ผมทำมันขึ้นมาเพื่อหวังว่า เมื่อคุณอ่าน blog ของผมแล้ว อาจมีเงินเพิ่มขึ้น หรือสามารถรักษาเงินไว้ ไม่สลายหายไปแบบ ถูกกฎหมาย
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
25 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
ลงทุนแบบ ปีเตอร์ ลินซ์

ลงทุนแบบ ปีเตอร์ ลินซ์

นักลงทุนในยุคหลังๆ อาจจะลืมชื่อนี้ไปบ้างแต่ถ้าใครติดตามความเคลื่อนไหวในวงการหุ้น โดยเฉพาะที่สหรัฐ ในช่วง 10 ปีก่อนโดยประมาณ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คนคนนี้ดังมากๆ และได้ชื่อว่าเป็นผู้จัดการกองทุนที่ทำเงินในตลาดหุ้นได้มากที่สุดคนหนึ่ง โดยในช่วงหลังๆ ถ้าผมจำไม่ผิดรู้สึกจะล้างมือในอ่างทองคำ (เลิกบริหารกองทุน) และไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือ

ปีเตอร์ ลินซ์ นับว่าเป็นคนที่ทำงานหนักมาก และจริงๆ จังๆ คนหนึ่งใบหน้าและลักษณะท่าทางของเขามักจะแก่เกินอายุจริง ผมที่หงอกสะท้อนถึงการใช้ความคิดที่มากกว่าบุคคลทั่วไป และไม่แปลกอะไรการที่เขาจะตัดสินใจลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเขาต้องเข้าไปรู้ให้ซึ้งถึงกิจการนั้นๆ ด้วยตัวเขาเอง

ปีเตอร์ ลินซ์ ได้แต่งหนังสือหลายเล่ม แต่เล่มที่ขายดีและโด่งดังเล่มหนึ่งชื่อ ONE UP ON WALL STREET ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เขาได้แบ่งกลยุทธ์ในการลงหุ้นไว้อยู่ 6 วิธีใหญ่ๆ โดยมีการคัดเลือกตามกลุ่มหุ้น และในส่วนตัวของผมคิดว่าน่าสนใจและมีแนวคิดที่น่าจะเอาอย่าง

1. The Slow Growers หรือ น่าจะเรียกคำจำกัดความง่ายๆ เป็นภาษาไทยได้ว่า "หุ้นค่อยๆ โต" หรือ "หุ้นโตช้า" ท่านผู้อ่านถ้าใครนึกถึงวัฏจักรธุรกิจได้ที่มีอยู่ 4 ระดับ คือ เริ่มต้น, เติบโต, คงที่ และถดถอย ก็ต้องบอกว่าหุ้น The Slow Growers อยู่ในขั้นตอนการคงที่ ซึ่งโดยลักษณะก็คือ บริษัทเรานี้จะเติบโตเพียงเล็กน้อย แต่อาจจะมีปันผลที่อยู่ในขั้นที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินไปขยายกิจการแล้ว

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า หุ้นเหล่านี้ไม่มีอะไรที่น่าสนใจในการลงทุนเพราะจุดเด่นของกิจการหมดไปแล้ว

2. The Stalwarts ค่อนข้างใกล้เคียงกับ The Slow Growers แต่จะแตกต่างเล็กน้อยว่า บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ แต่การเจริญเติบโตค่อนข้างคงที่ คือ เฉลี่ยต่อปีประมาณ 10% โดยการเคลื่อนไหวราคาหุ้นในกลุ่มนี้มักจะไม่แบนราบเสียทีเดียวแต่ก็จะไม่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า การเข้าซื้อหุ้นในบริษัทเช่นนี้ ควรเข้าซื้อในช่วงหุ้นตกหรือเกิดวิกฤตการณ์ เนื่องจากบริษัทแบบนี้จะไม่ล้มหายตายไปไหน ผมคิดๆ ดูแล้ว ค่อนข้างเหมาะสมในภาวะตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันที่ยังอยู่ภาวะที่ไม่ค่อยดี ซึ่งในกลยุทธ์เพิ่มเติมของ ปีเตอร์ ลินซ์ ก็บอกว่านี้คือโอกาสในการเข้าซื้อ และค่อยขายเมื่อเห็นว่ากำไรพอสมควร

