space
space
space
<<
ธันวาคม 2562
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
20 ธันวาคม 2562
space
space
space

รวมรายการลดหย่อนภาษี แค่วางแผนให้ดี ก็มีเงินเหลือแน่นอน!



ภาษีเงินได้ เป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคนจะต้องยื่นตามกฎหมาย
เพียงแค่ศึกษาและวางแผนให้ดี ก็ช่วยให้เราประหยัดภาษีที่จ่ายได้
เราลองมาดู "รายการลดหย่อนภาษี" ว่ามีอะไรบ้าง?
ก่อนจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภายในวันที่ 31 มี.ค. 63 นี้กัน!


   กำลังจะเข้าสู่ช่วงปลายปีแบบนี้ เหลืออีกแค่ไม่กี่เดือนก็จะเทศกาลปีใหม่แล้ว ถึงเวลาแล้วล่ะที่เราก็จะต้องมาวางแผนเรื่องภาษีกันอย่างจริงจัง เพราะจะต้องเตรียมยื่นแสดงรายได้ "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" ของปี 62 ภายในวันที่ 31 มี.ค. 63 กันแล้ว ช่วงนี้ถ้าจะเห็นเทศกาลจัด โปรโมชั่น ขายประกันเยอะก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะว่าเป็นส่วนหนึ่งของการลดหย่อนภาษีได้ โดยทั้งหมดจะต้องดำเนินการภายในปีภาษีนี้ ซึ่งก็คือก่อนวันที่ 31 ธ.ค. 62 จ้า แต่สำหรับมือใหม่เพื่งเรียนจบ ทำงานเป็นปีแรกอาจจะไม่รู้ว่าเงินได้สุทธิจะคำนวณยังไง รายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้างน้า แถมปีนี้ยังมีรายการลดหย่อนภาษีพิเศษที่เพิ่มเข้ามาอีกด้วย อยากให้ลองศึกษาและทำความเข้าใจกันสักนิด จะเป็นประโยชน์มากๆ ตอนยื่นภาษีในช่วงต้นปีหน้าอย่างแน่นอน!




ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถคำนวณได้ 2 แบบนะ
1)แบบขั้นบันได

[รายได้ตลอดปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน] = รายได้สุทธิ


การคำนวณภาษีแบบนี้เป็นวิธีที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ เราจะรวบรวมรายได้ตลอดทั้งปี 62 ว่าเป็นเท่าไหร่ จากนั้นก็นำค่าใช้จ่ายมาหักออก และปิดท้ายหักด้วยรายการลดหย่อนต่างๆ ที่กำหนดไว้ในปีภาษีนั้น ก็จะคำนวณออกมาเป็นรายได้สุทธิประจำปี สุดท้ายเราก็นำรายได้สุทธิดังกล่าวมาคูณด้วยอัตราภาษีตามเรทแบบขั้นบันได

รายได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย


2) แบบเหมา 0.5%

เมื่อมีรายได้อื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว เราจะต้องคำนวณโดยวิธีเหมา โดยใช้อัตรา 0.5% ได้เลย ซึ่งเราจะเลือกคำนวณภาษีโดยวิธีเหมาจ่าย จะต้องเข้าเงื่อนไข คือ

คำนวณจากเงินได้ทั้งหมดที่ไม่ได้มาจากเงินเดือน
ภาษีที่จะต้องจ่ายเกิน 5,000.- (ถ้าไม่เกิน 5,000.- ก็ไม่ต้องคำนวณวิธีนี้)

คำนวณภาษีเงินได้แบบเหมา 0.5% แล้วจะต้องมากกว่าแบบขั้นบันได
เงินได้ที่ไม่ได้มาจากเงินเดือน x 0.005 = ภาษีที่ต้องจ่าย




"ค่าใช้จ่าย" ที่นำมาหักจากเงินได้ จะคำนวณยังไง?

  เราจะเห็นว่าเวลาจะคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายในแต่ละปี จะต้องนำรายได้-ค่าใช้จ่าย แต่เงินได้มีถึง 8 ประเภท ซึ่งจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากันนะ พี่ promotion มาลองดูกันว่าแต่ละประเภทจะหักค่าใช้จ่ายยังไงกันบ้าง?

