละเอียด ภรรยาของ ป.พิบูลสงคราม นายกฯสมัยนั้น

แม้ เป็นท่านผุ้หญิงอายุน้อยที่สุดคนหนึ่ง เป็นภรรยาเสนาบดี ภรรยาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ภรรยานายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมาแต่พูนศุขยังใช้ชีวิตเหมือนเดิมทุกประการ ไม่เคยก้าวก่านงานราชการของสามี ทำหน้าที่แม่บ้าน จ่ายกับข้าวเอง เลี้ยงลูกทั้งหกคนด้วยตัวเอง ทำอาหารเลี้ยงชาวบ้านทั่วไป

พูนศุขมัก พูดกับลูกหลานเสมอว่า หากใครหารูปถ่ายตอนเธอแต่งชุดท่านผู้หญิงได้จะให้รางวัล จนแล้วจนรอดไม่มีใครหาพบ เพราะเธอไม่สนใจสิ่งเหล่านี้เลย

ประชาชนไปต้อนรับปรีดีเดินทางกลับที่สนามบิน


ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าพูนสุขโชคดี หรืออับโชคที่มาเป็นคู่ชีวิตของนายปรีดี เพราะแม้แต่ตัวเธอเองก็ไม่เคยตั้งคำถามนี้ ความเป็นสามีภรรยา และชีวิตครอบครัวคงราบรื่น และมีความสุขตามอัตภาพปุถุชน หากฝ่ายสามีไม่แบกภาระของประเทศชาติ และราษฎรเอาไว้เต็มสองบ่า

พูน ศุขเล่าถึงสามีว่า "ตั้งแต่แต่งงานกันมา เขามอบเงินเดือนให้ฉันหมดเลย เมื่อต้องการอะไรก็ให้ฉันหาให้ ก่อนการเปลียนแปลงการปกครองมีรายได้จากโรงพิมพ์ พิมพ์นิติสาส์นรายเดือน
พิมพ์ หนังสือชุด ประชุมกฎหมายไทย เพื่อเผยแพร่ มีคนสั่งจองซื้อมาก รายได้อีกทางมาจากเป็นครูสอนโรงเรียนกฎหมาย ได้ชั่วโมงละ 10 บาท พอเปลี่ยนการปกครองก้เลิกโรงพิมพ์
ยกให้เป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ การเมือง พร้อมทั้งพนักงาน จึงไม่มีรายได้ในส่วนนี้อีก พอเป็นรัฐมนตรีๆด้เงินเดือน 1500 บาทก็ให้ฉันอีก บางทีลืมไปรับเงินเดือน สมัยเป็น รมต.มหาดไทย เจ้าหน้าที่ต้องตามเอามาส่งให้ถึงบ้าน ตอนหลังเขาไม่รับเงินเดือนเอง ให้เลขาฯนำเงินมาส่งให้ฉันทั้งหมด ตอนรับตำแหน่งผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ ก็มีเงินประจำตำแหน่ง แต่ไม่เคยเบิกมาใช้ จัดให้เป็นสวัสดิการเจ้าหน้าที่และช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน"

ปี 2480 สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในยุโรป ปี 2483 นายปรีดีผู้มีแนวความคิดต่อต้านสงครามจึงเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เรื่อง พระเจ้าช้างเผือก อิงประวัติศาสตร์สงครามยุทธหัตถีในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โดยแก่นเรื่องว่าด้วยสันติภาพ ยกกองไปถ่ายทำที่เมืองแพร่ หนังเรื่องนี้มีโอกาสฉายที่นิวยอร์ค สิงคโปร์ และ กรุงเทพฯในปี 2484 ปรีดีเคยกล่าวไว้ว่า

"ชัยชนะแห่งสันติภาพนั้น มิได้มีชื่อเสียงบรรลือนามน้อยไปกว่าชัยชนะแห่งสงครามแต่อย่างใด"

