บำเพ็ญช่วยเหลือคน แต่ก็ยังทุกข์
บำเพ็ญช่วยเหลือคน แต่ก็ยังทุกข์
"ทุกข์แก้ทุกข์" หรือ "หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง"
ทุกข์แก้ทุกข์ เราก็จะได้รู้จักทุกข์ เพราะเข้าหาทุกข์ จึงจะเข้าใจทุกข์
แต่ถ้าเราทุกข์ แล้วเอาสุขมาแก้ความทุกข์ ก็ยิ่งทุกข์ใจ ทุกข์ยิ่งหนักไปใหญ่ ยิ่งแก้ยิ่งหนัก ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งเหยิง เพราะฉะนั้น เราจึงควรใช้
"ทุกข์แก้ทุกข์ จึงจะหายบรรเทาทุกข์ได้ ทุกข์แก้สุข ยิ่งทุกข์หนัก"
เราทำหน้าที่บำเพ็ญ ช่วยเหลือคนอื่น เราจะต้องรู้จักเอาตัวถ่วงของเราออก แล้วเราจะได้ไม่ต้อง "ลาก" ลากแล้วเราไม่เมื่อยเหรอ ไม่เหนื่อยเหรอก เพราะว่า "เราลาก" ไงถึงต้องเมื่อยและเหนื่อย
เราต้องเอาสิ่งที่เป็น "ตัวถ่วง" ของเราออกก่อน เราต้องเข้าใจตัวถ่วง พอเราเข้าใจ เอาตัวตัวถ่วงออก เรียกว่า "ปลดเปลื้อง" ออกจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดต่างๆ เราก็จะได้ไม่ต้องแบกไม่ต้องลากทั้งวัน ทั้งนั้น เราก็ไม่ต้องเหนื่อย
ถ้าเราทำหน้าที่แล้วมีความรู้สึกแบบว่า เหมือนกับทำหน้าที่อยู่ แต่บางครั้งก็สำเร็จอยู่ แต่ทำไมเราถึงไม่มีความสุขกับที่เราได้ทำหน้าที่เลย
ก็เป็นเพราะว่า เราทำหน้าที่แต่ยังไม่ได้ปลดเปลื้อง ก็เหมือนกับ "น้ำในแก้ว" เรายังไม่เอาของเสียที่อยู่ในแก้วน้ำออก แล้วเราก็ไปเทน้ำใหม่ที่บริสุทธิ์ใสสะอาดใส่เข้าไปในแก้ว แล้วน้ำที่เราเทไปใหม่นั้นจะสะอาดหรือสกปรก ก็ต้องสกปรกอยู่วันยังค่ำ
เราต้องปลดเปลื้องออกก่อน แล้วเราเข้าใจ เราถึงจะไปทำ ถึงแม้จะนิดหน่อย แม้จะมีแค่น้ำ ๒ - ๓ หยอด แต่ก็เป็นน้ำที่สะอาด มีความสุข มีความปิติ
จะสังเกตเห็นได้ง่ายๆ ว่า ทำไมเราทำหน้าที่บำเพ็ญแล้ว เราถึงไม่เกิดปิติ เกิดความสุข เช่น เราทำหน้าที่เป็นพระแม่ฯ แต่ใบหน้าเราไม่ปิติ ถ้าไปถ่ายรูปออกมาให้ดู ใบหน้าก็เคร่งเครียด
อย่างเช่น คืนนั้น ทำพิธีใบหน้าอยู่กับลูก เป็นห่วงลูกของตนเอง อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ใบหน้าไม่อยู่กับพระแม่ แล้วพลังพระแม่ที่ไหนจะมาเสด็จเข้าประทับ คือ คิดไปทางลบหมด มีแต่ความเป็นแรงอาฆาต ไม่ใช่แรงปิติ อย่างเช่น เขาพูดกับผู้รู้ใบหน้าก็จะยิ้มสวย น่ารัก
ถ้าเราถือหินไว้ จับหินไว้ ถึงแม้ว่าจะให้เราไปหยิบทองคำ หินนี้ก็ถ่วงอยู่ในมือนั้น มันก็บาดมือเราอยู่ดีอยู่ในนั้น เราต้องปล่อยหิน ไม่เอาเอาหิน แล้วเราไปหยิบสิ่งอื่นถึงจะได้ และจะรู้ว่าไปหยิบฟองน้ำว่านุ่มหรือไม่นุ่ม
^_^ ..._/_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต