พาบินไปกับ Airbus A350XWB Demo Flight in Thailand
หางหายจากหน้าพันทิปไปนาน วันนี้กลับมาพร้อมกับรีวิว Airbus A350XWB Demo Flight in Thailand ซึ่งจัดขึ้นเมื่อบ่ายวันนี้ 25 พฤศจิกายน 2557 ติดตามได้เลยครับ




ก่อนที่เราจะไปขึ้นเครื่องกันนั้น ในตอนเช้าได้มีงานแถลงข่าวก่อนที่โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ มาถึงก็ต้องลงทะเบียนกันก่อนครับสำหรับบันดากองทัพสื่อมวลชน แขกผู้เกียรติที่ทางแอร์บัสได้เชิญมาในงานนี้





ซึ่งภายในงานแถลงข่าวจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องบิน Airbus A350XWB โดยจะแบ่งเป็นข้อ ๆ คร่าว ๆ ได้ตามนี้ครับ

1. เครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี เครื่องบินพิสัยบินระยะไกลขนาดกลางแบบใหม่ในสายการผลิต เป็นสมาชิกรุ่นล่าสุดของตระกูลเครื่องบินแอร์บัสรุ่นลำตัวกว้าง ที่มีความล้ำสมัยและทรงประสิทธิภาพมากที่สุดของโลก นับได้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ด้านประสบการณ์ในการบินให้แก่ผู้โดยสาร ทั้งยังเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพในการทำงานและช่วยให้สายการบินต่างๆ บริหารจัดการต้นทุนในการปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เครื่องบินแอร์บัสตระกูล เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี เป็นรุ่นที่ทัดเทียมกับเครื่องบินโบอิ้ง 787 และ 777

3. แอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี นำเสนอย่างก้าวที่สำคัญด้านประสิทธิภาพในการลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงได้ถึงร้อยละ 25  และช่วยลดต้นทุนต่อที่นั่งต่อไมล์ในการเดินทางลง เมื่อเทียบกับเครื่องบินพิสัยบินระยะไกลของคู่แข่งที่ผลิตจากวัสดุอลูมิเนียม อย่างเครื่องบินโบอิ้ง 777

4. สำหรับทุกๆ ที่นั่งของแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี (เอ350-900) มีอัตราการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่น้อยกว่า โบอิ้ง 787 (787-9) ถึงร้อยละ 9  ซึ่งข้อได้เปรียบด้านอัตราการเผาไหม้เชื้อเพลิงนี้กอปรกับค่าบำรุงรักษาที่ต่ำกว่าส่งผลให้ แอร์บัส เอ350-900 มีต้นทุนการดำเนินการต่อที่นั่งต่ำกว่า 787-9 ถึงร้อยละ 10 

5. ด้วยจำนวนที่นั่งในแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี ที่มีมากกว่าเครื่องบิน 787 ถึง 35 ที่นั่ง จึงทำให้สามารถสร้างข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าในเรื่องของการสร้างรายได้ให้สายการบินต่างๆ ได้ถึงร้อยละ 10 หรือมากกว่า 

6. แอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี เป็นตระกูลเครื่องบินพาณิชย์ที่มีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีมากที่สุดของโลก 

7. ร้อยละ 70 ของโครงสร้างเครื่องบิน ทำมาจากวัสดุผสมชั้นสูง (ร้อยละ 53)  ซึ่งประกอบด้วยไทเทเนียมและอลูมิเนียมหล่อผสมที่ล้ำสมัย ซึ่งวัสดุผสมนี้เป็นวัสดุที่ทนทานต่อการสึกกร่อนและการล้า

8. แอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี มียอดการสั่งซื้อจำนวน 750 ลำ จากลูกค้ากว่า 39 ราย เมื่อสิ้นเดือนตุลาคม 2557 

9. แอร์บัสคาดการณ์ถึงความต้องการที่จะมีต่อเครื่องบินโดยสารทางเดินคู่แบบใหม่ในช่วง 20 ปีข้างหน้านั้น จะมีจำนวนสูงถึง 7,000 ลำ (จากผู้ผลิตทั้งหมด)

10. แอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี มีขนาดห้องโดยสารที่กว้างกว่า 787 ถึง 5 นิ้ว ในที่นั่งโดยสารชั้นประหยัด ซึ่งมอบความสบายให้แก่ผู้โดยสารด้วยการจัดเรียงในรูปแบบ 9 ที่นั่งต่อแถว พร้อมด้วยที่นั่งที่มีกว้างถึง 18 นิ้ว จากที่วางแขนฝั่งหนึ่งถึงไปยังที่วางแขนอีกฝั่งหนึ่ง

11. สามารถลดเสียงรบกวนอันเกิดจากเครื่องยนต์ได้ถึง 16 EPNdB (Effective Perceived Noise Decibel)  ซึ่งต่ำกว่าข้อบังคับขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ที่ถูกกำหนดไว้ในบทที่ 4 (ICAO Chapter-4 requirements)

12. เครื่องบินในตระกูลแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี จัดอยู่ในระดับการรับรองการบินแบบ same type rating กล่าวคือ ทั้งในส่วนทีมงานลูกเรือ ระบบการทำงาน และชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ







หลังจากฟังบรรยาย และรับประทานอาหารกลางวันกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็เช็คอินรับ Boarding Pass และเตรียมตัวไปขึ้นเครื่องกันได้เลย ซึ่งทางแอร์บัสได้จัดการเช็คอินและปริ้น Boarding Pass มาให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเกทที่เราใช้ในวันนี้คือ A7 ซึ่งเป็นบัสเกทครับ





มาถึงเกทแล้วครับ สำหรับเที่ยวบินสาธิตของเราในวันนี้คือเที่ยวบินที่ AIB204 ครับ ต้องนั่งบัส (อันที่จริงยืน) ไปขึ้นเครื่องกันที่ Hangar ฝ่ายช่างการบินไทย



โดยก่อนที่เราจะขึ้นไปบนเครื่องก็ต้องเก็บภาพเจ้านกยักษ์ลำนี้กันก่อนครับ Airbus A350XWB มันสวยมาก















ข้อมูลจำเพาะของ Airbus A350XWB
1. เครื่องยนต์: โรลส์รอยซ์ รุ่นเทรนท์ เอ็กซ์ดับเบิลยูบี
2. อัตราแรงขับเคลื่อน: 84,000 ปอนด์
3. น้ำหนักขณะวิ่งขึ้นสูงสุด: 268 ตัน (590,800 ปอนด์)
4. ความสูง: 17.05 เมตร (55 ฟุต 11 นิ้ว)
5. ความยาว: 68.89 เมตร (219 ฟุต 5 นิ้ว)
6. ระยะระหว่างปลายปีกสองข้าง(เมื่อกางปีก): 64.75 เมตร (212 ฟุต 5 นิ้ว)
7. ความจุเชื้อเพลิงสูงสุด: 138,000 ลิตร (36,456 แกลลอนอเมริกัน)
8. ความเร็วเดินทางปกติ: 0.85 มัค (930 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระดับการบิน 41,000 ฟุต (FL410) ตามแบบจำลองบรรยากาศมาตรฐานสากล (International Standard Atmosphere: ISA))
9. ความจุในการบรรทุกสินค้า (แผ่นพาเลท/ตู้แอลดี3 + ระวางในบัลค์): 172.4 ลูกบาศก์เมตร (6,088 ลูกบาศก์ฟุต)

พร้อมที่จะเข้าไปสัมผัสภายในกันหรือยังครับ ก่อนเข้าไปข้างในแน่นอนว่ามุมนี้คงเป็นมุมบังคับของใครหลาย ๆ คน เลยต้องถ่ายก่อนเข้าเครื่องสักหน่อย



เครื่องบินแบบ Airbus A350XWB นั้นจะมีด้วยกัน 2 ชั้นโดยสารคือ Business Class และ Economy Class 

















โดยลักษณะเฉพาะของห้องโดยสารชั้นธุรกิจบนเครื่อง A350 ลำนี้ MSN005 จะมีลักษณะดังนี้ครับ
1. ลำตัวเครื่องบินขนาดกว้างเป็นพิเศษ – ความกว้างห้องโดยสารสูงสุด: 5.61 เมตร (221 นิ้ว จากผนังฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง)
2. ที่นั่งโดยสารทั้งหมดจำนวน 265 ที่นั่ง
3. ที่นั่งชั้นธุรกิจจำนวน 42 ที่นั่ง: ด้วยที่นั่ง Sogerma รุ่น Solstys ในการจัดเรียง 4 ที่นั่งต่อแถว ที่มีความกว้างระหว่างแถว 43-44 นิ้ว ซึ่งสามารถปรับนอนราบสนิทได้อย่างเต็มที่ด้วยความยาวถึง 73.5-74 นิ้ว และมีความกว้างจากที่วางแขนฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่งถึง 21 นิ้ว