แต่แล้วสงครามก็เดินทางมาถึงประเทศไทย ในเช้ามืดของวันที่ 8 ธันวาคม 2484----

8ธ.ค 2484 วันเดียวกับที่ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐ ทหารญี่ปุ่นบุกเข้าทางภาคใต้และภาคตะวันออกของไทยหลายจุด มีการปะทะกับทหารและตำรวจ และพลเรือน
ไทยอย่างดุเดือด ขณะที่ฐบาลเรียกประชุม ครม.ฉุกเฉิน ในบันทึกของพูนศุขบอกว่า

" ประมาณสองยามคืนนั้น ได้มีโทรศัพท์มาจากวังสวนกุหลาบ เชิญนายปรีดีไปประชุม ครม. ขณะช่วงนั้น นายกฯจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไปราชการต่างจังหวัด พล.ต.อ อดุลย์ อดุลเดชจรัส
รักาการณ์นายกฯเป็นประธานในที่ประชุม ครม.มีความเห็นแตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกยอมจำนน อีกฝ่ายให้ต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชและอธิไปไตย เมื่อนายกรัฐมนตรีมาถึงและเข้าร่วมประชุมในตอนเช้า ได้สั่งให้ผู้ที่ต่อสู้วางอาวุธ อางว่าราษฎรได้ตายไปเป็นจำนวนมากแล้ว ขอมตีจากที่ประชุมให้กองทัพญี่ปุ่น นายปรีดีเสียใจที่ ครม.ยอมจำนนต่อทหารญี่ปุ่น"

กองทัพญี่ปุ่นหลั่งไหลเข้าไทย แปดวันต่อมา รัฐสภาแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลังจากเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขม) ถึงแก่อสัญกรรม
ทำให้นายปรีดีพ้นสถานะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นที่พอใจของฝ่ายญี่ปุ่น
21 ธันวาคมในปีเดียวกัน ไทยลงนามในสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น 25 ม.ค 2485 รัฐบาลไทยได้ประกาสสงครามกับฝ่านสัมพันธมิตร และเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ คือญี่ปุ่น อิตาลี และเยอรมนี

นายปรีดีรวบรวมกำลังพล ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือนต่อต้านผู้รกรานอย่างเงียบ ๆ เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ และได้ติดต่อกับฝ่ายสมพันธมิตรนอกประเทศ เพื่อให้รู้ว่าไทยมีขบวนการใต้ดินต่อสู้กับญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ "ขบวนการเสรีไทย" มีนายปรีดีเป็นหัวหน้า มีรหัสลับ "รูธ" เป้าหมายของขบวนการเสรีไทยก็คือทำให้ฝ่านสัมพันธมิตรยอมรับว่า ประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในการประกาศสงคราม ตองการให้ผลการประกาศสงคราม 25 ม.ค 2485 เป็นโมษะ ซึ่งเป็นภารกิจที่ยากลำบาก

ในบันทึกของพูนสุข "เมื่อทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกมาตามจุดต่าง ๆ ในประเทศ ความรู้สึกของฉันก็เหมือนคนไทย 14 ล้านคนในขณะนั้น คือเศร้าสลดที่เอกราชของเราถูกย่ำยี ปกติฉันกับสามีพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง เรื่องเสรีไทยเขาไม่ได้ปกปิดฉัน เพราะปฏิบัติการของเสรีไทยไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง หากเป็นหน้าที่รับใช้ชาติของคนไทยทุกคน ต่างกับเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่ไม่ได้บอกให้ฉันรู้เลย...

หนังสือพิมพ์ไทยช่างสงครามโลกครั้งที่ 2


บรรยากาศในพระนครช่วงสงคราม ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยทหารญี่ปุ่น เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิด สลับกับเสียงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ทำเนียบท่าช้างย่านถนนพระอาทิตย์
ซึ่ง เป็นบ้านพักผูสำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กลายเป็นสถานที่ทำงานของขบวนการเสรีไทย เป็นฐานที่มั่นใช้ติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต่างประเทศ โดยมีเสรีไทยสายอังกฤษและอเมริกาเป็นตัวเชื่อม บางคนลักลอบเข้ามาทางเรือดำน้ำ ขึ้นฝั่งที่เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ บางคนแอบกระโดดร่มลงจากเครื่องบิน ทำให้เรีไทยในประเทศและสัมพันธมิตรนอกประเทศสามารถติดต่อประสานงานกันได้

