กรรมพิชิตยึดครองเพื่อควบคุม
กรรมพิชิตยึดครองเพื่อควบคุม

๑. เกิดอะไรขึ้น

    ที่เกี่ยวกับนพรัตน์นั้น เกี่ยวกับกรรมการจองเวร จองพิชิตที่จะยึดครอง

๒. มีเหตุอะไรถึงเกิดเช่นนี้

    กรรมจองเวร จองพิชิตที่จะยึดครอง ถ้าไม่แก้ตัวนี้ พอผิดหวังถ้าไม่ฆ่าตัวตายก็ต้องฆ่าคนอื่นตาย

    เราไม่ใช่รักเขาจริง แต่อยากจะควบคุมเขา เหมือนกับเราเลี้ยงสัตว์ตัวหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเรารักเขา แต่เราอยากควบคุมเขาต่างหาก แสดงถึงอำนาจ ทรงอำนาจ ด้วยการแสดงบทรัก

    เราต้องการครองเขา ยึดเขา แต่แสดงบทว่า เราเอาใจใส่เขา ฯลฯ แต่ที่จริงแล้วอยากยึดครองเขา

    เหมือนกับแม่บางคน บอกว่ารักลูก แต่ที่จริงแล้ว อยากยึดครองลูก ยึดครองจนเขาเหี่ยวตายอยู่ในอุ้มมือเรา ทั้งๆ ก็รู้ว่าปล่อยไปแล้วเขาก็มีความสุข 

    ทำดีแต่อย่ายึดครอง อย่าทับถม

๓. ต้นตอแห่งเหตุ

    ต้องการพิชิตยึดครองเขา

วิธีแก้

     อย่ายึดครองเพื่อควบคุมเขา

    สายสนองอารมณ์ยึดครอง อยากเอาเป็นเจ้าของ คือ ขี้หึง หวง เรารักเขาพยายามจะเป็นเจ้าของ พอเรายึดครองเป็นเจ้าของเรามักจะทำอะไรตามอำเภอใจตนเอง โดยไม่สนใจว่าคู่รักของเราจะชอบหรือไม่ชอบ

    ๒.๑ บังคับ

    ๒.๒ ขู่เข็ญ

    ๒.๓ ข่มขืน คือ ก. บังคับ, ขืนใจ, ขู่เข็ญ. (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔)

    ข่มขืนใจ     แปลว่า บังคับจิตใจหรือฝืนใจให้ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน

    ประเภทการข่มขืน

        ๒.๓.๑ ผู้อื่นข่มขืนเรา คือ เขามาบังคับเราให้กระทำ โดยที่ใจของเราไม่ยินยิม มีดังนี้

            ๑) ถูกข่มขืนทางร่างกาย คือ เขามากระทำชำเราหรือทางเพศเรา หรือบีบบังคับ ทำร้ายร่างกายเราเป็นการทำร้ายร่างกายทางเพศซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ หรือการใช้การล่วงล้ำทางเพศแบบอื่นต่อบุคคลหรือต่อสัตว์ โดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น ต่อสัตว์เหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ

            การข่มขืนนี้มิได้มีแต่การข่มขืนทางเพศเพียงอย่างเดียว แม้มีการบังคับให้เราทำโน้นทำนี่แล้วเราไม่อยากทำ ก็ถือว่าเป็นการบังคับขืนขืนเราเช่นเดียวกัน

            ๒) ถูกข่มขืนทางจิตใจ คือ เขามาบีบบังคับให้เราทำในสิ่งที่เราไม่อยากทำ คือ เขาไม่อยากจะทำ ก็บังคับให้เขาทำ เช่น เราซื้อเสื้อตัวใหม่มาให้ เขาไม่อยากใส่ แต่เราก็บังคับให้เขาใส่ตัวนี้ เป็นต้น
        ๒.๓.๒ เราข่มขืนตนเอง คือ เราทำร้ายตนเอง 