3. The Fast Growers คำจำกัดความง่ายๆ ภาษาไทยก็คือ หุ้นที่เจริญเติบโตเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นหุ้นที่ขนาดไม่ใหญ่นัก เนื่องจากเป็นบริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ โดยถ้านับตามวัฏจักรธุรกิจ ก็คือ อยู่ในช่วงเจริญเติบโต หรือ ท่านผู้อ่านคงคิดง่ายๆ ถึงบรรดาหุ้น ดอทคอม ทั้งหลาย ซึ่งถ้าย้อนถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันเราคงนึกถึงหุ้นในตลาดหุ้น nasdaq ของสหรัฐ เราคงจะเห็นว่าในช่วงหลายปีก่อน มีการปรับตัวขึ้นจากหุ้นละ 10$ ไปสู่ 100$ กว่าๆ อย่างสบาย และในที่สุดเมื่อผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดความล้มสลายก็เกิดขึ้นแ ละมีการย้อนกลับมา ที่ระดับราคาเดิม

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำบอกว่า การซื้อหุ้นเหล่านี้เขาแนะนำให้ซื้อเก็บเข้าไว้ แต่ต้องคอยดูงบการเงินของบริษัทเหล่านี้อยู่เสมอ เนื่องจากหุ้น The Slow Growers จะมีการปรับตัวขึ้นก่อนหน้าผลการดำเนินงานและเมื่อไรผมการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ราคาหุ้นก็จะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ขยายความง่ายๆ สำหรับนักลงทุนที่เพิ่งเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็คือ สมมติเราซื้อหุ้นด้วยวิธีการดู P/E (ราคาหารด้วยผลกำไร) ซึ่งยิ่งน้อยจะยิ่งดี แต่ราคาหุ้นในกลุ่มนี้จะขึ้นก่อน แต่กำไรจะไม่แสดง (P/D ราคาหารด้วยความฝัน) เมื่อกำไรที่เกิดขึ้นไปตามที่คาดราคาหุ้นจะขึ้นต่อและค่อนข้างแรง แต่ถ้ากำไรที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดราคาหุ้นจะขึ้นต่อและค่อนข้างแรง แต่ถ้ากำไรที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่ราคา ราคาหุ้นจะลงแรง

4. The Cyclicals ชื่อนี้สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นอยู่แล้วคงจะคุ้นเคย แต่สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้นอาจจะต้องทำความเข้าใจหน่อย เพราะว่าหุ้นนี้ก็คือเป็นหุ้นวัฏจักร ก็คือมีขึ้นมีลง สังเกตได้ชัดเจนในหุ้นกลุ่มที่มีการขึ้นลงตามราคาวัตถุดิบ เช่นหุ้นกลุ่มกระดาษ หรือ หุ้นกลุ่มปิโตรเคมี โดยราคาหุ้นเหล่านี้ จะมีการขึ้นลงตามวัตถุดิบไปเรื่อยๆ

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่าการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ อยู่ที่จังหวะและโอกาส คือต้องสามารถคาดการณ์ได้ว่าจังหวะไหนจะเป็นวัฏจักรขาขึ้น และควรซื้อหุ้นดักหน้า แต่ถ้าไม่ดีก็ควรขายออกทันที

5. Turnaround Stock เป็นหุ้นที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว จากภาวะตกต่ำและเป็นหุ้นประเภทเดียวจาก 6 กลุ่มที่ ปีเตอร์ ลินซ์ มีการย่ำเป็นพิเศษว่า "ต้องซื้อ" สาเหตุสำคัญก็เนื่องจากว่าหุ้นกลุ่มนี้สามารถสร้างกำไรให้ผู้ซื้ออย่างเป็นกอบเป็นกำ

ปีเตอร์ ลินซ์ ยังแนะนำต่อไปว่า การเข้าซื้อหุ้นเหล่านี้ควรช้อนซื้อโดยไม่สนใจคำเตือนของใครๆ และต้องใจเย็นเมื่อซื้อเข้าไปแล้ว และในที่สุดท่านจะได้กำไรอย่างมหาศาล