ใน ความทรงจำของพูนศุข "ตอนแรกอยู่ที่ทำเนียบท่าช้าง รัฐบาลมอบให้เป็นเรือนพักรับรองของนายปรีดี ผู้สำเร็จราชการฯตอนนั้น แต่ไม่ได้ขุดหลุมหลบภัย ทำเนียบท่าช้างนี่อยู่ใกล้จุดยุทธศาสตร์ คนละฝั่งแม่นำกับสถานีรถไฟบางกอกน้อย ฝ่ายสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิดตรงจุดนี้บ่อยมาก ที่วังทำเนียบท่าช้าง ชันสองและสามของตึก ก็เอากระสอบทรายมากองสูงท่วมหัวจากชั้นล่าง เวลานั้นลูก ๆ ยังเล็ก เวลาเครื่องบินมาก็อุ้มลูกจากที่นอนมาหลบที่หลังเนินกระสอบทราย มีช่างหนึ่งพาลูกหลบไปอยู่อยุธยา พอการทิงระเบิดเพลาลงค่อยกลับกรุงเทพฯ
จ้าง ครูมาสอนลูกเรียนหนังสือ แต่พอปลายปี 2488 เครื่องบินมาทิ้งระเบิดหนักยิ่งกว่าเก่า ทั้งตอนกลางคืนและกลางวัน ตึกรามบ้านช่องพังลงเป็นจำนวนมาก ตองวิ่งหนีกันอลหม่าน
เด็กเล็กลูกคน อื่นมาเรียนร่วมกันกับลูกเราด้วยเพราะเห็นว่าที่นี่ปลอดภัย นายปรีดีทูลเชิญพระพันวัสสาฯ ไปประทับที่พระราชวังบางปะอินเพื่อความปลอดภัย และเราก็อพยพตามไปถวายการรับใช้ ได้ติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร บอกให้ทราบว่าบางปะอินเป็นที่ประทับของเจ้านาย อย่ามาทิ้งระเบิด ไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์ แต่บริเวณทำเนียบท่าช้างถือเป็นจุดที่เสี่ยง นายปรีดียังประจำอยู่ที่นั่น ระเบิดลงน้ำใกล้ ๆ เขื่อนพังทลาย แต่ตัวอาคารใหญ่ไม่เป็นอะไร พอได้ยินเสียงหวอ ชาวบ้านแถวนั้นก็เขมาหลบในตึกใหญ่เต็มไปหมด เพราะว่ามีค่ายเชลยอยู่ที่ธรรมศาสตร์ คิดว่าเครื่องบินคงไมมาทิ้งระเบิดเชลยศึกซึ่งเป็นพวกเดียวกัน"

ช่วง เวลานั้น พูนศุขได้ช่วยสามีติดตามสถานการณ์สู้รบในสมรภูมิต่าง ๆ จากวิทยุ ทั้งที่ทางการไทยหามราษฎรฟังวิทยุฝ่ายสมัพันธมิตร แต่ยายปรีดีในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มีใบอนุญาติถึงฟังได้ และคอยอำนวยความสะดวกให้เสรีไทยมาประชุมกันที่ทำเนียบท่าช้าง บางครั้งพูนศุขก็ช่วยเขียนรหัสเป็นภาษาอังกฤษด้วยลายมือ โดยไม่ใช้พิมพ์ดีด