มาถึงชั้นประหยัด หรือตอนนี้ที่นิยมเรียกกันว่าชั้นท่องเที่ยวกันบ้างครับ โดยที่นั่งชั้นประหยัดนั้นจะจัดเรียง 9 ที่นั่งต่อเที่ยวคือ 3-3-3















1. ที่นั่งชั้นประหยัดจำนวน 223 ที่นั่ง: ในการจัดเรียง 9 ที่นั่งต่อแถว:
2. ด้วยที่นั่ง Zodiac US (เดิมคือ Weber) รุ่น Z300 ที่มีความกว้างระหว่างแถว 32-34 นิ้ว จำนวน 108 ที่นั่ง
3. ด้วยที่นั่ง Recaro รุ่น CL3620 ที่มีความกว้างระหว่างแถว 33-34 นิ้ว จำนวน 115 ที่นั่ง
4. แสงไฟแบบ LED 100%: 16.7 ล้านสี ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบรรยากาศได้ทุกรูปแบบ อย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อลดอาการอ่อนเพลียจากการเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นระยะเวลานาน  (Jet Lag)

5. ความบันเทิงบนเที่ยวบินด้วยระบบ Thales AVANT IFE (In Flight Entertainment)
    5.1 ความบันเทิงบนเที่ยวบินเจเนอเรชั่นที่ 4 ได้นำเสนอความบันเทิงบนหน้าจอกว้างพร้อมความละเอียดสูงให้กับที่นั่งทุกชั้นโดยสาร
    5.2 ระบบเชื่อมต่อบนเครื่องบิน เวอร์ชั่น 2 (Airline Network Architecture V2: ALNA V2) เชื่อมต่อกับระบบเชื่อมต่อจีเอสเอ็มและระบบข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ
6. หน้าต่างกว้างแบบพาโนราม่าที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้อย่างกว้างไกล ช่วยเพิ่มแสงสว่างและความรู้สึกเปิดโล่งในห้องโดยสารของเครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี
7. ระบบปรับอากาศที่ประกอบด้วยแผ่นกรองอากาศและฝุ่นด้วยเทคโนโลยีอนุภาคอากาศประสิทธิภาพสูง (High-Efficiency Particulate Air: HEPA) และสารอินทรีย์ระเหยง่ายหรือวีโอซี (Volatile Organic Compound: VOC) ด้วยสภาพแวดล้อมที่ปราศจากการแทรกซึมจากอากาศภายนอก

8. ระบบบริหารจัดการควบคุมอุณหภูมิที่ละเอียดและแม่นยำ ประกอบด้วยโซนอุณหภูมิที่หลากหลายทั้งหมด 8 โซน
9. เครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี ใช้ระบบบรรเทาแรงลมกรรโชก (Gust Alleviation System) เพื่อความมั่นใจกับเที่ยวบินที่ราบรื่นตลอดการเดินทาง
10. ความรู้สึกสบายของผู้โดยสารได้รับการพัฒนาบริเวณพื้นที่ห้องโดยสารด้วย การรักษาความสูงเหนือระดับน้ำทะเลในระดับที่ต่ำ (6,000 ฟุต) ความชื้นสัมพัทธ์สูง (คล้ายแอร์บัส เอ380) ระบบการกรองอากาศมีประสิทธิภาพชั้นสูง (แผ่นกรองอากาศและฝุ่นเทคโนโลยี HEPA) และการควบคุมอุณหภูมิอย่างละเอียดและแม่นยำด้วยโซนการควบคุมอุณหภูมิอิสระถึง 7 โซน (8 โซนสำหรับเครื่องบินแอร์บัส รุ่น เอ350-1000)