            ๑) ข่มขืนตนเองทางร่างกาย เช่น เราเจ็บป่วยแล้วบอกว่าเราไม่ได้เจ็บป่วย ไม่เป็นอะไร ยังฝืนร่างกายไปทำงานหนักๆ ฯลฯ เป็นการทรมานร่างกาย ฝืนร่างกาย ถือว่าเป็นการข่มขืนร่างกายของตนเอง

            ๒) ข่มขืนตนเองทางจิตใจ เช่น เราเห็นว่าทำสิ่งนี้มันไม่ดีก็ยังขืนทำลงไป ผลที่ตามมาทำให้จิตใจย่ำแย่ลงไปอีก เช่น วางแต้มให้เขาได้รับความเสียหาย หรือต่อว่าให้เขาได้รับการอับอายทำให้บั่นทอนจิตกุศลของตนเอง

    ก. ผู้อื่นข่มขืนเรา
        ๑. ข่มขืนด้วยความรัก        โทษเบา
        ๒. ข่มขืนด้วยโทสะ        โทษน้อย
        ๓. ข่มขืนด้วยการข่มเหง เย้ยหยัน ถากถาง ซ้ำเติม    โทษปานกลาง    
        ๔. ข่มขืนแล้วทำร้าย ทำลาย    โทษหนักมาก
        ๕. ข่มขืนแล้วสังเวย ฆ่าทิ้ง    โทษหนักมากที่สุด

    ข. ข่มขืนตัวเอง ข่มเหงตัวเอง

        ๑. ย้ำคิด ย้ำทำว่าตนเองไม่ดี อคติกับตนเองว่าไม่ดี     โทษเบา
        ๒. พอเราคิดว่าตนเองไม่ดี ก็จะจมปลัก จมอยู่กับความเศร้า ทำสิ่งเลวร้ายกับตนเอง ทำไม่ดีกับตนเอง เช่น กินยาบ้า เพื่อให้ตนเองได้รับสิ่งที่ไม่ดี ฯลฯ    โทษน้อย
        ๓. พฤติกรรมทำร้ายตนเอง เช่น กินเหล้าเมายา และเพื่อหาพฤติกรรมอะไรต่างๆ ที่จะมาทำร้ายตนเอง        โทษปานกลาง
        ๔. สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง ทำร้ายตนเอง บางคนชอบเอาใบมีดโกนกรีดข้อมือเป็นต้น            โทษหนักมาก
        ๕. สังเวยตนเอง ฆ่าตัวตาย    โทษหนักมากที่สุด
        คนที่ข่มขืนผู้อื่นและข่มขืนตนเองมีโทษหนักเบา ๕ ข้อ คือ
            ๑. เบา
            ๒. น้อย
            ๓. กลาง
            ๔. หนักมาก
            ๕. หนักมากที่สุด

        กรณีที่ ๑ ถ้ามีคนจะฆ่าเราแล้วเราป้องกันตัว ฆ่าเขาตาย ได้รับโทษหนักมากที่สุด แต่โทษนี้ก็ต้องมาหารกับคนที่เราฆ่าเขาตาย ได้รับโทษคนละครึ่ง เพราะว่าเขาจะมาทำร้ายเรา เขาก็ผิดเหมือนกัน เราถึงจะไปป้องกันตัวแล้วทำให้เขาตาย นี่แหละได้รับโทษหนักที่สุด แต่โทษนี้ก็ต้องมาแบ่งหารกับคนที่เราฆ่าตาย เพราะว่ามีเหตุอันควรต้องแบ่ง

        กรณีที่ ๒ มีคนอยู่ ๑๐ คน มารุมตี ๑ คนแล้วเขาตาย เขาทำผิดขั้นข้อที่ ๕ คือทำเขาตายแล้วเป็นโทษหนักมาก อย่างนี้ไม่ต้องแบ่งโทษเฉลี่ยให้ทั้ง ๑๐ คน เพราะว่า เพราะว่าเรากระทำทุกคน ถ้าศาลตัดสินจำคุก ๒๐ ปี ก็ต้อง ๒๐ ปีเท่ากันหมดทุกคน แต่ถ้าใครเป็นคนหัวโจกก็ต้องหนักขึ้น ใครมาร่วมทีหลังก็เบาลง

