FC3124 - The World is Mine ยินดีต้อนรับค่ะ ......... FC3124 - The World is Mine ยินดีต้อนรับค่ะ
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
6 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
Begin the Journey (Don't Panic on the Way !)





Week 1 ตื่นเต้นกับการรูว่าตนเองต้องมีลูก
Don't Panic
วางแผนเรื่องการดูแลสุขภาพ กินวิตามิน ระวังอย่าถูกสารเคมีในช่วงนี้ เช่น แอลกอฮอล์ บุหรี่ เอกซเรย์ ยาฉีดยุง ฯลฯ
Week 2 ปัสสาวะเริ่มขึ้น ถ้ากินยาอะไรอยู่ตอนนี้ก็ควรบอกว่าเราท้อง
Week 3
Don't Panic
อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย เนื่องจากไข่ที่ผสมแล้วเข้าฝังตัวที่โพรงมดลูกและร่างกายกำลังสร้างสารโปรตีน EPF เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายคิดว่าลูกคือสิ่งแปลกปลอม
Week 4
Don't Panic
แม่อาจปัสสาวะบ่อยขึ้น รู้สึกเหนื่อย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายเพราะฮอร์โมนกำลังเปลี่ยนนั่นเอง
Week 5
Don't Panic
อาจรู้สึกเสียวแปลบบริเวณหน้าอก ปวดหัวบ่อยๆ เพราะฮอร์โมนเพิ่ม แต่บางคนก็ไม่มีอาการนี้ บางคนมีอาการแพ้ท้อง แต่แม่บางคนก็อาจไม่แพ้ท้องกัน
Week 6
Don't Panic
คลื่นเหียนอาเจียนรุนแรง แพ้ท้อง หน้าอกเริ่มขยายลานนมสีเข้มขึ้น
Week 7
ผิวหน้าของคุณแม่เริ่มมีสิวหรือฝ้าเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน คุณแม่รู้สึกเป็นเด็กอีกครั้ง เพราะต้องมองหาคลาสเรียนเพิ่ม เช่น เรียนออกกำลังกาย การเตรียมคลอดตามโรงพยาบาลต่างๆ เป็นต้น
Week 8
คุณแม่ควรไปพบคุณหมอเป็นครั้งที่ 1 หรือ 2 ได้แล้ว โดยสิ่งที่หมอจะตรวจ ได้แก่ ปัสสาวะ ความดันเลือด น้ำหนัก ขนาดของเชิงกราน เลือด ภูมิคุ้มกัน ประวัติ สุขภาพของครอบครัวระยะการไปตรวจครรภ์ของคุณแม่จะมีความยาวไม่เท่ากัน และเมื่อไปพบแพทย์จึงเป็นเวลาที่คุณแม่จะถามทุกคำถาม
Week 9
Don't Panic
อาจมีเลือดออกตามไรฟันได้ง่ายควรรักษาความสะอาดในช่องปากและแปรงฟันเบาๆ
Week 10
Don't Panic
หน้าท้องของคุณแม่เริ่มห้อยลงมาแล้ว อย่าลืมวัดส่วนขยายนี้ไว้ด้วยล่ะ
Week 11 น้ำหนักเริ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่มากนักในไตรมาสแรกประมาณ 1-2 Ibl ควรดูแลเรื่องอาหารและโภชนาการ เพราะคุณกิน 2 คน คุณแม่ต้องการสารอาหาร 300-500 แคลอรีต่อวันหลีกเลี่ยงจังก์ฟู้ดทั้งหลาย ควรกินผักผลไม้และโปรตีนให้มาก
Week 12 คุณแม่เริ่มสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น การเสี่ยงต่อการแท้งก็ลดลงแล้ว
Week 13 เริ่มไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่เริ่มรู้สึกดีที่สุด ผ่อนคลายคนรอบข้างจะเริ่มเข้ามาดูแลคุณมากขึ้น
Week 14 ผิวหนังเริ่มเปลี่ยนแปลง เช่น
Don't Panic
เส้นสีดำบริเวณกลางท้องเห็นชัดขึ้น ลานนมสีเข้มและใหญ่ขึ้น
