กระบวนการของ "ฌาน"
กระบวนการของ "ฌาน"

    ฌาน คือ การเพ่ง สนใจอยู่จุดใดจุดหนึ่ง การที่จะมีฌาน หรือได้ฌานนั้นจะต้องอาศัยอะไร? คือต้องอาศัยสมาธิ และสมาธินี่แหละจะมีการกำหนดจิตล่ะว่า จะให้จิตเราอยู่ตรงนี้ ไม่ให้เคลื่อนที่ เรียกว่า "การเพ่ง" เพ่งเจาะจงอยู่ตรงนี้ ไม่เคลื่อนจิตไปไหน

 
ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ 

    ในปฐมฌานนี้ ฌานขั้นที่ ๑ มีองค์ประกอบหลักๆในการปฏิบัติอยู่ ๕ ประการ ได้แก่

    ๑. วิตก คือ คิดอารมณ์ คิดเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคิดสิ่งใดก็ได้ หรือเรียกว่า "กังวล"

    ๒. วิจาร คือ เคล้าคลึงอารมณ์ นำสิ่งที่เรากังวล หรือนำอารมณ์ที่วิตกนั้นมาวิเคราะห์ วิจัย พิจารณา หรือนำข้อมูลที่วินิจฉัยมาเปรียบเทียบ เทียบเคียง วิเคราะห์ความแตกต่างกันว่า ดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิดประการใด โดยโยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาตั้งแต่ต้นเหตุไปถึงผล ผลไปถึงเหตุ ให้ครบวงจรตามภาวะจริงแท้แห่งธรรม

    ๓. ปิติ คือ ดีใจ สรุปว่าสิ่งที่มาวิเคราะห์นั้นสรุปได้หรือยังไม่สรุป  ถ้าเกิดปิติก็จะสรุปได้  (ดีใจแล้วแปรเปลี่ยนมาเป็นสุข) ปีติ  ก็คือ ความเอิบอิ่มใจ คือ จะต้องยอมรับความเป็นจริงแห่งธรรม มายาธรรม ธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามวิถีแห่งธรรม แล้วสรุปตามภาวะแห่งธรรมนั้นๆ จึงจะเกิดความเอิบอิ่มใจ ถ้าไม่มีการสรุป จิตของเราก็จะสืบเสาะ แสวงหา โหยหาจึงไม่เกิดปีติ และมีถ้าเรามีปีติก็จะส่งผลให้เรามีกำลังใจทำต่อ

    ๔. สุข คือ การคิดสรุปว่า "ดี" หรือ "พึงพอใจแล้ว"

    ๕. เอกกัคคตา คือ สรุปแน่นอน และดำรงอารมณ์อยู่ ณ จุดนั้น (สรุปแน่นอนแล้วว่าเป็นอะไร) สมมติว่าอะไรก็แล้วแต่จะมีสักกี่ข้อว่าจะเป็นความสุข เราจะอยู่กับสุขนั้นล่ะ แต่ถ้าเรายังจะอยู่ในวิตกก็กังวลไป คิดอะไรไปเรื่อย แม้แต่คิดเป็นหลักการอะไรสักอย่างก็จะยังไม่เข้าสู่เอกคัคคตานี่แน่นอน อะไรอย่างนี้

    สมมติว่าเรานั่งแล้วพึงพอใจก็จะนั่งได้นาน เพราะถ้าเรามีเอกัคคตา จิตเราก็จะยึดตัวนี้ไปเรื่อยๆ คือยึดตัวพึงพอใจที่ทำสิ่งนี้

    ถ้าเรานั่งแล้วเจ็บปวดขา แล้วจิตเราก็จะไม่มายึดตรงนี้แล้ว แล้วถามว่าเราจะเอกัคคตากับตัวไหนล่ะ ถ้าจิตเราไปอยู่กับตรงนั้นมีความสุข เราก็จะลืมทุกข์ความเจ็บปวดตรงนี้


 
ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ 

    ในญาณที่ ๒ นี้ มีองค์ประกอบ ๓ ข้อ คือ จะละวิตก วิจารได้ ละข้อสงสัยไปได้ พอเรานั่งปั้บก็ตัดไปได้แล้ว เพราะว่าขึ้นขั้นแล้ว เราไม่ต้องสงสัยแล้ว เชื่อมั่นแล้ว ได้แก่