11. การจัดแบ่งช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะที่มีขนาดกว้างขวาง ด้วยความสามารถในการจุกระเป๋าเดินทางล้อลากขนาดมาตรฐานได้ 5 ใบ (ช่องวางด้านข้าง) และกระเป๋าเดินทางล้อลาก 3 ใบและกระเป๋าถือขนาดเล็ก (ช่องวางตรงกลาง)

12. ห้องพักสำหรับนักบินประจำเที่ยวบินประกอบด้วยที่นอน 2 ที่ (รวมทั้งอุปกรณ์ความบันเทิงบนเที่ยวบิน) และที่นั่งพร้อมโต๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านหลังห้องนักบินในบริเวณส่วนบนของเครื่องบิน
13. ห้องพักสำหรับลูกเรือประจำเที่ยวบินแบบ 6 ที่นอน ทางด้านหลังของห้องโดยสารในบริเวณส่วนบนของเครื่องบิน (มีทางเลือกแบบ 7-8 ที่นอน)
14. บันไดสู่บริเวณห้องพักผ่อนสำหรับลูกเรือประจำเที่ยวบินทั้งหมดได้บูรณาการเข้ากับส่วนที่ตั้งของครัว เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียรายได้ใดๆ จากพื้นที่นั้นๆ
15. โครงสร้างห้องครัวในเครื่องบินผลิตโดย B/E Aerospace ในรูปแบบของ Supplier Furnished Equipment (SFE)
16. โครงสร้างห้องน้ำในเครื่องบินผลิตโดย ZOCI (Zodiac OEM Cabin Interiors) ในรูปแบบของ Supplier Furnished Equipment (SFE)

มาถึงตรงนี้ยังไม่ได้ขึ้นบินเลยครับ ใกล้แล้ว ๆ เนื่องจากเป็นเที่ยวบินสาธิตจึงต้องมี Monitor ติดตั้งไว้เพื่อตรวจสอบระบบการทำงานต่าง ๆ บนเครื่องบินอยู่ด้วย









เมื่อพร้อมแล้วก็นั่งประจำที่ รัดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบร้อย และเตรียมไป Take Off กันได้เลยครับ โชคดีมากที่ได้ที่นั่งริมหน้าต่างพอดี









เหินฟ้าขึ้นมาแล้วครับ ต้องเก็บภาพสนามบินสุวรรณภูมิกันสักหน่อย ต้องขอบอกว่าเครื่องบิน Airbus A350XWB Take Off ได้นิ่มมาก แถมเสียงเบาอีกต่างหาก สำหรับเส้นทางบินในไฟล์ทสาธิตนั้นจะบินออกไปทางอ่าวไทยจนถึงประมาณจังหวัดสุราษฎร์ธานี และบินวนกลับมาลงที่สุวรรณภูมิตามเดิมครับ









นอกจากนี้ระหว่างอยู่บนฟ้าเราสามารถดูกล้องที่ติดตั้งไว้ส่วนหางของเครื่องบิน และด้านใต้ท้องเครื่องบินผ่าน PTV หน้าที่นั่ของเราได้อีกด้วยครับ





ระหว่างบินก็สามารถเดินถ่ายภาพบนเครื่องได้ตามปกติครับ และมีนอกจากนี้ยังมีบริการอาหารบนเครื่องอีกด้วย







เดินเก็บภาพอีกนิดนิดหน่อยก่อนที่เครื่องจะลดระดับลงสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะสังเกุตว่าที่สีของไฟในห้องโดยสารจะเปลี่ยนไปเรื่อยจาก 3 ภาพนี้ครับ







ลดระดับลงสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วครับ เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับ Airbus A350XWB Demo Flight ในครั้งนี้







เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับสำหรับเที่ยวบินสาธิตของ Airbus A350XWB ในวันนี้ หลังจากนี้จะเดินทางต่อไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ก่อนจะบินกลับไปยังฐานที่ตั้งในเมืองตูลูส หลังการทัวร์เที่ยวบินสาธิตในเอเชียซึ่งมีระยะเวลาทั้งหมด 11 วัน ก่อนกลับก็เก็บภาพอีกนิดหน่อยครับ 









ท้ายนี้ขอขอบคุณบริษัทแอร์บัสที่ให้เกียรติเชิญไปร่วมงานนี้ และขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชมครับ



Create Date : 26 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2557 15:08:14 น.
Counter : 3814 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Prince Airbus
Location :
อ่างทอง  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30