มหาศิวราตรี
    มหาศิวราตรี (Mahā Shivarātri; महाशिवरात्रि) แปลว่า ค่ำคืนอันยิ่งใหญ่ของพระศิวะ เป็นเทศกาลของศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองพระศิวะ ที่พระองค์ได้ทรงสมรสกับพระแม่ปารวตี

    ในวันนี้เป็นนิมิตหมายสื่อถึง องค์พ่อศิวะกับพระแม่ปารวตีรวมกันเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นหยินหยาง(陰陽) มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ท่านสามารถดูแลบริหารจัดการได้

    จึงก่อให้เกิดปางอรรธนารีศวร (अर्धनारीश्वर, Ardhanarishwara) มาจากคำ ๓ คำ ได้แก่

    อรรธ/อัฒ (अर्ध) แปลว่า ครึ่ง (จำนวน), กึ่งหนึ่ง, ทวิเพศ

    นารี (नारी) แปลว่า นาง, สตรี, ผู้หญิง

     อิศวร (ईश्वर) แปลว่า ผู้เป็นใหญ่, พระผู้เป็นเจ้า

    ปฏิมากรรมหรือจิตรกรรม รูปของพระอรรธนารีศวรมักแสดงรูปองค์พ่อศิวะกับพระแม่อุมาเทวี ผู้เป็นชายา รวมอยู่ในรูปเดียวกัน โดยแบ่งครึ่งตรงกลางร่างจากศีรษะจรดปลายเท้า ส่วนมากซีกขวาจะเป็นพ่อศิวะ และซีกซ้ายเป็นพระแม่อุมาเทวี

    ฝั่งที่เป็นพระศิวะจะไว้ผม มวยผม ทรงอาภรณ์เป็นโยคี ทัดพระจันทร์เป็นปิ่น ในมืออาจถือตรีศูล (สามง่าม) อันเป็นอาวุธประจำพระองค์ และมีงูเป็นสังวาลย์ ส่วนฝั่งซ้ายที่เป็นพระเทวีก็จะแสดงเพศเป็นหญิงคือมีหน้าอก และแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสตรี เช่น สวมกำไล สวมผ้ายาว

    ท่ายืน ๓ แบบ ได้แก่ อภังค์ (ยืนตรง) ตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพกเล็กน้อย) และอติภังค์ (ยืนเอียงสะโพกมาก) และยังมีท่าทางอื่นๆ อีก

    เมื่อท่านรวมตัวกันมีความสำคัญยังไง?

    เพื่อมีความครบถ้วน สมดุล สมบูรณ์ ถ้ารวมกันเป็นหนึ่งเดียวก็จะดูได้ครบถ้วน เหมือนกับหยินกับหยาง (陰陽) มีทั้ง ๒ ด้านก็จะครบถ้วน เข้าสู่ความสมดุล เหมือนกับเต๋า (道)

    วันนี้เราจะต้องมาระลึกถึง เพื่อรำลึกว่าเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ขอให้ทุกคนได้เข้าถึง ขอให้ได้นำไปปฏิบัติ ในเรื่องของ "ความสมดุล" พอใครปฏิบัติผู้นั้นก็จะได้รับสิ่งที่เป็นมงคล

    เราเอามาเป็นตัวอย่างแล้วเข้าสู่ความเป็นสมดุล เราอย่าไปอคติกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เข้าสู่ภาวะการณ์สมดุล

    เราจะไม่อคติต่อ "ความชั่ว สิ่งที่ไม่ดี" ยังไง เช่นคนชอบขโมยของ?

    "ให้มองว่าเขาขาด ไม่ใช่มองว่าเขาผิด"

    ถ้าเขาฆ่าคนล่ะ?    ก็ให้มองว่า เขาไม่ใช่ผิด แต่เพราะว่าเขาไม่ได้ถูกการสั่งสอนมา เราก็ควรให้โอกาสเขา ถ้าไม่เช่นนั้นก็ต้องเป็นตาต่อตา ฟันต่อฟัน เข่นฆ่ากันไปตลอด ถ้าเราฆ่ากันแล้วจะยุติไหม ยกตัวอย่าง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ พอมีลูกหลานก็ฆ่ากันสืบต่อๆ กันมา ไม่สิ้นสุด

    "อย่ามองว่าเขาผิด แต่ให้มองว่าเขาขาด" เพราะถ้าเรามองว่าเขาทำผิด เราก็จะมีจิตที่จะเอาคืนเขา ต่อว่าเขา ทำร้ายเขา แต่ถ้าเรามองว่าเขาขาด คือ เขาขาดการเรียนรู้ ขาดกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ที่คอยตักเตือนชี้แนะแก่เขา ไม่มีใครสอน เขาจึงเป็นเช่นนี้ ฉะนั้น เราจะต้องชี้แนะเขา ให้เขาได้รู้ เข้าใจในสิ่งนั้นๆ อารมณ์แห่งจิตโทสะถึงจะลงได้

    ในการบูชาวันมหาศิวราตรีนั้น ทางประเทศอินเดีย จะมีการถือศีลอด มีการเต้นรำ สวดมนต์ อ่านคัมภีร์ของพ่อศิวะ และขับร้องเพลง    การเต้นรำนั้นถือว่าเป็น "นมัสการผ่านการเต้นรำ" Natyanjali








Create Date : 02 มีนาคม 2565
Last Update : 2 มีนาคม 2565 5:40:04 น.
Counter : 877 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
มีนาคม 2565

 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
2 มีนาคม 2565