    ๑. ปีติ        ๒. สุข         ๓. เอกัคคตา

    ความหมายแต่ละข้อข้างต้น อธิบายตามปฐมฌานที่กล่าวมา

ตติยฌาน ฌานที่ ๓


    ฌานที่ ๓ มีองค์ประกอบ ๒ ข้อ คือ ให้ละปิติ แล้วเจริญ

    ๑. สุข        ๒. เอกัคคตา

    สาเหตุทำไมฌานที่ ๓ ถึงต้องละ วิตก วิจาร ปิติได้ เหลือแต่ สุขกับเอกัคคตา

    ถ้าคิดไปว่าทำไมถึงเร็วจังสามารถตัดข้อ ๑-๓ ได้ ถ้าคิดว่าทำไมถึงตัดได้เร็ว หรือละได้เร็ว แต่ข้อ ๑-๓ ก็ไม่ใช่ง่ายๆนะ ถ้าเราควบคุมจิตใจได้ แต่ถ้าควบคุมจิตไม่ได้ก็ทำได้ยากเช่นเดียวกัน


 
จตุตถฌาน ฌานที่ ๔

    ฌานที่ ๔ นี้มีองค์ประกอบ ๒ ข้อ คือ ให้ละสุขเสียได้ แล้วเจริญ

    ๑. อุเบกขา     ๒. เอกัคคตา

    ถ้าเราไม่อุเบกขา เราก็จะยึดติดกับสิ่งต่างๆ อยู่เรื่อย หวั่นไหวไปเรื่อย สมมติว่า เราเอาเรือไปผูกติดกับแพ น้ำใหลลอยไปยังไงก็จะอยู่อย่างนั้น ถ้าเราให้เชือกหลุดออกจากแพ เราถึงจะเป็นตัวของตัวเองได้ ถ้าอย่างนั้น ฌาน ๑-๓ นี่ก็ใหลไปตามกระแสน้ำ ถึงบอกว่าเป็นตัวอะไรที่ยังใช้ไม่ได้ เพียงแค่รับรู้เฉยๆ เป็นบันไดให้ขึ้นถึงขั้นที่ ๔ ขั้นที่ ๔ เราต้องอุเบกขา ต้องให้หลุดจากสิ่งที่เป็นอยู่ เช่น เราวิตก เราต้องหลุดออกจากวิตกล่ะ ถ้าเรายักวิตกก็จะพาเราไปอีกแล้ว

    ยกตัวอย่าง วิตกคือความไม่เข้าใจในสิ่งนั้น เราก็จะวิตกว่ามันเป็นอะไรว่ะ มันเป็นยังไงว่ะ หรือจะอะไร ถ้าจะว่าไปก็คือการสงสัย ลังเลสงสัย

    พอมาวิจาร คือ มันจะมาเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เป็นอย่างนี้หรือเปล่า เรียกว่า วิจาร คือ เอามาวิเคราะห์

    ปิติ คือ รู้แล้ว ดีใจว่านี่คืออะไร มันเป็นยังไง

    พอดีใจปั้บ ก็สรุปพึงพอใจ สรุปแล้วว่าพึงพอใจอย่างนี้


    เอกัคคตา คือ จะถือตรงไหน จะถือตรงนี้เป็นหนึ่ง ก็จะถือตรงนี้ล่ะ

    การกำหนดลมหายใจ "พุทโธ" อันนี้เป็นกุศโลบายที่จะทำให้จิตเราอยู่ ไม่ใช่เป็นตัวที่จะนำพาไปให้ได้ฌาน สิ่งที่นำพาไปต้องเป็นการกำหนดจิต

    สมมติว่านำพาไปเพื่อตรงนี้ ใช่มั้ย? เราก็ต้องกำหนดจิตมาตรงนี้สิ เราไม่กำหนดจิตมาตรงนี้แล้วกำหนดจิตไปที่อื่นแล้วจะมาตรงนี้ได้ยังไง ก็ฟุ้งซ่านหมด สรุปแล้วว่าเอกัคคตาจะไปสู่สิ่งไหน นี่แหละเริ่มเข้าสู่กสิณล่ะ

    สมมติว่าเอกัคคตาของเราอยู่ที่พระพุทธรูป จิตเราก็จะอยู่กับพระพุทธรูป นี่แหละ เขาเรียกว่ากสิณ

    สมมติว่าเอกัคคตาเราจะไปอยู่ที่น้ำ เราก็จะเพ่งน้ำ ก็อยู่กับน้ำ อยู่กับไฟก็เช่นเดียวกัน เอกัคคตาเราก็อยู่กับไฟ สมาธิก็จะอยู่ตรงนั้น นี่แหละเรียกว่า ฌาน แปลว่า "เพ่ง" 