-เงินได้ประเภทที่ 1 (เงินเดือน/โบนัส) และเงินได้ประเภทที่ 2 (ค่าจ้าง) เป็นเงินได้ส่วนใหญ่ที่มักจะนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากัน ซึ่งก็คือกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน, ข้าราชการ, ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระ เป็นต้น จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000.-

-เงินได้ประเภทที่ 3 (ค่าลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา) เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000.- หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงก็ได้จ้า

-เงินได้ประเภทที่ 4 (ดอกเบี้ยและเงินปันผลจากหุ้น) จะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้

-เงินได้ประเภทที่ 5 (ค่าเช่า) เลือกหักแบบเหมา 10-30% แล้วแต่ประเภทของอสังหาริมทรัพย์ (ทั่วไปจะเป็น 30%) หรือเลือกหักตามจริงก็ได้

-เงินได้ประเภทที่ 6 (ค่าวิชาชีพอิสระ) เลือกหักแบบเหมา 30-60% (กลุ่มแพทย์หักได้ 60% ส่วนกลุ่มอื่นจะเป็น 30%) หรือเลือกหักตามจริงก็ได้

-เงินได้ประเภทที่ 7 (ค่ารับเหมา ค่าแรง) เลือกหักแบบเหมา 60% หรือเลือกหักตามจริงก็ได้

-เงินได้ประเภทที่ 8 (อื่นๆ) เลือกหักแบบเหมา 60% เฉพาะอาชีพที่กำหนด หรือเลือกหักตามจริงก็ได้ ถ้าไม่เข้าข่ายอาชีพที่กำหนดจะต้องหักตามจริงเท่านั้นจ้า



ตัวอย่าง : ถ้าเราเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีเงินได้รวมตลอดทั้งปี จำนวน 300,000.- ก็จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่สูงสุดได้เพียง 100,000.- เท่านั้นจ้า แต่ถ้าเรามีเงินได้ทั้งปี 80,000.- สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% หรือ 40,000.- นั่นเองจ้า


สรุปครบสุด "รายการลดหย่อนปี 62" มีอะไรบ้าง?

   การลดหย่อนภาษี ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าไม่ใช่การเลี่ยงภาษีนะ แต่เป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้สามารถนำมาหักจากรายได้ ก่อนจะนำไปคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิในปีนั้น ทำให้เราเสียภาษีน้อยลงนั่นเอง ซึ่งเราอาจจะไม่สามารถลดหย่อนได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่ว่าเราจะสามารถร่วมรายการไหนได้บ้าง ซึ่งจะมีทั้งรายการลดหย่อนที่เหมือนเดิมทุกปี และรายการพิเศษที่เพิ่มเติมขึ้นมาเฉพาะปีจากรัฐบาลอนุมัติเพิ่มเข้ามาด้วย แต่จะมีรายการไหนลดหย่อนได้บ้างนะ เรามาเจาะลึกกันเลยจ้าาา~


รายการลดหย่อนส่วนตัว และการใช้ชีวิต

   ส่วนแรกนี้จะเป็นค่าลดหย่อนสำหรับส่วนตัวและบุคคลในครอบครัว ซึ่งเราสามารถเลือกลดหย่อนได้หลายรายการ หากเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดได้นะ โดยยอดขั้นต่ำที่ลดหย่อนได้แน่นอน คือค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000.- ซึ่งทุกคนจะได้รับสิทธิ์แน่นอนจ้า

ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000.-
ไม่ว่าจะมีเงินได้เท่าไหร่ก็ตาม สามารถหักลดหย่อนในส่วนนี้ได้ 60,000.- ทันที

ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000.-
โดยจะต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และคู่สมรสไม่มีเงินได้ในปีภาษี ถ้ามีเงินได้จะไม่สามารถหักลดหย่อนได้

ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000.- (ลูกคนที่ 2 เกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป ลดหย่อนได้คนละ 60,000.-)
โดยจะต้องอายุไม่เกิน 20 ปี หรือหากอายุ 21-25 ปี จะต้องศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย หรืออุดมศึกษา
- บุตรชอบด้วยกฎหมาย > ลดหย่อนได้ไม่จำกัด
- บุตรบุญธรรม หรือมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม > ลดหย่อนได้สูงสุด 3 คน

ค่าลดหย่อนบิดา-มารดา คนละ 30,000.- (ลดหย่อนได้สูงสุดถึง 4 คน)
- ต้องเป็นพ่อแม่ที่ถูกต้องตามกฎหมายของตัวเองหรือคู่สมรส (กรณีเป็นพ่อแม่ของคู่สมรส คู่สมรสจะต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น)
- อายุ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษีนั้นๆ
- รายได้ตลอดปีภาษีไม่เกิน 30,000.-
- สามารถลดหย่อนได้เพียงคนเดียว (กรณีมีลูกหลายคน) ต้องเลือกว่าใครจะรับสิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่นะ

ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงไม่เกินท้องละ 60,000.-
กรณีคาบเกี่ยวปี จะสามารถลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000.-

ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000.- โดยลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีก กรณีเป็นคู่สมรส / บุตร / พ่อแม่
- เป็นคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพที่มีใบรับรองแพทย์
- ต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000.- ต่อปี



รายการลดหย่อนด้านประกันและลงทุน

  เข้าสู่ช่วงปลายปีแบบนี้ ถ้าเรามองหาตัวลดหย่อนภาษีอยู่ ส่วนนี้คือทางเลือกที่ดีไม่น้อยเลยล่ะ เพราะเป็นการลงทุนเงินที่มีอยู่ให้ได้ผลตอบแทน แถมยังนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยแหละ ลองวางแผนดีๆ ช่วย ลดราคา ประหยัดภาษีไปได้เยอะสุดเลยนะเอาจริง

(1) เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000.-
ประกันระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเป็นบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย

(2) เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000.-
ประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เนื่องจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ / ประกันอุบัติเหตุ / ประกันภัยโรคที่ร้ายแรง / ประกันภัยการดูแลระยะยาว

(1) + (2) เมื่อรวมกันแล้ว สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000.-

เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000.-
จะต้องเป็นพ่อแม่ตามกฎหมาย และมีรายได้ไม่เกิน 30,000.- ต่อปี

(3) เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000.-
- ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เป็นบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
- จ่ายผลประโยชน์เมื่อมีอายุตั้งแต่ 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น
(4) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง
(5) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้
(6) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200.-


(3) + (4) + (5) + (6) เมื่อรวมกันแล้ว สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000.-
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000.-
ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฎิทิน และปี 62 จะซื้อได้เป็นปีสุดท้ายแล้วจ้า ถ้าจะลดหย่อนต้องรีบเลย!
เงินประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000.-


โครงการบ้านหลังแรก เป็นมาตรการลดหย่อนภาษีที่เพิ่มเข้ามาในปี 62 อีกครั้ง


รายการลดหย่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

   ส่วนนี้จะเรียกว่าเป็นรายการลดหย่อนพิเศษก็ได้อยู่ เพราะเป็นรายการลดหย่อนเฉพาะกิจเพิ่มเติมขึ้นมาจากมาตรการที่ภาครัฐอนุมัติ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในบางช่วง มีทั้งรายการต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า และบางรายการจะไม่สามารถรับสิทธิ์ได้ เพราะหมดเวลาไปแล้วจ้า (หัวข้อสีแดง)

โครงการบ้านหลังแรก (ปี 62) ลดหย่อนได้ตามจริงเพียงปีเดียว สูงสุด 200,000.-
จะต้องมีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างวันที่ 30 เม.ย. - 31 ธ.ค. 62

โครงการบ้านหลังแรก (ปี 58-59) เป็นสิทธิ์ลดหย่อนต่อเนื่องตั้งแต่ปี 58-59 นาน 5 ปี สูงสุดปีละ 120,000.-
- จะต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท และต้องซื้อภายในวันที่ 31 ธ.ค. 59
- ห้ามโอนหรือขายต่อภายในเวลา 5 ปี และต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในบ้านหลังนั้น

