อยู่อย่างว่างเปล่าหรือตายเพื่อบางสิ่ง
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 

พระพุทธรูปสมัยลพบุรี1

พระพุทธรูปสมัยนี้สร้างขึ้นในตอนที่เขมรมีอำนาจเข้ามาในภาคกลางของประเทศไทย ในช่วงพุทธศตวรรษที่
๑๗-๑๘ เป็นช่วงที่กษัตริย์เขมรสร้างนครวัด ศิลปะลพบุรีมีการผสมผสานระหว่างพราหมณ์และพุทธ พระพุทธ
รูปมีทั้งที่ทำด้วยฝีมือของช่างขอม และช่างชาวพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แบบขอมมีลักษณะแข็งกระด้าง
ดุดันตรงข้ามกับชาวพื้นเมืองที่มีพระพักตร์อ่อนโยน ละมุนละไม พระพุทธรูปส่วนใหญ่มีทั้งแบบยืนและนั่งขัด
สมาธิราบส่วนมากเป็นปางนาคปรกสร้างด้วยหินแข็ง หินทราย ขนาดเท่ากับคนจริง หากทำด้วยทองสำริดจะมี
ขนาดเล็กลง


พระพุทธรูปลพบุรีได้รับแบบอย่างมาจากสมัยทวารวดีและศรีวิชัย ลักษณะ
พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปเหลี่ยมพระหนุสั้น พระเนตรดุ พระโอษฐ์กว้างแบะ
ในระยะหลังมีลักษณะอมยิ้ม พระเนตรอยู่ในลักษณะครึ่งหลับ พระขนงคล้าย
แบบทวารวดี มีไรพระศกแทบทุกองค์ พระกรรณยาวจรดพระอังสา และมี
พระกุณฑล พระเกศาม้วนเป็นรูปก้นหอย บางองค์มีรัดเกล้าที่เรียกว่า เทริดขนนก
ซึ่งได้รับมาจากสมัยศรีวิชัย หรือทรงอุณหิส (กระบังหน้า)

นอกจากนี้ยังนิยมสร้างประพุทธรูปปางประทานภัย คือพระหัตถ์ทั้งสองข้าง
ยกขึ้นสูงเสมอพระอุระ สำหรับทรงยืนนั้นทรงอาภรณ์คล้ายเทวรูป ทรงรัด
ประคดและชายสบงตกแต่งลวดลายอย่างวิจิตร


ส่วนพระพุทธรูปแบบหินยานโดยเชื่อว่าเป็นฝีมีของช่างชาวพื้นเมืองลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยา มีลักษณะพระพักต์กลมยาว ทรงเครื่องตามแบบมหายานแต่ยังมีเค้า
ศิลปะขอมอยู่ พระเนตรไม่ดุมาก พระโอษฐ์แบะเพียงเล็กน้อยพระกรรณจรด
พระอังสา ไม่มีพระกุณฑลกับฉลองพระองค์ ถึงอย่างไรฝีมือการทำพระพุทธรูป
ของช่างขอม กับช่างไทยนั้นก็ยังสังเกตุได้ยากว่าแตกต่างกันอย่างไร



พระพุทธรูปสมัยนี้ มีทั้งฝ่ายลัทธินิกายมหายานและลัทธิ นิกายหินยาน มีลักษณะพระเกตุมาลาแบ่งออกได้เป็นสี่แบบ คือ เป็นต่อมแบบก้นหอยเป็น

แบบฝาชีครอบ เป็นแบบมงกุฎเทวรูป และเป็นแบบดอกบัว เครื่องศิราภรณ์มีแบบกระบังหน้าแบบมี ไรพระศกเสมอ และแบบทรงเทริด (แบบขนนก) เส้น

พระศก ทำอย่างเส้นผมคนทั่วไป พระพักตร์กว้าง พระโอษฐแบะ พระหนุป้าน พระกรรณยาวจรดพระอังสา

การห่มจีวร ถ้าเป็นพระยืนจะห่มคลุมส่วนพระนั่ง มีทั้งห่มคลุมและห่มดอง ชายสังฆาฏิ ยาวถึงพระนาภี ขอบอันตรวาสก (สบง) ข้างบนเป็นสัน สำหรับพระทรง

เครื่องจะมีฉลองพระศกกำไลแขน และประคด บัวรองฐานมีทั้งแบบบัวคว่ำบัวหงายและแบบบัวคว่ำอย่างเดียวกับบัวหงายอย่างเดียว



หลวงพ่อหิน หรือ "พระละโว้โรจนฤทธิ์" เป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี ปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก สูง 4 ศอก 3 นิ้ว ทำด้วยหินทราย เดิมอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (ปัจจุบันอยู่หลังสถานีรถไฟลพบุรี และขณะนี้กรมศิลปากร ได้บูรณะขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถาน) ซึ่งเป็นวัดเก่าสร้างสมัยลพบุรี ในขณะนั้นเป็นวัดร้าง อยู่ในสภาพปรักหักพัง ภายในบริเวณวัดมีต้นใหม่และหญ้าขึ้นปกคลุมมีพระพุทธรูปหลายองค์ตั้งเรียงรายอยู่กลางแจ้ง พระพุทธรูปส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุดบางองคุ์เศียรขาด บางองค์แขนขาด และบางองค์เหลือเพียงครึ่งองค์พระ ท่ามกลางพระพุทธรูปที่ชำรุดทั้งหลายยังมีพระพุทธรูป ที่มีพุทธลักษณะครบสมบูรณ์เหลืออยู่เพียงองค์เดียวและมีประชาชน เข้าไปกราบไหว้นมัสการอยู่เสมอ โดยชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อหิน สำหรับชื่อพระละโว้โรจนฤทธิ์นี้ตั้งขึ้น มาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ก่อนที่จะอัญเชิญท่านมาประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้ เนื่องมาจากครั้งหนึ่ง ได้มีคนร้ายลอบเข้าไปเพื่อจะลัก ตัดเศียรท่าน และในขณะที่คนร้ายกำลังจะลงมือตัดเศียรของท่านอยู่นั้น จะเป็นเพราะอภินิหารของท่านหรือแต่อย่างใด ไม่ทราบได้ คนร้ายได้เกิดช็อคหมดสติตกจากองค์ท่านสู่พื้นดิน พรรคพวกที่มาด้วยเกิดความกลัว และได้พากันหลบหนีไป โดยไม่สามารถตัดเศียรท่านไปได้ และจึงเป็นที่โจษขานกันมาจนถึงทุกวันนี้ต่อมาชาวบ้าน เห็นว่าหากขืนปล่อยให้ท่าน ประดิษฐานอยู่ที่เดิมต่อไปแล้ว เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย เพราะในขณะนั้นมีคนร้ายชอบขโมยตัดเศียรพระพุทธรูปอยู่เสมอ และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่ท่านประดิษฐานอยู่ ก็ห่างไกลจากผู้คนชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรย้ายท่าน ไปอยู่ในที่แห่งใหม่จะปลอดภัยกว่า คุณกระจ่าง แจ้งกิจ (อดีตจ่าศาลแขวงลพบุรี) ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง คนสำคัญคนหนึ่ง เห็นว่าสมควร จะย้ายท่านมาประดิษฐาน ยังบริเวณศาลจังหวัดลพบุรีก็จะเป็นการปลอดภัย เพราะอยู่ในที่ชุมชน และสะดวกแก่การเดินทาง มากราบไหว้นมัสการจึงได้ขออนุญาต ต่อท่านล้วนนิลกำแหง ซึ่งขณะนั้น ท่านดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดลพบุรี (พ.ศ.2506-2508) และท่านหัวหน้าศาลได้อนุญาต จากนั้นคุณกระจ่าง ได้ติดต่อไปยังกรมศิลปากรและกรมศิลปากร ไม่ขัดข้องจึงได้ร่วมมือกับชาวบ้าน อัญเชิญท่านมาประดิษฐาน ยังบริเวณหน้าศาลจังหวัดลพบุรี ภายหลังชาวบ้านได้ร่วมกัน บริจาคเงินสร้างซุ้มขึ้นบริเวณศาลแขวงลพบุรี ทางประตูด้านทิศใต้ติดกับศาลแขวงลพบุรี และเมื่อสร้างซุ้มเสร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญท่านมาประดิษฐานยัง ที่แห่งใหม่ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้จะมีประชาชนมากราบไหว้นมัสการองค์ท่านอยู่เสมอมิได้ขาด นอกจากจะเป็นที่สักการะบูชา ของชาวบ้านแล้ว ยังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ข้าราชการศาลจังหวัดลพบุรีและศาลแขวงลพบุรี ทุกคน เคารพบูชานับถือกันมาตลอด

พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยลพบุรี มีทั้งฝ่ายลัทธินิกายมหายาน และลัทธิ นิกายหินยาน มีลักษณะพระเกตุมาลาแบ่งออกได้เป็นสี่แบบ คือ เป็นต่อมแบบก้นหอยเป็นแบบฝาชีครอบ เป็นแบบมงกุฎเทวรูป และเป็นแบบดอกบัว เครื่องศิราภรณ์ มีแบบกระบังหน้า แบบมี ไรพระศกเสมอ และแบบทรงเทริด (แบบขนนก) เส้นพระศกทำอย่างเส้นผมคนทั่วไป พระพักตร์กว้าง พระโอษฐแบะ พระหนุป้าน พระกรรณยาวจรดพระอังสา การห่มจีวร ถ้าเป็นพระยืนจะห่มคลุม ส่วนพระนั่งมีทั้งห่มคลุมและห่มดอง ชายสังฆาฏิ ยาวถึงพระนาภี ขอบอันตรวาสก (สบง) ข้างบนเป็นสันสำหรับพระทรงเครื่องจะมีฉลองพระศกกำไลแขน และประคด บัวรองฐานมีทั้งแบบบัวคว่ำบัวหงาย และแบบบัวคว่ำอย่างเดียวกับบัวหงายอย่างเดียว

พระปิดตาหลวงพ่อแย้มในทุกวันนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นยอดพระปิดตาอันดับหนึ่งของเมืองปากน้ำสมุทรปราการ ที่หาได้ยากยิ่ง จึงไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมราคาเช่าหาถึงได้แพงนัก อยู่ที่หลักแสนขึ้นไป ป๋องสุพรรณ เจ้าของพระยืนยันมาอย่างนี้ ** ศักดิ์สิทธิ์ ประทีปมงคล นักธุรกิจหนุ่มแวดวงบันเทิงและโฆษณาช่วงนี้โชคดีเป็นพิเศษ ได้พระยอดนิยมมาอีกหลายองค์ หนึ่งในนั้นคือ พระรอดพิมพ์ต้อ กรุวัดมหาวันจ.ลำพูน เนื้อดินเผา องค์นี้สวยแน่ เพราะติดรางวัลชนะเลิศจากงานไบเทค บางนา สภาพพิมพ์ทรงองค์พระและผิวเดิมๆ ทุกอย่าง เป็น พระแท้ที่ยึดเป็นองค์ครูได้เป็นอย่างดียิ่ง


แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง




 

Create Date : 06 ตุลาคม 2551
1 comments
Last Update : 7 ตุลาคม 2551 0:01:24 น.
Counter : 4150 Pageviews.

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

 

โดย: ปุราณ (ปุราณ ) 7 ตุลาคม 2551 9:59:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


รองเท้าเปลี่ยนสี
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สนุกเถอะ อย่าเกิดบาป
Friends' blogs
[Add รองเท้าเปลี่ยนสี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.