" ใช้วิธีเขียนเป็นตัวหนังสือ คือฉันเขียนตัวบรรจง จึงช่วยเขียนรหัสด้วยลายมือ เป็นภาษาอังกฤษแบบตัวพิมพ์ใหญ่ ก่อนที่จะนำเข้าไปเป็นโค้ด เป็นการพรางหลักฐาน เพราะหากถูกจับได้ก็ไม่รู้ว่าเป็นลายมือใคร และตอนนั้นใช้พิมพ์ดีดไม่ได้ หากพวกญี่ปุ่นจับได้ สมันนั้นมันตรวจรู้ได้ว่ามาจากไหน บางครั้งก็เขียนคำสั่งปรีดีที่จะส่งไปต่างประเทศ ส่วนฝ่ายถอดรหัสนั่นมีพวกเสรีไทยสายอังกฤษสายอเมริกาเป็นคนจัดการ"

พูน ศุขเล่าว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งตื่นเต้นสุดขีด คือวันหนึ่ง นายพลโจโจ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เดินทางมาเมืองไทย ตาธรรมเนียมปฏิบัติ นายพลโตโจต้องมาลงนามแสดงความเคารพผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ทำเนียบท่า ช้าง....

"ช่วงนั้นหน้าสิ่วหน้าขวานที่สุด นายพลโจโจมาเซ็นชื่อเยี่ยมทำเนียบนายปรีดี แล้วก็ออกไปยังศาลาริมน้ำ ซึ่งเป็นส่วนที่พวกเสรีไทยใช้เป็นที่ทำงาน นายพลญี่ปุ่นคงอยากเห็นทัศนียภาพริมแม่น้ำ น่ากลัวเหมือนกัน แต่โชคดีที่พวกญี่ปุ่นไม่รู้ระแคะระคาย"

สงครามโลกครั้งที่ 2 ดำเนินต่อเนื่องนานถึง 4 ปีถึงได้ยุติลง ญีปุ่นประกาศยอมแพ้ในวันที่ 4 สิงหาคม 2488 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งสาส์นถึงนายปรีดี ให้รับประกาศว่า การประกาศสงครามของไทยเป็นโมฆะ ดังนั้นนายปรีดีจึงได้ร่างประกาศสันติภาพขึ้น โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้

" ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอประกาศโดยเปิดเผยแทนปวงชนชาวไทยว่า การประกาศสงครามกับอเมริกาและบริเตนใหญ่ เป็นโมฆะไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย"

คำประกาศสันติภาพและการมีอยู่ ของขบวนการเสรีไทย ทำใหประเทศในกลุ่มสัมพันธมิตรยอมรับสถานะเดิมของประเทศไทย ยังคงเป็นเอกราชและมีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องตกเป็นประเทศแพ้สงครามเยี่ยมญี่ปุ่น เยอรมนี หรืออิตาลี

พูด ศุขกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ลึก ๆ แล้ว ฉันดีใจและโล่งใจยิ่งกว่าวันที่ญี่ปุ่นประกาศยอมอพ้เสียอีก การประกาศสันติภาพเท่ากับเป็นการรองรับสถานะว่าประเทศไทยยังคงมีเอกราชและ อธิปไตย"

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ได้มีการตังศาลอาชญากรสงครามขึ้นที่กรุงโตเกียว เพื่อไต่สวนบุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดสงครามโลกในภาพมหาสมุทรแซฟิก นายบปรีดีเป็นคนคัดค้านไม่ยอมส่งตัว จอมพล ป.พิบูลสงคราม กับพวกไปใหศาลอาชญากรสงครามตัดสิน มิเช่นนั้นอาจถูกตัดสินประหารชีวิต หรือไม่ก็ถูกจองจำเป็นเวลานาน ในฐานะอาชญากรสงคราม

พูดศุขอธิบาย เพิ่มเติมถึงเรื่องนี้ว่า ไรฐบาลได้ตั้งศาลอาชญากรสงครามขึ้นในประเทศไทย พิจารณาตัดสินคนไทยด้วยกันเอง ถ้าส่งไปเมืองนอกก็ไม่แน่ว่า จะเกิดอะไรขึ้น นอกจากจอมพล ป. แล้วก็มีนักการเมืองอีกหลายคน รวมทั้งหลวงวิจิตรฯ และใครต่อใครเอย เพื่อนกันทั้งนั้น ฆ่ากันไม่ลงหรอก....

