เข้าใจ "พระรัตนตรัย" อย่างซึ้งประจักษ์
    คำว่า "พระรัตนตรัย" แปลว่า แก้วสามดวง หรือสิ่งประเสริฐสามสิ่ง อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งมาจากคำว่า

    "รัตน" แปลว่า แก้ว, สิ่งประเสริฐ

    "ตรัย" แปลว่า สาม

    ความเข้าใจ และคุณของพระรัตนตรัย มีดังนี้

 
คุณของพระพุทธเจ้า

    ๑. ด้านพระมหาปัญญาธิคุณ คือ พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู มีพระปัญญารอบรู้ในธรรมทั้งหลายทั้งปวง และเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีพระราชหฤทัยจิตจาคะ เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อยังประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น

    ๒. ด้านพระมหาวิสุทธิคุณ คือ พระองค์ทรงมีพระทัยบริสุทธิ์ ในการช่วยเหลือสัตว์โลกทุกชั้นภูมิ ไม่มีอคติลำเอียง ไม่มีการซ่อนเงื่อน ไม่มีมิจฉามาเจือปน ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยความตั้งใจ จริงใจ อย่างเต็มใจ มีความตั้งใจดีที่จะให้ดี เรียกว่า บริสุทธิ์

    ๓. ด้านพระมหากรุณาธิคุณ คือ มีจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย พระองค์ได้มีจิตโปรดเวไนยสัตว์ ด้วยการสั่งสอน ชี้นำ นำพาให้ปฏิบัติหลักธรรมที่ถูกต้อง มีสันติสุข ด้านมีพระราชหฤทัยจาคะแก่มวลสัตว์โลก และทรงเป็นแบบอย่างที่ดีเยี่ยมให้กับเรา

    พระพุทธเจ้าทรงมีพระปฏิปทา ทรงปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง ตัวอย่าง ไอดอล เป็นแม่แบบ เป็นแม่พิมพ์ เช่น ปฏิบัติให้ดูว่าดี ดีเป็นอย่างนี้นะ เป็นยังไง พระพุทธเจ้าทรงเสียสละลงทุนพิสูจน์

        ๔. ด้านตั้งปณิธาน สำนึกพระคุณของพระพุทธเจ้า และขอให้สัญญาว่าจะเจริญรอยตามพระบาทของพระศาสดา และจะปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระองค์ท่าน

    เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทำทั้ง ข้อที่ ๑-๓ นั้นให้ดูเป็นแบบอย่างแล้ว พระพุทธเจ้าก็จะมาพิจารณาดูว่า ถ้าเราทำแล้วดี จะดียังไง พระพุทธเจ้าก็จะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ดีไหม? ว่าดีจริงไหม? นี่แหละตั้งปณิธานปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นแบบอย่าง มีความตั้งใจทำให้ดูว่ามันดี ดียังไง? คือยอมเสียเวลาพระองค์เอง จาคะเวลาส่วนตน แทนที่จะทำอย่างอื่น กลับต้องมาทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ให้พิสูจน์ ยอมสละเวลาตัวเองเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าตรงนี้ดีจริง บุคคลนัั้นเขาจะได้มีศรัทธามั่นคง

    พระองค์จะปฏิบัติเป็นข้อๆ ให้เห็น เรียกว่า "พิสูจน์ทราบ" ข้อ ๔ นี้จะยอมเสียเวลายอมจาคะเวลา เพื่อพิสูจน์ทราบว่าเป็นอย่างนี้จริง 

    ๕. ด้านแสดงเจตจำนง จะจริงจัง จริงใจ เด็ดขาด ในการดำเนินตามรอยพระบาทพระศาสดา ในมรรควิถีทางที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้

    มีเจตนาที่จะสั่งสอน ดูแลผู้คน สัตว์โลก เช่น เราเป็นสาวกของพระองค์ พระองค์ก็มีความตัั้งใจที่จะสั่งสอนสาวกของพระองค์ ให้ได้ดิบได้ดี ย่อมเสียเวลาตนเองเพื่อที่จะสั่งสอนสาวก

    สมมติว่า เราเป็นครู เราตั้งจิตตั้งใจสอน นี่ก็เป็นพระคุณตัวหนึ่ง ถ้าเป็นบางคนก็จะคิดว่า "จะมาเอาความรู้ก็ได้ ไม่มาเอาความรู้ก็ช่างมัน" อย่างนี้ไม่ได้ คนละเรื่อง หรือเราอาจจะเคยเจอครูประเภทตั้งใจสอนเราก็มี พอเราเรียนไม่รู้เรื่อง ท่านก็จะจ้ำจี้จ้ำไชอยู่นั่นแหละ แต่อาจจะถูกลูกศิษย์ว่าเป็นคนที่ไม่ดี เผด็จการบ้าง ขี้บ่นบ้าง ท่านก็ยอม แต่เพื่อให้เราได้ดี นี่แหละท่านจาคะสูง ถ้าไม่จาคะสูง เรื่องอะไรจะต้องมาให้เราด่า ต่อว่า ติเตียน

    ด้านในก็คือ ท่านไปหาความรู้มาจากไหน ไปหาความรู้มายังไงกี่ภพชาติ เพื่อยอมเสียสละเพื่อไปเกิด เพื่อไปหาความรู้

    ๖. พระพุทธเจ้าจาคะยอมเสียสละไปเกิดแต่ละชาติเพื่อที่จะเรียนรู้ของจริงจากธรรมชาติ บทเรียนต่างๆ ต้องเสียเวลาไปเรียนรู้

    ๗. เสียเวลาไปรับวิบากเพื่อจะเรียนรู้ แสดงกรรมเพื่อเจริญธรรม เพราะท่านต้องไปปฏิบัติแต่ละภพชาติ สมมติว่า ชาตินี้เกิดเป็นหมา ท่านก็ต้องทำตัวเป็นหมา เรียนรู้การเป็นหมา ว่าชาติหมามีอะไรบ้างเพื่อเรียนรู้ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ เป็นปัญญาที่จะประกอบการเป็นสัมมาสัมพุทธะที่จะมาสอนเวไนยสัตว์ต่างๆ นี่แหละ เสียเวลาไหม?

    ๘. เอาสิ่งที่เรียนรู้มาสรุปเป็นหลักการ มีหลักปฏิบัติยังไง? ศึกษาครบถ่องแท้แล้วหรือยัง?

    ๙. นำข้อมูลหลักการมาเรียบเรียงจำเพาะ คือ มาพิจารณาบุคคลแต่ละเหล่าว่าจะสอนด้วยวิธีอย่างไร เช่น สมมติว่า ท่านสรุปว่าความรู้อย่างนี้เหมาะแก่บุคคลเหล่าที่ ๑ จะอธิบายยังไง? ภูมิบุคคลเหล่าที่ ๒ จะอธิบายยังไง? ภูมิบุคคลเหล่าที่ ๓ จะอธิบายยังไง? ภูมิบุคคลเหล่าที่ ๔ จะอธิบายยังไง? ทั้งๆ ธรรมะข้อเดียวกัน แต่จะรวบรวมศึกษาให้เป็นหลักการให้เรียบร้อย

    ๑๐. ออกเผยแพร่ นำองค์ความรู้ให้เป็นประโยชน์

    ๑๑. พระพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติยังประโยชน์แก่พระองค์เอง เพื่อที่จะละทั้งความดีและความไม่ดีต่างๆ ทุกเรื่อง พระองค์ต้องละ ปล่อยวาง คืนสู่ธรรม เข้าสู่ภาวะแห่งสุญญตา

    ๑๒. พิจารณาปล่อยวาง เข้าสู่ตถตา เข้าสู่นิพพาน

 
    ๑๒ ข้อเป็นตัวอย่างที่จะนำไปสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า และเข้าสู่นิพพาน 