6. The Asset Play เป็นหุ้นที่อยู่ในรูปของบริษัทที่มีสินทรัพย์แฝงอยู่ แต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผยออกมา โดยอาจจะเป็นในรูปที่ดิน, เงินสด หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ก็ได้

ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า ถ้าค้นพบบริษัทไหนมีสินทรัพย์แฝงอยู่ให้ซื้อเก็บไว้และอดทนรอระยะหนึ่ง และก็จะได้กำไรอย่างคุ้มค่าเหนื่อย

-------------------------------
วิธีการและแนวทางในการลงทุน

อันดับแรก เปิดหูเปิดตาให้กว้างเพื่อรับฟังแนวคิดใหม่ๆ

แนวคิดหลักของลินซ์คือ เราสามารถเลือกลงทุนได้จากสิ่งรอบตัวเรา
เช่นถ้าเราเลือกที่จะสนใจในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจอยู่แล้ว อาจจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้า หรือแม้แต่การสังเกตเพื่อนบ้านที่กำลังถอยรถใหม่ออกมา หรือเห็นโรงงานข้างทางกำลังขยายโรงงาน สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นตัวช่วยให้เราเลือกลงทุนกับบริษัทเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม.

แหล่งข้อมูลที่คุณสามารถหาได้ดีที่สุด :
งานของคุณ ซึ่งมันทำให้คุณคุ้นเคยกับธุรกิจ และคุณสามารถเข้าใจลูกค้า และผู้ขายวัตถุดิบอยู่แล้ว เช่นหากคุณเป็นแพทย์ คุณจะเข้าใจโรงพยาบาล เข้าใจผู้ป่วย และบริษัทเวชภัณฑ์ ว่าเขาทั้งหมดต้องการอะไร และโรงพยาบาล และบริษัทเวชภัณฑ์สามารถสนองความต้องการของผู้ป่วยได้หรือไม่ งานอดิเรกและ การพักผ่อนของคุณ เช่นกีฬาที่เล่น สถานที่ที่เล่น ห้างสรรพสินค้าและสินค้าที่คุณ และเพื่อนๆของคุณนิยมซื้อกันครอบครัวของคุณและของเพื่อนฝูง พวกเขาก็จะมีงานและงานอดิเรกของเขาซึ่งคุณสอบถามข้อมูลจากเขาได้ การสังเกต และประสบการณ์ของคุณที่มีต่อบริษัทที่คุณรู้จัก

อันดับที่สอง จัดหมวดหมู่ความคิดของคุณ
บริษัทต่างๆสามารถจัดประเภทได้ 6 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ประเภทอุ้ยอ้าย (Slow growers)
การเติบโตของกำไรจะสุงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเล็กน้อย ประมาณ 2-4% ต่อปี

ประเภทแข็งแกร่ง(Stalwarts)
บริษัทที่ดีมีอัตราการเติบโตประมาณ 10-20% ต่อปี

ประเภทโตเร็ว (Fast growers)
บริษัทเล็กๆที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี

ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Cyclicals)
บริษัทที่กำไรขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ

ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turnarounds)
บริษัทที่ประสบปัญหา แต่มีสัญญาณแห่งการฟื้นตัวที่ชัดเจน

ประเภทสินทรัพย์แฝง (Asset plays)
บริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีที่เราทราบแต่อีกหลายคนในตลาดยังไม่ทราบ เช่นที่ดินที่มีอยู่อาจมีมูลค่าสูงมาก ในบริษัทประกันภัยที่ตั้งสำรองเงินประกันสูงๆ

ใช้ความพยายามที่มีอยู่ในการหาหุ้นประเภทโตเร็ว เพราะหากซื้อที่ราคาที่เหมาะสมอาจทำให้เราได้รับผลตอบแทนสูงถึงสิบเท่าตัว นอกจากนั้นให้มองหาหุ้นประเภทกำลังฟื้นตัว และบางครั้งควรเป็นประเภทมีสินทรัพย์แฝง.
อย่าถือเงินสด ทางที่ดีคือนำเงินสดที่เหลืออยู่ไปลงทุนในหุ้นประเภทที่แข็งแกร่ง(Stalwarts) เพราะคุณจะไม่พลาดเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น หลีกเลี่ยง หุ้นประเภทอุ้ยอ้าย(กำไรน้อยเกินไป) กับหุ้นประเภทขึ้นลงตามวัฎจักรที่กำลังแย่ลง