        กรณีที่ ๓ มีคนอยู่ ๑๐ คน แต่ผู้ที่ไปทำร้ายให้เขาตายมีอยู่คนเดียว อีก ๙ คนมีส่วนรู้ส่วนเห็น ดูราดราว เป็นต้น เมื่อได้รับโทษก็ต้องมาหารอีก ๙ คน แต่ผู้ที่ทำร้ายจะได้รับโทษมากกว่า อย่างเช่น จำคุก ๒๐ ปี ก็ต้องมาเฉลี่ยให้กับอีก ๙ คน เป็นต้น

        สิ่งนี้เป็นการยกตัวอย่าง สุดแล้วแต่เหตุการณ์และศาลจะไปพิจารณา

    ๒.๔ หึงหวง ขี้หึง คือ ก. หวงแหนทางชู้สาว, มักใช้เข้าคู่กับคำ หวง เป็น หึงหวง หรือ หวงหึง. (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔)

    ๒.๕ หลอกลวง คือ สร้างเรื่องหลอกลวงเอาไว้ให้เขาเชื่อเราแล้วยึดครองเอาไว้

    ๒.๖ สร้างเงื่อนไขให้เป็นไปตามตัณหาของเรา คือ สร้างเงื่อนไข ข้อตกลง หรือแผนการต่างๆ ให้เป็นไปตามใจเราต้องการที่จะให้เป็นไป

    ๒.๗ ใช้มารยา ตอแหลให้เกิดความสงสาร เอ็นดู ทำให้เขาติดกับดักเรา คือ บางคนไม่อยากให้เขาจากเราไป เขาก็จะใช้บทร้องไห้ ทำให้เราสงสารไม่อยากจากเขาไป ทำให้เขามาติดกับดักของเรา มาสนองตามที่เราต้องการ เช่น บางคนร้องไห้ คร่ำครวญให้เราเกิดความสงสารแก่เขาแล้วเราไปทำตามที่เขาบอก เขาต้องการ
    
    วิธีแก้ไข

    ๑. อกเขา อกเรา คือ สมมติว่า เขาให้วิธีการมิจฉาที่ไม่ถูกต้องตามธรรม มาใช้หลอกลวงเราแล้วเราชอบไหม? ถ้าเราไม่ชอบเราก็ไม่ควรใช้วิธีการนี้กับใคร หากว่า บางครั้งมีความจำเป็นที่จะต้องทำ ก็อย่าทำจนเกินไป บางคนใช้อำนาจจนเกินไปก็เกิดปัญหาขึ้นได้

    ๒. มีมุฑิตาจิต

    ๓. พิจารณากรรม ๕ คือ เมื่อเราทำตรงนี้ผลที่ตามมาเราจะต้องได้รับอะไร? ผลที่ตามมาเราเดือดร้อน ไม่ดีเป็นทุกข์แล้วเราจะเอาไหม?

    สมมติว่า เราบอกว่าสิ่งนี้ทำแล้วดีแต่เรารู้อยู่แก่ใจแล้วว่ามันทำแล้วบาป ตรงนี้มันบาป แต่ผลที่ตามมามันบาป ผลแห่งบาปตามมาเราจะเอาไหม? ถ้าเราไม่เอาตรงนี้เราก็ต้องลดแล้ว ฉะนั้น การพิจารณากรรม ๕ การพิจารณาวิบาก ๗ นี่แหละจะเป็นสติเตือนเรา เป็นข้อเปรียบเทียบเตือนเรา ใช้ได้ทุกโอกาส



Create Date : 03 พฤศจิกายน 2563
Last Update : 24 มกราคม 2564 0:29:27 น.
Counter : 170 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
พฤศจิกายน 2563

1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30