ภาพถ่ายนายปรีดี ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม 9 พ.ค 2489 ฝรพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดลยเดช


ปลายปี 2488 นายปรีดีกราบทูลเชิญในหลวงรัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัตพระนครเมื่อ 5 ธันวาคม และได้กราบทูลลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนฯ ถวายอำนาจคืนตามพระราชประเพณี
ต่อมานายปรีดีได้รับโปรดเกล้าเป็นรัฐบุรุษอาวุโส มีหน้าที่ปรึกษาราชการแผ่นดินสืบไป

ประเทศ ไทยหลังสงคราม บ้านเมืองวุ่นวาย เศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง การเมืองไร้ความมั่นคง ฝ่ายทหารไม่พอใจรัฐบาลพลเรือน ที่ลดอำนาจทางการเมืองของพวกเขา
ขณะพรรคการเมืองต่าง ๆ เกิดความขัดแย้ง

9 มิถุนายน 2489 ในหลวงรัชกาลที่ 8 ก็ถูกพระแสงปืนสวรรคต พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ซึ่งตอนนั้นนายปรีดี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือโอกาสป้ายสี กล่าวหาว่านายปรีดีพัวพันกับกรณ๊สวรรคต

นายปรีดีลาออกจากตำแหน่ง นายกฯ เมื่อเดือนสิงหาคม หลวงนานาสวัสดิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน นายปรีดีกับภรรยาถือโอกาสไปเยือนมิตรประเทศในเอเซีย ยุโรป และอเมริกาตามคำเชิญ
แม้ว่าในเวลานั้นนายปรีดีจะไม่ได้เป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่ในสายตานานาประเทศ เขาเป็นผู้นำที่โดดเด่นมีบารมีมากที่สุดในเอเซีย โดยเฉพาะบทบาทหัวหน้าเสรีไทยช่วงสงครามโลก
ทั้ง 9 ประเทศที่เขาไปเยือนจึงให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ

เริ่ม จากนานกิง เจียงไคเชคเลี้ยงต้อนรับอย่างดียิ่ง ต่อไปมะนิลา ประธานาธิบดีโรซาสให้การต้อนรับ ข้ามไปอเมริกา ประธานาธิบดีทรูแมนเปิดทำเนียบขาวต้อนรับอย่างที่ไม่เคยมีผู้นำไทยคนไหนได้ รับเกียรต
ิเช่นนี้ ข้ามทะเลไปอังกฤษ ร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวันกับพระเจ้ายอร์ชที่ 6 สมเด็จพระราชินี เจาฟ้าหญิงอลิซาเบธ เจ้าฟ้าหญิงมากาเร็ต ในพระราชวังบักกิ้งแฮม ต่อไปปารีส ประธานาธิบดีลีออง บรัม ใหการรับรองที่กระทรวงต่างประเทศ

แวะสวิตฯ ถือโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จากนั้นต่อไปยังเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์เป็นประเทศสุดท้าย ก่อนนั่งเครื่องบินกลับไทย แลนดิงลงที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวรคลองเคย ท่ามกลางพี่น้องชายไทยไปรอต้อนรับอย่างล้นหลาม

โดยที่ตอนนั้น นายปรีดีและภรรยา ไม่อาจล่วงรู้ว่า มรสุมชีวิตของเขากับครอบครัวได้ก่อเค้าขึ้นแล้ว...

พ.ย 2489 เยือนกรุงนานกิง



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
สามารถอ่านต้นฉบับ โดยคุณเหยี่ยวเหินฟ้า ได้ที่
//www.sameskybooks.org/board/index.php?s=ecfa7bbefefd776d1f06182817bd6372&showtopic=25885&st=0


Create Date : 17 มิถุนายน 2552
Last Update : 17 มิถุนายน 2552 21:23:37 น. 0 comments
Counter : 3376 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แค่ก้อนหินที่อยากบินได้
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอมี Blog กับเค้าด้วยคนนะคะ ^ ^

Friends' blogs
[Add แค่ก้อนหินที่อยากบินได้'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.