วิธีพิจารณาให้เห็น "ในภายใน" ของสติปัฏฐาน ๔
จิตในจิต จิตภายใน จิตภายนอก ?

"จิตในจิต"
 
    หมายความว่า มีจิตตัวหนึ่งที่เราปรุงแต่งขึ้นมา (๑) กับอีกจิตตัวหนึ่งที่มีสัมปชัญญะที่ดูแล (๒)
 
"จิตภายใน"
    หมายความว่า จิตลึกเข้าไปอีก เช่น จิตประภัสสร หรือแม้แต่จิตที่อยู่ใต้สำนึก เป็นจิตสรณะ หมายถึง ยกตัวอย่าง เรานับถือองค์พ่อพรหมธาดา เป็นจิตสรณะของเรา เรานับถือพระพุทธเจ้า เป็นจิตสรณะของเรา

    จิตข้างในสุดของเรา ก็คือ "จิตของเราที่มีสรณะ"

    ยกตัวอย่างว่า เรานับถือเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่กวนอิมท่านสั่งสอนอะไรแก่เรา เราก็มีจิตตัวนี้อยู่ ถ้าเรานับถือพระพุทธเจ้า ท่านตรัสสอนอะไร เราก็รับรู้ในสิ่งที่ท่านสั่งสอนเรา

    ยกตัวอย่างอีกว่า เรานับถือพระพรหม ในจิตของเราก็จะมีพรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะท่านสั่งสอนอย่างนี้ ในเมื่อเรานับถือท่าน เราก็จะไม่ลืมคำสั่งสอนของท่าน หัวใจของเราท่าน นี่แหละเป็นจิตภายใน เป็นจิตตัวที่ลึก

 
จิตมีอยู่ ๓ ขั้นตอน
    จิตขั้นตอนที่ ๑. จิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา

    จิตขั้นตอนที่ ๒. จิตภายใน คือ จิตสัมปชัญญะ    

    จิตขั้นตอนที่ ๓. จิตสรณะ

    ยกตัวอย่างจิตที่ขั้นตอนที่ ๑ มองหน้าบางคนแล้วเกิดหมั่นไส้ขึ้นมา ปรุงแต่งไปในทางที่ไม่ดี ส่วนจิตขั้นตอนที่ ๒ จิตสัมปชัญญะ ก็จะบอกว่า มันไม่ดีมั่ง แต่ถ้าเป็นจิตขั้นตอนที่ ๓ จิตสรณะ ก็คือ เรานับถือองค์พ่อพรหม ท่านสอนให้เรามีเมตตา มุทิตา เราก็จะคิดว่า การหมั่นไส้เขาเป็นสิ่งที่ไม่ดี เราไม่ควรทำ
จิตภายนอก
 
    หมายความว่า จิตที่เราสัมผัส เช่น เรามองเขาแล้วเกิดความหมั่นไส้  วันนี้ตัดผมหล่อกว่าฉันอีกได้ยังไง นี่แหละจิตคิดภายนอก

    การสัมผัสทางตาแล้ว ทำให้เราเกิดอารมณ์

    ความหมายของ 
"จิตใจ" 

อธิบายว่า อารมณ์ความรู้สึก ณ เวลานั้นๆ

    ความหมายของ 
"จิตวิญญาณ" 

อธิบายว่า จิตที่มีตัวรับรู้สิ่งต่างๆ แล้วเก็บๆไว้

    ยกตัวอย่าง เราขับรถเห็นเครื่องหมายจราจรไฟแดง นี่เป็นระดับ "จิตใจ" ส่วนระดับจิตวิญญาณนั้นเป็นส่วนที่ลึกกว่านั้นคือ เราจะฝ่าไฟแดงหรือไม่ฝ่าไฟแดง เป็นระดับคุณธรรม ให้เราได้คิดวิเคราะห์ว่า ถ้าฝ่าไฟแดงแล้วจะเกิดอะไรขึ้น แต่ถ้าไม่ฝ่าไฟแดงจะเกิดอะไรขึ้น

    ถ้าเราจะสะสมจิตวิญญาณก็คือ มีการสะสมสติสัมปชัญญะ รู้จักการพิจารณาว่าด้วยเหตุและผล

    ยกตัวอย่างเช่น ใครจะเอาไฟมาจี้เรา เราก็จะหลบหลีกหนี ไม่ให้ไฟมาจี้เรา นี่แหละ เราสะสมอยู่ในขั้นจิตวิญญาณแล้วว่า ไฟมาจี้เราเป็นสิ่งไม่ดี จะทำให้เราได้รับความทุกข์ ทรมานจากไฟนั้น ฉะนั้น เมื่อมีไฟมาจี้เรา เราจะหลบหลีกโดยอัตโนมัติ ที่เราเป็นอย่างนี้ได้ เพราะเราได้สะสมประสบการณ์ สะสมอุทธาหรณ์จากทั้งตนเองที่เคยประสบพบเจอและคนอื่นที่ประสบพบเจอมาแล้ว


 
"การพิจารณากายในกาย"
 
คือ เขาเอาไฟมาจี้เรา เราเจ็บไหม? ตัวไฟที่มาจี้เรา นี่แหละเป็น "กายภายนอก" ส่วนตัวที่รู้ว่าเจ็บที่เกิดจากทางกายนั่นแหละเป็น "ในกาย" หมายความว่า ร่างกายเราโดนไฟจี้ แต่จะมีประสาทมารับรู้ต่ออีกทีหนึ่ง
 
"การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา"

หมายความว่า เรามีความทุกข์ร้อน ความสงสาร ความเจ็บปวด จิตข้างในก็คือรับรู้ความเจ็บปวดนั้นๆ หมายความว่า ร่างกายตัวเราเกิดเวทนาแล้ว แต่ในจิตเราไปรับรู้ข้างในแห่งความเจ็บปวดนั้นอีก และอีกอย่าง บางคนก็เกิดความเจ็บใจ
 
"การพิจารณาเห็นจิตในจิต"

    คือ มีจิตอีกตัวหนึ่งที่มองเห็นจิตตัวนี้คิด ก็คือตัวสติสัมปชัญญะ ยกตัวอย่างเช่น เราคิดจะไปขโมยโทรศัพท์เขา แต่มีอีกจิตหนึ่ง ก็คือ สติสัมปชัญญะ มาบอกว่า การขโมยนี้เป็นสิ่งไม่ดี ไม่ควรทำ จะก่อให้เกิดโทษต่างๆ นานา เราจะต้องมีอกเขา-อกเรา หากว่าใครมาขโมยโทรศัพท์ของเราไป เราก็เสียใจ เช่นเดียวกันถ้าเราไปขโมยโทรศัพท์ของเขา เขาก็เกิดความเสียใจเหมือนกัน
 
"การพิจารณาธรรมในธรรม"

    เป็นยังไง ยกตัวอย่าง เรามองเห็นพระอาทิตย์นี่ก็คือธรรม แต่เราจะเปรียบเทียบพระอาทิตย์กับข้างในยังไง เป็นปรัชญา พระอาทิตย์ที่แสดงออกมานั้นเป็นรูปธรรม แต่ที่อยู่ข้างในพระอาทิตย์นั้นเป็นปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น เราเปรียบเทียบพระอาทิตย์เหมือนกับปัญญาก็ได้ เพราะให้แสงสว่างแก่เรา เปรียบเทียบความมืดเป็นอวิชชา ความไม่รู้สิ่งต่างๆ อย่างนี้ก็ได้ เป็นปรัชญา ก็เป็นการพิจารณาธรรมในธรรม





 



Create Date : 27 สิงหาคม 2564
Last Update : 27 สิงหาคม 2564 20:51:09 น.
Counter : 865 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
สิงหาคม 2564

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
31
 
 
All Blog