    คุณของพระพุทธเจ้าก็คือ ท่านปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้เราเห็นชัดเจน ประจักษ์แจ้ง เป็นอุทธาหรณ์ เป็นแบบอย่าง เสียสละตนเอง นี่แหละเป็นพระคุณของพระพุทธเจ้า

    ท่านแสดงให้เห็นว่า ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ก็จะได้ผลอย่างนี้ สำเร็จอย่างนี้ เห็นชัดๆ เลย เพราะมีตัวอย่าง

    ครบเครื่อง มีมิติต่างๆ เห็นได้ชัด


 
คุณของพระธรรม

๑. ธรรม แปลว่า ตัวขบวนการก่อเกิดทุกสรรพสิ่งในธรรม ธรรมชาติ, เป็นภาวะการณ์ของสิ่งต่างๆของธรรมชาติ, วิถีดำรงอยู่ของความเป็นมา เป็นอยู่ และเป็นไปของสภาวะสิ่งต่างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ในจักรวาล ในธรรมชาติ
 
    ๒. ธรรมะแห่งวิถีพลังดำรงอยู่ คือ การเคลื่อนไหวของธรรม วิถีการดำรงอยู่ พลังแห่งชีวิต จิตวิญญาณ ภาวะจิต เจตสิก จิตปภัสสร ฯลฯ

๓. ตัวของธรรมแต่ละธรรม เป็นรูปธรรม ออกมาให้เราเห็นเป็นรูป เช่น ต้นไม้ ภูเขา ไฟฟ้า คน ฟ้าผ่า หนอง บึง ภาวะวิญญาณ

    ๔. ธรรมะที่ก่อเหตุก่อผล คือ ทำให้เกิดออกมาเป็นผล เป็นอานิสงส์ เช่น ถ้ามีเหตุอย่างนี้ เป็นเหตุอย่างนี้ ว่าด้วยเหตุอย่างนี้ ผลจะออกมายังไง? คือ จะออกมาเป็นรูปธรรมด้วยเหตุและผล 

    สมมติว่าน้ำ ทำไมต้องใหลเป็นเส้นเป็นสายอย่างนี้? มีรูปลักษณะของน้ำอย่างนี้? ผลที่น้ำใหลเป็นสายธารคืออะไร? แล้วน้ำนี้จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับอะไรได้บ้าง ? ว่าด้วยเหตุและผลจนก่อเกิดอานิสงส์


    ๕. เราจะใช้ธรรมะยังไง คือ เราเข้าใจธรรมะข้อที่ ๔ เข้าใจธรรมชาตินี้แล้วเราจะเอาธรรมะนี้ไปทำอะไร? เช่น ถ้าเราขอให้ฝนตกมา ถ้าฝนตกลงมา น้ำมากก็จะเกิดน้ำท่วม แล้วน้ำมีประโยชน์ไหม? ก็มีประโยชน์ แต่เวลาน้ำท่วมก็มีโทษ ข้อนี้จะเป็นอานิสงส์รวมๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น รู้จักพิจารณาธรรมะ


๖. ธรรมะแบ่งค่าย แบ่งเส้น แบ่งสาย คือ จะปรากฏชัดเจนว่าจะไปทางไหน เช่น ทางบวกหรือทางลบ ทางสัมมาหรือมิจฉา ทางดีหรือชั่ว ทางบุญหรือทางบาป ทางร้อนหรือเย็น ทางสัั้นหรือทางยาว ทางมืดหรือทางสว่าง มืดมัวหรือชัดเจน ผ่องใสหรือขุ่นมัว ขาวหรือดำ ฯลฯ หรือดีกี่เปอร์เซ็นต์ ชั่วกี่เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

    ๗. ธรรมบริหารธรรม คือ แล้งมากๆ ก็จะมีฝน พอร้อนจนก็จะเย็น พอฝนตกมากๆ ก็จะหายจากฝนตก พายุแรงเดี๋ยวก็อ่อนตัว นี่แหละก็ต้องมีการบริหารธรรม ยกตัวอย่างเช่น เราร้อนเราก็ต้องเปิดพัดลม หนาวก็ต้องห่มผ้าเพิ่มความอบอุ่น