Week 15 หัวใจของคุณแม่ทำงานหนักขึ้นเพื่อใช้ในการสร้างออกซิเจนให้ลูกเตรียมซื้อเสื่อผ้าชุดใหม่ที่ตัวเก่าเริ่มคับได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อชุดคลุมท้องเชยๆ แต่สามารถใส่ชุดสวยเปลี่ยนไซส์ให้ใหญ่ขึ้นได้
Week 16 เริ่มรู้สึกถึงว่าลูกดิ้น แต่ถ้าเป็นคุณแม่ท้องแรกอาจจะรู้สึกช้ากว่านี้ก็ได้
Don't Panic
เป็นเรื่องที่ผิดปกติถ้าคุณแม่ยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นจนถึงสัปดาห์ที่ 22-24 แล้ว
Week 17 เนื่องจากการเพิ่มของความดันเลือด คุณแม่รู้สึกเหนื่อยง่าย คัดจมูก ไม่ต้องกังวล
Week 18 คุณแม่เริ่มรู้สึกว่านอนไม่ค่อยหลับ
Don't Panic
เพราะร่างกายเปลี่ยนจึงควรจัดท่านอนให้ถูกต้องหาหมอนมารองพุงปัสสาวะก่อนนอน
Week 19 เริ่มมองหาวิธีการคลอดหรือเข้าชั้นเรียนการคลอดได้แล้ว เพื่อช่วยให้คลอดง่าย และลดความเครียดระหว่างคลอด ลองหาคลาสที่เหมาะกับเวลาของคุณแม่
Week 20 คุณแม่มาถึงครึ่งทางของการตั้งครรภ์แล้วเพราะท้องที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่หายใจได้ลำบากมากขึ้น เพราะอวัยวะภายในถูกมดลูกขยายตัวไปกดทับอาการนี้จะสิ้นสุดเมื่อลูกเคลื่อนที่มาสู่อุ้งเชิงกราน หรือประมาณ 4-6 สัปดาห์ก่อนคลอดคุณแม่ยังฉี่บ่อยขึ้น
Week 21 คุณเริ่มสนุกกับการทายเพศแล้วล่ะ มีเทคนิคตลกๆ เช่น ท้องแหลมหรือกลม แต่วิธีที่แน่นอนที่สุดก็คือการไปอัลตราซาวนด์ดูนั่นเอง
Week 22 เซ็กซ์ของคุณแม่บางคนเปลี่ยนไป
Don't Panic
ลองมองหาวิธีทางเลือกอื่นในการมีเพศสัมพันธ์ดู ไม่ต้องห่วงว่าจะอันตรายถึงลูกเพราะเด็กจะมีถุงน้ำคร่ำอยู่ และสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้จนคลอดแต่ต้องเลือกท่าทางที่เหมาะสม
Week 23 คุณแม่เริ่มเสียวแปลบบริเวณท้องน้อย
Don't Panic
อาการนี้บอกท่าทางของลูกในท้องแม่บางคนกังวลเรื่อง “ท้องใหญ่” หรือ “ท้องเล็ก” ซึ่งขนาดของท้องจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักและกรรมพันธุ์ของคุณแม่ด้วย
Week 24 คุณแม่เริ่มสังเกตการขยับตัวหรือการดิ้นของลูกได้ เป็นการบอกด้วยว่าลูกตื่นหรือหลับตอนไหน
Week 25 คุณแม่ควรสังเกตสัญญาณการคลอดก่อนกำหนดไว้ให้ดี
Don't Panic
จะมีอาการท้องตึงเจ็บเป็นพักๆ อาจมีมุกเลือดออกจากช่องคลอด ถ้ามีอาการควรปรึกษาแพทย์และงดงานที่ต้องเดินหรือยืนเป็นเวลานานๆ
Week 26 ลองหาท่าทางที่เหมาะในการนอน เดิน นั่ง
Week 27 ย่างเข้าไตรมาสที่ 3 แล้วค่ะ น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นทีเดียว
Don't Panic
น้ำหนักจะลดลงหลังคลอดเอง คุณแม่ควรกินเพื่อสุขภาพของแม่และลูกให้มากๆ หน้าอกขยายและมีน้ำหนักมากขึ้น คือ ก่อนตั้งท้อง 7 ออนซ์ ถึงตอนนี้ 28 ออนซ์เลยทีเดียว
Week 28 คุณแม่ต้องไปพบคุณหมอบ่อยขึ้นถึง 2 อาทิตย์ต่อครั้งแล้วค่ะ เริ่มมองหาวิธีการคลอดที่เหมาะสมได้แล้ว ซึ่งควรเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างคุณสามี และคุณหมอ คุณแม่บางคนเริ่มมีน้ำนมไหลซึม
Don't Panic