อันดับที่สาม สรุปเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับบริษัทที่เลือกได้
เหตุผลที่สนใจในบริษัทนี้ อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทนี้ประสบความสำเร็จ อุปสรรคที่จะทำให้บริษัทล้มเหลวได้ ต้องแน่ใจว่าเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทนั้น ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ถูกต้อง เชื่อถือได้ และสามารถจัดลงในประเภทดังที่กล่าวมาแล้ว ตัวอย่างคำถามง่ายๆที่ควรจะถามตัวเองเสมอเช่น”ถ้าบริษัทนี้จัดเป็นประเภทโตเร็ว แล้วสิ่งใดเป็นตัวที่ทำให้มันเติบโตอย่างต่อเนื่อง?


อันดับที่สี่ ตรวจสอบตัวเลขที่สำคัญ Fourthly, check the key numbers.
ถ้าคุณสนใจในสินค้าและบริการใดในบริษัท ให้ตรวจสอบว่ายอดขายต้องมากเท่าไรจึงจะสามารถมีกำไรในจำนวนมากได้ (ตรวจสอบ Profit Margin)
ให้ความสำคัญกับบริษัทที่อัตราส่วน P/E ต่ำกว่าอัตราการเจริญเติบโตของกำไรต่อหุ้น (ให้ตรวจสอบ PEG)
ให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีเงินสดจำนวนมากพอที่จะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่ง ให้ระวังบริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนสูง(D/E หรือ Gearing สูง) โดยเฉพาะหนี้ที่มาจากวงเงินเบิกเกินบัญชี ซึ่งจะต้องจ่ายเมื่อถูกทวงถาม ซึ่งไม่เหมือนกับหุ้นกู้ที่มีระยะเวลากำหนดแน่นอน(ถ้าเป็นหนี้ชนิดหุ้นกู้จะดีกว่าเพราะตราบใดที่ยังจ่ายดอกเบี้ยได้ เจ้าหนี้จะเอาเงินคืนก่อนกำหนดไม่ได้)
หากเป็นบริษัทประเภทแข็งแกร่งหรือโตเร็ว ให้เลือกบริษัทที่มีกำไรก่อนภาษีสูงๆ หากเป็นบริษัทประเภทเริ่มฟื้นตัว ให้เลือกบริษัทที่ราคาต่ำแต่มีศักยภาพที่จะกลับมาสูง.


อันดับที่ห้า ไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาด ให้ใช้เหตุผลในการซื้อขายเท่านั้น
จำไว้เสมอว่า กำไรขาดทุนที่จะได้รับไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมแต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของธุรกิจที่บริษัทดำเนินการอยู่ ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาดหุ้น .
ซื้อหุ้นเมื่อแน่ใจในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง ที่ราคาที่เหมาะสม ลงทุนเต็มที่ตลอดเวลา
ขายหุ้นประเภทแข็งแกร่ง เมื่อ PEG สูงประมาณ 1.2 – 1.4 หรือเห็นแนวโน้มว่าการเติบโตเริ่มลดลง
ขายหุ้นประเภทโตเร็ว เมื่อเห็นสัญญาณว่าจะไม่มีทางขยายการลงทุนได้อีกแล้ว หรือการขยายกิจการนั้นเริ่มทำให้การขยายตัวลดลง หรือเมื่อ PEG สูงประมาณ 1.5 – 2.0
ขายหุ้นประเภทมีสินทรัพย์แฝง เมื่อมีการซื้อกิจการเกิดขึ้น หรือเมื่อกิจการขายสินทรัพย์ได้ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น

-----------------------------------
ข้อมูลจาก thaihoon


Create Date : 25 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2549 15:04:20 น. 1 comments
Counter : 1885 Pageviews.

 
ขอบคุณครับ


โดย: P_ปรัชญา วันที่: 19 มกราคม 2550 เวลา:8:00:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Pu121
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add Pu121's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.