ค่าลดหย่อนช้อปช่วยชาติ ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000.- (ซื้อระหว่างวันที่ 1-16 ม.ค. 62)
เป็นมาตรการต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 61 สำหรับซื้อสินค้ายางรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ, หนังสือ + E-Book และสินค้า OTOP
* กรณีมีรายการลดหย่อนในปีภาษี 61 ไปแล้ว จะสามารถลดหย่อนในปีภาษี 62 ในส่วนที่เหลือได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15,000.-

ค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองไทย ลดหย่อนภาษีรวมกันได้สูงสุด 20,000.- (ซื้อระหว่างวันที่ 30 เม.ย. - 30 มิ.ย. 62)
แบ่งเป็นค่าลดหย่อนท่องเที่ยวเมืองหลัก 15,000.- และเมืองรอง 20,000.- แต่รวมกันไม่เกิน 20,000.-
เฉพาะค่าทัวร์ ค่าที่พักโรงแรม (ที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมาย พรบ.การโรงแรม) และโฮมสเตย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยว รวมถึงสถานที่พักต่างที่ไม่ใช่โรงแรม โดยใช้หลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่มีชื่อผู้ซื้อ อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องด้วยนะ

ค่าลดหย่อนซื้อสินค้า OTOP ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000.- (ซื้อระหว่างวันที่ 30 เม.ย. - 30 มิ.ย. 62)
สินค้า OTOP จะต้องลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนอย่างถูกต้อง โดยใช้หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีชื่อผู้ซื้อ

ค่าลดหย่อนซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000.- (ซื้อระหว่างวันที่ 1 พ.ค. - 30 มิ.ย. 62)
จะต้องเป็นใบกำกับภาษีที่มีชื่อผู้ซื้อ ต้องซื้อจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น

ค่าลดหย่อนซื้อหนังสือและ E-Book ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000.-
ใช้หลักฐานใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษี โดยต้องมีข้อมูลผู้ซื้อ ผู้ขาย และรายละเอียดครบถ้วน

ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000.-
กรณีเป็นการยื่นกู้ร่วมให้หารจำนวนคนตามจริง เช่น กู้ร่วม 3 คนก็เอาดอกเบี้ยที่จายไปหาร 3 แต่เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000.-

ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง
เฉพาะรายการจากรายได้ประเภทที่ 5-8 ซึ่งได้แก่ ค่าเช่า วิชาชีพอิสระ รับเหมา และธุรกิจอื่นๆ ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 59 - 31 ธ.ค. 64

เงินลงทุนในธุรกิจ Start-Up ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000.-
โดยธุรกิจ Start-Up หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้ง ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 58 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 62 ซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชําระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ตลอดช่วงเวลา

ค่าลดหย่อนกรณีซ่อมแซมบ้านและรถที่เสียหายจากน้ำท่วมปาบึก ระหว่างวันที่ 3-7 ม.ค. 62
- กรณีซ่อมบ้าน ต้องเป็นบ้านที่ได้รับความเสียหายจากพายุ ลดหย่อนได้ตามจริงสูงสุด 100,000.-
- กรณีซ่อมรถ ต้องเป็นรถที่ได้รับความเสียหายจากพายุ ลดหย่อนได้ตามจริงสูงสุด 30,000.-
โดยจะต้องจ่ายเงินเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มี.ค. 62 และมีหลักฐานการชำระเงินด้วยจ้า



และ เพจ Phathavie Organic ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
เพื่อการ 
ปลูกผม ด้วยวิถีธรรมชาติ


เงินบริจาคน้ำท่วม ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะ

รายการลดหย่อนค่าบริจาค

   รายการลดหย่อนในส่วนสุดท้าย เป็นส่วนที่ให้ความช่วยเหลือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์กรการกุศล ไม่แสวงหาผลกำไร หรือมีเหตุการณ์พิเศษซึ่งต้องการรับบริจาคเงิน เวลาจะลดหย่อนส่วนนี้จะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายและลดหย่อนต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน เพราะเป็นรายการลดหย่อนสุดท้ายก่อนจะรู้เงินได้สุทธิประจำปีนั่นเอง

-เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง ไม่เกิน 10,000.-

-เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และช่วยเหลือสังคม ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
* กรณีบริจาคเงินให้กับสถานศึกษา จะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e–Donation เท่านั้น จึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั่นเอง

-เงินบริจาคสถานพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

-เงินบริจาคทั่วไปและบริจาคน้ำท่วม (ปาบึก) ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และเงินบริจาคในกลุ่ม 2 เท่าแล้ว



เงินบริจาคเพื่อการศึกษา ก็นำมาลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าเลย

คำนวณเงินได้สุทธิแล้ว ต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่?
   เมื่อคำนวณจนออกมาเป็นเงินได้สุทธิแล้ว ก็ต้องนำมาคำนวณภาษีตามขั้นบันไดว่าเราจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่กันแน่ ซึ่งถ้ามีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000.- ก็จะไม่ต้องเสียภาษีจ้า สำหรับบางคนอาจจะได้รับการคืนภาษี กรณีจ่ายภาษีเกินไปนะ




คนที่มีรายได้ตลอดทั้งปี จำนวน 310,000.- จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000.- และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000.- จะเหลือเงินได้สุทธิ 150,000.- ซึ่งอยู่ในช่วงที่ได้รับการยกเว้นภาษีนั่นเองจ้า นี่ยังไม่นับรวมค่าลดหย่อนอื่นๆ เพิ่มเติมอีกนะ

การคำนวณภาษีเป็นแบบขั้นบันได ไม่ได้เอาเงินได้สุทธิทั้งหมดคูณด้วยเปอร์เซ็นน้า ต้องคำนวณในแต่ละขั้นไปเรื่อยๆ
ตัวอย่าง : มีเงินได้สุทธิ 450,000.- จะเสียภาษีเงินได้รวม 22,500.- คำนวณตามนี้จ้า
- ส่วนที่เป็น 150,000.- แรก จะได้รับการยกเว้นเสียภาษี
- ส่วนที่เกิน 150,001.- ถึง 300,000.- จะเสียภาษี 5% = 7,500.-
- ส่วนที่เกิน 300,001.- ถึง 450,000.- จะเสียภาษี 10% = 15,000.-



ปันโปรสรุปให้

-คนที่มีเงินได้ทุกคนจะต้องยื่นแสดงรายการ "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" ของปี 62 ภายในวันที่ 31 มี.ค. 63 (หากเงินได้ทั้งปีไม่ถึง 120,000.- ไม่ต้องยื่นก็ได้) ซึ่งเราสามารถเลือกจ่ายภาษีน้อยลงได้ เพียงนำรายการลดหย่อนมาหักออกจากเงินได้ของปีภาษีนั้นตามที่กฎหมายกำหนดได้เลย

-รายการลดหย่อนภาษีปี 62 จะมีเพิ่มเข้ามาจากปีก่อนๆ อยู่ไม่น้อยเลย อาทิ ช้อปช่วยชาติ เที่ยวเมืองไทย บ้านหลังแรก สินค้า OTOP ซึ่งบางอย่างเราอาจจะไม่รู้ว่านำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้นะ เราจะต้องศึกษาและวางแผนให้ดีก็จะมีประโยชน์ตอนยื่นภาษีนี่แหละ

-ถ้าตอนนี้คำนวณแล้วเงินได้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีแน่ๆ แล้ว ก็หารายการลดหย่อนได้ ง่ายที่สุดตอนนี้ซื้อได้ทันที ก็คือรายการลดหย่อนในหมวดประกันและลงทุน ช่วงปลายปีแบบนี้โปรมาแน่นสุดดด!


-- ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร, iTax และ aomMONEY --


ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก เว็บ ปันโปร
เว็บแจ้งข้อมูล 
promotions และ สินค้า sale  มาให้คุณ







 

Create Date : 20 ธันวาคม 2562
0 comments
Last Update : 20 ธันวาคม 2562 10:55:46 น.
Counter : 1770 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 5504973
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5504973's blog to your web]
space
space
space
space
space