แต่คนที่น้ำนมไม่ไหลก็ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด
Week 29 คุณแม่ควรอยู่ในอิริยาบถท่าทางที่เหมาะสมกินอาหารที่มีประโยชน์พักผ่อนมากๆ ระวังอาการปวดหลัง สูดลมหายใจลึกๆ เพื่อให้ลมหายใจฟอกปอด
Week 30 การออกกำลังกายช่วยให้คุณแม่แข็งแรงและสุขภาพดี และทำให้คลอดง่าย ถ้าคุณแม่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนเลย ก็ควรเดินหรือว่ายน้ำสั้นๆ
Week 31 คุณแม่อาจรู้สึกปวดหรือแสบท้อง กระดูกเชิงกราน และซี่โครง
Don't Panic
ระยะนี้ลูกตัวใหญ่เต็มช่องท้องของคุณแม่แล้ว คุณแม่บางคนกินอาหารลดลงและมีอาการปวดหลังคุณแม่จึงควรมีท่าเดินที่เหมาะสม ออกกำลังกายและยึดกล้ามเนื้อเป็นกระจำ
Week 32 การคลอดทำให้คุณแม่กังวลมากขึ้น ทั้งเรื่องความเจ็บปวด
Don't Panic
การเรียนรู้เรื่องเทคนิคการหายใจช่วยให้คุณแม่บรรเทาความเจ็บปวด
Week 33 คุณแม่อาจสังเกตเห็นศอกหรือเข่าของลูกกระทุ้งออกมาแล้ว
Don't Panic
หาข้อมูลเรื่องการคลอด ชีวิตหลังคลอดและการเตรียมเลี้ยงลูกได้แล้ว
Week 34 ร่างกายของคุณแม่พร้อมสำหรับการคลอดแล้ว
Week 35 ยิ่งใกล้คลอด คุณแม่ยิ่งจะนอนหลับยากขึ้นกว่าเดิม
Don't Panic
บางคนบอกว่านี่เป็นการเตรียมตัวสำหรับการเลี้ยงลูกแรกเกิดคุณแม่อาจจะลุกขึ้นฉี่ทุก 45 นาที และกลับไปนอนลำบาก
Week 36 คุณแม่อาจต้องไปหาคุณหมอทุกอาทิตย์จนกว่าจะคลอด เด็กเริ่มกลับหัวแล้ว มีเพียง 4% เท่านั้นที่ไม่กลับหัว
Don't Panic
การออกกำลังกายช่วยได้บ้างแต่ถ้าเด็กไม่กลับหัวอาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัด
Week 37 ลองไปทัวร์หรือสำรวจห้องคลอดที่คุณแม่เตรียมไว้บ้างเพื่อสร้างความคุ้นเคย รู้จักความแตกต่างของอาการเจ็บจริงหรือเจ็บเตือน
Week 38
Don't Panic
คุณแม่รู้สึกกระตุกหรือตุงบริเวณช่องคลอด วางแผนว่าจะพาใครเข้าไปในห้องคลอดด้วยเตรียมของที่จะนำไปใช้ในโรงพยาบาลให้พร้อม
Week 39 ลูกกลับหัวมาเตรียมรอคลอดที่อุ้งเชิงกรานแล้วปากมดลูกนิ่มและขยายคุณหมอจะตรวจการขยายตัวของปากมดลูก
Don't Panic
เรากำหนดเวลาตายตัวของการคลอดไม่ได้แต่ก็ควรมีข้อสังเกตง่ายๆ เช่น มีน้ำเดิน
Week 40 แม่ท้องที่สุขภาพดีก็พร้อมที่จะคลอด แต่มีเพียงคุณแม่ 4% เท่านั้นที่จะคลอดในวันที่กำหนด มักจะคลอด 2 สัปดาห์ก่อนและหลังการกำหนดคลอดเพราะเป็นการคาดวันคลอดที่เป็นช่วงเวลาเท่านั้นเพราะฉะนั้นการเตรียมพร้อมไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ.

(update 26 ตุลาคม 2006)
ที่มา.. นิตยสารดวงใจพ่อแม่ Vol.11 No.128 June 2006



Create Date : 06 กรกฎาคม 2550
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2554 8:35:15 น. 0 comments
Counter : 324 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Puffy_BlueBear
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






Friends' blogs
[Add Puffy_BlueBear's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.