    เพ่งแล้วทำอะไรต่อ ก็คือพิจารณาความเป็นไปของสิ่งนั้น เช่น ไฟเป็นยังไง อะไรข้างใน ลึกเข้าไปเรื่อยๆ ถ้านั่งเฉยๆ ไม่พิจารณาเขาเรียกว่า "สมาธิตาย" ทำอะไรไม่ได้

    ฉะนั้น นั่งสมาธิสมควรคิด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ให้ถอยลงมาแล้วเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน จึงจะเกิดอานิสงส์ได้ ถ้าไม่เช่นนั้นก็เป็นสมาธิตาย (สมาธินิ่ง) คือ รู้อย่างนี้แล้วก็จ้องอย่างนี้ นั่งไปสามพันปีก็เป็นอยู่อย่างนี้ แล้วก็ออกจากสมาธิก็ไม่รู้เรื่องว่าเป็นอะไร คืออะไร 

    พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าไม่ถูกต้อง แก้ทุกข์ไม่ได้ พอแก้ทุกข์ไม่ได้พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าให้ถอยออกมา ถอยลงมา ยังไม่ถึงขั้น ๓ ไม่ถึงขั้น ๑ ถอยลงมาหนึ่งขั้นเพื่อเอากำลังของสมาธิ เข้าสู่การเจริญวิปัสสนากรรมฐานว่า ต้นเหตุตรงนั้นเกิดจากอะไร? นี่คือหลักของพระพุทธเจ้า จึงจะสามารถแก้ทุกข์ได้ เข้าใจหรือไม่ ต่างกันแค่ตรงนี้

    ถ้าเป็นของโบราณ นั่งเฉยๆ ดูไปเถอะ ถ้าของพระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ได้ ต้องถอยออกมาแล้วมาดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถึงจะมาแก้ทุกข์ได้ แค่นี้ ง่ายมั้ย ง่าย ถ้ายากเพราะว่าเราไม่ได้ทำบ่อยๆ

    ถ้าเราทำบ่อยๆ เราก็สามารถทำได้ ไม่ต้องนั่งสมาธิ 

    เราจะเอาดอกบัวมาทำสมาธิได้มั้ย ได้สิ ขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดจิต แล้วเราต้องมาวิตกวิจาร ถ้าเราไปถึงเอกัคคตาแล้วเราจะไปจับวิตก วิจารทำไม เพราะเข้าสู่กสิณแล้ว อันนั้นเป็นแค่ทางผ่าน เราต้องผ่านไป ผ่านแล้วเราสรุปจะเอายังไง ถึงจะไปทำขั้นต่อไป

    ที่พูดมาถึงขั้น ๓ ไปแล้วนะ เราจะเอาขั้น ๑ ก็ต้องไปทำ วิตก วิจาร อะไรก็ไปว่ากัน ว่าแล้วสรุปหรือยังว่าจะเอาอะไร ถ้า ๑-๓ ยังไม่สรุป 

    เห็นหรือไม่ว่าเวลาเราทำอะไรจะต้องตัดเรื่อยๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เราตัดข้อล่างหรือยัง ถ้าเราตัดข้อที่ ๑-๓ เราก็จะมาเข้าสู่องค์ฌานข้อที่ ๔-๕ ก็จะเป็นหนึ่งล่ะ

    ยกตัวอย่าง การบวงสรวงโดยใช้หม้อบวงสรวงจะปฏิบัติให้เกิดฌานได้หรือไม่ ตอบว่าได้ ตกลงว่าเราตัดข้อ ๑-๒-๓ หรือยัง ตอนนี้เราอยู่ขั้นอะไร

    ขั้นที่ ๑ วิตก คือ ไปดูว่าการบวงสรวง หม้อบวงสรวงมันคืออะไร

    ขั้นที่ ๒ วิจาร คือ เราวนหม้อบวงสรวงจะไหม้เรามั้ย ถ้าลมแรงไฟก็จะรนใบหน้าเรา เช่น เราจะใส่การบูรเท่าไหร่ถึงจะไม่ร้อน ควรจะยกแค่ไหน ฯลฯ

    ขั้นที่ ๓ ปิติ คือ พอข้อ ๑ - ๒ เราทำได้แล้วเกิดปิติมั้ย ถ้าเกิดปิติแล้วเราจะมีความสุขเราต้องทำอะไร ยินดีพอใจกับสิ่งเหล่านั้น

    ขั้นที่ ๔ สุข คือ ถ้าเราทำการบวงสรวงนี้ ถ้าสรุปว่าจะบวงสรวงอย่างนี้ล่ะ ก็จะมีความสุข

    ขั้นที่ ๕ เอกัคคตา คือ สรุปแน่นอน และดำรงอารมณ์อยู่ ณ จุดนั้น และจะแน่วแน่ต่อเนื่อง

    ยกตัวอย่าง ถ้าไม่ต่อเนื่อง ถ้ามีสาวสวย ผิวขาวเนียนอมชมพู ขาขาวๆ นมโตๆ นุ่งกระโปงวับๆ แวมๆ กระโปรงฉีกข้าง เดินมา ถ้าหันไปมองดู เราก็พลาด

    "เขาเป็นคนอยากรู้อยากเห็น แล้วถูกความอยากรู้อยากเห็นใช้งานต่อ เหมือนกับคนเป็นอารมณ์ แล้วถูกอารมณ์ใช้ "อารมณ์กู" แต่ถูกอารมณ์ใช้เป็นกู"

    "อารมณ์กู" เป็นของ "กู" แต่ถูกอารมณ์กูใช้กู กูก็เป็นทาสอารมณ์ บ้าหรือเปล่า? คิดดูให้ดี ไม่เดือดร้อน ไม่ฉิบหาย ให้มันรู้ไป เด็กสวนปรุงนะจ๊ะ

    เขาเป็นคนอยากรู้อยากเห็น อยากสงสัย เป็นสิ่งที่ดี แต่มาถูกความอยากรู้อยากสงสัยใช้ ก็ตกเป็นทาสของเขา แล้วไม่มีการสรุปซักที

    ถ้าเราเข้าสู่ภาวะเอกัคคตา ก็จะมีพลังอานุภาพแห่งสมาธิ เวลาบวงสรวง หมุนวนหม้อบวงสรวงมือจะไม่เมื่อย เช่น บางคนนั่งสมาธิ ๒ วันไม่กินข้าว ก็ไม่เห็นว่าเขาจะเป็นอะไรเลย เขามีอานุภาพของเขา

    เช่นไฟไหม้ เรายกตู้เย็นออกมาได้คนเดียว แต่เวลายกเข้าไปในบ้านต้องใช้ ๔ คน นี่แหละ กำลังร่างกายเรามี เราไม่ได้มีสมาธิปลุกออกมา นี่แหละเป็นกำลังภายใน เพราะซ่อนอยู่ภายใน เพราะเราไม่ได้ฝึก ถ้าเราฝึกได้แล้ว ตรงนี้มือของเราจะเมื่อยได้ตรงไหน คนอื่นเขาได้ ๑๐ เที่ยว แต่เรา ๑๐๐ เที่ยวก็เฉยๆ ถ้าเราฝึกดี นี่เรื่องจริง

    แล้วเราจะทำยังไงให้เรา สรุปเป็นเอกัคคตาล่ะ เราต้องมาคิดว่า สิ่งที่เราไหว้บวงสรวง หมุนวนหม้อแล้วเรามีความสุขหรือเปล่า เรามีปิติ มีความสุข เราก็จะถือสุขตรงนี้ว่าถูกต้อง เราก็จะทำตามตรงนี้ ยึดตรงนี้ไป พอเรายึดตรงนี้เราก็ต้องตั้งเป้าหมาย

    ถ้าสมมติว่าเราสวดไหว้ครู หมุนหม้อ ๙ จบ ครบแล้วเราก็จะต้องหยุดล่ะ เราก็ต้องหยุดสิ แล้วถ้าเราจะฝึก เราจะฝึก ๑๐๘ จบมั้ยล่ะ ใครจะไปห้ามเราล่ะ เวลาเราประกอบพิธีไหว้ครูก็ต้องไหว้ครูไป แล้วพอถึงเวลาฝึก เราจะฝึกทำกี่รอบ กี่ครั้ง

    เวลาฝึกเวลาทำไม่เหมือนกัน เวลาฝึกเราจะเอาแค่ไหนก็ฝึกไป ถ้าเราไม่ทำเช่นนี้ เราก็จะไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง บางครั้งถ้าเราบวงสรวงไม่มีพลัง หม้อก็จะลอย เพราะไม่มีพลัง

^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

#อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต









 



Create Date : 15 กันยายน 2563
Last Update : 15 กันยายน 2563 1:08:37 น.
Counter : 1800 Pageviews.

1 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี, คุณhaiku

  
สาธุ อนุโมทามิ
โดย: อุ้มสี วันที่: 15 กันยายน 2563 เวลา:9:35:46 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กันยายน 2563

 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
15 กันยายน 2563