ท้อแท้ใจ..!! จะเรียนรู้ธรรมะไปทำไม
ท้อแท้ใจ..!! จะเรียนรู้ธรรมะไปทำไม

    จิตเกิดความรู้สึกว่า จะปฏิบัติธรรมทำไม จะเรียนรู้ธรรมะไปทำไม จะมีความสุขตรงไหน?

    นี่แหละเขาเรียกว่าอยู่ในขั้น "วิตก" กับ "วิจาร" 

    ทำไมเราต้องมีวิตก วิจาร เพราะสิ่งที่รับขัดกับสิ่งที่ได้ฟังมา หรือคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เวลาปฏิบัติธรรมะ เรามีความสุขตรงไหน? เราต้องไปเที่ยวเตร่ตามใจเรา เราต้องไปกินเหล้า เป็นต้น ถึงจะมีความสุข นี่แหละขัดกับสิ่งแวดล้อมเข้ามา แล้วจิตเราก็จะคิดว่าใช่หรือเปล่าสิ่งที่ปฏิบัติมา เราทำอย่างนี้ ทำไมไม่หาความสุขอย่างนี้ แล้วเราก็จะวิตก วิจาร

    เราจะแก้ตัวนี้ คือ "วิตก วิจาร" เราต้องไปแก้ที่ "วิเคราะห์" "วิจัย" ว่าในความเป็นจริงมันคือยังไง สมมติว่า วันนี้เราทำตรงนี้ไม่มีความสุข แต่ขั้นที่ ๒ มันมีความสุขใช่มั้ยในเรื่องของธรรมะ แต่สิ่งนั้นดูแล้วมีความสุข แต่ผลเบื้องปลายกลับมีความทุกข์

    ถ้าอย่างนั้นให้เรานึกถึงปัจจุบันนี้ให้มีความสุข ไม่ต้องไปนึกถึงอนาคต ๓ วัน ๕ วัน ตรงนี้ก็ได้ แต่ได้แล้ว อนาคต ๓ วัน ๕ วัน เราอยากมีชีวิตอยู่ต่อมั้ย? ถ้าอยากมีชีวิตอยู่ต่อ คุณจะไม่เตรียมการณ์ได้อย่างไร หรือว่าตรงนั้นช่างมัน เอาตรงนี้สุขไว้ก่อน ถ้าเอาสุขไว้ก่อนแล้วมันคุ้มที่ตรงนั้นจะเสียหรือไม่

    สมมติว่า สุข ๒ วัน แล้วเราจะต้องไปทุกข์ทั้งเดือน จะเอามั้ย ก็ไม่เอาแน่นอน

    คุณติดหนี้ ติดหนี้แค่วันเดียว เราไปกู้หนี้ เราติดหนี้มาแค่วันเดียว แต่เราอาจจะจ่ายเงินที่กู้หนี้มาหมดแล้ว แต่คุณต้องจ่ายเป็นเดือนนะ 

    สมมติว่าเราไปติดหนี้เขา ๑,๐๐๐ บาท แล้วเราเอาไปซื้อของจ่ายหมดแล้ว มีความสุข แต่เราจะต้องจ่ายเขา ๑ เดือน ต้องหาเงินจ่ายเขา ดอกเบี้ยเขาคิดไปแล้วนะ ๑ เดือน แล้วมันคุ้มมั้ย อย่างนี้แหละเขาเรียกว่า วิเคราะห์วิจัย

    แต่พอเราไปช่วยเหลือคน เห็นคนเขามีความสุข เราก็พลอยมีความปลื้มปิติไปกับเขา เราจึงต้องมีวิตก วิจาร แล้วเข้าสู่ภาวะวิจัย พิจารณา วินิจฉัย แล้วเราจึงต้องสรุปว่า นี่เป็นแนวทางของเรา เราจะไม่หวั่นไหวแล้ว มีหัวใจ ๕ (กตัญญู ศรัทธา เชื่อมั่น หนักแน่น มั่นคง)

    วิตก วิเคราะห์ วิจัย อาตยนะทั้ง ๖ ไปรับมา คือ ทำดี ประพฤติธรรมะ ประพฤติกรรมแบบตามใจ อายตนะรับมา พอรับมา สังคมทั่วไปคิดว่าอย่างนี้มีความสุข เช่น เราเครียดเราไปกินเหล้า เข้าคลับเข้าบาร์ แต่เราบอกว่าคลายเครียด ไม่ดีต้องมาสวดมนต์ถึงจะดี ทำดี ทำบุญ 

    แต่พอเราทำบุญ เราก็จะถูกสังคมเนี่ยวรั้งไว้ เพราะการประพฤติแบบสังคมเป็นภาพใหญ่ สมมติ ว่าไปนั่งปฏิบัติธรรม เขาก็จะบอกว่าเราบ้าแล้ว คุณทุกข์จะต้องไปกินเหล้า เข้าผับสิ เดี๋ยวจะหาย นี่แหละถูกสิ่งแวดล้อมเกี่ยว สังคมเกี่ยว ผิดเป็นถูก ถูกเป็นผิด

    พอเราผิด แต่รับข้อมูลมาถูก ก็จะเกิดวิตก วิจาร 

    ความคิดสายธรรมะก็เข้ามา ความคิดสายทางลบก็เข้ามา

    พอเราโหวตเสียงคะแนน ภาพแห่งสังคมเป็นอยู่บอกกล่าวมาเยอะเลย ควรทำทางนี้ดีกว่า เพราะใจเราชอบตามใจ เพราะคนเรามีกิเลสตัณหาเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ก็จะตามตัวนี้ (สังคม) แต่ก็จะโดน (ธรรมะ) แย้งเอาไว้ ก็จะเกิดภาวะจิตวิตกวิจาร แล้วใช่หรือเปล่า อย่างโน้นอย่างนี้ อะไรประมาณนี้ ตัดสินใจให้ขาดไม่ได้ พอขาดไม่ได้ เราก็ต้องส่งมาที่วิเคราะห์ วิจัย

    ถ้าไม่ก็จะอยู่แค่นี้ แล้วสุดท้ายก็จะถูกดึงไป พอเทียบแล้ว สังคมเยอะกว่า มันเห็นกว่า ง่ายกว่า จับต้องได้

    ธรรมะจะจับต้องไม่ได้เพราะมันเป็นทางด้านจิตใจ ส่งผลช้ากว่า ถ้าเราไม่คิดต่อก็จะถูกดูดส่งกลับไป

    ดียังไง เข้าสู่การพิจารณาวิบาก ๗ (ชอบธรรม สมควร เหมาะสม บุคคล สถานที่ การณ์ และกาลเวลา)    พิจารณา วินิจฉัย สรุปเป็นเส้นทางที่เราจะปฏิบัติ ก็จะมีข้อธรรมปฏิบัติ เช่น เราจะต้องมีหัวใจ ๕ จะต้องปฏิบัติอะไรๆ เราก็จะไม่ถูกตัวนี้ดึง เราอยู่แค่นี้ก็จะดึง ก็จะเหมือนกาวดักหนู ขั้นตอนต่างๆ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

    ยกตัวอย่างบางคน เหมือนโดนกาวดักหนู คุยธรรมะรู้เรื่องหมด แต่พอถึงเวลานั้น จะต้องไปกินเหล้าแล้วร้องไห้ กี่ครั้งแล้ว

^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

 



Create Date : 08 สิงหาคม 2563
Last Update : 8 สิงหาคม 2563 23:27:37 น.
Counter : 328 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
สิงหาคม 2563

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31