    เมื่อธรรมจะบริหารธรรมแล้ว เราก็จะต้องดูธรรมเป็นตัวอย่างให้เราศึกษารู้จักบริหารธรรมชาติ

    ถ้าเราบริหารธรรมผิด แสดงว่าเรามีอวิชชา ไม่เข้าใจถ่องแท้ เช่น ระเบิดปรมาณู เราเอาไปใช้ฆ่าคน นี่แหละนำเอาไปทางเสียหาย ไม่รู้จักบริหารธรรม ใช้มีดไปในทางฆ่าคน ก็บริหารไปทางเสีย นี่แหละ ปรมาณูเป็นธรรมชาติ มีดก็เป็นธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับว่าเราบริหารธรรมชาตินี้ไปในทางไหน ทางถูกต้อหรือทางผิด ทางดีหรือทางเสีย ทางสัมมาหรือมิจฉา

    หลักความจริงแห่งธรรม เป็นอริยสัจ จะอยู่ตั้งแต่ข้อที่ ๒-๗ แต่ถ้าเป็นธรรมะหลักความประพฤติ จริยธรรม จะอยู่ข้อที่ ๗ ขึ้นไป

    แต่ถ้าตถตาจะอยู่ข้อที่ ๑

    แต่ถ้าเราใช้คำว่า “อริยสัจ ๔” จะต้องเรียกว่า “พระธรรม” เพราะว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบในธรรมแล้วนำออกมาสั่งสอนประชาชน

    ส่วน "พระธรรม" แปลว่า คำสั่งสอน ชี้แนะ แนะนำ อธิบาย คำบรรยาย ประกาศ ยกตัวอย่าง อุทธาหรณ์ ไขความกระจ่างของพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้เผยแพร่ จึงใช้คำว่า "พระธรรม" แต่ถ้าใช้คำว่า "ธรรม" ก็จะต้องอธิบายอีกรูปแบบหนึ่งตั้ังแต่ข้อที่ ๑-๗ ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ ส่วนพระธรรมนี้มาจากไหนก็มาจากในธรรมอีกทีหนึ่ง

 
คุณของพระสงฆ์

    ๑. พระสงฆ์ คือ ผู้ศึกษาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รู้ซึ้งประจักษ์แจ้งแล้ว เข้าใจถึงธรรมแล้ว ลุล่วงในธรรมนี้ (ปฏิบัติให้ตนได้)

    ๒. เมื่อเราได้ปฏิบัติธรรม เข้าใจแล้ว รู้ซึ้งประจักษ์แล้ว จึงนำหลักธรรม และประโยชน์ที่ได้จากการปฏิบัติไปช่วยเหลือคนอื่น (นำความรู้ไปเผยแผ่)

    ๓. จูงนำพาผู้คน มีการอบรม บ่มเพาะ สั่งสอน จูง นำ พา เอื้อ-เกื้อ-กัน ส่งประชาชนให้ถึงฝั่งแห่งพระธรรม (บ่มเพาะนำพา) อาจจะเป็นกลุ่ม ฯลฯ

    ๔. เป็นครูตรวจสอบ ผู้เป็นแบบมาตรฐานในการตรวจสอบ ผู้เรียน ว่าสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ถูกต้องของสังคม ทำได้กี่เปอร์เซ็นต์

    ๕. เป็นครูตัวอย่าง เป็นสรณะให้คนข้างหลังได้ตามมา ปฏิบัติได้ครบถ้วน เช่น พระมหาโมคคัลลานะ เก่งทางอิทธิฤทธิ์ พระภิกษุสามเณร ก็ได้เรียนรู้ตามแบบของท่าน
    ถ้าทำได้ครบทั้ง ๕ ข้อ จึงจะเป็นพระสงฆ์ได้สมบูรณ์


^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต





















 



Create Date : 20 พฤษภาคม 2562
Last Update : 12 ธันวาคม 2563 1:29:29 น.
Counter : 371 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
พฤษภาคม 2562

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31