ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
17 พฤษภาคม 2555

สรุป! ประมูลคลื่นมือถือ 3G ตุลานี้ ยื่นซองได้สิทธิ์ยาว 15 ปี




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          กทค. เผยรูปแบบประมูลใบอนุญาต 3G แล้ว ตีกรอบเปิดประมูลรวดเดียว ใบอนุญาต 1 ใบ ได้สิทธิ์สูงสุด 20 MHz ยาว 15 ปีเท่ากัน มั่นใจเริ่มประมูลตุลาคมนี้ เป็นการพลิกโฉมธุรกิจสื่อสารไทย เร่งสรุปราคาตั้งต้น

           วันนี้ (17 พฤษภาคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมเตรียมพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz (3G) เพื่อรองรับเทคโนโลยี IMT-2000 หรือ IMT Advanced ซึ่งในวันที่ 15 พฤษภาคม ได้มีมติเลือกวิธีการประมูลใบอนุญาต 3G เรียบร้อยแล้ว

           โดยวิธีการดังกล่าว คือ ตัดแบ่งคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่มีอยู่ 45 MHz เป็น 9 สลอต สลอตละ 5 MHz ทดแทนการใช้เงื่อนไขจำนวนใบอนุญาตแบบ n-1 (จำนวนใบอนุญาตน้อยกว่าผู้เข้าร่วมประมูล 1 ใบ) เนื่องจากผู้ให้บริการแต่ละรายต่างต้องการคลื่นความถี่มากกว่า 5 MHz พร้อมทั้งกำหนดว่า 1 ใบอนุญาตห้ามไม่ให้ถือครองคลื่นเกิน 20 MHz และใบอนุญาตการใช้คลื่นมีอายุ 15 ปีเท่ากัน ไม่ว่าผู้ชนะจะประมูลได้กี่สลอต

           ทั้งนี้ วิธีประมูลแบบสลอตละ 5 MHz มีข้อดี คือ สร้างการแข่งขันมากขึ้น และไม่ต้องห่วงว่าจะมีผู้ประกอบการปลอมแฝงตัวเข้ามา แต่มีความเสี่ยง คือผู้ประกอบการฮั้วกัน ประมูลคลื่นรายละ 3 สลอต (15 MHz) ทำให้ไม่มีการแข่งขัน หรืออาจมีรายใหญ่ 2 ราย ได้คลื่นไปรายละ 20 MHz รายสุดท้ายเหลือ 5 MHz ซึ่งไม่พอสร้างการแข่งขัน

สำหรับวิธีที่ใช้ในการประมูลเรียกว่า "การประมูลด้วยวิธีการเพิ่มราคาทุกสลอตพร้อมกันในเวลาเดียว" (Simultaneous ascending bid auction) คือ เปิดประมูลคลื่นทุกสลอตพร้อมกันหมด โดยให้ผู้เข้าประมูลเสนอราคาเพื่อรักษาสิทธิของตนทุกรอบ และแข่งเสนอราคาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีผู้เสนอราคาเพิ่มอีก และจะระบุแถบคลื่นความถี่ของแต่ละสลอตเมื่อได้ผู้ชนะการประมูลชัดเจนแล้ว ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาต่อไปว่าจะใช้วิธีใดในการกำหนดแถบคลื่นความถี่ให้โอเปอเรเตอร์แต่ละราย อาจเปิดประมูลอีกรอบหรือให้ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดเลือกก่อนก็ได้

ส่วนการกำหนดราคาตั้งต้นในการประมูล และเงื่อนไขที่จำเป็นในการประมูลใบอนุญาต 3G ได้ว่าจ้างคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้วิจัยแทน NERA ที่เคยเป็นที่ปรึกษาการจัดประมูล 3G ของ กทช.ครั้งก่อน คาดว่าจะประกาศราคาตั้งต้นในการประมูลคลื่นแต่ละสลอตได้ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ และจะพิจารณาว่าจะจ่ายให้หมดในครั้งเดียวหรือทยอยจ่ายกี่งวด

           พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับกระบวนการดำเนินการประมูลใบอนุญาตใหม่ 3G โดยจะมีการนำเสนอวิธีการประมูลให้ที่ประชุมบอร์ด กทค. ครั้งต่อไปประมาณสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อพิจารณาก่อนบรรจุเป็นวาระในการประชุมบอร์ด กสทช. ในกลางเดือนมิถุนายน จากนั้นเมื่อจัดทำร่างหนังสือชี้ชวนการลงทุนเสร็จแล้วก็จะนำขึ้นเว็บไซต์เป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งถือเป็นการเริ่มเข้าสู่กระบวนการประชาพิจารณ์จากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจะเปิดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะในเดือนกรกฎาคม ก่อนปรับปรุงแก้ไข และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเดือนสิงหาคม เพื่อให้สามารถดำเนินการประมูลใบอนุญาตใหม่ 3G ได้เป็นครั้งแรกในไทยในเดือนตุลาคมนี้ เท่ากับพลิกโฉมหน้าธุรกิจไปสู่ระบบใหม่

ขณะที่งบประมาณที่ใช้ในการประมูลใบอนุญาตดังกล่าวไม่เกิน 40 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะใช้ไปกับการจ้างบริษัทต่างประเทศเพื่อวางระบบการประมูล ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการฯรวบรวมข้อมูล เพื่อพิจารณาหาบริษัทที่เหมาะสมแล้ว ด้าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า หากประมูลตามไอเดียใหม่ ราคาตั้งต้นแต่ละสลอตต้องไม่ต่ำกว่า 4,300 ล้านบาท ซึ่งโอเปอเรเตอร์ที่สนใจเข้าร่วมประมูลพร้อมจ่ายสูงกว่าราคาตั้งต้นมาก

           อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ กสทช. ควรเร่งทำคือ สร้างความชัดเจนของเงื่อนไขการประมูล รวมถึงการตีความความถูกต้องของสัญญาบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เนื่องจากมีผลต่อการกำหนดโครงสร้างตลาด 3G ในอนาคต


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก



Create Date : 17 พฤษภาคม 2555
Last Update : 17 พฤษภาคม 2555 22:04:56 น. 0 comments
Counter : 1407 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tukdee
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]